Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live

ประเทศไทย ประชาธิปไตยกับดัชนีการพัฒนามนุษย์

$
0
0

 

“ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุดต่างหาก” เป็นคำพูดที่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษเคยกล่าวไว้ เนื่องจากว่าในช่วงเวลานี้มีการสนทนาเรื่องระบบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย ผมอยากนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน

เราสามารถพูดได้ว่าประชาธิปไตยแย่เพราะมีนักการเมืองโกง หรือดีเพราะมีเสรีภาพ แต่ของพวกนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่จับต้องได้ หลายคนมีความคิดเห็นว่าประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตย เพราะตราบใดที่ประชาชนกินดีอยู่ดีก็เพียงพอแล้ว แต่ผมอยากให้พิจารณาว่าถ้าประเทศไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และมีคุณภาพสูง แทบจะไม่มีโอกาสเลยที่ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่กินดีอยู่ดีได้ ทีนี้เราจะวัดได้อย่างไรว่าประเทศไหนกินดี อยู่ดี มีความเจริญ ผมขอนำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ หรือ HDI เป็นตัวชี้วัดของสหประชาชาติที่วัดคุณภาพชีวิตของคนในแต่ละประเทศ โดยที่ตัวชี้วัดจะประกอบไปด้วย สุขภาพที่ดี ชีวิตยั่งยืน การศึกษาที่สูง และมาตรฐานการครองชีพที่ดี ผมเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนจะเห็นด้วยว่าประเทศที่น่าอยู่สมควรที่จะประกอบไปด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ เพราะฉะนั้นผมขอเสนอประเทศที่มีคะแนน HDI สูงสุด 25 ประเทศแรก

นอกเหนือจากนี้แล้วจะมีประเทศไทย (93) จีน (90) มาเลเซีย (62) และใต้หวัน (21)

ทีนี้ในแง่ของการวัดคุณภาพของประชาธิปไตย ผมอยากให้ผู้อ่านลองอ่านดัชนีชี้วัดประชาธิปไตยโดยสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นดัชนีที่มีการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าสะท้อนถึงนิยามของประชาธิปไตยได้ดี ซึ่งจะมีประเทศ 25 ประเทศอันดับต้นๆตามนี้

ต่อไปผมจะสร้างตารางเพื่อเปรียบเทียบระหว่างดัชนี HDI กับดัชนีประชาธิปไตย

 

ตารางเพื่อเปรียบเทียบระหว่างดัชนี HDI กับดัชนีประชาธิปไตย

 
ดัชนี HDI ดัชนีประชาธิปไตย ประเทศ
11Norway
29Australia
36Switzerland
45Denmark
510Netherlands
613Germany
612 Ireland
820United States
97Canada
94New Zealand
1174Singapore
1167Hong Kong
13N/A Liechtenstein
143Sweden
1416United Kingdom
162Iceland
1722Korea, South
1834Israel
1911Luxembourg
2017Japan
2126Belgium
2131Taiwan
2227France
2314Austria
248Finland
2536Slovenia


เราจะเห็นว่าในนี้มีแต่ประเทศฮ่องกงกับสิงคโปร์เท่านั้นที่ได้รับคะแนน HDI ที่สูง แต่มีคุณภาพประชาธิปไตยที่ค่อนข้างต่ำ เพราะสองประเทศนี้ค่อนข้างจะค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ในหลายๆด้านเช่นการเป็นเกาะ มีขนาดเล็ก เป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก ฯลฯ แต่สำหรับประเทศอื่นแล้วเราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง HDI กับ ประชาธิปไตย รวมถึงประเทศแถบเอเชียที่เคยเป็นเผด็จการมาเมื่อไม่นานมานี้เอง รวมถึง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

ผมขอสรุปว่าหากระบบการปกครองของไทยไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยที่มีคุณภาพสูง โอกาสที่ประไทยจะเป็นประเทศที่รับคะแนนสูงในดัชนีการพัฒนามนุษย์ นั่นคือเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี ชีวิตยั่งยืน การศึกษาที่สูง และมาตรฐานการครองชีพที่ดี แทบจะไม่มีเลย

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน Mishari Muqbil's Official Blog

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อานนท์โต้ กกต. คลิปพลเมืองโต้กลับไม่ผิดกม. “แค่เต้นยังไม่ได้ ทำประชามติทำไม”

$
0
0

9 มิ.ย.2559  ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการกกต. กล่าวว่า จากกรณีมีการเผยแพร่คลิปเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย จูงใจให้คนไปใช้สิทธิออกเสียงรับไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีการตรวจสอบเบื้องต้นของคณะทำงานของกกต.แล้วพบว่า คลิปดังกล่าวมีการเผยแพร่ครั้งแรกทางเว็บไซต์ยูทูปเมื่อวันที่ 13 เม.ย.ก่อน พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 23 เม.ย. จึงถือว่าผู้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจจะผิดกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญา กฎหมายความมั่นคง และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) นอกจากนี้แนะนำว่าผู้ที่จะนำคลิปดังกล่าวไปเผยแพร่ซ้ำในระหว่างนี้ไม่สามารถทำได้เพราะจะสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายประชามติมาตรา 61 วรรคสอง

