Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live

เจริญ ภักดีวานิช

$
0
0

"ถ้าเราไม่วางใจ ไม่เชื่อมั่นประชาชน ผมคิดว่า ระบอบประชาธิปไตยของประเทศนี้ก็เดินไปได้ยาก"

3 เม.ย.56, ส.ว.พัทลุง อภิปรายสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง

วีรพงษ์ รามางกูร: ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน

$
0
0

พ.ร.บ.กู้ยืมเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปลงทุนสร้างระบบรางรถไฟ ประโยชน์โภชน์ผลคงไม่ต้องพูดกันแล้ว เพราะฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไปแล้ว

ก็เหลือประเด็นที่ฝ่ายค้านใช้เวลาอภิปรายว่า จะเป็นการเปิดช่องให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กับสร้างหนี้ไว้ให้ลูกหลาน ควรใช้งบประมาณประจำปีดีกว่า

ประเด็นเรื่องคอร์รัปชั่น ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ แต่ต้องช่วยกันป้องกัน ถ้าเล็ดลอดไปได้ ก็ต้องหาทางเอาตัวมาลงโทษให้ได้ 

แม้ว่าอาจรับประกันได้ ก็ยังต้องลงทุน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ การฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหยาบคาย ก็เหมือนกับสังคมป่วยเป็นริดสีดวงทวาร เข้าห้องเล็กเมื่อไหร่ก็เจ็บปวด มีเลือดไหลทุกที เพราะเป็นจนเรื้อรังไปแล้ว รักษาก็ยาก แต่เมื่อเป็นริดสีดวงแล้วจะไม่ยอมเข้าห้องเล็ก ก็เห็นจะไม่ถูก เมื่อถึงเวลาก็ต้องเข้า แล้วควรระวังดูแลอย่าให้เจ็บปวดมาก รักษากันไป

เมื่อถึงเวลาก็ต้องลงทุนพัฒนาประเทศ ถ้ากลัวว่าจะมีรั่วไหล ก็ต้องหาทางป้องกันปราบปราม ได้ข่าวว่า ท่านประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานกลุ่มต่อต้านคอร์รัปชั่น จะมาร่วมดูแลไม่ให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็เบาใจ สบายใจขึ้น

ส่วนประเด็นที่สองที่กลัวกันว่า การกู้ยืมเงินมาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ควรจะตั้งเป็นรายจ่ายในงบประมาณประจำปี เพราะจะได้ปฏิบัติไปตามบทบัญญัติวิธีการงบประมาณ ไม่ควรจะเป็นงบรายจ่ายพิเศษ เพราะจะกลายเป็นภาระกับลูกหลานที่จะต้องมารับภาระ สมัยก่อนหนังสือพิมพ์ชอบคำนวณว่า คนไทยพอเกิดมาปุ๊บก็เป็นหนี้ทันที คนละเท่านั้นเท่านี้บาท

โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างที่รัฐบาลเสนอขอกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจากประชาชนนั้น เป็นการกู้เงินจากประชาชนในประเทศเพื่อทำการลงทุนขนาดใหญ่ หรือภาษาการคลังเรียกว่าเป็น "Capital Expenditure"

รายจ่ายสำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีอายุใช้งานเป็นเวลายาวนาน เช่น โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มักจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนมาก เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก ทางด่วนพิเศษ โครงการชลประทาน และอื่น ๆ 

โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะแยกประเภทตามลักษณะในการลงทุนเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก โครงการที่รัฐบาลทำให้ราษฎรใช้โดยไม่คิดค่าใช้งาน เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ระบบชลประทาน กับอีกประเภทหนึ่ง รัฐลงทุน แต่มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ จ่ายคืนการลงทุนภายหลัง เข้าลักษณะใครใช้ใครจ่าย ซึ่งกว่าจะคุ้มกับเงินลงทุน อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แล้วแต่นโยบาย

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานประเภทแรก ก็มักจะอยู่ในอำนาจของกรมใดกรมหนึ่ง เวลาจะลงทุน ก็ตั้งจากงบประมาณประจำปี และผูกพันปีต่อไปเรื่อย ๆ ปีต่อปี รัฐบาลก็ตั้งให้ตามที่ผูกพัน แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งให้ตามที่ขอทุกปี น้อยบ้าง มากบ้าง แล้วแต่ฐานะทางด้านรายได้ เราจึงเห็นทางหลวงแผ่นดินหลายสายมีการก่อสร้างไว้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือโครงการรถไฟรางคู่ทั่วประเทศเริ่มลงทุนมากกว่า 15 ปีแล้ว ก็ยังไม่เสร็จ เพราะงบประมาณได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วแต่นโยบายและความจำเป็นเร่งด่วน

สำหรับโครงการที่รัฐบาลต้องการทำเป็นโครงการที่จะเรียกเก็บค่าบริการมาใช้คืนเงินค่าลงทุน อย่างกรณีรถไฟความเร็วสูงก็ดี ท่าอากาศยานก็ดี ท่าเรือน้ำลึกก็ดี ระบบไฟฟ้าก็ดี น้ำประปาก็ดี หรืออื่น ๆ ที่จะทำในลักษณะรัฐพาณิชย์ จึงมักจะมอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐวิสาหกิจ 

รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสม เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการผลิต การเงิน บุคคล

ในกรณีรถไฟความเร็วสูง ก็คงจัดในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง คงไม่ตั้งกรมรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาเป็นผู้ลงทุน ส่วนจะเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปใด ก็คงต้องคอยฟังกันต่อไป

เมื่ออยู่ในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง การตั้งงบประมาณประจำปีเพื่อใช้ในการลงทุน ก็ไม่น่าจะเหมาะสม ควรให้รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบเงินลงทุนเอง แทนที่จะคอยเงินภาษีอากรของประชาชนมาลงทุนเหมือนกรมทางหลวงแผ่นดิน กรมชลประทาน กรมทางหลวงชนบท หรือกรมอุตุนิยมวิทยา

โครงการขนาดใหญ่อย่างนี้ อายุการใช้งานเป็นร้อย ๆ ปี ถ้าต้องการทำเร็วเช่นที่รัฐบาลประกาศไว้ 7 ปีสำหรับรถไฟความเร็วสูง และเร็วกว่านั้นสำหรับโครงการอื่น ๆ หากต้องจ่ายเมื่อการลงทุนเริ่มขึ้น ก็ต้องจ่ายเป็นเงินจำนวนมากในแต่ละปี ปีละ 3-4 แสนล้านบาท ก็จะเต็มวงเงินลงทุนของรัฐบาล แต่ถ้าจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยของเงินลงทุน ถ้าดอกเบี้ยกู้ยืม 3-4 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลก็สามารถตั้งงบประมาณ จ่ายเพียงปีละ 6 ถึง 8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ไม่เต็มวงเงินงบประมาณประจำปี

เมื่อไม่เต็มวงเงินกู้ ก็จะสามารถตั้งงบประมาณลงทุนในด้านอื่น ๆ เป็นโครงการสาธารณสุข โครงการการศึกษา โครงการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งโครงการทางหลวงแผ่นดิน โครงการชลประทานได้อีก ไม่ใช่เอางบประมาณรายจ่ายทั้งหมดมาลงทุนในโครงการนี้อย่างเดียว อย่างที่ฝ่ายคัดค้านอยากเห็น

การกู้ภายในประเทศ หรือการกู้เงินบาท ก็เท่ากับการระดมเงินออมจากประชาชนไทยมาลงทุน ผู้ออมก็ได้ประโยชน์ คือได้ดอกเบี้ยสูงกว่า และมั่นคงสบายใจกว่าฝากธนาคารพาณิชย์ เพราะผู้กู้คือกระทรวง

การคลัง เป็นการเอาเงินออมจากคนรุ่นนี้มาลงทุนสร้างทรัพย์สินไว้ให้ลูกหลาน แทนที่จะไปลงทุนซื้อพันธบัตรอเมริกัน อังกฤษ ยุโรป เพราะทรัพย์เหล่านั้นดอกเบี้ยก็ต่ำ ความเสี่ยงที่ค่าเงินดอลลาร์ เงินปอนด์ และเงินยูโรจะเสื่อมค่า เมื่อเทียบกับรางรถไฟ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งมีแต่จะมีราคามากขึ้นแพงขึ้น

ผู้รับภาระจ่ายดอกเบี้ยก็คือคนรุ่นนี้ เพราะช่วง 10-15 ปีแรก โครงการก็คงจะขาดทุนอยู่ จะไปทำกำไรได้คืนทุนก็คือรุ่นลูก ยิ่งรุ่นหลานก็คงกำไรมากขึ้น ไม่น่าจะมีภาระมากเท่ากับรุ่นเรา ข้อสำคัญ รายจ่ายที่รัฐบาลจ่าย ก็จ่ายให้ประชาชนคนไทยด้วยกันเอง เจ้าหนี้ก็คือคนไทยด้วยกัน

ดูอย่างครั้งเมื่อรัฐบาลพระพุทธเจ้าหลวงไปออกพันธบัตรเป็นเงินปอนด์ขายที่ยุโรป เพื่อมาเป็นค่าเวนคืนที่ และลงทุนสร้างระบบรถไฟขึ้นเมื่อปี 2447 บัดนี้ก็ใช้หนี้หมดไปนานแล้ว พวกเรารุ่นหลานรุ่นเหลนไม่เคยทราบด้วยซ้ำว่าเราเคยมีหนี้ก้อนนี้ แต่เรามีรางรถไฟจากเหนือจดใต้ จากตะวันตกไปตะวันออก

โครงการเงินกู้ธนาคารโลกมาสร้างเขื่อนยันฮี หรือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ และเขื่อนอื่นที่เราให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตกู้เงินมาก่อสร้าง ก็สามารถคืนเงินกู้ได้จนหมดแล้ว รุ่นเรารู้แต่ว่าเรามีทรัพย์สินเป็นเขื่อน เป็นระบบชลประทาน เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ใช้ไปได้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเรา

ยิ่งเป็นเงินกู้ภายในประเทศ ลูกหนี้ก็เป็นรัฐบาล เจ้าหนี้ก็เป็นประชาชน ประชาชนเป็นทั้งเจ้าของทรัพย์สินและเป็นเจ้าหนี้ 

ถ้าเกิดประมาทพลาดพลั้ง เช่น ภาษีไม่เข้าเป้า จะยืมประชาชนใหม่มาใช้หนี้เก่าก็ยังได้ ไม่เหมือนกู้ต่างประเทศ 

ถ้าเครดิตไม่มี อาจจะถูกเรียกหนี้คืนได้

ง่าย ๆ หรือยืมใหม่มาใช้หนี้เก่าไม่ได้ ลูกหลานไทยจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะเป็นทั้งผู้ถือพันธบัตรและผู้จ่ายภาษีใช้หนี้

พอถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หนี้ 2 ล้านล้าน มูลค่าจะเหลือนิดเดียว แต่ทรัพย์สินจะมีมูลค่าสูงขึ้นมหาศาลเหมือนหนี้สร้างเขื่อนภูมิพล 2,000 ล้านบาท สมัยโน้น เทียบไม่ได้เลยกับมูลค่าที่ดินและตัวเขื่อนในราคาปัจจุบัน

การกู้เพื่อการ ลงทุนสร้างทรัพย์สินคราวนี้จึงไม่มีอันตรายเท่าใดเลย ขออย่างเดียว ลูกหลานเราอย่าบริหารให้ขาดทุนจนพังก็แล้วกัน

ผมเห็นของผมอย่างนี้ ลูกหลานจะด่าก็ตามใจ

 

 

 

ที่มา:คอลัมน์ คนเดินตรอก ประชาชาติธุรกิจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปส.จับมือสปสช.เดินหน้าบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุน

$
0
0

รองเลขาธิการสปส.เผยยินดีร่วมมือกับสปสช.เดินหน้าบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุนตามนโยบายรัฐบาล เผยค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งสปส.เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แนะใช้จ่ายชดเชยอัตราเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษามากขึ้น

8 เม.ย. 56 - เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการการจัดการการบูรณาการโรคมะเร็งมาตรฐานเดียวทั้งระบบ นางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมซึ่งรับผิดชอบผู้ประกันจำนวน 10 ล้านคน มีแนวทางและเห็นด้วยกับแนวทางบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุน

นพ.สนธยา พรึงลำภู กรรมการแพทย์ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า เนื่องจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งสิทธิประกันสังคมมีความชุกประมาณ 300 คนต่อประชากรแสนราย ซึ่งพบว่ามีค่าใช้จ่ายการรักษาโรคมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่า  มีราคาเรียกเก็บจากรพ.เพิ่มสูงขึ้นจาก 1,200 ล้านบาท ในปี 2551 เป็น 1,700 ในปี 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 50,000 บาท ใกล้เคียงกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งอยู่ที่ 52,500 บาท ดังนั้น เมื่อบูรณาการเรื่องมะเร็ง สปส.เห็นด้วยที่จะใช้แนวทางการการรักษาหรือโปรโตคอลเดียวกับสปสช. ซึ่งโปรโตคอลที่สปสช.เพิ่มเติม สปส.ก็จะเสนอให้นำมาใช้กับผู้ประกันตนด้วย และต่อไปกรณีการจ่ายชดเชยก็อาจจะปรับเป็นแนวทางเดียวกัน สำหรับยานอกบัญชียาหลักนั้น สิทธิประกันสังคมอนุมัติให้ใช้ได้ตามข้อบ่งชี้ แต่ก็ยังเป็นภาระหลักของรพ.  จึงเสนอว่าควรมีการกำหนดข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เรื่องยานอกบัญชียาหลักให้ชัดเจน และให้ใช้เหมือนกันทุกกองทุน และการวินิจฉัยยาราคาแพง ซึ่งต้องมีการกำหนดข้อบ่งชี้ให้ชัดเจน รวมถึงการต่อรองราคายา
 
ด้านนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งปัจจุบันพบว่า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-7 ต่อปี ผู้ป่วยมะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่ ณ ปี 2555 ประมาณ 2.5 ล้านคน อัตราการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี อาจแสดงได้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น หรือมีประชาชนป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น ซึ่งมะเร็งที่พบมากที่สุดในทุกสิทธิได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่สิทธิการรักษาของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกัน ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการไม่เหมือนกัน ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงมีแนวทางบูรณาการมะเร็งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกกองทุนสุขภาพ  ซึ่งผลจากการประชุมนั้น ในส่วนของสปสช.และสปส. ได้เห็นชอบในหลักการที่จะบูรณาการระบบบริการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ 2.การส่งเสริมป้องกัน 3.การคัดกรองโรคมะเร็ง 4.การจ่ายชดเชยค่าบริการ 5.การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 6.การทำฐานข้อมูลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ตามจะมีการจัดประชุมเพื่อทำข้อสรุปให้ชัดเจนและนำเสนอให้รัฐบาลรับทราบต่อไป
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 2-8 เม.ย. 2556

$
0
0

 

หมอสิชลร่วมแต่งดำประท้วงหลังถูกปรับลดเบี้ยกันดารวัดผลงานด้วยการล่าแต้ม

(2 เม.ย.) ที่ โรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แพทย์และบุคลากรทางแพทย์หลายรายได้ร่วมกันแต่งกายชุดดำ หรือสัญลักษณ์สีดำ เพื่อแสดงออกถึงการประท้วงแนวนโยบายการปรับลดเบี้ยกันดาร และปรับการทำงานของแพทย์ บุคลากรทางแพทย์แบบทำคะแนนเพื่อผลงาน พร้อมกันนั้นได้ขึ้นป้ายแสดงความไม่พอใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย ข้อความว่า “โรงพยาบาลสิชลไม่ยินดีต้อนรับนายประดิษฐ์ สินธวณรงค์” และจัดนิทรรศการภาพถ่าย และสาเหตุที่แพทย์ได้ร่วมกันประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมา ขณะที่ผู้ป่วยมาใช้บริการในโรงพยาบาลจำนวนมาก ส่วนแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ต่างปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามปกติ
      
นายแพทย์อารักษ์ วงษ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล แกนนำแพทย์ชนบท เปิดเผยว่าตลอด 26 ปีเข้าสู่ปีที่ 27 อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนมาโดยตลอด โรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนมาโดยตลอด จากโรงพยาบาล 30 เตียง มาจนเวลานี้ขยายเป็น 250 เตียงใช้กำลังอย่างมาก ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา แพทย์เพิ่มขึ้นน้อยมาก สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมีแพทย์เฉพาะทาง 9 คน มีแพทย์ใช้ทุน 3-4 คน กับอัตรากำลังที่ต้องดูแล 250 เตียง ไม่รวมผู้ป่วยนอกอีกหลายร้อยคนต่อวัน ที่ผ่านมามีปัญหาแพทย์ลาออก เรียนต่อ และอีกหลายประการ
      
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล แกนนำแพทย์ชนบท ตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม ช่วงที่รัฐมนตรีประกาศนโยบายใหม่ มีการลาออกในช่วงที่ประกาศจะเดินหน้าเรื่องนี้ ลาออกไปแล้วถึง 146 คน เหล่านี้ยังไม่ถึงกระทรวงที่ต้องผ่านไปหลายขั้น กว่าจะถึงกระทรวง ขณะนี้แพทย์ที่ โรงพยาบาลท่าบ่อ แพทย์เชี่ยวชาญเวชกรรมฟื้นฟู พูดชัดเจนว่า รับไม่ได้ที่เปลี่ยนให้หมอเป็นหมอล่าแต้ม ทำแพทย์ให้เป็นเครื่องจักร ไม่ได้ดูคุณภาพของงาน ภาพที่แพทย์ทำงานอย่างน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าไม่มี ความโกลาหลขัดแย้งจะเกิดขึ้นในวงการ ไม่รู้ใครจะกำหนดคิดค่าแต้มค่าคะแนน มันเป็นระบบที่ไม่พร้อมเลย วันนี้บอกว่า 1 เมษายนเริ่ม ยังไม่มีเอกสารใดๆ มากำหนดน้ำหนักค่างานวิชาชีพ
      