นายสมชัย กล่าวต่อว่า ส่วนการตรวจสอบตัวบุคคลที่อยู่ในคลิปพบว่ามีลักษณะคล้ายกับบุคคลที่เป็นที่รู้จักในทางสังคม 1.อานนท์ นำภา ทนายความ 2.สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3.ณัฐภัทร อัคฮาด 4.นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด 5.นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน นักเรียน ส่วนตัวอยากแนะนำให้บุคคลเหล่านี้และบุคคลอื่นที่อยู่ในภายคลิปอีก 20 คน หากไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ซ้ำคลิปดังกล่าวขอให้ไปแจ้งลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กกต.จะดำเนินการตรวจสอบต่อไป คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นความผิดที่จะส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไปหรือไม่

นายสมชัย กล่าวด้วยว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นตัวอย่างว่าการประชามติครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องมีมาตรา 61 วรรคสองของพ.ร.บ.ประชามติไว้ในบังคับ เนื่องจากมีบุคคลออกมาเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ ปลุกปั่น ซึ่งสังคมไทยไม่ปรารถนาให้ความวุ่นวายเกิดขึ้น มาตราดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคงไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ศาลจะพิจารณา อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูวินิจฉัยว่ามาตราดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ก็ยังมีมาตราอื่นในพ.ร.บ.ประชามติ เช่นการกล่าวเท็จ ก็มีมาตรา 61(3) ที่ห้ามหลอกลวง ใช้ควบคุมอยู่ หรือการพูดหยาบคาย ก็มี กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ควบคุมดูแลอยู่ แต่ทั้งนี้จะไม่ครอบคลุมในเรื่องที่สามารถเอาผิดว่าเป็นการก่อความวุ่นวาย ได้เหมือนกับมาตรา 61 วรรคสอง พ.ร.บ.ประชามติ และกกต.ก็ต้องไปยกร่างกฎหมายและแก้ไขระเบียบกกต.ให้สอดคล้องต่อไป

การกระทำความผิดมาตรา 61 วรรคสองนั้น กำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดไม่เกิน 5 ปีด้วยก็ได้

“ผู้ได้ดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปสิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการก่อความวุ่นวายเพื่อไม่ให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ด้านอานนท์ นำภา ทนายความซึ่งถูกอ้างถึงว่าปรากฏในคลิปให้สัมภาษณ์ว่า คลิปดังกล่าวจัดทำโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ถ่ายทำและเผยแพร่กันก่อนพ.ร.บ.ประชามติจะบังคับใช้ แต่ทางกลุ่มยืนยันว่าถึงแม้มีพ.ร.บ.ประชามติแล้ว ก็ยังเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวของกลุ่มไม่ได้ผิดต่อกฎหมายแต่ประการได้

“เรายืนยันว่าเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ แม้แต่มาตรา 7 ของพ.ร.บ.ประชามติเองก็รับรอง”

ทั้งนี้ มาตรา 7 ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย

อานนท์กล่าวอีกว่า คลิปดังกล่าวเป็นการรณรงค์ ใช้ถ้อยคำในชีวิตประจำวัน ไม่มีคำรุนแรง ก้าวร้าว การที่กกต. ออกมาพูดเรื่องนี้มีเจตนามสกัดกั้นการแสดงออกของประชาชนที่จะพูดแง่ร้ายหรือข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญ แต่หากเป็นข้อดีกลับพูดได้

“เรายืนยันว่าคลิปนี้ไม่ผิดกฎหมาย จะเผยแพร่ต่อไป มันมีแค่การเต้นใส่เพลง เป็นการแสดงออกโดยสงบสันติอย่างถึงที่สุดของประชาชน ถ้าแค่เต้นไม่ได้ก็ไม่รู้จะทำประชามติกันไปทำไม” อานนท์กล่าว

ขณะที่สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับเขาเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไร พ.ร.บ.ประชามติก็บังคับใช้เอาผิดในลักษณะนี้ก็เป็นกระบวนการที่มารับรองการประชามติที่ไม่เสรี จึงเห็นว่าไม่มีความำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของสมชัย ศรีสุทธิยากร ที่ให้ไปลงบันทึกประจำวันแสดงความบริสุทธิ์ใจไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ซ้ำ

“ถ้าจะมีประชามติก็ต้องรับเรื่องเหล่านี้ให้ได้” สิรวิชญ์กล่าว

เมื่อถามว่าเขามีความกังวลใจหรือไม่ว่าอาจถูกแจ้งข้อกล่าวหาอีกคดีหนึ่งจากคลิปนี้ เขาตอบว่า “ผมเองก็โดนคดีมาจนไม่กังวลแล้ว ถ้ามีคดีนี้อีกก็จะเป็นคดีที่ 5” 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพนกวิน ถาม กกต.สมชัย 'ผมผิดอะไร'