อย่างไรภาพที่ออกมากระทรวงสาธารณสุขเองโดยตัวรัฐมนตรีมีอะไรซ่อนเร้น อยู่ข้างหลัง เรารู้ข้อเท็จจริงวันนี้บอกว่าจะถอยกลับสังคมไม่เชื่อ เพราะเอกสารที่จะเสนอต่อ ครม.นั้น จะยังเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป ความไว้วางใจไม่มีแล้ว เราไม่ทำอย่างอื่นด้วยวิธีอารยะขัดขืน ไม่ให้ความร่วมมือ แต่เราจะเน้นภารกิจหลักคือการดูแลผู้ป่วย
      
“นอกเหนือจากนี้เราจะไม่ให้ความร่วมมือใดๆ ที่สำคัญเราจะแต่งดำ ว่ารัฐมนตรีตายจากโรงพยาบาลชุมชนไปแล้ว ในอนาคตจะเดือดร้อนเพราะหมอจะลาออกต่อไปเรื่อยๆ ไปอยู่ที่สามารถสร้างโอกาสได้มากกว่า อย่าไปโทษว่าไม่เสียสละ ไม่มีน้ำใจ ตอนที่รัฐมนตรีจบหมอใหม่ๆ มีน้ำใจหรือไม่”
      
ในวันที่ 3 เม.ย.นี้ แพทย์ใน 3 จังหวัดใต้ รวมทั้งสตูล สงขลา 5 จังหวัด จะไปประชุมในกลุ่มเครือข่ายทุกโรงพยาบาลใน 5 จังหวัด เพื่อให้ทุกโรงพยาบาลดำเนินการไปตามมาตรการ ส่วนชมรมแพทย์ชนบท ทันตภูธร จะมีการทำความเข้าใจเอาความจริงมาตีแผ่ ให้โรงพยาบาลชุมชนทราบในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ที่ กทม. และหากรัฐมนตรียังเดินหน้า เราจะต่อต้านต่อไป และท้ายสุดเชื่อว่ารัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งไม่ได้ ผอ.โรงพยาบาลสิชล กล่าว
      
ขณะที่ นางฉวีพงศ์ บุญกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพ หัวหน้าตึกผู้ป่วยหนัก แสดงความเห็นว่า ในเรื่องค่าตอบแทนเบี้ยกันดารนั้น เห็นใจหมู่โรงพยาบาลชุมชนที่ต้องดูแลคนไข้รากหญ้า ค่าตอบแทนเบี้ยกันดารเหมือนแรงจูงใจ มาตรการของการจดแต้มนั้น งานพยาบาลจะต้องมีการดูแลเป็นทีมที่จะให้กับคนไข้ ต้องช่วยกันทำงาน แล้วจะบอกว่าคนไข้เป็นของใคร มันพูดยาก เป้าหมายสูงสุดคือ การให้คนไข้ได้หายเร็วๆ และได้กลับบ้าน ไม่ใช่แค่การจดแต้ม
      
เช่นเดียวกับ นายวิชัย ใจซื่อ อายุ 38 ปี ชาว ต.สี่ขีด อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช แสดงความเห็นว่าสงสารหมอหากมาตรการนี้ ส่งผลกระทบกับหมอจนหมอออกหมด ชาวบ้านจะทำอย่างไร จะต้องเดินทางเข้าไปรักษาในตัวเมือง ก็กระไรอยู่ ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงควรจัดการเรื่องนี้ให้ชัดเจน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 2-4-2556)

 

เงินกองทุนประกันสังคมพุ่งกว่า 1 ล้านล้าน

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน(รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ด สปส.) เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการการแพทย์ของสปส.เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติในการจ่ายค่ารักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงตาม ข้อสรุปซึ่งสปส.ได้ประชุมทำความตกลงกับโรงพยาบาลระบบประกันสังคมและโรง พยาบาลคู่สัญญาที่มีศักยภาพสูง(Supra Contractor )ไปเมื่อเร็วๆนี้โดยหากผู้ประกันตนที่มีระดับความรุนแรงของโรค(RW)อยู่ใน ระดับ 2 ขึ้นไปแล้วเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระบบประกันสังคมที่ผู้ประกันตนมีบัตร รับรองสิทธิอยู่ สปส.จะจ่ายค่ารักษาให้ RW ระดับละ 11,500 บาทไปก่อนจากวงเงินที่กำหนดไว้ RW ระดับละ 15,000 บาท หลังจากนั้นช่วงปลายปีเมื่อสปส.สรุปผลค่ารักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงใน ภาพรวมแล้ว หากมีงบเหลือจากที่ตั้งงบรองรับไว้ 4,460 ล้านบาท สปส.ก็จะจ่ายเงินค่ารักษาส่วนที่เหลือให้แก่โรงพยาบาลระบบประกันสังคม แต่หากไม่มีงบเหลือและประเมินแล้วพบว่ารพ.ระบบประกันสังคมมีภาระค่ารักษามาก ก็จะหาทางช่วยเหลือต่อไป

นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีบัตรรับรองสิทธิส่งต่อผู้ป่วยไปให้โรง พยาบาลคู่สัญญาที่มีศักยภาพสูงช่วยรักษาต่อ สปส.จะจ่ายค่ารักษาให้โรงพยาบาลคู่สัญญาที่มีศักยภาพสูงที่ RW ระดับละ 15,000 บาท แต่หากค่ารักษาทั้งหมดเกินกว่าวงเงินที่สปส.กำหนดไว้ โรงพยาบาลในระบบประกันสังคมซึ่งเป็นผู้ส่งต่อผู้ประกันตน จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินส่วนต่างให้แก่โรงพยาบาลคู่สัญญาเอง ซึ่งจากการหารือกันโรงพยาบาลระบบประกันสังคมไม่ขัดข้องในเรื่องนี้โดยแนว ปฏิบัตินี้จะใช้เพียงแค่ 6 เดือนโดยสิ้นสุดเดือนตุลาคมนี้

นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ได้กำชับให้ที่ประชุมเร่งจัดทำทะเบียนโรงพยาบาลคู่สัญญาที่มีศักยภาพสูงตาม เกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ซึ่งมีประมาณ 50-60 แห่งให้แล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย.นี้ เพื่อไม่ให้โรงพยาบาลคู่สัญญามีปัญหาในการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาจากสปส. และหากผู้ประกันตนต้องการที่จะไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโรงพยาบาลระบบประกันสังคมเอง ก็สามารถทำได้สะดวกมากขึ้นโดยติดต่อมายังสปส. ทั้งนี้ ขณะนี้มีโรงพยาบาลระบบประกันสังคม 8 แห่งที่ยังไม่มีโรงพยาบาลคู่สัญญา ซึ่งสปส.จะเร่งให้โรงพยาบาลกลุ่มนี้ติดต่อกับโรงพยาบาลที่อยู่ในทะเบียน เพื่อให้มาเป็นรพ.คู่สัญญาโดยเร็วที่สุด

นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสปส. กล่าวว่า จากข้อมูลของ สปส. ณ เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งหมด 11,820,108 คน แบ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 9,465,388 คน มาตรา 39 จำนวน 999,991 คน และมาตรา 40 จำนวน 1,354,729 คน ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีเงินสะสมทั้งหมดกว่า 1,083,198 ล้านบาท นอกจากนี้ สปส.สามารถทวงเงินสมทบจากนายจ้างมาได้กว่า 130 ล้านบาท จึงเหลือเงินที่นายจ้างค้างจ่ายเงินสมทบกว่า 3,650 ล้านบาท

(เนชั่นทันข่าว, 4-4-2556)

 

จับ ร.อ.เก๊เปิดโรงงานนรกทารุณแรงงานต่างด้าว 

(5 เม.ย.)  พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา(สบ10) สั่งการให้ พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืช ผบก.ปคม.  พ.ต.อ.ปัญญา ปิ่นสุข รองผบก.ปคม. พ.ต.ท.อัศวิน หวังสู้ศึก รองผกก.1 บก.ปคม.  ประสานงานกับ พ.ต.ท.วิฑูรย์ นุชบุษบา สวป.สน.บางขุนเทียน นำหมายค้นศาลอาญาธนบุรี เลขที่ 93/2556 ลงวันที่ 5 เม.ย. เข้าตรวจค้นโรงงาน ที่.พี.เอ็น.อุตสาหกรรม เลขที่ 26/729 ซอยเอกชัย69/3 แขวงและเขตบางบอน  หลังได้รับแจ้งจากพลเมืองดีสถานที่ดังกล่าวเป็นโรงงานนรกกักขังหน่วงเหนี่ยวและทำร้ายร่างกายคนงานต่างด้าว  พบเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 2 คูหา ทำประตูเหล็กสีฟ้าปิดมิดชิด มีป้ายติดด้านหน้าระบุชื่อ ร.อ.ธิติพัฒน์  และมีเครื่องหมายทหารติดทั่วบริเวณหน้าอาคาร  ตรวจสอบภายในบริเวณชั้น 1 เป็นโรงงานปั๊มซีลตู้ปลา พบคนงานหญิงสาวชาวลาว 2 คน อายุ 15 ปี และ17 ปี หญิงสาวชาวพม่า อายุ 18 ปี อีก 1 คน กำลังทำงานอย่างขะมักเขม้น เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้หยุดทำงาน และขึ้นไปจับกุมนายธิติพัฒน์ หรือ ผู้กองเปิ้ล หรือ สารวัตรเปิ้ล นิธิเสถียร อายุ 41 ปี บนชั้นลอยที่เปิดเป็นออฟฟิศของโรงงาน 

จากการตรวจค้นในห้องพบอาวุธปืนขนาด 11 มม.พร้อมกระสุน 7 นัด แม็กกาซีนปืน 3 อัน ปืนสั้นบีบีกันส์ 1 กระบอก เสื้อนายทหารติดยศร้อยเอก 3 ตัว และติดยศพันโทอีก 1 ตัว กุญแจมือ 2 อัน บัตรนายทหารปลอมระบุชื่อ ร.อ.ธิติพัฒน์ นิธิเสถียร หัวหน้าหน่วยรบพิเศษ จปร.ชุดที่2 จำนวน 3 ใบ เครื่องช๊อตไฟฟ้า 1 อัน ซองปืน2 อัน โซ่ 1 เส้น พร้อมรถยนต์เบนซ์ สีน้ำเงิน ทะเบียน อพส 643 กรุงเทพมหานคร  รถยนต์วอลโว่ สีทอง ทะเบียน 3อ8321 กรุงเทพมหานคร  รถจยย.ฮอนด้า พีซีเอ็กซ์ สีดำ ทะเบียน ณฉ 1920 กรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 คันติดตราสัญลักษณ์ทบ.ไว้จำนวนมาก  จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน 

บริเวณชั้นที่ 2 พบว่าเป็นห้องพัก 2 ห้อง และห้องครัว บริเวณชั้น 3 ใช้เป็นห้องพักคนงานทั้ง 3 ห้อง และเป็นที่ผลิตผ้าก๊อตพันแผล ส่วนบริเวณชั้น 4 เป็นห้องพักคนงานอีก 2 ห้อง และห้องผลิตและเก็บผ้าก๊อตอีก 1 ห้อง นอกจากนี้บริเวณผนังในห้องเก็บของยังพบรอยกระสุนปืนอีกหลายนัด และมีโซ่ที่ใช้สำหรับล่ามคนงานผูกติดอยู่กับจักรเย็บผ้าอีกด้วย 

พ.ต.ท.อัศวิน เผยว่า สืบเนื่องจากทางปคม.ได้รับการประสานงานจากรายการโทรทัศน์ ว่ามีหญิงสาวหนีออกมาจากโรงงานดังกล่าว โดยเล่าให้ฟังว่าถูกเจ้าของบังคับให้ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ถ้าใครไม่ทำงานและทำอะไรผิดก็จะถูกเฆี่ยนตีอย่างทารุน และถูกใส่กุญแจมือ เอาโซ่ล่ามติดไว้กับจักรเย็บผ้า และยังบังคับให้คนงานชายชาวพม่าข่มขืนคนงานหญิงชาวลาว เพื่อไม่ให้คิดหลบหนีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเพื่อนที่ถูกกักอยู่ด้านในอีก3คน เจ้าหน้าที่จึงเฝ้าสังเกตการณ์มาระยะหนึ่ง กระทั่งขออำนาจศาลออกหมายค้นเพื่อเข้าตรวจสอบ และจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ดังกล่าว นอกจากนี้จากการตรวจสอบประวัติผู้ต้องหาพบว่า  เมื่อกลางปี2555 นายธิติพัฒน์ ได้ก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงแขนตัวเองภายในบ้าน เนื่องจากภรรยาหนีออกไปจากบ้านหลายวัน ทำให้เกิดความเครียด แต่ก็ไม่ได้เป็นคดีความแต่อย่างใด 

สอบสวนนายธิติพัฒน์ ให้การอ้างว่า เรียนจบแค่ม.3 ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนายทหาร แต่ที่บ้านเป็นคนเชื้อสายจีนต้องการให้ออกจากโรงเรียนมาค้าขาย ทำธุรกิจต่อจากครอบครัว จึงได้ไปซื้อเครื่องแบบทหาร และทำบัตรทหารปลอมมาเก็บไว้ ไม่ได้มีเจตนาเอาไปใช้แอบอ้าง  ปืนก็ซื้อต่อจากเพื่อนมายังไม่ได้โอน ส่วนรอยกระสุนที่พบบนกำแพงห้องชั้น 4นั้น เกิดจากการซ้อมยิงปืน เนื่องจากไม่กล้ายิงขึ้นฟ้า เพราะกลัวจะเกิดอันตรายตกใส่ศีรษะคนอื่น และจะยิงในเวลากลางวันขณะที่คนละแวกบ้านไปทำงานกันหมด  

"คนงานที่ถูกทำร้ายนั่นเป็นเพราะชอบขโมยเงินของภรรยาเป็นประจำ และทำงานผิดพลาดจนทำให้ธุรกิจเสียหาย ส่วนที่ต้องล่ามโซ่ข้อเท้าก็เพราะเกรงว่าคนงานจะคิดสั้นกระโดดตึกตาย อีกทั้งผมมักจะขู่ด้วยการซ้อมยิงปืนใส่กำแพงให้เห็นเป็นประจำเพื่อให้เกิดความกลัว ค่าแรงก็ให้วันละ 300บาท เท่าค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ได้เอาเปรียบคนงานแต่อย่างใด"นายธิติพัฒน์กล่าว 

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาค้ามนุษย์โดยการกักขังหน่วงเหนี่ยว ให้ที่พักพิงคนต่างด้าว ครอบครองอาวุธปืนผิดมือไว้ในครอบครอง กระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงาน ใช้ยศโดยไม่มีสิทธิ ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ก่อนจะนำตัวส่งปคม.ดำเนินคดีต่อไป 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 5-4-2556)  

 

ทะลักด่านแม่สอด-เมียวดี แรงงานพม่าแห่กลับบ้านเที่ยวสงกรานต์มหาศาล 

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 7 เมษายนว่า แรงงานพม่านับ 1,000 คน จากกทม.และเขตปริมณฑล เดินทางกลับไปภูมิลำเนา เพื่อไปเที่ยวเทศกาลสงกรานต์ ในปีนี้ ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความแออัด โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าด่านพรมแดนไทย – พม่า  ที่  แม่สอด – เมียวดี ซึ่งแรงงานพม่าส่วนมากได้ใช้หนังสือเดินทางหรือ พาสปอร์ตแรงงานในการกลับไปภูมิลำเนา ทำให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก ต้องทำงานหนัก เนื่องจากต้องตรวจหนังสือเดินทางขาออก บริเวณสะพานมิตรภาพไทย – พม่า และแรงงานพม่าส่วนหนึ่งต้องกลับทางท่าขนส่งสินค้า โดยสารเรือไปยังฝั่งพม่า 

(มติชนออนไลน์, 7-4-2556) 

 

"หมอชลน่าน"เล็ง ตั้งอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว ดูแลโรคติดต่อกันเอง 

นายชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการหอกระจายข่าวออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 92.5 เมกะเฮิรตซ์ ถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงการใช้บริการสาธารณขั้นพื้นฐาน ว่า ความเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขของประเทศไทยได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลก และองค์การสหประชาชาติว่าสามารถพัฒนาประชากรได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ที่ถูกคัดเลือกโดยชุมชน ซึ่งทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปจัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ โดยที่ผ่านมาพบว่าทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และชุมชนในพื้นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ยังมีนโยบายที่จะขยายโครงการนำร่องเข้าสู่ชุมชน เพื่อจัดการระบบสุขภาพของประชาชนให้เข้มแข็งใน 1,756 ตำบล โดยจะนำเอานวัตกรรมใกล้บ้านใกล้ใจแบบมีส่วนร่วม เข้าไปดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังเตรียมที่จะจัดตั้งอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว หรือ อสต. ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าไปช่วยดูแลสุขภาพของแรงงานเพื่อป้องกันโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเข้ามาแพร่เชื้อในประเทศไทย 

(มติชนออนไลน์, 7-4-2556) 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตนายกฯ อังกฤษ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 87 ปี

$
0
0
8 เม.ย. 56 - อดีตนายกรัฐมนตรีสตรีคนแรกของของอังกฤษ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ฉายา "หญิงเหล็ก"ถึงแก่อนิจกรรมแล้วในวัย 87 จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก โดยลอร์ด เบลล์ โฆษกของนางกล่าวว่า มาร์คและแครอล เเธตเชอร์ บุตรและธิดา ต้องการประกาศให้ทราบว่ามารดาของพวกเขา บารอนเนสแธตเชอร์ถึงแก่อนิจกรรมแล้วในช่วงเช้าวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่นของอังกฤษ 
 
แธตเชอร์มาจากพรรคอนุรักษ์นิยมและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 11 ปี ระหว่างปี 1979-1990 โดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1979, 1983 และ 1987 ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี ค.ศ. 1976 เธอได้รับสมญานามจากสื่อหนังสือพิมพ์ของประเทศรัสเซียว่าเป็น "หญิงเหล็ก" (The Iron Lady) จากการแสดงออกที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน
 
นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เดวิด คาเมรอน และสมเด็จพระราชินีอังกฤษ กล่าวแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียดังกล่าว ในขณะที่รัฐบาลระบุว่า จะมีการจัดพิธีงานศพในฐานะเดียวกับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี  และเจ้าหญิงไดอานา แต่มิให้จัดวางศพเพื่อให้ประชาชนเข้ามาแสดงความเคาระ ซึ่งเป็นประสงค์ของแธตเชอร์ก่อนเสียชีวิต
 
ในสมัยที่แธตเชอร์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แปรรูปอุตสาหกรรมของรัฐบางส่วนให้เป็นของเอกชน และทำสงครามกับอาร์เจนตินาจากสาเหตุพิพาทเรื่องเกาะฟอล์คแลนด์ในปี 1982 
 
ทั้งนี้ แทตเชอร์ เป็นผู้มีอิทธิพลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแนว "ลัทธิเสรีนิยมใหม่"ภายหลังจากที่เธอได้รับการเลือกตั้งเป็นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เมื่อ พ.ค. 1979 ที่พร้อมกับแนวทางการปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนจากนโยบายแบบเคนส์เซียน (Keynesianism) หันมาใช้วิธีการบริหารตามแนวคิดการเงินนิยม (Monetarist) และแบบเน้นจัดการอุปทาน (supply-side) ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อังกฤษประสบอยู่ในช่วงนั้น โดยแนวทางหลักๆของ รัฐในแบบเสรีนิยมใหม่ ประกอบด้วย การแปรรูปบริการของรัฐให้เป็นของเอกชน (Privatization) การเปิดเสรีทางด้านการค้าและการเงิน และการผ่อนคลาย ลดกฎระเบียบต่างๆ เช่น การผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ของตลาดแรงงาน ที่จะทำให้ความคล่องตัวและยืดหยุ่น ในการจ้างงานและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงกลไกรัฐสวัสดิการต่างๆ ถูกโอนไปให้เอกชนในการดูแลแทน
 
มีวาทะของแทตเชอร์หนึ่งที่สะท้อนอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ที่สำคัญ ตอกย้ำแนวคิดแบบปัจเจกนิยม (individualism) คือ "There is no such thing as society: there are individual men and women, and there are families."ซึ่งเป็นการโต้แย้งความคิดในแบบสังคมนิยม ที่ถูกพรรคแรงงานเสนอผ่านนโยบายแบบเคนส์เซียนมาโดยตลอด ชัยชนะของแทตเชอร์และอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ นำไปสู่การลดอำนาจของแนวคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ที่ก่อตัวและเติบโตขึ้นภายหลังปี 1945 โดยพลังของสหภาพแรงงาน
 
เนื้อหาบางส่วนจาก: เว็บไซต์ BBC, หนังสือ "ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คำเตือนสงกรานต์"

$
0
0

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คำเตือนสงกรานต์"

บีบีซี: อะไรอยู่เบื้องหลังความรุนแรงทางศาสนาในพม่า?

$
0
0

จากกรณีเหตุรุนแรงสะเทือนขวัญที่ชาวพุทธในเมืองเมกติลาของพม่าไล่รื้อทำลายทรัพย์สินชุมชนมุสลิม และมีการสังหารคนอีกจำนวนหนึ่ง BBC ได้นำเสนอรายงานมุ่งเสาะหาสาเหตุของความโกรธแค้นในครั้งนี้ และสำรวจปมความขัดแย้งระหว่างศาสนาที่มีมากกว่าความเชื่อที่ไม่ตรงกัน

เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เมืองเมกติลาจากการที่กลุ่มชาวพุทธไล่รื้อถอน ทำลายข้าวของ ที่พักอาศัยและร้านค้าของชาวมุสลิม รวมถึงมีการใช้ความรุนแรงต่อตัวบุคคลจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 40 ราย ผู้สื่อข่าว BBC โจนาธาน เฮด ได้เผยแพร่รายงานพิเศษเมื่อวันที่ 4 เม.ย. ที่ผ่านมา ระบุถึงสาเหตุความเป็นมาของเหตุรุนแรงดังกล่าว

โจนาธาน เฮด กล่าวถึงสภาพเหตุการณ์ว่า สภาพของเมกติลาดูคล้ายเมืองที่เพิ่งประสบกับภัยธรรมชาติ สิ่งปลูกสร้างในหลายย่านถูกทำลายลงเหลือเพียงซากอิฐซากปูน

"เมื่อคุณสังเกตเห็นรูบนกำแพงที่ยังตั้งอยู่ คุณก็จะรู้ว่ามันเป็นฝีมือของคน เป็นความโกรธที่ทำลายสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ฝืมือของธรรมชาติ"โจนาธานกล่าว

โจนาธานกล่าวอีกว่า ย่านนี้เป็นย่านชุมชนมุสลิมที่อยู่อาศัยมาหลายรุ่นแล้ว แต่หลังจากเหตุการณ์รุนแรง บ่านดังกล่าวถูกทำลายลง ครอบครัวและเจ้าของร้านซึ่งเคยอยู่ในพื้นที่หายไป มีเพียงคนที่คอยหาเก็บของมีค่าจากซากที่เหลืออยู่

ในรายงานของ BBC ยังมีการพูดถึงเหตุการณ์สังหารเด็กชาวมุสลิม 20 คนที่นอกศาลากลางเมือง โดยที่เด็กทั้ง 20 คน ถูกนำตัวออกมาจากโรงเรียนมุสลิมและถูกฟันจนเสียชีวิตทั้ง 20 คน จากนั้นจึงมีการราดน้ำมันและจุดไฟเผา โดยที่โจนาธานบอกว่ายังคงมีเศษกระดูกไหม้เกรียมอยู่ตามขี้เถ้าบนพื้น และมีรองเท้าที่ถูกทิ้งไว้

หลังจากเหตุการณ์รุนแรง ทหารที่ไม่ปรากฏตัวให้เห็นมากนักในพม่ายุคใหม่ก็กลับมาบนท้องถนน มีการประกาศเคอร์ฟิวช่วงกลางคืน และแม้แต่ส.ส. ในเมืองเมกติลาที่เคยเห็นเหตุการณ์รุนแรงมาก่อนหน้านี้ ยังรู้สึกสะเทือนขวัญกับเหตุการณ์รุนแรงในเดือน มี.ค.

วิน เถ่ง เป็นคนที่เคยถูกจับเข้าคุกเป็นเวลา 20 ปี เนื่องจากอยู่ฝ่ายเดียวกับออง ซาน ซูจีแ ละพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของพม่า เขาเคยเป็นผู้นำทหารที่เห็นความรุนแรงมามาก แต่ก็ยังรู้สึกไม่เชื่อตัวเองเมื่อเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมกติลา

"ผมเห็นเด็ก 8 คน ถูกสังหารต่อหน้า ผมพยายามจะหยุดฝูงชน ผมบอกให้พวกเขากลับบ้าน แต่พวกเขาก็ขู่ผม และตำรวจก็พาตัวผมออกไป" Win กล่าว "ตำรวจไม่ได้ทำอะไรเลย ผมไม่รู้ว่าทำไม อาจเป็นเพราะว่าพวกเขาขาดประสบการณ์ หรือเป็นเพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะออกคำสั่งอย่างไร"

วิน เล่าอีกว่า มีกลุ่มคนออกมาตะโกนส่งเสียงเชียร์เมื่อมีการสังหารเกิดขึ้น ซึ่งในกลุ่มคนมีทั้งผู้หญิง,พระ และเด็ก พวกเขาตะโกนว่า "พวกมันฆ่าพระเราไปเมื่อวาน พวกเราถึงต้องฆ่าพวกมัน"วินบอกว่าเขารู้สึกขยะแขยงและอับอาย

ประชากรราวร้อยละ 30 ในเมกติลาเป็นชาวมุสลิม เป็นกลุ่มประชากรที่มีโดดเด่นในเรื่องการค้า มีจำนวนมากเป็นเจ้าของกิจการ แต่ในตอนนี้ประชากรส่วนใหญ่ถูกย้ายไปอยู่ที่ค่ายอพยพและมีตำรวจติดอาวุธคอยเฝ้าระวังอย่างหนาแน่น

โจนาธานกล่าวว่า กลุ่มนักข่าว BBC พยายามเข้าไปในค่ายเพื่อพูดคุยกับประชาชนผู้อพยพ แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไป เขาเห็นว่ามีการนำสิ่งของช่วยเหลือเข้าไปในค่ายและมีตัวแทนจากต่างชาติเข้าเยี่ยมเยียน แต่สภาพในค่ายยังแร้นแค้น แทบจะปราศจากสุขอนามัย

 

ต้นเหตุของความขัดแย้ง

ความโกรธแค้นชิงชังในครั้งนี้มีสาเหตุมาจากอะไร?

โจนาธาน กล่าวในรายงานว่า มันเริ่มมาจากเหตุการณ์วิวาทในร้านทองชาวมุสลิมที่ย่านใจกลางเมืองเมื่อวันที่ 20 มี.ค. มีคนบอกว่าคู่สามีภรรยาชาวพุทธคู่หนึ่งไปขายเครื่องเพชรให้กับร้านดังกล่าว มีการถกเถียงกันเรื่องราคาจนลามไปถึงขั้นลงไม้ลงมือกัน

หลังจากนั้นก็มีพระรูปหนึ่งถูกทำร้าย และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ข่าวเรื่องนี้เป็นการจุดขนวนให้เกิดกลุ่มม็อบออกโจมตีพื้นที่ของชาวมุสลิม อย่างไรก็ตามมีการมองในอีกแง่ว่าเหตุความรุนแรงอาจจะมาจากจากชักใยจากคนภายนอก

"แต่สิ่งที่แน่นอนคือความกลัวและความเกลียดชังชาวมุสลิมที่ฝังอยู่ภายใน และในทุกวันนี้ก็มีการเปิดเผยความรู้สึกแบบนี้ให้เห็นอยู่ทั่วประเทศพม่า พวกเขาเรียกชาวมุสลิมด้วยคำในเชิงเหยียดหยามอย่างคำว่า 'กะหล่า'"โจนาธานกล่าว

โจนาธาน ยกตัวอย่างพระอะชิน วิระธุ พระสงฆ์อายุ 45 ปี ในภาคมัณฑะเลย์ ซึ่งเคยถูกจับเข้าคุกในปี 2003 ในข้อหายุยงให้เกิดความรุนแรงต่อชาวมุสลิม เขาถูกปล่อยตัวเมื่อปีที่แล้ว (2012) จากการนิรโทษกรรมนักโทษในวงกว้าง

พระอะชิน วิระธุ เคยจัดการประท้วงสนับสนุนชาวพุทธในรัฐอาระกันซึ่งเคยมีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้นในช่วงเดือน มิ.ย. ปีที่ผ่านมา และเผยแพร่คำปราศรัยที่ถูกแจกจ่ายไปทั่ว พระอะชิน วิระธุ พูดถึงประเทศพม่าด้วยทัศนคติหวาดกลัวต่างชาติไว้อย่างน่าตื่นตระหนก

โจนาธานเปิดเผยว่า เขาได้นัดพบกับพระอะชิน วิระธุ ที่วัดมะ ซอ เหย่ง ในมัณฑะเลย์ พระอะชิน วิระธุ เป็นคนที่พูดจานุ่มนวล สงบเสงี่ยม มีบารมีดึงดูดผู้คน ผู้ติดตามรู้สึกว่าเขาเป็นคนน่าเกรงขาม พระอะชิน วิระธุ เพิ่งกลับมาจากย่างกุ้งซึ่งเขาถูกเรียกตัวจากรัฐบาลให้ไปประชุมเหล่าผู้นำศาสนาเพื่อลดความตึงเครียดในชุมชน

พระอะชิน วิระธุ บอกว่า เขายอมลดน้ำเสียงในคำปราศรัยของเขาให้อ่อนลง แต่ความรู้สึกของเขาต่อกลุ่มชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่มีอยู่ราวร้อยละ 8-9 ของประชากรทั้งหมดยังไม่เปลี่ยนแปลง

 

'สติกเกอร์ 969'

พระอะชิน วิระธุ บอกว่าชาวพุทธอ่อนข้อเกินไปและไม่มีความภาคภูมิใจในชาติของตน

"พวกเขา ชาวมุสลิม ทำธุรกิจเก่ง พวกเขาควบคุมการขนส่ง การก่อสร้าง ตอนนี้พวกเขากำลังยึดกุมพรรคการเมืองของพวกเรา หากเราปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป พวกเราจะกลายเป็นเหมือนอัฟกานิสถานหรืออินโดนีเซีย"พระอะชิน วิระธุ กล่าว

พระอะชิน วิระธุ อ้างว่าเขาได้รวบรวม 'หลักฐานความชั่ว'ของกลุ่มชาวมุสลิมไว้ เขากล่าวหาว่าชาวมุสลิม 'ข่มขืน'ผู้หญิงชาวพุทธอยู่เป็นประจำ โดยการใช้เงินล่อลวงให้ผู้หญิงชาวพุทธไปแต่งงานด้วย แล้วกักตัวพวกเธอไว้แต่ในบ้าน พระอะชิน วิระธุ บอกอีกว่าประชากรชาวมุสลิมเติบโตเร็วมากจนกลัวว่าจะกลายเป็นการยึดครอง

พระอะชิน วิระธุ ให้นำหนังสือที่มีหน้าปกเป็นรูปหญิงชาวพุทธหมอบตัวด้วยความหวาดกลัวต่อหมาป่ายักษ์น้ำลายไหลมาให้ผู้สื่อข่าว BBC ดู จากนั้น พระอะชิน วิระธุ ก็ได้กล่าวเปรียบเปรยฟังดูน่าขนลุก บอกว่า "หากมีเมล็ดพันธุ์ไม้มาเติบโตในวัด มันอาจจะดูยังเล็กในตอนแรก แต่ควรจะตัดมันทิ้ง เพื่อไม่ให้มันเติบโตจนทำลายสิ่งก่อสร้าง"

อย่างไรก็ตาม พระอะชิน วิระธุ กล่าวว่าเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงในเมกติลา แม้ว่าเขาจะอยู่ที่นั่น พระอะชิน วิระธุได้ทำการรณรงค์เรียกร้องให้ทั่วประเทศคว่ำบาตรธุรกิจของมุสลิม ผู้ติดตามของเขาได้แจกจ่ายสติกเกอร์ที่มีตัวเลข '969'ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธศาสนาให้แก่เจ้าของกิจการทั่วมัณฑะเลย์

โจนาธานกล่าวถึงนายหน้าค้าที่ดิน จิ จิ มะ ซึ่งเดินไปในตลาดและกล่าวอย่างภาคภูมิในว่ามีร้านค้าจำนวนมากติดสติกเกอร์แสดงตัวว่าเป็นชาวพุทธ

ขณะที่ร้านค้าของชาวมุสลิมซึ่งตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวมีเจ้าของร้านสวมผ้าคลุมหัว ไม่มีลูกค้าเข้าร้าน เจ้าของร้านชาวมุสลิมกล่าวต่อนักข่าว BBC ด้วยเสียงกระซิบอย่างระมัดระวังว่า หลังเกิดเหตุความวุ่นวายที่เมกติลา ลูกค้าร้านเธอน้อยลงมาก

"ฉันเป็นคนทำธุรกิจ ฉันไม่ได้อยากมีส่วนกับอะไรแบบนี้"เจ้าของร้านค้าชาวมุสลิมกล่าว "บางที พวกเขาอาจจะไม่ชอบวิธีการแต่งตัวของฉัน"

โจนาธาน ระบุว่า พม่าเป็นประเทศที่มีความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจของคนต่างชุมชนมายาวนาน ซึ่งทำให้ถูกกระตุ้นเร้าและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในช่วงที่ยังคงอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร

"แต่ในตอนนี้ประเทศพม่าเปิดแล้ว และบรรยากาศของเสรีภาพก็แพร่ไปทั่วอย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งนี้ควรจะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนประเทศไปสู่อนาคตที่ดีงามกว่า"โจนาธานกล่าว

 
 
เรียบเรียงจาก What is behind Burma's wave of religious violence?, BBC, 04-04-2013 http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-22023830
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีเสรีภาพที่แท้จริงอยู่ก่อนแล้ว : ปัญหาเรื่องความหมาย

$
0
0

 

เกริ่นนำ

เมื่อปัจเจกบุคคลต่างให้ความหมายของคำตามอัตถิภาววิสัยของตนเอง อย่างน้อยที่สุด เราหวังว่า เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับเขา (หรือเขาตีความว่าเป็นจริง) เช่น ประสบการณ์ส่วนตัวที่คนหนึ่งมีต่อบารมีของผู้นำแบบที่หลวงวิจิตรวาทการมีต่อจอมพลแปลก พิบูลสงคราม แต่ปัญหาซึ่งไม่มีวันสิ้นสุดก็มีต่อไปว่า แล้วอะไรเป็นความจริงสากล หรือความจริงกลาง ที่ควรจะมีไว้เพื่ออ้างอิง หรือ เพื่อยอมรับในฐานะข้อตกลงกลางเล่า? เพราะถ้าสนทนาของผู้มีอำนาจปกครองคำนึงถึงประโยชน์สุขที่มหาชนควรมีควรได้อย่างเท่าเทียมกัน ประสบการณ์แบบอัตถิภาวะนิยม ของผู้มีอำนาจแต่ละคน รวมถึงปวงชนด้วยควรจะมีการประมวลผลผ่านการเสวนาให้กลายเป็น ข้อตกลงกลางมิใช่หรือ? เช่น ถ้าในรัฐธรรมนูญที่เปรียบเหมือนข้อตกลงกลางได้ตราไว้ว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 หมวด 3 มาตรา 30) แล้วถ้าในอัตถิภาววิสัยของใครหลายคนเห็นว่า “มี”การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะความแตกต่างในเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมืองล่ะ? แบบนี้ข้อตกลงกลางจะว่าอย่างไร? หรือไม่มีเสรีภาพที่แท้จริงอยู่ก่อนแล้ว เพราะที่ตราไว้นั้นเป็นเพียงการแถลงตามพิธีการว่าสักวันหนึ่งจะมีความคิดแบบนี้ แต่ไม่ใช่วันนี้หรือเดี๋ยวนี้แน่นอน?
 

เนื้อหา

ความเป็นไปในศตวรรษที่ 21 อะไรที่เป็นเรื่องกฎหมายล้วนแต่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนงำ และมีวาระซ่อนเร้นเกือบทุกเรื่องไป คงเป็นเรื่องที่เพ้อฝันไปแล้วสำหรับการวาดฝันสังคมในอุดมคติที่ทุกอย่างจะกลับมาเท่าเทียมและมีเสรีภาพได้ แต่สิ่งที่ประชาชนต้องทำมิใช่การนั่งทนทุกข์และหมดหวังจากการถูกกดขี่อย่างต่อเนื่องจากผู้มีอำนาจ หากแต่เป็นการยอมรับในความจริงเท่าที่จะทำได้ และพยายามแก้ไขบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่พี่น้องร่วมสังคม ถ้าอยากจะทำ ซึ่งความอยากจะทำนี้เอง เป็นแรงจูงใจที่ปลุกเร้าพี่น้องประชาชนบางส่วนให้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ “เสรีภาพตามข้อตกลงกลางที่เขาควรมีควรได้” อย่างน้อยที่สุด การยั่วเย้าจากประชาชนซึ่งอาจดูป่าเถื่อนเมื่อเทียบกับภาพลักษณ์ผู้ดีมีสกุลของบรรดาผู้มีอำนาจปกครอง กำลังตั้งคำถามว่า “ถ้ามันไม่มีเสรีภาพจริงๆแล้ว คุณกล้ายอมรับไหมล่ะว่ามันไม่มีจริงๆ?”

ปัญหาของเรื่องนี้อาจเป็นว่า การให้ความหมายของคำว่าเสรีภาพมีความไม่เหมือนกันอยู่ก่อนแล้ว เช่น ถ้าคุณเชื่อค้านท์ (Immanuel Kant) คุณอาจเห็นว่า เสรีภาพคือการที่มนุษย์คนหนึ่งเข้าถึงเหตุผลชุดหนึ่ง ซึ่งเหตุผลชุดนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นธรรมชาติของระบบเหตุผลทั้งมวล? ในขณะที่ ถ้าคุณเชื่อซาร์ตร (Sartre) คุณอาจเห็นว่า สิ่งต่างๆมิได้ถูกกำหนดด้วยเกณฑ์ที่เป็นสากล เราจะหาธรรมชาติของระบบเหตุผลทั้งมวลได้อย่างไร? แต่คุณค่าต่างๆ เกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราเลือกที่จะทำต่างหาก โดยการเลือกนั้นไม่ได้มีอะไรมากำหนดกฎเกณฑ์ทั้งสิ้นแม้กระทั่งเหตุผล? เมื่อเป็นแบบนี้แล้วคำว่า เสรีภาพจึงกลายเป็นเสรีภาพแบบของค้านท์ กับ เสรีภาพแบบของซาร์ตร และที่จริงมีชุดของการให้ความหมายคำว่าเสรีภาพแบบอื่นด้วย เช่น เสรีภาพแบบของฮอบส์ (Thomas Hobbes) หรือว่าจะเป็นการให้ความหมายที่หลังสมัยใหม่กว่านั้น เช่น เสรีภาพแบบของฟูโกต์ (Michael Foucault) และเมื่อนับมาถึงศตวรรษที่ 21 เราจะมีชุดของการให้ความหมายคำว่า “เสรีภาพ” รอให้ถูกหยิบมาใช้และผสมผสานอย่างมากมายไปหมด

จริงอยู่ทุกคนคงต้องการเห็นการให้ความหมายของคำแต่ละคำอย่างเรียบง่าย แต่อย่าลืมว่า นั่นอาจเป็นเพียงความปรารถนาส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความเป็นจริงแม้แต่น้อย ถ้าลองคิดถึงความเป็นจริงที่หลายคนบอกว่าแสนจะโหดร้าย เช่น ลองนึกถึงรายละเอียดทางข้อกฎหมายในนิติกรรมสัญญาที่คุณต้องลงลายมือชื่อ เพื่อกู้เงินในอนาคตมาต่อชีวิตคุณและครอบครัว คุณอาจจะนึกออกว่าแต่ละคำในทางกฎหมายซึ่งเป็นข้อตกลงกลางที่มีหลายหน้ากระดาษนั้น มันไม่ได้มีความหมายเรียบง่ายอย่างที่คุณคิด แน่นอนที่สุด มันไม่ง่ายเหมือนกับที่หลายคนหลอกตัวเองและพยายามชวนเชื่อผ่านสื่อมวลชนว่าอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นความจริงอันขมขื่นที่เราต้องยอมรับ เพราะเราอยู่ในโลกแห่งอุดมคติไม่ได้ตลอดไป ฉะนั้น เราย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า อะไรคือเสรีภาพสำหรับเราเท่าที่เราพึงกระทำได้ และอะไรเป็นเสรีภาพที่ผู้อื่นพึงกระทำได้ จึงได้ว่า เสรีภาพอาจไม่ใช่เรื่องของการต่างตอบแทน ไม่ใช่ว่า ฉันมีเสรีภาพในการทำร้ายเธอ เช่นกันเธอมีเสรีภาพในการทำร้ายฉัน ในเมื่อไม่เคยมีความเท่าเทียมกันแบบนั้น เพราะแต่ละคนก็ต้องการที่จะเป็นผู้กระทำฝ่ายเดียว และไม่พร้อมยอมรับการเป็นผู้ถูกกระทำด้วยกันทั้งนั้น ข้อตกลงกลางจึงต้องมีขึ้น และคงต้องสลับซับซ้อนเสมอ เพื่อให้เท่าทันและควบคุมเล่ห์เหลี่ยมร้อยแปดพันประการของมนุษย์

กระนั้นก็ดี ถึงจะไม่มีเสรีภาพที่แท้จริงอยู่ก่อนแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สิทธิของเราจะไม่ถูกคุ้มครองโดยข้อตกลงกลาง กล่าวคือ ข้อตกลงกลางจะมีความหมายเมื่อเราได้รับการคุ้มครองจากข้อตกลงนั้น เช่น เรามีสิทธิที่จะพูดถึงผู้อื่นตราบเท่าที่เราไม่ละเมิดสิทธิควรมีควรได้ของผู้อื่น เช่นเดียวกันผู้อื่นก็มีสิทธิพูดถึงเราตราบเท่าที่เขาไม่ละเมิดสิทธิควรมีควรได้ของเรา และในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิดังกล่าวนั้น ก็จำต้องมีกระบวนการให้เราเรียกร้องสิทธิควรพึงควรได้ของเราด้วย เป็นต้น การฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาท อย่างไรก็ตาม สิทธิควรมีควรได้ของบางคนถูกแทรกแซงเพราะสถานะทางสังคม เช่น การชวนเชื่อเรื่องเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนตัวของบุคคลสาธารณะ และการชวนเชื่อให้ผู้ถูกกระทำยอมรับการดูหมิ่นด้วยเหตุผลว่า คุณเป็นบุคคลสาธารณะ นั่นเป็นการใช้เหตุผลที่ลักลั่นและไม่เท่าเทียม อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นตรรกะวิบัติชนิดโจมตีตัวบุคคล

เช่นเดียวกัน การไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่า จะต้อง “มี” การยกเว้นเสรีภาพที่จะกระทำต่อใครบางคนเป็นพิเศษ อาจเป็นเรื่องที่จะกระทำได้ด้วยเหตุผลทางการปกครองและความมั่นคง แต่ควรจะพิจารณาถึงเหตุผลซึ่งรับรองการกระทำเช่นนั้นด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้เหตุผลที่ลักลั่นและไม่เท่าเทียมแล้ว ก็จะทำให้เกิดข้อโต้แย้งและความขัดแย้งได้ บ่อยครั้งเป็นเพราะมีการบังคับใช้ข้อตกลงกลาง ซึ่งขัดกับคำประกาศว่าด้วยความหมายของเสรีภาพแห่งมหาชนเสียเอง จึงกลายเป็นว่า มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างที่ไม่อาจยอมได้และมีแรงจูงใจที่จะเคลื่อนไหวเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่เขาเชื่อว่าไม่เป็นธรรมนั้น อาจเป็นเพราะไม่มีใครกล้าออกมายอมรับและชี้ชัดว่า สรุปแล้วมีเสรีภาพดังกล่าวหรือไม่มี?

ฉะนั้น โลกจึงมีนักคิดมากมายที่ในวิธีทางอ้อม เป็นต้น การล้อเลียนความร่ำรวยของผู้มีอำนาจซึ่งกำลังเทศนาสั่งสอนผู้อยู่ใต้อำนาจให้พอใจในความยากจน แนวคิดเสียดสีทางการเมืองเช่นนี้สะท้อนให้เห็นร่องรอยของความลักลั่นของการให้ความหมายคำว่า เสรีภาพ และแม้แต่ในระบอบการปกครองแบบคอมมูนเองก็ตาม ทั้งที่ ใครก็รู้ว่าเสรีภาพในระบอบคอมมูนอาจมีอยู่ เพียงแต่ว่าจะไม่มากเท่าระบอบประชาธิปไตย แต่แน่นอนว่า อาจมากกว่าระบอบเผด็จการทหาร แม้กระนั้น การให้เสรีภาพตามตัวบทกฎหมายอย่างจำกัดจำเขี่ยตามตัวอักษรที่ตราไว้ กลับเป็นคนละเรื่องกับเสรีภาพในทางปฏิบัติที่ควรมีควรได้ ฉะนั้น การกำหนดกฎเกณฑ์ไปเลยว่า “ที่จริงไม่อยากให้มีเสรีภาพเท่านั้นเท่านี้” อาจชัดเจนกว่า แต่เรื่องของเรื่องคือ ไม่มีใครกล้ายอมรับว่า การตัดสินใจปกครองของตนเองพรากเสรีภาพไปจากผู้อื่น

แล้วอะไรคือทางออกเกี่ยวกับปัญหาในการให้ความหมายที่ว่า? นักคิดหลายคนเช่นค้านท์ พยายามคิดค้นของตกลงกลางเพื่อเป็นหลักในการอ้างอิงสำหรับทุกการกระทำที่จะกำหนดว่า ดี-ชั่ว อย่างไรก็ตาม แนวทางลักษณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มีความไม่สมบูรณ์ ซึ่งนักคิดมากมายได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขระบบข้อตกกลางของค้านท์ บ้างก็เสนอให้ปรับเปลี่ยนบางส่วน บ้างก็เสนอให้รื้อถอนระบบนี้ไปเสียเลย นั่นคือ สิ่งที่เป็นไปแล้วในโลกของนักคิดและยังเป็นไปอยู่ จึงเป็นที่มาของคำว่า “หลังโครงสร้าง” (Post-structure) หรือ “หลังหน้าที่” (Post-Duty) ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นข้อเสนอที่ยังมีพัฒนาการและร่วมสมัยกับเราในศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางโลกที่พร้อมจะเรียนรู้ว่า ความหลากหลายเชิงการให้คุณค่ามีอยู่จริง (Epistemological pluralism) กล่าวคือ ทุกอย่างก็แล้วแต่ประชาชนในสังคมนั้นกำหนดและให้ความเห็นร่วมกัน และเป็นเสรีภาพของมนุษย์ที่จะให้คุณค่าต่อเรื่องต่างๆว่าอย่างไรก็ได้ ผ่านกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลอาศัยการตกผลึกและเสวนากันอย่างทั่วถึงจะช่วยให้มนุษย์พบว่า อะไรเป็นความเรียบง่ายที่ตนเองต้องการ
 

สรุป

ความหลากหลายของความหมายเป็นความจริงที่ใครก็ไม่อยากยอมรับ เพราะความจริงมีว่า มนุษย์มีประวัติศาสตร์และมีการผลิตซ้ำทางความหมายอย่างต่อเนื่องมานับพันปี การผลิตซ้ำไปซ้ำมาทั้งหมด ส่วนหนึ่งก็เพื่อแก้ปัญหาเรื่องข้ออ้างเกี่ยวกับเสรีภาพของบรรดาผู้ปกครองให้แล้วเสร็จ จนกระทั่งบัดนี้ เสรีภาพที่แท้จริงดังกล่าวยังเป็นเรื่องในอุดมคติ และถูกเปลี่ยนความหมายไปเรื่อยๆ เช่น การเสียดสีว่าเสรีภาพคือการทำอะไรตามอำเภอใจ กระนั้นก็ดี จุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนาและเลือกใช้ความหมายของเสรีภาพคงไม่ใช่เพื่อเอาไว้พูดสุนทรพจน์และโต้วาทีเท่านั้น หากแต่เกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ในอันที่จะได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมที่จะกระทำทุกอย่างภายใต้ของตกลงร่วมกันของการปกครองที่ทุกคนยอมรับ ซึ่งตราบใดที่ความเท่าเทียมกันยังไม่เกิดขึ้นแบบมีแนวโน้มไปในทางที่ดีและความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ถูกเลือกปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว คงไม่ต้องกล่าวว่า เรากำลังจะมีเสรีภาพ แต่น่าจะกล่าวว่า เราไม่มีเสรีภาพอยู่ก่อนแล้ว ทั้งหมดเป็นเพียงพิธีการและการสถาปนาให้สักคนสู่อำนาจ นั่นเป็นความจริงอันขมขื่นของประชาชน
 

 


               
                

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รสมาลิน ตั้งนพกุล: เมื่อฉันนึกถึงพวกเขา

$
0
0

 

เกาะลูกกรงทรงกายยืนฝืนยิ้มอยู่ริมปาก

แม้ทุกข์ยากปากบอกว่าทนไหว

ชูสองนิ้วว่ายังสู้ สู้สู้ไป

เพราะก็ทำได้เพียงแค่นี้

แต่หัวใจนั้นทุกข์ถมตรมทวี

ชีวิตนี้จะอยู่ให้สู้อีกแค่ไหน

มีความหวังหนทางออกคงไม่ยาวไกล

ขอเพียงนิรโทษให้คงได้สุขสันต์

เรายังร่วมปฐพีนี้รวมกัน

ช่วยสานฝันนั้นให้เป็นจริง 

 

 

รสมาลิน ตั้งนพกุล (ป้าอุ๊)

4 เม.ย.56

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวัติศาสตร์กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การนิรโทษกรรม

$
0
0

                              

ความเป็นมาของประมวลกฎหมายอาญา ม.112

 

ในอดีตการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งอำนาจการปกครองทั้งหมดเป็นของกษัตริย์และพระราชทายาท สยามมีหนังสือพิมพ์ภาษาสยามฉบับแรกคือ หนังสือจดหมายเหตุ (The Bangkok Recorder) ซึ่งดำเนินการโดย แดน บีช แบรดลีย์ (หมอบรัดเลย์) ตั้งแต่ปี 2387 (สมัย ร.3) แม้จะเปิดๆปิดๆหลายครั้ง และส่วนใหญ่จะลงข่าวต่างประเทศมากกว่าข่าวในประเทศ แต่ก็ถือเป็นเป็นปฐมบทแรกของวงการสื่อมวลชนสยาม ในรัชสมัยของ ร.5 มีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นหลายฉบับ สื่อมวลชนเหล่านี้เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆของรัฐบาลในหนังสือพิมพ์มากขึ้น 

1 มิ.ย. 2451 ร.5 ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า

"มาตรา 98 ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 5,000 บาท ด้วยอีกโสตหนึ่ง

มาตรา 100 ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลหนึ่งรัชกาลใด ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 2,000 บาทด้วยอีกโสตหนึ่ง" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ)

กฎหมาย 2 มาตรานี้ถือเป็นกฎหมายแรกที่มีบทลงโทษการกระทำที่เป็นการอาฆาต/หมิ่นประมาทต่อกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร, ผู้สำเร็จราชการ, พระราชทายาทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นผู้ใดที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการบริหารประเทศของกษัตริย์, พระราชินี, พระราชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย 2 มาตรานี้ กฎหมาย 2 มาตรานี้ไม่ได้ครอบคลุมถึง "การดูหมิ่น"และมีการแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ระดับคือ มาตรา 98 ให้ความคุ้มครองกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการเฉพาะในปัจจุบัน ส่วนมาตรา 100 ให้ความคุ้มครองพระราชวงศ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีมาตรา 10 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมาย 2 มาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในสยามด้วย

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ (ศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับ) แต่ไม่มีโทษขั้นต่ำ โดยมีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาทซึ่งถือเป็นโทษที่สูงมากในสมัยนั้น เมื่อเทียบกับค่าเงินสมัยปัจจุบันคงสูงเท่ากับเงินหลายแสนบาทเลยทีเดียว หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็ต้องปรับใช้มาตรา 18 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า 

"มาตรา 18 ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ปรับ แลมิใช้ค่าปรับภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ให้ยึดทรัพย์สมบัติมันใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นให้เอาตัวมันจำคุกแทนค่าปรับ

แลการจำคุกแทนค่าปรับเช่นนี้ ท่านกำหนดเปนอัตราไว้ว่า ให้จำวันหนึ่งแทนค่าปรับบาทหนึ่ง เปนประมาณ แต่ห้ามมิให้จำคุกด้วยโทษฐานนี้เกินกว่าปีหนึ่งขึ้นไป" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ)

ผู้เขียนเห็นว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้แม้โทษจำคุกจะไม่สูงเท่ากับกฎหมายในปัจจุบัน แต่โทษปรับรุนแรงมาก ผู้ต้องหาหลายคนอาจถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวเลยทีเดียว และหากไม่มีเงินชำระค่าปรับหรือชำระค่าปรับไม่ครบยังต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับอีกในอัตรา 1 วันต่อ 1 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้น่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากฎหมายในปัจจุบัน

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่กษัตริย์อีกต่อไป แต่อยู่ในมือของคณะราษฎรแทน