$
0
0

พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักเรียนมัธยม ถาม สมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการเลือกตั้ง ถามถึงความผิดที่ีสมชัยประกาศจะดำเนินคดี ยืนยันเจตนารณรงค์เรียนฟรีถึง ม.ปลาย โดยการสื่อผ่านศิลปะอย่างสันติวิธีและยินดีรับการจับกุม


"ผมผิดอะไร"

เมื่อช่วงเที่ยงวันนี้ ท่านสมชัย ศรีสุทธิยากร หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้งได้แถลงว่า ผู้ที่ปรากฎตัวในคลิปเพลงของกลุ่มพลเมืองโต้กลับอาจมีความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญา กฎหมายความมั่นคงและประกาศของ คสช. นอกจากนี้ยังได้แนะนำบุคคลราว 20 กว่าคนในคลิป ซึ่งรวมผมด้วยนั้น ให้ไปทำบันทึกประจำวันหากต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ผมในฐานะที่เป็นนักเรียนที่เคลื่อนไหวประเด็นการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญ และถูกพาดพิงในครั้งนี้ ชี้แจงจุดยืนของผม ดังนี้

นับตั้งแต่มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้น คนในแวดวงการศึกษาก็เริ่มวิตกกังวลว่า การที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยกเลิกการกำหนดให้รัฐสนับสนุนสวัสดิการเรียนฟรีระดับมัธยมปลายและสายอาชีพนั้น จะเป็นการริดรอนสิทธิเยาวชนหรือไม่ ผมเองก็ให้ความสนใจต่อประเด็นดังกล่าวและพยายามเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจนมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ด้วยหวังว่าจะนำพาความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้อ่านมาตราการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ที่คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แม้ว่าจะคงระยะเวลาเรียนฟรี 12 ปีดังเดิม แต่ก็ตัดทอนสวัสดิการเรียนฟรีระดับมัธยมปลายและสายอาชีพ ซึ่งเป็นการศึกษาวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต โดยไปสนับสนุนสวัสดิการการศึกษาระดับปฐมวัย ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังกำหนดให้นักเรียนที่มีปัญหาทางการเงินต้องหันไปพึ่งพากองทุน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระทางธุรการให้แก่นักเรียน และยังมีความเสี่ยงว่าจะมีนักเรียนจำนวนมากตกหล่นจากระบบการศึกษา นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มภาระต่อผู้ปกครองทุกระดับ ด้วยหลักการตามรัฐธรรมนูญนี้ "ม.ปลายฟรี"จะเป็นเพียงการสงเคราะห์จากรัฐเป็นรายบุคคล แทนที่จะเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนจะต้องได้อย่างเท่าเทียมกันและมีศักดิ์ศรี

เมื่อสถานการณ์ของนักเรียนมัธยมปลายและสายอาชีพตกต่ำลงกว่าเมื่อครั้งมีรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ในช่วงค่ำวันที่ 29 นั้นเอง ผมและเพื่อนจึงเริ่มแคมเปญ "เอา ม.ปลายฟรีของเราคืนมา"และพวกเราก็ได้แสดงจุดยืนชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ว่าในฐานะนักเรียน เราไม่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิการศึกษาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน เราได้ทำกิจกรรมหลายอย่างเพื่อสื่อสารต่อสังคมว่าเราไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ เราเคลื่อนไหวเพราะเราเชื่อว่าเยาวชนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เมื่อเห็นความไม่ถูกต้อง เยาวชนก็ควรจะชี้ให้เห็นความบิดเบี้ยวนั้น เมื่อเห็นว่าสิทธิ ม.ปลายฟรี ซึ่งเป็นของเรา เป็นของน้องเรา จนไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานของเรากำลังถูกลิดรอนไป เราก็จำเป็นต้องแสดงตัวเพื่อให้สังคมรับรู้ว่า เยาวชนไม่ยอมให้ใครพรากสิทธิอันควรได้ของเราไป

ในช่วงต้นเดือนเมษายนนั้นเอง กลุ่มพลเมืองโต้กลับได้เชิญชวนผมให้ร่วมวาดฝีไม้ลายเท้าในคลิปเพลง "อย่างนี้ต้องตีเข่า (โหวตไม่เอาแล้วตีตก)"เพื่อแสดงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญ จุดยืนของผมนั้นไม่อาจยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่พรากสิทธิเยาวชนและทำลายการศึกษาไทยได้อยู่แล้ว ผมจึงตอบตกลงเพื่อแสดงจุดยืนของผมผ่านการ "เต้น"ซึ่งผมคิดว่าเป็นศิลปะการแสดงออกอย่างสันติ ไม่ละเมิดสิทธิผู้ใด

และในวันนี้ ท่านสมชัยแถลงว่าการ "เต้น"ของผมอาจขัดต่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญา กฎหมายความมั่นคง และคำสั่ง คสช. ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ผมอาจต้องถูกดำเนินคดี ผมอาจต้องขึ้นศาลเด็กและเยาวชน หรือกระทั่งศาลทหาร และผมอาจต้องได้รับโทษทางอาญา ซึ่งอาจสูงถึงขั้นจำคุกก็ได้ ก่อนที่เหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้น ผมขออนุญาตเรียนถามท่านสมชัย และท่านใดก็ตามที่คิดจะดำเนินคดีพวกเราสั้น ๆ

ท่านกล่าวหาว่าการกระทำของผมอาจขัดกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจหมายถึงการนำเข้าข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบ หากเป็นเช่นนั้น "การเต้น"จะนำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบได้อย่างไร การเต้นก็คือการเต้น และผมเชื่อว่าเนื้อหา ทั้งของเพลงที่เต้นและสาส์นที่ผมพยายามสื่อมาโดยตลอด ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงทั้งสิ้น หากท่านคิดว่าข้อใดเป็นเท็จ ก็โปรดกรุณาชี้แจงให้ชัดเจน

ท่านกล่าวหาว่าการกระทำของผมอาจขัดกับกฎหมายความมั่นคง "ความมั่นคง"ของท่านเปราะบางขนาดที่จะถูกคุกคามด้วยการเต้นของนักเรียนมัธยมปลายคนหนึ่งเลยหรือ เพียงแค่แสดงจุดยืนของตัวเองผ่านศิลปะอย่างสงบ ใช้สันติวิธี ก็ถือว่าเป็นการปลุกระดมได้แล้วหรือ

ท่านกล่าวหาว่าการกระทำของผมอาจขัดกับกฎหมายอาญา เพียงการเต้น การแสดงจุดยืนอย่างสันตินั้นจะผิดกฎหมายมาตราใดหรือ ผมมิได้พาดพิงใครในทางเสียหายอย่างเจาะจงรายบุคคล ท่านจะถือว่าผมหมิ่นประมาทผู้ใดได้หรือ และที่ท่านกล่าวหาว่าผมอาจละเมิดประกาศของ คสช. ผมละเมิดประกาศฉบับใด ข้อใดหรือ เพียงเต้นกันเฉย ๆ จะถูกดำเนินคดีเลยหรือ

ผมขอยืนยันว่าทุกการกระทำของผมล้วนบริสุทธิ์ใจ เป็นไปเพื่อทวงคืนสิทธิการศึกษา ซึ่งก็เป็นประโยชน์ส่วนรวมทั้งสิ้น ผมเต้นประกอบคลิปเพลงด้วยความซื่อสัตย์ต่อหลักการของผม ซึ่งมีผลประโยชน์ของสังคมเป็นใหญ่ ผมไม่ได้มุ่งทำร้ายใคร ผมไม่ได้ละเมิดสิทธิใคร เหตุใดท่านจึงคิดว่า การกระทำของผมและท่านอื่นในคลิปจะละเมิดกฎหมายทั้งหลายเหล่านั้น ซ้ำยังจะให้พวกเราไปลงบันทึกประจำวัน ในความผิดที่ไม่ใช่ความผิดเสียอีก

ผมยังคงยืนยันว่าผมไม่ได้ทำผิดกฎหมายอันชอบธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น การที่นักเรียนลุกขึ้นมาทวงสิทธิการศึกษาคืนนั้นจะเป็นความผิดไปได้อย่างไร แต่หากท่านคิดว่าผมทำผิด ก็ขอให้มาควบคุมตัวผมไปดำเนินคดีเสีย ให้จารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ว่าครั้งหนึ่ง ในประเทศไทย การลุกขึ้นทวงสิทธิและแสดงความคิดเห็นโดยสันตินั้นผิดกฎหมาย และจะต้องมีนักเรียนถูกลงโทษ เพียงเพราะลุกขึ้นมาทวงสิทธิเหนือสวัสดิการการศึกษาของตนเอง รวมถึงเพื่อนนักเรียนหลายล้านชีวิตและคนรุ่นลูกรุ่นหลานที่จะต้องเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไป

ขอให้ทุกท่านที่ได้อ่านจนจบเป็นสักขีพยานในการคำถามของผม ว่าสุดท้ายแล้ว ผมผิดอะไร

พริษฐ์ ชิวารักษ์

9 มิถุนายน 2559

 

 

 

คลิปวิดีโอ พลเมืองโต้กลับ อย่างนี้ต้องตีเข่า (โหวตไม่เอา แล้วตีตก)


 