13 พ.ย. 2499 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 และยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ในมาตรา 112 ซึ่งระบุว่า

"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี"

กฎหมายมาตรานี้ต่างจากกฎหมายเดิม เนื่องจากมีการครอบคลุมถึง "การดูหมิ่น"ด้วย แต่กลับลดจำนวนผู้ถูกคุ้มครองให้เหลือเพียงกษัตริย์, พระราชินี, รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้นจึงเท่ากับเป็นการยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 100 

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายมาตรานี้มีการยกเลิกโทษปรับซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 100 ปีค่าของเงินก็ลดลงจนทำให้โทษปรับ 5,000 บาทอาจไม่น่ากลัวเท่ากับในอดีตอีกต่อไป แต่ไม่มีการเพิ่มโทษจำคุกหรือกำหนดโทษขั้นต่ำแต่อย่างใด ดังนั้นกฎหมายนี้จึงถือเป็นการลดโทษ นับเป็นครั้งแรกที่ไม่มีโทษปรับสำหรับมาตรานี้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 7 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในไทยด้วย

6 ต.ค. 2519 นักศึกษา/ประชาชนใน ม.ธรรมศาสตร์ จำนวนมากถูกจับกุม ผู้ต้องหาบางคนถูกกล่าวหาละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112 จากการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม ต่อมาเกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในคืนเดียวกัน

21 ต.ค. 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินออกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 ซึ่งสาระสำคัญในข้อ  1 กำหนดให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นดังนี้

"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี"

คำสั่งฉบับนี้เป็นการเพิ่มโทษจำคุกจาก 7 ปีเป็น 3-15 ปี หรือเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวเลยทีเดียว และมีการกำหนดโทษขั้นต่ำด้วย นับเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มโทษและกำหนดโทษขั้นต่ำสำหรับมาตรานี้ ดังนั้นคำสั่งนี้จึงถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงที่สุดของกฎหมายนี้

หลังการรัฐประหาร 2549 มีผู้ต้องหาจำนวนมากถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112 หลายฝ่ายมีความเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการแก้ไข/ปรับปรุงมาตรานี้หรือเพิ่มมาตราใหม่ ในปี 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

"ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 1/1 ความผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ มาตรา 112/1 และ มาตรา 112/2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 1/1

ผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์

มาตรา 112/1 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชโอรส พระราชธิดา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 112/2 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม ม.112 อีก 2 มาตรา เพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครอง โดย 2 มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ (ศาลสามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างก็ได้) ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร แถมยังมีการกำหนดโทษขั้นต่ำอีกด้วย กฎหมาย 2 มาตรานี้เป็นการขยายขอบเขตในการคุ้มครอง โดยมาตรา 112/1 ให้ความคุ้มครองถึงพระราชทายาทในปัจจุบัน (ไม่รวมอดีต) คล้ายกับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 100 ส่วนมาตรา 112/2 ให้ครอบคลุมถึงองคมนตรีและผู้แทนพระองค์ 

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องแปลกที่มาตรา 112/2 ให้ความคุ้มครองประธานองคมนตรี, องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ (ตำแหน่งเหล่านี้อาจเป็นบุคคลธรรมดา) เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระราชทายาท หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็ต้องปรับใช้มาตรา 30 หรือ 30/1 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า 

"มาตรา 30 ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตรา 200 บาทต่อหนึ่งวัน และไม่ว่าในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินกำหนด 1 ปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปีก็ได้

มาตรา 30/1 ในกรณีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 80,000 บาท ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ"

จาก 2 มาตรานี้เห็นได้ว่า หากผู้ต้องหาถูกปรับต่ำกว่า 80,000 บาทและไม่สามารถจ่ายค่าปรับ/จ่ายค่าปรับไม่ครบ จะต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับในอัตรา 1 วันต่อ 200 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ส่วนโทษปรับที่สูงกว่า 80,000 บาทอาจถูกจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่ถูกปรับต่ำกว่า 80,000 บาทสามารถขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนได้

เนื่องจากมีผู้ต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นจำนวนมากทั้งจากในประเทศ-ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลายคนมองว่า บางมาตราไม่เหมาะสมที่บุคคลธรรมดาจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์จนทำให้ สนช. ต้องยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด

ปี 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

"ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา 112/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 112/1 ผู้ใดรู้ว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา 112 ไม่นำความเข้าแจ้งต่อพนักงานสอบสวน แต่กลับนำความไปกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายต่อหน้าธารกำนัลหรือประชาชนว่ามีการกระทำความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 นั้น"

ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม ม.112 อีก 1 มาตรา เพื่อลงโทษผู้ที่ใช้ ม.112 กล่าวร้ายผู้อื่นเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยใช้บทลงโทษเดียวกับ ม.112 แต่หลายฝ่ายมองว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้ ม.112 เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดผู้นำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด

ปี 2554 คณะนิติราษฎรนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า 

"มาตรา 3 ให้ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นลักษณะ ... ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา... มาตรา...มาตรา... มาตรา... มาตรา... มาตรา... และมาตรา... แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ลักษณะ ...

ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ... ผู้ใด ติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา ... ในกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามลักษณะ... ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ถ้าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดนั้นเป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวแล้วแต่กรณี และการพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์

มาตรา ... ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ให้สานักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”

 

ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการนำเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และให้เพิ่มลักษณะใหม่คือ "ลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"แทน ลักษณะนี้มี 7 มาตรา โดยแยกการหมิ่นประมาทและดูหมิ่น/อาฆาตมาดร้ายออกจากกัน แยกกษัตริย์และพระราชินี/รัชทายาท/ผู้สำเร็จราชการออกจากกัน นอกจากนี้ยังเพิ่มการกระทำโดยการโฆษณา รวมทั้งยังมีการกำหนดการกระทำที่ไม่เป็นความผิดและผู้ที่มีอำนาจในการกล่าวโทษอีกด้วย

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 7 มาตรานี้เป็นลดโทษ ม.112 จากเดิมมากกว่าครึ่ง แต่เพิ่มโทษปรับเข้าไปแทน ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร โดยไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำของทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ

29 พ.ค. 2555 คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก 112) สามารถรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กว่า 40,000 คนเพื่อยื่นต่อรัฐสภาได้สำเร็จ แต่รัฐสภาปฏิเสธการรับพิจารณา โดยอ้างว่า ม.112 อยู่ในหมวด 2 ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจประชาชนในการแก้ไขได้ในเวลาต่อมา

ปี 2555 สมยศ พฤกษาเกษมสุข (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตรสาร Voice of Taksin) และผู้เขียน (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112 จากการเป็นผู้จำหน่ายวีดีทัศน์รายการ Foreign Correspondent และเอกสาร Wikileaks) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่ 

10 ต.ค. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยที่ 28-29/2555 (สมยศและผู้เขียนยื่นคำร้องแยกกัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารวมกัน) โดยวินิจฉัยว่า ม.112 ไม่ขัดแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง (เป็นไปตามหลักนิติธรรม), มาตรา 8 (สอดคล้องกับการให้ความคุ้มครองกษัตริย์), มาตรา 29 (เป็นการกำหนดโทษเท่าที่จำเป็นและไม่ได้มุ่งหมายให้บังคับเป็นการเจาะจง) และมาตรา 45 วรรคหนึ่ง-สอง (ไม่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น) แต่อย่างใด ดังนั้น ม.112 จึงยังมีผลบังคับใช้ต่อไป

 

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550

 

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นร่างกฎหมายที่นำเสนอในสมัยของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เกิดการรัฐประหารขึ้นก่อน การพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้จึงต้องยุติลง 

ต่อมารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อใน สนช. จนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2550 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า

"มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14"

พ.ร.บ. 2 มาตรานี้เป็นความพยายามของฝ่ายผู้ปกครองที่จะออกกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในอินเตอร์เน็ต โดยที่ ม.112 ไม่สามารถเอาผิดได้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 17 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในไทยด้วยเช่นเดียวกับ ม.112

ปี 2554 รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ....... เพื่อยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับเดิม และใช้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่แทน ทั้งที่ พ.ร.บ. ฉบับเดิมมีผลบังคับใช้เพียงไม่ถึง 4 ปี สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่มาตรา 24 ซึ่งมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 ส่วนมาตรา 27 เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 โดยกำหนดห้ามมิให้ลงโทษผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระบบจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้นั้นจงใจสนับสนุนหรือละเว้นไม่ดำเนินการแก้ไขซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 24 นอกจากนี้ยังมีมาตรา 29 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในไทยเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 17 ด้วย แม้ว่ามาตรา 27 ของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ดูเหมือนจะดีกว่า พ.ร.บ. ฉบับเก่า แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กลับแฝงวาระซ่อนเร้นมากมาย เช่น พ.ร.บ. ฉบับเก่าสามารถเอาผิดเฉพาะผู้กระทำ, ผู้เผยแพร่ และผู้ดูแลระบบเท่านั้น แต่ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่กลับครอบคลุมไปถึงผู้ครอบครองไฟล์เหล่านี้ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม

หากร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ผู้เขียนเชื่อว่าจะต้องมีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เข้าข่ายกระทำความผิดเหล่านี้ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่จึงถูกต่อต้านอย่างหนักจากทุกฝ่ายจนรัฐบาลต้องยอมถอนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ออกไปในที่สุด

ปี 2555 คธา (สงวนนามสกุล) (ผู้ต้องหาละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) จากการโพสต์ข้อความในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่ 

13 ก.ย. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องฉบับนี้ เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 14 (2) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นมุ่งคุ้มครองความมั่นคงประเทศและความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยส่วนรวมซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม และการกำหนดความผิดทางอาญาแก่บุคคลตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (3) คำโต้แย้งของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย

 

การนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ผู้เขียนพิจารณาถึง กฎหมายนิรโทษกรรมในอดีตที่ผ่านมาพบว่า มี กฎหมายนิรโทษกรรม 3 ฉบับที่เข้าข่ายนิรโทษกรรมให้กับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่ไม่มีฉบับใดเป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

24 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข โดยเข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการ และควบคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์, เจ้านายชั้นสูง และข้าราชการฝ่ายรัฐบาลไปอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน ต่อมา พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นประกาศถึงจุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และการสถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม การกระทำและประกาศคณะราษฎรฉบับนี้ถูกฝ่ายที่ผู้นิยมระบอบเดิมมองว่าเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

ขณะนั้น ร.7 ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่คณะราษฎร์ยึดอำนาจสำเร็จจึงมอบหมายให้ น.ต.หลวงศุภชลาศัย นำหนังสือกราบบังคมทูลให้ ร.7 เสด็จกลับสู่พระนครเพื่อกลับมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร

26 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรนำโดย พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ, พ.ต.หลวงวีระโยธิน, หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ประยูร ภมรมนตรี, จรูญ ณ บางช้าง, สงวน ตุลารักษ์ และ พล.ร.ต.พระศรยุทธเสนี เข้าเฝ้า ร.7 การเจรจาเป็นไปอย่างเคร่งเครียด คณะราษฎรยื่นข้อเสนอให้ ร.7 ทรงยอมรับรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร เพื่อที่ ร.7 จะได้ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อไป นอกจากนี้คณะราษฎรยังเจรจาขอให้ ร.7 ทรงพระราชทานอภัยโทษต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรในครั้งนี้ด้วย ร.7 ทรงยอมลงพระนามใน พ.ร.ก.นิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2475 เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2475 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

"บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้นไม่ว่าของบุคคลใดๆในคณะราษฎรนี้ หากว่าจะเป็นการละเมิดบทกฎหมายใดๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย"

จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคณะราษฎรในทุกข้อกล่าวหา รวมทั้งกฎหมายลักษณะอาญา  ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ด้วย พ.ร.ก. ฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ปี 2519 บุญชาติ เสถียรธรรมมณี ผู้จัดการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม ถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและข้อหาอื่น (คดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา) เขาเลือกที่จะต่อสู้คดีนี้โดยไม่ได้รับการประกันตัว

15 ก.ย. 2521 รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการนิร-โทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ในมาตรา 4 ซึ่งระบุว่า

"มาตรา 4 ให้ศาลทหารกรุงเทพดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 253ก/2520 ของศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 19) และให้ศาลอาญาดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา"

จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา ซึ่งเป็นคดีละเมิด ม.112 ส่งผลให้ศาลต้องจำหน่ายคดีออกจากศาลโดยไม่มีคำพิพากษาใดๆ บุญชาติ เสถียรธรรมมณี จึงได้รับการปล่อยตัวในที่สุด

24 ส.ค. 2532 รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532 โดยมีสาระสำคัญอยู่ในมาตรา 3 คือ

"บรรดาการกระทำของบุคคลใด ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2531 หากการกระทำนั้นเป็นความผิดดังต่อไปนี้

 (1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา

 (2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
 (3) ความผิดฐานอื่นที่เป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม (1) หรือ (2) ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง”

แม้ว่าสาระในมาตรานี้ (1) ดูเหมือนเป็นการนิรโทษกรรมให้กับการละเมิด ม.112 แต่ผู้เขียนไม่พบว่า มีผู้ใดได้รับการนิรโทษกรรมโดยตรงจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ 

13 ก.ค. 2529 วีระ มุสิกพงศ์ กล่าวปราศรัยหาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส.ประชาธิปัตย์ ที่ อ.สตึก และ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ การปราศรัยของเขาถูกกล่าวหาละเมิด ม.112 ในเวลาต่อมา

22 ก.ค. 2531 ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปีในข้อกล่าวหาละเมิด ม.112 แต่เขาได้รับการพระราชทานอภัยโทษหลังจากถูกจำคุกเพียงกว่า 1 เดือน พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมโดยตรงให้กับเขา แต่เป็นการนิรโทษกรรมทางอ้อม เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ระบุให้บุคคลที่เคยต้องโทษละเมิด ม.112 ถูกล้างโทษเสมือนไม่เคยต้องโทษมาก่อน ส่งผลให้เขาสามารถกลับเข้าสู่การเมืองได้อีกครั้ง

นอกจากนี้ยังมีการนิรโทษกรรมผ่านทางการขอพระราชทานอภัยโทษ ทั้งการถวายฎีกาเป็นรายบุคคล (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259) เช่น สุวิชา ท่าค้อ (2553) และ เลอพงษ์ หรือ โจ กอร์ดอน (2555) และการตรา พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ) เช่น สุริยันต์ และ สุชาติ นาคบางไทร (พ.ร.ก.พระราชทานอภัยโทษ 2555)

 

ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม 2555-2556

 

กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 8 ฉบับที่นำเสนอจากหลายฝ่ายในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ไม่มีแม้แต่ฉบับเดียวที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญา ม.112/พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่อย่างใด แต่จะสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรม เหล่านี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็อาจไม่ถูกต้องนัก

ผู้เขียนพิจารณาร่าง กฎหมายนิรโทษกรรมทั้ง 8 ฉบับพบว่า มีร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่น่าสนใจคือ ร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ เพื่อการนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง (นำเสนอโดยคณะนิติราษฎร์ปี 2556 มีกรอบระยะเวลา 19 ก.ย. 2549-9 พ.ค. 2554) และร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด และผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2554 (นำเสนอโดย นปช. ปี 2556 มีกรอบระยะเวลา 1 ม.ค. 2550-31 ธ.ค. 2554)

ร่างกฎหมายของคณะนิติราษฎร์ มาตรา 291/3 มีข้อความที่ระบุว่า "การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง"และร่างกฎหมายของ นปช. มาตรา 3 มีข้อความที่ระบุว่า "กระทำความผิดอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง"เมื่อพิจารณาข้อความทั้ง 2 นี้ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ใช่ว่าทุกกรณีของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้

ปี 2552 คธา อดีตโบรกเกอร์บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งถูกกล่าวหาละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ด้วยการโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระเจ้าอยู่หัวในเว็บไซด์แห่งหนึ่ง 

ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"และอยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ แต่คำให้การในคดีของเขาไม่ปรากฏว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้

ปี 2546 บัณฑิต อานียา นามแฝงของนักแปลอิสระ ซึ่งปราศรัยในงาน "กฎหมายพรรคการเมือง: โอกาสและข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาพรรคการเมือง"ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนำเอกสาร 2 ฉบับแจกจ่ายให้กับผู้ร่วมงาน ต่อมาเขาถูกกล่าวหาว่า กระทำการละเมิด ม.112 ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"แต่ไม่อยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ และไม่มีมูลเหตุมาจากการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองแต่อย่างใด ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้เช่นเดียวกัน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน รวบรวมชื่อต้านแก้รัฐธรรมนูญ

$
0
0

 

6 เม.ย.54 หรือเมื่อวันจักรีที่ผ่านมา เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน นำโดยนายบวร ยสินทร ได้จัดงานเสวนา และรวบรวมรายชื่อผู้คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญขึ้นที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนินกลาง  

นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมกอบกู้ชาติได้ขึ้นเสวนาพร้อมนายบวร บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักตลอดการเสวนา นายบวรกล่าวชี้แจงจุดประสงค์ของกิจกรรมว่ามีอยู่ 3 ประการนั่นคือ 1) คัดค้าน พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้าน 2) คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 68, 190 รวมถึงเรื่องที่มาของ ส.ว. 3) เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง โดยในวันอังคารที่ 9 เม.ย.นี้ ทางกลุ่มจะไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ และขอเรียกร้องให้ประชาชนไปร่วมแสดงพลังอีกครั้งในวันนั้น