Title : อย่างนี้ต้องตีเข่า (โหวตไม่เอา แล้วตีตก) 
Artists: Resistant Citizen
Lyrics: Resistant Citizen
.
.
ไม่รู้ ไม่รู้ จุ๊กกรู ไม่รู้ ไม่รู้ 
ไม่เอา ไม่เอา ชะเออ ไม่เอา ไม่เอา 
อย่าเลยกูรู้ มึงอยากอยู่ยาว 
ไอ้พวกอัปรีย์ อย่างนี้ต้องตีเข่า 
.
หลอกว่า ขอเวลาไม่นาน เสือกจะอยู่นาน นานซะจนป่นปี้ 
ออกไป ออกไปเสียที เผด็จการหัวปลี อย่าได้มีภาคสอง 
อ้อนวอน ให้มันคืนมา คืนอำนาจมา มันก็ทำท่าเบี้ยว 
สิทธิเสรี เหลือเพียงนิดเดียว เหลือเพียงนิดเดียว ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ดีไม่เอา 
.
(ชะ ชะ ชะ เย เย เย มาซีลอน) 
(ชะ ชะ ชะ เย เย เย มาซีลอน) 
.
ไม่รู้ ไม่รู้ จุ๊กกรู ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่เอา ไม่เอา ชะเออ ไม่เอา ไม่เอา 
โหวตโนกันนะ โหวตโนเถิดเรา ร่าง...มาไม่ดี อย่างนี้ต้องตีเข่า 
.
สั่งการ ทหารเป็นพวง ทหารเป็นพวง เป็น ส.ว.ลากตั้ง 
แอบดู ใช้วิชามาร ใช้วิชามาร เปลี่ยนผ่านและย้อนยุค 
อยากลอง ถามดูสักคำ ถามดูสักคำ ไหนเล่าคืนความสุข 
แล้วพูดมา อิ๊บอุบ อิ๊บอุบ อิ๊บอุบ อิ๊บอุบ 
ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ดีไม่เอา 
.
ไม่รู้ ไม่รู้ จุ๊กกรู ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่เอา ไม่เอา ชะเออ ไม่เอา ไม่เอา 
โหวตโนกันนะ โหวตโนเถิดเรา ร่าง...มาไม่ดี อย่างนี้ต้องตีเข่า 
.
ปวดใจ รัด-ทะ-ทำ-มะ-นูน รัด-ทะ-ทำ-มะ-นูน อ่านแล้วนอนปวดไข่ 
อยากตาย ก็ยังเสียดาย 
ก็ยังเสียดาย เพราะยังไม่ได้อารายยย
บีบคั้น ให้มันคืนมา คืนอำนาจมา ประชาชนเป็นใหญ่ 
ขี้เกียจฟัง ทหารน้ำเน่า พวกอำนาจเก่า ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ดีไม่เอา 
.
ไม่รู้ ไม่รู้ จุ๊กกรู ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่เอา ไม่เอา ชะเออ ไม่เอา ไม่เอา 
โหวตโนกันนะ โหวตโนเถิดเรา ร่างมาไม่ดี อย่างนี้ต้องตีเข่า 
ไม่รู้ ไม่รู้ จุ๊กกรู ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่เอา ไม่เอา ชะเออ ไม่เอา ไม่เอา 
โหวตโนกันนะ โหวตโนเถิดเรา ร่างมาไม่ดี อย่างนี้ต้องตีตก

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘เหมืองแร่’ กับการจัดการผลกระทบ ‘สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ’

$
0
0

 

การพัฒนาทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่การประกอบกิจการเหมืองแร่ ที่ผ่านมา มีการร้องเรียนและเรียกค่าเสียหายจากผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ต่อเนื่อง

เช่นผลกระทบต่อระบบนิเวศผลกระทบด้านเสียงและฝุ่นจากการใช้วัตถุระเบิด ผลกระทบต่อแหล่งน้ำใต้ดิน และการปนเปื้อนของสารอันตรายในดินผลกระทบทางสังคมในพื้นที่และสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแตกต่างไปตามประเภทแร่และมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น การปนเปื้อนของสารหนูในสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองดีบุกในตำบลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช การปนเปื้อนตะกั่วในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ปัญหามลพิษอากาศจากกิจกรรมการระเบิดหินปูน บริเวณตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี และการทำเหมืองแร่ใต้ดินแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานีและการปนเปื้อนแคดเมียมจากการทำเหมืองสังกะสีในพื้นที่เกษตร รวมถึงกรณีสารพิษจากการทำเหมืองแร่ทองคำในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น พิจิตร เลย

การดำเนินการของภาครัฐต่อกรณีเหล่านี้ นอกเหนือจากล่าสุดที่ ครม. มีมติให้บริษัทอัคราฯ ยุติการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ ในช่วงสิ้นปีนี้แล้ว น่าสนใจว่า ที่ผ่านมาภาครัฐมีการดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากกิจกรรมการทำเหมืองแร่ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเยียวยาผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอย่างไร ข้อร้องเรียนจากประชาชนจึงเกิดขึ้นต่อเนื่อง

จากการศึกษา พบว่า มาตรการรองรับการทำเหมือง ประกอบด้วยมาตรการกำกับและควบคุมเป็นการกำหนดมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการทำเหมืองแร่ การกำหนดให้ทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อนการให้ประทานบัตร การควบคุมการปล่อยมลพิษ การเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบและสิ่งแวดล้อม

มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการใช้เครื่องมือด้านการเงินการคลัง โดยการเรียกค่าปรับจากผู้ประกอบการเหมืองที่กระทำผิด การจ่ายค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้ได้รับผล กระทบและผลผลิตที่เสียหาย รวมถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เช่น กองทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ กองทุนประกันความเสี่ยงด้าน สิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