น.พ.ตุลย์ กล่าวว่าที่รัฐธรรมนูญยังแก้ไม่ได้ก็เพราะได้คุณบวรไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนี่เป็นกระบวนการที่ถูกต้อง อย่าไปเชื่อพวก ส.ส. ที่บอกว่าตุลาการเข้าแทรกแซงนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ถ้าคิดแบบนี้ไม่ได้เรียกประชาธิปไตยแต่เรียกอนาธิปไตย (anarchy) อ้างเสียงข้างมากจนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป แบบนี้ไม่ใช่นิติรัฐ ไหนจะเรื่องรถไฟฟ้าความเร็วสูง ปกติเราจะกู้เงินก็ต้องบอกก่อนว่าจะเอาไปทำอะไร แต่รัฐบาลนี้กลับไม่บอกรายละเอียดประชาชนเลย บอกว่าจะพัฒนาแต่เล่นพัฒนาด้านเดียวคือแค่รถไฟความเร็วสูงแบบนี้ประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร “ประชาชนไม่ใช่ควายนะเว้ย” ระวังจะพาประเทศเป็นแบบประเทศ Greece แล้วงานนี้ประชาชนจะได้กรี๊ดสลบ ประเทศชาติตอนนี้เหมือนเรือ Titanic ที่เห็นภูเขาน้ำแข็งอยู่ตรงหน้า แต่ก็ยังดื้อด้านเร่งเครื่องวิ่งเข้าไปชน เราภาคประชาชนจึงต้องออกมาเรียกร้อง

นายบวรกล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ในประเด็นแรกคือเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ จริงๆประเด็นเรื่อง ส.ว. เป็นแค่เรื่องเล็กๆ แต่ประเด็นใหญ่ที่เราคัดค้านจริงจังคือเรื่องการแก้มาตรา 68 เรื่องการตัดสิทธิประชาชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และมาตร 190 ที่หนังสือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสังคมจะไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา โดยตนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้วมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงขอยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า การกระทำของตนเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตนไปยื่นที่สำนักงานอัยการสูงสุดก่อนถึง 3 เดือนแต่เมื่อเห็นว่าไม่มีความคืบหน้าจึงไปยื่นที่ศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เรียกได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาแล้วว่าชอบธรรม อีกทั้งอัยการสูงสุดมีเพียงแค่ 1 คนในขณะที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีถึง 5 คน ย่อมมีความรอบคอบกว่าอยู่แล้ว ที่สำคัญ การกระทำของตนยังสอดคล้องกับมาตรา 69 ที่ระบุว่าบุคคลสามารต่อต้านผู้ล้มล้างการปกครองได้โดยสันติ

บวรกล่าวต่อว่า ส่วนมาตรา 190 การยกเลิกมาตรานี้เป็นการตัดสิทธิ์ของประชาชนในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การที่ต้องนำการตัดสินใจทำสนธิสัญญาใหญ่ๆ ของรัฐบาลเข้าสภาคือการกำหนดกรอบในการเจรจา เหมือนกับการไปประมูลก็ต้องมีกรอบว่าห้ามเกินเท่าไร ถ้าเกินกรอบก็ทำบันทึกช่วยจำ(MOU) แล้วเอากลับมาถกกันใหม่ซึ่งประเทศอื่นเขาก็ใช้วิธีนี้กัน เราจะรวบรวมรายชื่อเพื่อคัดค้านความพยายามในการแก้มาตรานี้ด้วย เรายังไม่ลงรายละเอียดในวันนี้ แต่ขอให้พี่น้องศรัทธาว่าเสานำบัตรประชาชนของพวกท่านได้ถูกนำไปใช้ในทางที่ดีแน่นอน เพียงแต่เราเห็นว่าไหนๆ ก็ขอแล้วก็ขอเผื่อไว้เลย พี่น้องจะได้ไม่ต้องมาหลายๆ ครั้ง

บวรกล่าวต่อว่า ประเด็นต่อไปคือเรื่องเงินกู้ 2 ล้านล้าน พูดง่ายๆ คือเราไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะใจซื่อมือสะอาด กลัวว่าจะเป็นเหมือนกับเงินกู้แก้ปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้าน ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าไม่มีทางทำเสร็จภายในเวลา 5 ปีตามที่กำหนดไว้ เมื่อมาดูในรายละเอียดตาม พ.ร.บ. ที่เข้าสภาไป มันน่าเป็นห่วงตรงที่เป็นการใช้เงินก่อนแล้วค่อยออกระเบียบตามมา เหมือนไปตายเอาดาบหน้า ซึ่งเงินจำนวนขนาดนี้จะทำอย่างนั้นไม่ได้ เมื่อมาดูตัวโครงการก็ขัดต่อหลักการสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ปกติแล้วต้องวิ่งยาว แต่นี่มันเป็นการต่อรถ กว่าจะขนผักขนเนื้อลงก็เน่าหมดพอดี ที่สำคัญราคาตั๋วก็ไม่ใช่ถูกๆ พวกที่หวังจะได้นั่งรถไฟความเร็วสูงฟรีลืมไปได้เลย เพราะฉะนั้นเราคัดค้านเรื่องนี้แน่ๆ แต่วิธีการเราขอสงวนไว้ก่อน

เขากล่าวด้วยว่า เรื่องสุดท้ายคือเรื่องต้นตอของปัญหา ระบบการเมืองของเราล้มเหลวทำให้เลือกตั้งได้นักการเมือง “ง่อนๆ แง่นๆ” มาบริหารประเทศ หากเราดูอย่างประเทศอังกฤษที่เขาเป็นราชอาณาจักรเหมือนกับเรา เขามีสภาสูง หรือ house of lord ที่สมาชิกสภามาจากการคัดสรร 100 เปอร์เซ็นต์ ในกรุงเอเธนส์ที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยทางตรง เขามีสภาพลเมือง หรือ demos แต่ก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้คนทุกคนเข้าไปต้องมีคุณสมบัติบางอย่างถึงจะเป็น demos ได้ เช่น ไม่มีหนี้ ไม่เป็นทาส เป็นเพศชาย เสียภาษีครบถ้วน มันทำให้ประชาธิปไตยของเขามีคุณภาพ demos จึงเป็นรากศัพท์ของคำว่า democracy หรือประชาธิปไตย อีกทั้งความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาพร้อมสิทธิเท่าเทียมกันก็เป็นแนวคิดของพวกยิว พุทธศาสนาเราเชื่อว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับหน้าที่ เช่นแม่ต้องเกิดมาพร้อมหน้าที่ในการอุ้มท้อง เลี้ยงลูก ไม่มีสิทธิเลือก แต่สิทธิเกิดขึ้นเมื่อเรามารวมกันเป็นสังคม นี่เป็นปัญหาของนักการเมืองไทย ที่อ้างสิทธิจนลืมหน้าที่ หน้าที่ที่จะต้องเป็นคนดีช่วยเหลือผู้อื่น อับบราฮัม ลินคอล์นเคยพูดว่า “ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน” แต่ผมว่าไม่ใช่ ต้องเป็น “ประชาธิปไตยเป็นของประชาชนคุณภาพ เพื่อประชาชนส่วนใหญ่ และโดยประชาชนคุณภาพ” ไม่อย่างนั้นก็ซื้อสิทธิ์ขายเสียงกับแบบทุกวันนี้ เพื่อการปฏิรูประบบการเมืองผมจึงต้องขอสำเนาบัตรประชาชนจากพี่น้องไว้อีกหนึ่งฉบับ และเราจะมีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ต่อไปในอนาคตเพื่อหาแนวร่วม

บวรย้ำว่า แนวทางของกลุ่มเราว่าเรายังคงเน้นเรื่อง 3 สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พวกเราอย่าไปหลงกลเล่นตามเกมของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขาชอบสร้างตรรกะวิบัติ พูดเหมือนกับบ้านเมืองเรายังไม่มีระบอบการปกครอง ต้องมานั่งตกลงกันใหม่ว่าเราจะเอาสถาบันกษัตริย์หรือไม่? ต้องมีมาตรา 112 ไหม? ทั้งๆ ที่เราเลือกมาเป็นพันปีแล้วว่านี่คือระบอบที่ดีที่สุด อีกทั้งยังชอบถามคำถามแปลกๆ เช่น รู้ได้อย่างไรว่าในหลวงทำงานหนักจริง ถามแบบนี้เหมือนถามว่ารู้ได้ไงว่าปลาวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เขารู้กันทั้งบ้านทั้งเมือง “มีมึงคนเดียวแหละที่ไม่รู้” และที่อยากเตือนทุกคนคืออย่าลืมว่าเราต้องไม่เทิดทูนเพียงอย่างเดียว เราต้องเล็งเห็นบทบาทของพระองค์ว่าทรงปกครองประเทศ มิได้ทรงบริหารประเทศ พระองค์ทรงอยู่เหนือการเมือง เราอาจมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องของนโยบายรัฐบาลได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องในระดับการเมือง แต่เราจะเห็นต่างในระบบกษัตริย์ไม่ได้ การปกป้องสถาบันไม่ใช่แค่การเทิดทูน แต่ต้องเข้าใจบทบาทของพระองค์ว่ายังคงไว้ซึ่งพระราชบารมีทุกประการ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“รัฐ” ไม่ได้เป็นเจ้าของ “สนง.ทรัพย์สินฯ” แต่เป็นแค่ “นอมินี” ของ “กษัตริย์” เท่านั้น

$
0
0

(1)

Royalist ท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ในเฟซบุ๊กของเขา โดยได้เปรียบเทียบ “สนง.ทรัพย์สินฯ” ไว้อย่างน่าสนใจมาก เพียงแต่ว่า Royalist ท่านนี้ได้ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญบางอย่างไป ทำให้ข้อสรุปที่ได้จึงกลายเป็นกลับหัวกลับหางกับความเป็นจริง ผมจึงจะยกการเปรียบเทียบดังกล่าวมาเล่าพร้อมกับจะพยายามชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ Royalist ท่านนั้นมองข้ามไปให้ผู้อ่านได้เห็น ซึ่งผมคิดว่าด้วยวีธีนี้น่าจะช่วยให้หลายๆคนสามารถทำความเข้าใจสถานะความเป็นเจ้าของของ สนง.ทรัพย์สินฯได้ง่ายขึ้น

Royalist ท่านนั้นได้เปรียบเทียบไว้ว่า “(สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) เหมือนบริษัทมหาชน ที่ในหลวงทรงเป็น "ประธานกิตติมศักดิ์", รมว.คลัง เป็น "ประธานบอร์ด", ผู้อำนวยการ สนง.ทรัพย์สินฯ เป็น CEO” (โปรดดู facebook:Siriwanna Jill )

อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว การเปรียบเทียบนี้ได้ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญบางอย่างไป กล่าวคือ ไม่มีประธานกิตติมศักดิ์บริษัทมหาชนที่ไหนมีอำนาจแต่งตั้งบอร์ดบริหารของบริษัทเกือบทั้งหมด (โดยทั่วไป อำนาจการตั้งบอร์ดเป็นของ “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งก็คือคนที่เป็นเจ้าของบริษัทนั่นเอง) และไม่มีประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทไหนที่สามารถใช้สอยเงินกำไรของบริษัทแต่เพียงผู้เดียว (โดยทั่วไปกำไรของบริษัทนอกจากจะหักไว้เพื่อการลงทุนเพิ่มหรืออื่นๆแล้วก็ปันผลให้ “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งก็คือคนที่เป็นเจ้าของบริษัท)


 (2)         

สนง.ทรัพย์สินฯมีคณะกรรมการซึ่งมีอำนาจดูแลกิจการทั้งหมดของ สนง. โดยมี รมว.กระทรวงการคลังเป็นประธานโดยตำแหน่ง และมีกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยกษัตริย์ โดย 1 ในกรรมการที่กษัตริย์แต่งตั้งนั้นทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการด้วย (ดู พรบ.ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2491 ม.4 ตรี) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกรรมการที่กษัตริย์แต่งตั้งมีทั้งหมดถึง 6 คน (ดู http://www.crownproperty.or.th/about_us_02.php)

จะเห็นได้ว่าอำนาจในการแต่งตั้ง “บอร์ด” ส่วนใหญ่ของ สนง. (หรือของบริษัทถ้าเอาตามที่ Royalist ท่านนั้นได้เปรียบเทียบไว้) ส่วนใหญ่ (ขั้นต่ำ 80% ของบอร์ดทั้งหมด หรือ 86% ตามตัวเลขจริงในปัจจุบัน) ซึ่งรวมถึงคนที่ทำหน้าที่เสมือนเป็น CEO (ตามที่ Royalist ท่านนั้นได้เปรียบเทียบไว้) นั้นอยู่ที่กษัตริย์ ทั้งที่โดยปกติอำนาจนี้ต้องเป็นอำนาจของผู้ถือหุ้น (ซึ่งก็คือเจ้าของบริษัท) เท่านั้น

นั่นหมายความว่าในทางปฏิบัติ “กษัตริย์” เป็น “เจ้าของตัวจริง” ของ สนง.ทรัพย์สินฯ ไม่ใช่ “รัฐ” อย่างที่ Royalist หลายๆคนพยายามยืนยัน เพราะมีอำนาจตั้งบอร์ดแบบเดียวกับผู้ถือหุ้น/เจ้าของบริษัทโดยทั่วไป

(ส่วนเรื่อง “รมว.คลัง เป็นประธานโดยตำแหน่ง” ผมจะกลับมาพูดทีหลัง)

ไม่เพียงเท่านั้น กษัตริย์ยังเป็นผู้เดียวที่สามารถใช้สอยกำไรของ สนง.ทรัพย์สินฯ และเป็นการใช้สอยได้ตามอัธยาศัยไม่ว่ากรณีใดๆ พูดง่ายๆคือเอาไปใช้ยังไงก็ได้ (ดู  พรบ.ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2491 ม.6 วรรค 2) จะมียกเว้นก็แต่ในกรณีที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา/วรรคเดียวกัน) ซึ่งก็คือผู้ที่เป็นตัวแทนของกษัตริย์อยู่ดี


จะเห็นได้ว่าโดยปกติบริษัทโดยทั่วไปจะแบ่งกำไรให้ผู้ถือหุ้น (ซึ่งก็คือเจ้าของบริษัท) และผู้ถือหุ้นจะเอากำไรเหล่านั้นไปใช้สอยอะไรก็ได้ตามอัธยาศัยของพวกเขา แต่ในกรณี สนง.ทรัพย์สินฯ คนที่สามารถเอาเงินส่วนนี้ไปใช้สอยได้ก็คือกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว นั่นหมายความว่าในทางปฏิบัติ “กษัตริย์” เป็น “เจ้าของตัวจริง” ของ สนง.ทรัพย์สินฯ ไม่ใช่ “รัฐ” อย่างที่ Royalist หลายๆคนพยายามยืนยัน เพราะเป็นผู้(เดียว)ที่สามารถเอากำไรไปใช้สอยได้แบบเดียวกับผู้ถือหุ้น/เจ้าของบริษัทโดยทั่วไป

               

 (3)

เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเราจำเป็นจำต้องพูดถึงตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจตัวหนึ่ง นั่นก็คือคนที่ทำหน้าที่เป็น “นอมินี”

คิดว่าหลายๆคนอาจจะพอทราบอยู่แล้วบ้างว่านอมินีคือคนที่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง ไม่มีอำนาจจริงในบริษัท กำไรไม่ได้เข้ากระเป๋านอมินีโดยตรง แต่อำนาจในการบริหารบริษัทจะอยู่ที่เจ้าของตัวจริง ผลกำไรที่ได้ก็เข้าประเป๋าเจ้าของตัวจริง คนที่เป็นนอมินีเป็นแค่คนที่สมอ้างเอาชื่อมาใส่ว่าเป็นเจ้าของแค่นั้นเอง

กรณี สนง.ทรัพย์สินนี่ก็มี “นอมินี” เข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่ามีความต้องการอำพรางไม่ให้ประชาชนทราบว่าใครคือเจ้าของตัวจริง

บางคนอาจจะใช้คนขับรถหรือคนใช้เป็นนอมินี แต่กรณี สนง.ทรัพย์สินฯ มี “รัฐ” เป็น “นอมินี” ส่วนคนที่เป็นเจ้าของตัวจริงก็คือ กษัตริย์ เพราะกษัตริย์มีอำนาจจริงในการแต่งตั้งบอร์ด และเป็นผู้เดียวที่มีสิทธิ์ใช้สอยเงินกำไรอย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว

ส่วนกรณีที่ รมว.คลัง มานั่งเป็นประธานบอร์ด ถ้าจะเปรียบเทียบ (อย่างที่ Royalist คนที่ผมพูดถึงตั้งต้นได้เปรียบเทียบไว้) ก็เหมือนกับไปเอาลูกหรือเมียของ “นอมินี” มาใส่ชื่อไว้ว่าเป็นประธานบอร์ด โดยที่บอร์ดที่เหลืออีก 80%/86% รวมถึงคนที่เป็น CEO มาจาก “เจ้าของตัวจริง” เพื่อจะบอกว่า “นี่ไง คนนี้เป็นเจ้าของจริงๆนะ ลูก/เมีย เขาถึงได้มานั่งเป็นประธานบอร์ดไง” ซึ่งก็อำพรางให้แนบเนียบขึ้น หลอกคนส่วนหนึ่งได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเอง (ถามว่าในทางปฏิบัติถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นมาระหว่างบอร์ด 2 ประเภทนี้ ประธานบอร์ดคนเดียวจะไปสู้รบปรบมืออะไรกับบอร์ดเสียงข้างมาก 80%/86% ที่กษัตริย์/เจ้าของตัวจริงเลือกมากับมือได้หรือ?)