และมาตรการทางสังคม เป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ในการปฏิบัติตัว และป้องกันผลกระทบ และการส่งเสริมผู้ประกอบการให้คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม แม้ภาครัฐจะมีมาตรการเหล่านี้ แต่การร้องเรียนเรื่องผลกระทบจากการทำเหมืองดูจะไม่ลดน้อยลง สะท้อนว่า การดำเนินการที่ผ่านมายังมีปัญหาและข้อจำกัดหลายประการ อุปสรรคที่ทำให้มาตรการของรัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลไม่เต็มที่ ได้แก่ การขาดการจัดเก็บข้อมูลและศึกษาสาเหตุของปัญหาและแหล่งที่มาของมลพิษ ทำให้ไม่สามารถระบุแหล่งกำเนิดมลพิษได้ การกำหนดเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบขนาดปัญหาและประชากรที่ได้รับผลกระทบ หน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาแก้ไขปัญหาทำเฉพาะส่วนงานที่รับผิดชอบ ไม่มีการประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การขาดความเชื่อมั่นในการติดตามตรวจสอบข้อมูลผลกระทบ เนื่องจากไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ทำให้เกิดช่องว่างในการกำกับดูแลและเกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้ได้รับผลกระทบ ความแตกแยกระหว่างกลุ่มผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ และการขาดกลไกทางการเงินการคลังที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการให้เงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนน้อยและไม่ต่อเนื่อง

การดำเนินการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ที่เป็นแนวทางในอนาคต ควรดำเนินมาตรการที่หลากหลาย ได้แก่ การพัฒนาฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่ชัดเจนในแต่ละพื้นที่ การกำหนดเขตพื้นที่และแนวกันชนพื้นที่ทำเหมืองให้ชัดเจน และไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ทำเกษตร การกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวัง และฟื้นฟูพื้นที่การทำเหมือง การให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างถูกต้องและเป็นจริง การรับรู้ข้อมูลในการตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างโปร่งใส รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการทำเหมืองโดยเน้นการจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบทันที

การพิจารณาค่าภาคหลวงใหม่เพื่อครอบคลุมต้นทุนทางสังคมสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่เสียหายไป รวมถึงการเพิ่มอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนประกันความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่จ่ายตามประเภทแร่ เทคโนโลยี และจำนวนประชากรในพื้นที่ และการปรับโครงสร้างการใช้เงิน เพื่อดูแลทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงในระยะยาว

ท้ายนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่เป็นสิ่งดีเพิ่มรายได้ให้คนในท้องถิ่น แต่การพัฒนาต้องคำนึงถึงประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และการยอมรับของคนในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ อาจพิจารณาการพัฒนาเศรษฐกิจด้านอื่นในพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ซึ่งคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่สังคมโดยรวม

0000

 


เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 มิถุนายน พฤษภาคม 2559 ใน คอลัมน์: วาระทีดีอาร์ไอ: ‘เหมืองแร่’ กับการจัดการผลกระทบ’สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ’

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การต่อสู้กับการละเมิดสิทธิจากกิจการเหมืองแร่ ทำให้ชีวิตของชาวบ้านที่เคลื่อนไหวตกอยู่ในความเสี่ยง

$
0
0


 


ช่วงค่ำวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 ชายฉกรรจ์ไม่ทราบฝ่ายกว่า 100 คน ส่วนใหญ่ติดอาวุธและสวมหน้ากากดำ บุกเข้าไปในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดเลย ทำร้ายร่างกายชาวบ้านทั้งชายและหญิงหลายคน ชาวบ้านกลุ่มนี้คัดค้านการทำเหมืองแร่ทองแดงและทองคำในพื้นที่

จากผลการทดสอบตัวอย่างน้ำเมื่อปี 2550 พบว่ามีการปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำในพื้นที่ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหกชุมชนรอบเหมืองทองรวมตัวเป็นเครือข่ายกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดเพื่อเรียกร้องให้ปิดเหมือง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ชุมชนถึงขั้นตั้งกำแพงเป็นแนวกั้นถนนซึ่งเป็นเส้นทางเข้าเหมืองเมื่อปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ชายฉกรรจ์ติดอาวุธเหล่านี้บุกเข้ามาควบคุมตัวชาวบ้าน จำนวนมากโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช้กำลังทำร้ายร่างกายชาวบ้านหลายคนในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยาวนานกว่าหกชั่วโมง

แม้ว่าชาวบ้านได้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาให้ความช่วยเหลือ

ที่ผ่านมามีการฟ้องคดีอาญากับจำเลยเพียงสองคนจากคนร้ายมากกว่า 100 คน ในข้อหาทำร้ายร่างกาย โดยจำเลยเป็นอดีตนายทหารกองทัพบกที่เกษียณอายุราชการกับลูกชายของเขาซึ่งยังคงรับราชการทหารอยู่ เมื่อวันอังคาร (31 พฤษภาคม 2559) ศาลจังหวัดเลยตัดสินว่าเจ้าหน้าที่ทหารทั้งสองนายมีความผิดจริงในข้อกล่าวหาทางอาญาต่าง ๆ รวมทั้งความผิดฐานทำร้ายร่างกาย กักขังหน่วงเหนี่ยว และการใช้อาวุธปืนโดยไม่มีเหตุอันควรในที่สาธารณะ ศาลตัดสินลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสองปีและสามปีตามลำดับ และสั่งให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนกว่า 160,000 บาท ให้กับชาวบ้านที่เป็นโจกท์ร่วมทั้งเก้าคน ปัจจุบันจำเลยทั้งสองคนได้รับการประกันตัว

บริษัทซึ่งประกอบกิจการเหมืองแร่ในพื้นที่นี้คือ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ซึ่งที่ผ่านมาปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิใดๆ และได้ยื่นฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งอย่างน้อย 19 คดีกับชาวบ้านที่ประท้วงคัดค้านเหมืองแร่ทองคำ รวมทั้งล่าสุดคือการฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญากับเด็กหญิงอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นผู้บรรยายรายงานข่าวพลเมืองที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับกิจการเหมืองทองคำและสิ่งแวดล้อมที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแบบแผน “การพัฒนา” ในประเทศไทย ชุมชนต้องเผชิญกับการข่มขู่ ความรุนแรงและการคุกคามผ่านกระบวนการศาล

เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงบ่ายของวันที่ 8 เมษายนปีนี้ มือปืนไม่ทราบชื่อ ลอบยิงนายสุพจน์ กาฬสงค์ แกนนำเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิที่ดิน ระหว่างที่เขาขับรถยนต์กลับบ้านในอำเภอชัยบุรี เป็นเหตุให้เขาได้รับบาดเจ็บสาหัส โชคดีที่เขารอดชีวิต

แต่แกนนำเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิที่ดินคนอื่นไม่ได้โชคดีแบบนี้

นายสุพจน์เป็นสมาชิกคนที่ห้าของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ซึ่งเป็นเครือข่ายชุมชนที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิในที่ดินของเกษตรกร และที่ผ่านมามีข้อพิพาทกับรัฐบาลและ บริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทปาล์มน้ำมันของคนไทย เป็นเหตุให้ถูกโจมตีทำร้ายตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมาสมาชิกสี่คนถูกลอบยิงเสียชีวิต จนถึงปัจจุบันมีการนำตัวชายเพียงคนเดียวเข้ารับการพิจารณาคดีแม้จะมีการสังหารทั้งสี่กรณี แต่ศาลได้ยกฟ้องชายคนดังกล่าว

เมื่อเร็ว ๆ นี้ในเดือนมีนาคม บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ทำเหมืองทองคำในไทยของบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัดของออสเตรเลีย ได้ฟ้องหมิ่นประมาทคดีอาญากับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสองคน ซึ่งคัดค้านการดำเนินกิจการเหมืองแร่ของบริษัทในจังหวัดพิจิตร โดยกล่าวหาว่าพวกเขาโพสต์ความเห็นในทางลบเกี่ยวกับบริษัทผ่านทางเฟซบุ๊ก

ที่จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมปีที่แล้ว ทางการสั่งให้สมาชิกกลุ่มแม่สอดรักษ์ถิ่น ซึ่งเป็นเครือข่ายชาวบ้านในอำเภอแม่สอด ต้องอพยพออกจากที่ดินตามแผนการของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชาวบ้านบอกกับเราว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้เข้ามาขัดขวางไม่ให้พวกเขายื่นคำร้องต่อทางการเกี่ยวกับการไล่รื้อหลายครั้งด้วยกัน

ในบรรดากรณีเหล่านี้ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เรียกร้องความเป็นธรรม มักถูกผลักให้อยู่ชายขอบและจำกัดสิทธิการแสดงออก

แต่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายที่ต้องคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกคน จากการตอบโต้อันเป็นผลมาจากการใช้สิทธิของตน

ในวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ประเทศไทยเข้าร่วมกับอีก 127 ประเทศในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และให้การรับรองมติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นมติที่เรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ งดเว้นจากการคุกคามหรือตอบโต้นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และอนุญาตให้มีการแสดงความเห็นต่างจากรัฐได้อย่างสงบและอย่างเสรี เป็นมติที่เรียกร้องให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และให้จำแนกและแก้ปัญหาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากกิจการของตน โดยให้มีการปรึกษาหารืออย่างจริงจังกับกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนั้น เมื่อเดือนที่แล้ว ประเทศไทยได้รับพิจารณาข้อเสนอแนะจากรัฐภาคีสหประชาชาติ 6  ประเทศ เรื่องในแง่การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบสองของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Universal Periodical Review) ที่สหประชาชาติ โดยประเทศไทยได้เห็นชอบที่จะดำเนินการสอบสวนโดยทันทีและอย่างรอบด้าน หากมีรายงานการข่มขู่ คุกคาม และทำร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ การแสดงความสนับสนุนของประเทศไทยต่อหลักการเหล่านี้ในเวทีโลกเป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่จะไม่มีความหมายมากนักหากปราศจากการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ประเทศไทยยังต้องใช้เวลาอีกมากในการดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และให้คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ประเทศไทยควรเริ่มต้นจากการคุ้มครองให้บุคคลและชุมชนที่ถูกละเมิดสิทธิ สามารถเข้าถึงการเยียวยาและการชดเชยอย่างเป็นผล โดยรัฐบาลควรจัดทำกรอบกฎหมายอย่างจริงจังและอย่างเป็นผล เพื่อสนับสนุนกระบวนการขอความยินยอมที่เกิดขึ้นอย่างเสรี ล่วงหน้า และเกิดจากความเข้าใจของชุมชนในท้องถิ่น ก่อนจะดำเนินโครงการพัฒนาใด ๆ และควรดูแลให้มีการดำเนินคดีกับบริษัทที่มีส่วนรับผิดชอบต่อความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนใด ๆ