 

 (4)

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะผมจะเสนอว่าสำนักงานทรัพย์สนส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ควรเป็นของรัฐ, ผมเห็นว่าทรัพย์สินส่วนนี้ควรเป็นของรัฐ และควรเป็นของรัฐอย่างแท้จริง (มีอำนาจบริหารองค์กร หักกำไรเข้ารัฐ ฯลฯ) ไม่ใช่แค่ในนามแบบนี้

แต่ที่พูดมาทั้งหมดนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั่นเป็นอย่างไรเท่านั้นเอง


 (5)

ทั้งหมดที่ผมเขียนมานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์กรนิติบุคคลที่มีชื่อว่า “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (รวมถึงสถานะ “เจ้าของที่แท้จริง” ของ สนง.ทรัพย์สินฯ และรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ สนง.นี้)

ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” แต่อย่างใด (และผมทราบดีว่า “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” กับ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” นั้นเป็นคนละส่วนกัน)

ดังนั้นหากจะโต้แย้งอะไรก็โปรดเข้าประเด็น สนง.ทรัพย์สินฯ ไม่จำเป็นต้องวกไปถึง “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” (เพราะไม่เกี่ยวกัน) และไม่จำเป็นต้องมาบอกซ้ำว่า 2 อย่างนี้เป็นคนละส่วนกัน (เพราะทราบอยู่แล้ว)

ต้องขออนุญาตเขียน “ดัก” ไว้อย่างนี้ เพราะบ่อยครั้งที่พูดเรื่อง สนง.ทรัพย์สินฯทีไร จะต้องมีคนแถไปเรื่อง “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ทุกที

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทัพพม่าสั่ง SSA-เหนือ ถอนกำลังพ้นฝั่งสาละวิน เคลียร์พื้นที่ให้จีนสร้างเขื่อน

$
0
0

นักวิจัยสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ เผยแพร่รายงานล่าสุดที่ระบุว่าทหารพม่าได้สั่งให้ทหารกองทัพรัฐฉานเหนือ ถอนกำลังจากพื้นที่ด้านตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้จีนเข้ามาสร้างเขื่อน

เมื่อเร็วๆ นี้ องค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ (Shan Sapawa -ฉานสภาวะ) ได้ออกมาเปิดเผยรายงานล่าสุด ชี้กองทัพพม่าได้ออกคำสั่งให้ทหารกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSA-เหนือ) ถอนกำลังออกจากเขตพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้จีนเข้ามาสร้างเขื่อน

ทางองค์กรสิ่งแวดล้อมของไทใหญ่ออกมาเปิดเผยว่า ทางกองทัพพม่าได้มีคำสั่งตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา โดยให้ทางทหาร SSA -เหนือ ย้ายออกจากทางตะวันออกของเส้นทางเชื่อมระหว่างเมืองต้างยานและเมืองก๋าว ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของรัฐฉานและอยู่ในเขคควบคุมดูแลของ SSA -เหนือ ทางกองทัพพม่าได้ออกคำสั่งให้ทหารไทใหญ่ SSA "เหนือ"ที่มีองค์กรการเมืองในชื่อ "พรรครัฐฉานก้าวหน้า" SSPP ย้ายออกในทันที ไม่เช่นนั้นทางกองทัพพม่าจะใช้กำลังโจมตี

สำหรับพื้นที่ดังกล่าว ทาง SSA -เหนือ ได้รับอนุญาตให้เป็นพื้นที่ครอบครองมาตั้งแต่ปี 2532 จากการทำสัญญาหยุดยิงกับกองทัพพม่า นอกจากนี้ การลงนามหยุดยิงรอบใหม่เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ทางกองทัพพม่ายังได้อนุญาตให้ทาง SSA -เหนืออยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้

นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กองทัพพม่าได้เพิ่มกำลังทหารนับพัน รวมทั้งปืนใหญ่และรถถังจากทางตอนกลางของประเทศและจากเมืองล่าเสี้ยวมายังเมืองต้างยาน เมืองสู้และทางใต้ของเมืองก๋าว ทั้งนี้ เมืองต้างยานอยู่ห่างจาก (เมือง)หนองผ่า ไปเพียง 20 กิโลเมตร ซึ่งเขื่อนที่จะสร้างขึ้นในเมืองหนองผ่า เป็นหนึ่งใน 6 โครงการเขื่อนที่เตรียมสร้างบนแม่น้ำสาละวิน ตามที่ได้มีการประกาศในรัฐสภาเมื่อวันที่ 27 เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

แม้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเขื่อนที่เตรียมสร้างบนแม่น้ำสาละวินไม่มีการเปิดเผยมากนัก แต่ทางองค์สิ่งแวดล้อมไทใหญ่ระบุ ทางการพม่าได้ประกาศเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมาว่า รัฐมนตรีด้านพลังงานไฟฟ้าของพม่าคนที่ 1 ได้ร่วมลงนามความเข้าใจ (MOU) กับจีนเพื่อเตรียมสร้างเขื่อน 2 แห่ง นั่นคือเขื่อนหนองผ่า บนแม่น้ำสาละวิน และเขื่อนอีกแห่งหนึ่งบนแม่น้ำม้า โดยเขื่อนทั้ง 2 แห่งจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1200 กิโลวัตต์

ทั้งนี้ ทางองค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่แสดงความเป็นห่วงว่า กรณีที่ทางทหารพม่าสั่งให้ทหารไทใหญ่ SSA- เหนือ ออกจากพื้นที่ดังกล่าวนั้นจะคล้ายกับกรณีที่เกิดขึ้นกับกองกำลังโกก้าง โดยทางองค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่เปิดเผยว่า เหตุที่ทางกองทัพพม่าเข้ากวาดล้างกองกำลังโกก้าง เนื่องจากเขตพื้นที่ควบคุมของกองกำลังโกก้างนั้นอยู่ในเขตพื้นที่ทางบริษัทจีนเตรียมสร้างเขื่อนกุนหลง บนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งในขณะนี้ บริษัท Asia World Company ของจีน ได้ก่อสร้างเส้นทางที่จะเชื่อมไปสู่พื้นที่สร้างเขื่อนกุนหลงเกือบแล้วเสร็จ โดยเขื่อนกุนหลงจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1400 เมกกะวัตต์ และไฟฟ้าทั้งหมดจะถูกนำไปขายให้กับจีน

ด้านจายเคือแสง โฆษกขององค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่กล่าวว่า หากสงครามเกิดขึ้นทางตอนเหนือของรัฐฉานอีกครั้ง ความสูญเสียจะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังกล่าวประเด็นเรื่องพลังงานธรรมชาตินั้นเกี่ยวข้องกับต้นตอความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรัฐฉานโดยตรงว่า การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินควรจะยุติ ในขณะที่พม่ากำลังสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในประเทศ

 

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชุมนุมยื่นหนังสือผู้แทนอียู อย่าผิดสัญญาเดินหน้าเอฟทีเอกระทบสาธารณสุขไทย

$
0
0

 

 

9 เม.ย. เวลาประมาณ 9.00 น. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอวอทช์/FTA Watch) ร่วมกับเครือข่ายประชาชนต่างๆ นับร้อยคน รวมตัวกันหน้าสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ณ อาคารเคี่ยนหงวน ถนนวิทยุ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้สหภาพยุโรป ยึดมั่นสัญญาที่จะพัฒนาการสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนา และเคารพมติของสภายุโรปในอันที่จะคุ้มครองการเข้าถึงยาให้มากกว่าทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดจนเกินเหตุ

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า "สหภาพยุโรปได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่าต้องสร้างสันติภาพในโลก แต่สิ่งที่สหภาพยุโรปกำลังทำคือ ผลักดันข้อบังคับแบบทริปส์ผนวก (TRIPS+) เพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครองนักลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้การผูกขาดยายาวนานขึ้น ยาแพงขึ้น คนจะเข้าถึงยาได้น้อยลง เครือข่ายภาคประชาชนรับไม่ได้กับการตีสองหน้าของสหภาพยุโรปเช่นนี้ ถือเป็นการหน้าไหว้หลังหลอก" 

"เราสงสัยว่าสหภาพยุโรปได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมาได้อย่างไร ทั้งที่กำลังทำสิ่งที่ชั่วร้าย คร่าชีวิตคนในประเทศกำลังพัฒนา ผ่านข้อตกลงการค้าเสรี"นายอภิวัฒน์กล่าว

ขณะที่ นายจักรชัย โฉมทองดี รองผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอวอทช์) กล่าวว่า "เราเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป สังวรถึงความจำเป็นเรื่องการเข้าถึงยาในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และหยุดกดดันประเทศกำลังพัฒนาให้ยอมรับข้อตกลงแบบทริปส์ผนวก รวมถึงบทว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนที่เป็นภัยทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้นโยบายสาธารณสุขที่เป็นประโยชน์กับประชาชนได้"

"ปีที่แล้ว สภายุโรปมีมติไม่รับข้อตกลงว่าด้วยสินค้าปลอมแปลง (ACTA) แต่เรากังวลว่ามาตรการต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับมาตรการชายแดน และการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ระบุไว้ใน ACTA อาจถูกรวมอยู่ในเอฟทีเอซึ่งสหภาพยุโรปกำลังเจรจาอยู่กับประเทศไทยและอินเดีย เพราะจะทำลายการผลิตและการเข้าถึงยาชื่อสามัญทั่วโลก"รองผู้ประสานงานเอฟทีเอ วอทช์กล่าว

ข้อมูลจากเอฟทีเอวอทช์ระบุว่า การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์รณรงค์เรื่องเอฟทีเอของสหภาพยุโรป (EU-FTAs) ทั่วโลก ซึ่งภาคประชาสังคมทั้งในยุโรปและประเทศกำลังพัฒนานัดแนะกันจัดขึ้น เนื่องในวาระที่อินเดียจะมีการเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและอินเดียรอบสุดท้าย ขณะที่การเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศไทยกำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกอีกไม่ถึง 1 เดือนข้างหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สหภาพยุโรป หยุดทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยการกดดันเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม

ระหว่างการชุมนุม เครือข่ายประชาชนได้รับการประสานงานว่าวันนี้เป็นวันหยุดของสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ตามปกติและมีการประสานงานเป็นระยะ แต่เอกอัครราชทูตยุโรปประจำประเทศไทยไม่ได้ออกมารับข้อเรียกร้องจากภาคประชาชนแต่อย่างใด เครือข่ายประชาชนจึงได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อการเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย ผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยัง นายมาร์ติน ชัลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป และ นายโจเซ่ มานูเอว บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และกลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับในเวลาประมาณ 12.00 น.

 

 

9 เมษายน 2556

 

ถึง         นายมาร์ติน ชัลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป

            นายโจเซ่ มานูเอว บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป

 

ประชาคมโลกที่ทำงานเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาในราคาที่เป็นธรรมรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทราบข่าวการเริ่มเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยที่เป็นทางการ ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีของไทยเยือนกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันที่ 4-8 มีนาคม  องค์กรภาคประชาสังคมกังวลอย่างยิ่งว่าข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกินกว่ากฎเกณฑ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (หรือที่รู้จักในชื่อ “ข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวก”) ถูกกำหนดอยู่ในเนื้อหาการเจรจาและจะมีผลกระทบเสียหายต่อการเข้าถึงยาจำเป็น

 

เนื้อหาการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ผ่านมา ระหว่างสหภาพยุโรปกับเกาหลีใต้ กลุ่มประเทศอาเซียน และอินเดีย ล้วนแต่เต็มไปด้วยข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบทริปส์ผนวกทั้งสิ้น  สิ่งนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า สหภาพยุโรปกำลังพยายามเสนอให้มีข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาในลักษณะเดียวกันไว้ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ที่สหภาพยุโรปจะเจรจากับประเทศไทย  นอกจากนี้ มาตรการคุ้มครองการลงทุนเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าวิตกกังวล โดยเฉพาะกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐ ที่ระบุอยู่ในบทว่าด้วยการลงทุนของข้อตกลงเขตการค้าเสรี  ด้วยมาตรการนี้ บริษัทต่างชาติจะสามารถฟ้องดำเนินคดีกับรัฐได้ ถ้ารัฐมีนโยบายหรือบัญญัติกฎหมายที่ทำให้ผลกำไรจากการลงทุนของบริษัทต่างชาตินั้นกระทบกระเทือน  มาตรการเช่นี้จะทำให้ประเทศไม่สามารถบัญญัติกฎหมายหรือมีนโยบายแห่งชาติเพื่อคุ้มครองการสาธารณสุขได้

 

ข้อผูกพันเช่นนี้เป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงยาจำเป็นของผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนา และกีดกันไม่ใช้รัฐบาลสามารถมีนโยบายเพื่อประโยชน์ของสาธารณะชน  ข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกที่เข้มงวดจะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการแข่งขันและยามีราคาถูกลง และทำให้ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นได้อย่างทั่วถึงในระยะยาว  ยิ่งไปกว่านั้น ข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการคุ้มครองการลงทุนยังจะขัดขวางไม่ให้นำมาตรการยึดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์มาใช้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถที่จะจัดหายาต่างๆ ให้กับประชาชนได้  ข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกที่สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีในข้อตกลงเขตการค้าเสรีและผลกระทบมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ

 

การที่สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีข้อบังคับแบบทริปส์ผนวก สหภาพยุโรปกำลังกระทำการที่ขัดแย้งกับคำสัญญาที่ให้ไว้ในปฏิญญาโดฮาว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และสาธารณสุข ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องการสาธารณสุขมากกว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และยังสนับสนุนให้สมาชิกขององค์การการค้าโลกนำมาตรการยึดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์มาใช้อย่างเต็มที่ เพื่อคุ้มครองการสาธารณสุขและส่งเสริมการเข้าถึงยาของประเทศกำลังพัฒนา

 

มติของรัฐสภายุโรปว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และการเข้าถึงยา (เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) เรียกร้องให้สหภาพยุโรป

  • สนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนานำมาตรการยึดหยุ่นทริปส์มาใช้อย่างเต็มที่ ตามเจตนารมณ์ของปฏิญญาโดฮาเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาที่ทั่วถึง (เช่น การใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร หรือซีแอล)
  • รักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ในปฏิญญาโดฮาและกำกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยุโรปไม่ให้เจรจาเรียกร้องให้มีข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ (เช่น การผูกขาดข้อมูลทางยา การขยายการคุ้มครองสิทธิบัตร และการจำกัดเหตุผลในการนำมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรมาใช้) อยู่ในกรอบการเจรจาข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (EPA) กับประเทศในคาบสมุทรแปซิฟิค คาริเบีย และอัฟริกา รวมถึงข้อตกลงทวิภาคีและภูมิภาคต่างๆ ที่จะเจรจากับประเทศกำลังพัฒนาในอนาคต

 

ถึงแม้ว่ารัฐสภายุโรปได้ลงคะแนนเสียงไม่รับข้อตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าปลอมแปลง (ACTA) ไปเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2012  เรากังวลว่ามาตรการต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับมาตรการชายแดนและการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่ระบุอยู่ในข้อตกลง ACTA จะรวมอยู่ในข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่สหภาพยุโรปกำลังเจรจาอยู่กับไทยและอินเดีย ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะทำลายการผลิตและการค้ายาชื่อสามัญทั่วโลก

 

เราเรียกร้องให้สหภาพยุโรปอย่าผิดคำสัญญาที่จะพัฒนาการสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนา และเคารพมติของรัฐสภายุโรปในอันที่จะคุ้มครองการเข้าถึงยาให้มากกว่าทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดจนเกินเหตุ  ผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนาควรเข้าถึงยาจำเป็นในราคาที่ย่อมเยาว์  รัฐบาลประเทศเหล่านั้นควรสามารถนำมาตรการคุ้มครองสาธารณสุขมาใช้และมีนโยบายเพื่อการสาธาณสุขได้  ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี องค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNDP, UNAIDS, WHO, UNITAID หรือ กองทุนโลกฯ ได้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการสาธารณสุข  ประเทศต่างๆ ควรนำข้อแนะนำเหล่านั้นมาพิจารณาและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง

 

เราในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทย ดังรายชื่อที่ลงนามในจดหมายฉบับนี้ ขอแสดงความสมัครสมานเป็นหนึ่งร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมในยุโรปและประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปสังวรถึงความจำเป็นเรื่องการเข้าถึงยาในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี และหยุดกดดันประเทศกำลังพัฒนาให้ยอมรับข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวก รวมถึงบทว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนที่เป็นภัยและทำให้ให้รัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถมีหรือนำนโยบายเพื่อสาธาณสุขมาใช้

 

เราหวังว่าสหภาพยุโรปจะได้ยินและรับฟังข้อกังวลที่กล่าวมาทั้งหมด  เรายินดีเสมอที่จะร่วมหารือในประเด็นเหล่านี้ต่อไป หากมีความประสงค์

 

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

ผศ. ภญ. สำลี ใจดี

ประธาน

กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้เสรีภาคประชาชน

 

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, เครือข่ายองค์กรงดเหล้า, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สมัชชาคนจน, เครือข่ายสลัม ๔ ภาค, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, ชมรมเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย, กลุ่มเพื่อนแรงงาน, เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนเฝ้าระวังภัยแอลกอฮอล์ กทม., เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่, เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (12D), โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการควบคุมยาสูบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATCA), และโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มุสลิมพม่าในไทยเรียกร้องรัฐบาลพม่ายุติความรุนแรงทางศาสนา

$
0
0

มุสลิมพม่าและโรฮิงยาชุมนุมหน้าสถานทูตพม่า เรียกร้องรัฐบาลพม่าปกป้องมุสลิมและโรฮิงยาจากความรุนแรงทางเชื้อชาติและศาสนา

ตอนสายวันนี้ (9 เม.ย.56) ที่หน้าสถานทูตพม่า ถนนสาทร กรุงเทพฯ ชาวมุสลิมพม่าและชาวโรฮิงยาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยราว 30 คน เดินทางมาชุมนุมที่หน้าสถานทูตพม่า เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปกป้องชาวมุสลิมและชาวโรฮิงยาจากความรุนแรงทางเชื้อชาติและศาสนาที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกันเมื่อปลายปีที่แล้ว และล่าสุดที่เมืองเมกติลาปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

การยื่นจดหมายดังกล่าวปรากฏว่าไม่มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตพม่าออกมารับ ตัวแทนผู้ชุมนุมจึงอ่านข้อความในจดหมาย จากนั้นผู้ชุมนุมร่วมกันตะโกนข้อความให้ยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และมีการจุดไฟเผาเสื้อยืดที่มีภาพของนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า โดยผู้ชุมนุมบางส่วนกล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับบทบาทการปกป้องสิทธิมนุษยชนของโรฮิงยาและมุสลิมในพม่าของนางซูจี

ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ระบุในจดหมายมี 5 ข้อ ได้แก่ หนึ่งให้รัฐบาลพม่ายุติการเข่นฆ่า การใช้ความรุนแรง และการข่มขู่คุกคามชาวมุสลิมในพม่าโดยทันที และรับรองเสรีภาพทางศาสนาอย่างเต็มที่โดยมีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศ

สอง ให้รัฐบาลพม่าหยุดการแผ่ขยายของการวางแผนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมในพม่า โดยการนำของพระสงฆ์วิระธุ ผู้สนับสนุนกลุ่ม 969

สาม เรียกร้องต่อชาวโลกให้เข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องชาวมุสลิมในพม่า ชาวโรฮิงยา และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยในพม่า

สี่ เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายพลเมืองพม่า ปี 1982 (Burma Citizenship Law 1982) ที่ร่างในสมัยของนายพลเนวิน อดีตผู้นำเผด็จการทหาร และแทนที่ด้วยกฎหมายใหม่ที่มีมาตรฐานเหมือนกับกฎหมายของนานาประเทศ และให้ชดเชยสิทธิและทรัพย์สินทั้งหลายของชาวมุสลิมที่สูญไป

และห้า ต้องการให้ส่งกลับชาวมุสลิมและโรฮิงยาพลัดถิ่นคืนสู่บ้านเกิดอย่างเร่งด่วนและมีเกียรติ

จากนั้น ผู้ชุมนุมได้เดินทางต่อไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกาและองค์การสหประชาชาติ เพื่อยื่นจดหมายขอความช่วยเหลือชาวมุสลิมและชาวโรฮิงยาในพม่าต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัดตกอุทธรณ์ ครก.112 เลขาฯ สภา ระบุเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ

$
0
0

พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตัวแทน ครก. 112 วิพากษ์สภามองเรื่องสิทธิและเสรีภาพในแบบแคบและไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปกป้องตนเองมากกว่าจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงในระยะยาว

เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ออกหนังสือยืนยันคำวินิจฉัยเดิมถึงนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ซึ่งอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของประธานรัฐสภาที่วินิจฉัยจำหน่าย ร่างพ.ร.บ.แก้ไขมาตรา 112 โดยหนังสือยืนยันคำวินิจฉัยเดิมระบุด้วยว่าร่างดังกล่าวมีการแยกองค์ประกอบความผิด ลักษณะการกระทำความผิดที่ผ่อนคลายลงและอัตราโทษที่น้อยลง ย่อมจะทำให้การละเมิด กล่าวหา หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายได้โดยง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐได้ จึงไม่ใช่เงื่อนไขในการเสนอแก้กฎหมายตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ดังนั้น จึงไม่อาจเสนอร่างฯ ฉบับดังกล่าวให้รัฐสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ ม.163 ได้

ด้าน พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  (ครก.112) กล่าวถึงกรณีที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรยืนยันคำวินิจฉัยเดิมว่า กรณีนี้สะท้อนว่าสภามองเรื่องสิทธิและเสรีภาพในแบบแคบและไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นการปกป้องตนเองมากกว่าทำเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงในระยะยาว

นักวิชาการตัวแทน ครก.112 ยังวิจารณ์คำวินิจฉัยที่ชี้ว่า ม.112 เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ ว่า “มันเป็นสิ่งที่แยกไม่ออก ในยุคปัจจุบัน เขาจะมองว่ามันเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐ แต่ว่าความมั่นคงของรัฐที่วางอยู่บนการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ขัดกับระบอบประชาธิปไตย มันจะต้องถูกแก้ไข ในยุคปัจจุบันนี้คุณปฏิเสธไม่ได้สิทธิเสรีภาพเป็นหัวใจสำคัญของสังคม ดังนั้นความมั่นคงของรัฐมันจะไปละเมิดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชนไม่ได้”

“เราพยายามที่จะแก้ไขเรื่องนี้อย่างเปิดเผยและถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้ แต่สภากลับปิดเส้นทางนี้ที่จะมีการแก้ไขอย่างเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา เท่ากับผลักให้ประชาชนกลับใต้ดินกันต่อไป” พวงทอง กล่าว

สำหรับการเคลื่อนไหวต่อจากนี้ ตัวแทน ครก.112 ยอมรับว่ามาถึงจุดที่ทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ จึงยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปเนื่องจากถูกปิดหนทางจากสภา ทั้งที่ทำโดยถูกต้องโดยกฎหมายถูกปิดโดยสภาเป็นเรื่องที่น่าเสียใจมาก

ทั้งนี้ ครก.112 ยื่น ร่าง พรบ.แก้ไขมาตรา 112 โดยมีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมลงรายมือชื่อ 30,383 คน ต่อประธานสภาไปเมื่อ29 พ.ค.55 แต่ถูกรัฐสภาจำหน่าย ร่างฯ ดังกล่าว ไปเมื่อ ก.ย.55

 

หนังสือยืนยันคำวินิจฉัยจาก เลขาธิการสภาฯ :

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เครือข่ายแรงงาน'ร้องวุฒิฯ ดันหลักการ กม.ประกันสังคมภาคคนงาน เข้าวาระ 3

$
0
0



สืบเนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 21 มี.ค.56 ลงมติในวาระที่ 1 ไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 14,264 คน ทำให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้ตกไปตามกระบวนการนิติบัญญัติ

ล่าสุด (9 เม.ย.56) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยยงยุทธ เม่นตะเภา กรรมการอำนวย คสรท. และ วิไลวรรณ แซ่เตีย  รองประธาน คสรท. เดินทางยื่นหนังสือต่อ นิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทรา ประธานวุฒิสภา และพลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคมวุฒิสภา เพื่อขอให้นำหลักการและเหตุผลของร่างที่เสนอชื่อโดยประชาชน 14,264 รายชื่อ  เข้าไปพิจารณาในชั้นการประชุมของวุฒิสภา เนื่องจาก ส.ส.จงใจละเมิดสิทธิของประชาชน และปิดกั้นขัดขวางการใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรงของประชาชนที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 163 และผู้ใช้แรงงานสิบกว่าล้านคน ไม่มีโอกาสเสนอหลักการและเหตุผลในการแก้ไขกฏหมายประกันสังคมทั้งที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ และไม่ได้รับสิทธิเป็นกรรมาธิการวิสามัญ 1 ใน 3 ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ

จากนั้นได้เดินทางไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยื่นหนังสือต่อ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมือง ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จากกรณีสภาผู้แทนราษฎรไม่รับหลักการร่างของประชาชนครั้งนี้ด้วย

นพ.นิรันดร์ ให้สัมภาษณ์ว่า คณะอนุฯ จะต้องตรวจสอบว่าสาเหตุที่การไม่รับหลักการของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนั้น มีข้อเท็จจริงที่มีเหตุผลอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ตามมาตรา 87 รัฐธรรมนูญ ระบุให้รัฐส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดนโยบายต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน การเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับดังกล่าว ซึ่งเน้นความเป็นอิสระของคณะกรรมการกองทุนประกันสังคมนับว่าให้ประโยชน์ต่อแรงงานในระบบทั้งหมด

นพ.นิรันดร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ การที่คนงานเสนอกฎหมายด้วยตัวเอง สะท้อนถึงความตื่นตัวของภาคประชาชน ในการขยับเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ ซึ่ง ส.ส. น่าจะเข้าใจ ยอมรับและนำร่างมาพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ

นพ.นิรันดร์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา นอกจากร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้แล้ว ยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการที่กฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนไม่ได้รับความเอาใจใส่ในการพิจารณาของรัฐสภาอีกหลายฉบับ อาทิ ร่าง พ.ร.บ.แร่ ร่าง พ.ร.บ.ประมงพื้นบ้าน ร่าง พ.ร.บ.การจัดการทะเลชายฝั่ง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จะตรวจสอบกระบวนการของรัฐสภาในการพิจารณารับหลักการกฎหมายต่างๆ รวมถึงร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในการจัดทำข้อเสนอต่อการแก้ไขกฎหมายต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้านแม่เมาะค้านเขตอุทยานถ้ำผาไททับที่ทำกิน

$
0
0

ลำปาง/ ชาว อ.แม่เมาะ จากสามหมู่บ้าน ค้านการประกาศแนวเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทระบุเงื่อนไขให้กันพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่ป่าชุมชนออกก่อน

 
 
 8 เมษายน 56 เวลาประมาณ 10.00น. ชาวบ้านกลาง บ้านแม่ส้าน และบ้านห้วยตาด ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 3 หมู่บ้าน จำนวนประมาณ 300 คน ได้มารวมตัวกันที่โบสถ์คริสต์บ้านกลาง ม.5 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เพื่อร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวทีประชุมร่วมกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท โดยมีตัวแทนจากอนุกรรมการที่ดินป่าไม้ และผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าร่วมสังเกตการณ์ ในการหาข้อยุติร่วมกันกรณีการซ้อนทับระหว่างแนวเขตอุทยานและและแนวเขตของชุมชน  
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ชุมชนทั้ง 3 ชุมชนนี้ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีที่ชุมชนถูกละเมิดสิทธิจากการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทซ้อนทับพื้นที่ของชุมชน และได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 56 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว และข้อสรุปจากเวทีมอบหมายให้อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทจัดเวทีในพื้นที่เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำแนวเขตร่วมกันกับชุมชน และรายงานสรุปต่อคณะกรรมการสิทธิฯ  
 

 
 
นายสมชาติ หละแหลม ผู้ใหญ่บ้านกลาง ม.5 นำเสนอข้อมูลและจำนวนพื้นที่ที่ชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้ขอกันออกจากแนวเขตอุทยานฯ เนื้อที่รวมทั้งหมด 51,303.86 ไร่ จำแนกเป็น พื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่ป่าชุมชน คิดเป็นร้อยละ 6.76 ของเนื้อที่อุทยานฯ ทั้งหมด (758,750 ไร่ หรือ 1,214 ตารางกิโลเมตร) ภายหลังจากการที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลข้อเท็จจริง และพบว่าแนวเขตอุทยานฯ ที่อยู่ในแผนที่แนบท้ายการประกาศนั้น ยังไม่มีการกันออกจากพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และป่าชุมชน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ท้ายสุดของการประชุมมีข้อสรุปว่า หัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเห็นด้วยที่จะให้มีการสำรวจรังวัดที่ดินของชุมชนออกก่อนที่มีการประกาศแนวเขตฯ และให้ผู้นำชุมชนทั้ง 3 ชุมชนทำหนังสือไปยังอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเพื่อนัดหมายวัน เวลา ในการสำรวจรังวัดแนวเขตร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำข้อมูลและข้อสรุปที่ได้รายงานต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อไป
 
อนึ่ง อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว จังหวัดลำปางมีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ หรือ 1,214 ตารางกิโลเมตร โดยกรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจเพื่อขอจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี2532 และดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยาง-ป่าแม่งาว ป่าแม่ต๋า-ป่าแม่มาย ป่าแม่งาวฝั่งขวา และป่าแม่โป่ง ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ อำเภอแจ้ห่ม และอำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อประกาศเป็นอุทยานได้ขออนุมัติใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0713(ผท)/20 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ซึ่งนายไพโรจน์ สุวรรณกร อธิบดีกรมป่าไม้ อนุมัติให้ใช้ชื่อ "อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท"เมื่อวันที่ 4 มีนาคม2534 ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาการประกาศเพิ่มเติมในท้องที่ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ แต่ได้รับการค้าค้านจากประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการลงพื้นที่จัดประชุมในวันดังกล่าว
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ยืดเวลาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ให้สิทธิค่าเช่าบ้านข้าราชการ อนุมัติซื้อรถเมล์ใหม่ 3 พันคัน

$
0
0

ครม.ขยายเวลาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 120 วัน ให้ข้าราชการที่ทำงานต่างท้องที่เบิกค่าเช่าบ้านได้ และอนุมัติ ขสมก.ซื้อรถเมล์ใหม่ 3,000 คัน

9 เม.ย.56 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ขยายเวลาแก่แรงงานสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมือง รวมถึงบุตรที่อายุไม่เกิน 15 ปี ได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลจากประเทศต้นทาง เพื่อขอวีซ่าและรับอนุญาตให้ทำงานกับผู้จ้างเดิมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยผ่อนผันต่อไปอีก 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย.เป็นต้นไป ทั้งนี้ตามข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน เนื่องจากมีคำร้องขอจากแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างรวบรวมนำส่งมายังศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) จำนวนมากถึง 384,534 คำร้อง ทำให้ทางศูนย์ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทัน

นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ระหว่างที่ผ่อนผันให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศขยายระยะเวลา และให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา  2 ปี กระทรวงสาธารณสุขให้รับตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ กรมการจัดหางานให้เร่งนายจ้างพาแรงงานต่างด้าวมาดำเนินการให้เรียบร้อย สำนักงานประกันสังคมให้ดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคม ส่วนกระทรวงการคลังให้สนับสนุนด้านงบประมาณ

นพ.ทศพร แถลงด้วยว่า ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติผ่อนปรนการดำเนินการตามสมควรแก่กรณีกับนายจ้างและแรงงานต่างด้าว เพื่อให้การดำเนินนโยบายบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และภายหลังสิ้นสุดการผ่อนผัน 120 วันแล้ว ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการปราบปราม จับกุมดำเนินคดีกับนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้นำพา และผู้ให้ที่พักพิงแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย สำหรับแรงงานต่างด้าวให้ผลักดันส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง เพื่อดำเนินการตามกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ ครม.ยังมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ...) พ.ศ.... เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2547 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ชัดเจน ทำให้มีปัญหาการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ โดยกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้ไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่และทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้แล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ส่วนข้าราชการที่เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพบ้าน แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ

วันเดียวกันนี้ ครม.อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีชุดใหม่โดยมีทั้งรถปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดาจำนวน 3,000 คัน ในวงเงิน 13,000 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีกำชับให้ ขสมก.เปิดประมูลอย่างโปร่งใสและเน้นให้เอกชนในประเทศเข้าร่วมประมูล เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ภายในประเทศ รวมทั้งกำชับให้หาแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถเมล์แทนรถยนต์ส่วนตัวในเขตที่มีจราจรติดขัดอย่างมากในช่วงจราจรเร่งด่วน เพื่อหวังให้มีผู้ใช้บริการรถเมล์เพิ่มจาก 1.7 ล้านคน เพิ่มเป็น 2.5 ล้านคน/วัน

เรียบเรียงจาก 1, 2, 3, 4

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วุฒิฯ คลอด 5 'ซุปเปอร์บอร์ด'ตรวจงาน 'กสทช.'แล้ว

$
0
0

(9 เม.ย.56) ในการประชุมวุฒิสภา มีการพิจารณาลงคะแนนรอบสุดท้ายเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่ง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 โดยจะมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี มีการลงคะแนนแบบลับในคูหา สำหรับผู้ที่จะได้รับเลือกจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละด้าน ซึ่งหากด้านใดมีคะแนนเสียงเท่ากันจะให้สมาชิกลงคะแนนใหม่ ผลปรากฎว่ามีผู้แสดงตนลงคะแนน 116 คน

ด้านกิจการด้านกิจการกระจายเสียง ผู้ที่ได้รับเลือกคือ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ซึ่งได้คะแนน 74 เสียงเหนือ น.ส.ลักษมี ศรีสมเพ็ชร กรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเชียงใหม่ หรือ กรอ.เชียงใหม่ที่ได้ 70 เสียง

ด้านกิจการโทรทัศน์ นายพิชัย อุตมาพินันท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกฎหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกด้วยคะแนน 90 คะแนน เหนือ พล.อ.จิรเดช คชรัตน์ อดีตที่ปรึกษากรรมการบริษัทกิจการโทรทัศน์กองทัพบกที่ได้ 48 คะแนน

ส่วนด้านกิจการโทรคมนาคมผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้เสียงสนับสนุน 81 เสียง ชนะนายอนันต์ วรธิติพงศ์ อดีต ส.ว.สรรหา ที่ได้ 63 เสียง

ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคนายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. เลขานุการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้รับคะแนน 75 คะแนน เหนือ นายพันธ์ศักดิ์ จันทร์ปัญญา อดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้ 69 เสียง

และด้านกิจการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนพล.อ.บุญยวัจน์ เครือหงส์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม ได้รับคัดเลือกด้วยคะแนน 82 คะแนน มากกว่านายจเด็จ อินสว่าง อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ได้ 63 เสียง

 

มาตรา 70เพื่อประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของสำนักงาน กสช. และเลขาธิการ กสช. หรือสำนักงาน กทช. และเลขาธิการ กทช. แล้วแต่กรณี ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสช. หรือคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. แล้วแต่กรณี ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน ซึ่ง คณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมิใช่กรรมการ เลขาธิการ กสช. เลขาธิการ กทช. พนักงานหรือ ลูกจ้างของสำนักงาน กสช. หรือพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน กทช. แล้วแต่กรณี รวมทั้ง มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบที่ กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณี กำหนด
    ให้กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ สองปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้
    วิธีการประชุมและการลงมติให้เป็นไปตามระเบียบที่ กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณี กำหนด
    ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติงานของกรรมการติดตามและ ประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณี กำหนด

มาตรา 71นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 70 วรรคสอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
    (1) ตาย
    (2) ลาออก
    (3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
    (4) เป็นบุคคลล้มละลาย
    (5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
    (6) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 70
    (7) กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณี มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง บกพร่องใน หน้าที่อย่างร้ายแรงหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
   
มาตรา 72 ให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
    (1) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ สำนักงาน กสช. และเลขาธิการ กสช. หรือสำนักงาน กทช. และเลขาธิการ กทช. แล้วแต่กรณี โดยรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงาน กสช. หรือสำนักงาน กทช. แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการประเมินผลงาน
    (2) รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลต่อ กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณี ทุกหกเดือน
    (3) ประมวลผลการประเมินและจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อ กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณี

 

 

 

ที่มา:มติชนออนไลน์, พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live