0000

 

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: สุธารี วรรณศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย องค์กรฟอร์ติไฟไรท์ (Fortify Rights)
คิงสลีย์ แอบบอต (Kingsley Abbot) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านกฎหมายระหว่างประเทศประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists)

หมายเหตุต้นฉบับตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2559

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพนกวิ้น บอกให้นัดมา หลัง 'กกต. สมชัย'เตรียมไปหาที่โรงเรียนปมเต้น MV โหวตไม่เอา แล้วตีตก

$
0
0

เพนกวิ้น โพสต์ถาม "ผมผิดอะไร"กรณี 'กกต. สมชัย'ตรวจสอบ MV เพลง 'อย่างนี้ต้องตีเข่า (โหวตไม่เอา แล้วตีตก)'พร้อมระบุเตรียมไปหาที่โรงเรียน ชี้ "เต้นไม่ผิดครับ แต่มีบางอย่างที่อาจต้องขอข้อมูล"ด้านเพนกวิ้น บอกอีกว่ายินดีต้อนรับ แต่ให้นัดวันล่วงหน้า จะหาสักขีพยาน

9 มิ.ย.2559 จากกรณีที่ สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ออกมาเคลื่อนไหวตรวจสอบมิวสิควีดีโอเพลง 'อย่างนี้ต้องตีเข่า (โหวตไม่เอา แล้วตีตก)'ของ พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen  โดยระบุว่าว่า ได้ตรวจสอบเบื้องต้นกับคณะทำงานของ กกต.  แล้วพบว่า คลิปดังกล่าวมีการเผยแพร่ครั้งแรกทางเว็บไซด์ยูทูป ก่อน พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา จึงถือว่าผู้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจจะผิดกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  กฎหมายอาญา กฎหมายความมั่นคง และประกาศ คสช.  นอกจากนี้แนะนำว่าผู้ที่จะนำคลิปดังกล่าวไปเผยแพร่ซ้ำในระหว่างนี้ไม่สามารถทำได้  เพราะจะสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายประชามติมาตรา 61 วรรคสอง

ทั้งนี้  สมชัย  ยังได้ระบุ ตัวบุคคลที่อยู่ในคลิป ซึ่งพบว่ามีลักษณะคล้ายกับบุคคลที่เป็นที่รู้จักในทางสังคม ประกอบด้วย อานนท์ นำภา  ทนายความ สิรวิชญ์  เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณัฐภัทร อัคฮาด สมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด  พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิ้น นักเรียน  นั้น สมชัย ได้แนะนำให้บุคคลเหล่านี้ และบุคคลอื่นที่อยู่ในภายคลิปอีก 20 คน  หากไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ซ้ำคลิปดังกล่าวขอให้ไปแจ้งลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ  เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่เกี่ยวข้อง หรือรู้เห็นกับเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้ กกต.จะดำเนินการตรวจสอบต่อไป คาดในสัปดาห์หน้าจะชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นความผิดที่จะส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไปหรือไม่
 
 
ต่อมาวันนี้ (9 มิ.ย.59)  พริษฐ์ หรือ เพนกวิ้น ได้เขียนจำหมายเปิดผนึกถึง สมชัย ตั้งคำถามว่า "ผมผิดอะไร"พร้อมยืนยันว่า บริสุทธิ์ใจ เป็นไปเพื่อทวงคืนสิทธิการศึกษา ซึ่งก็เป็นประโยชน์ส่วนรวมทั้งสิ้น ตนเต้นประกอบคลิปเพลงด้วยความซื่อสัตย์ต่อหลักการของตน ซึ่งมีผลประโยชน์ของสังคมเป็นใหญ่ ไม่ได้มุ่งทำร้ายใคร ไม่ได้ละเมิดสิทธิใคร เหตุใดจึงคิดว่า ตนและท่านอื่นในคลิปจะละเมิดกฎหมายทั้งหลายเหล่านั้น ซ้ำยังจะให้พวกเราไปลงบันทึกประจำวัน ในความผิดที่ไม่ใช่ความผิดเสียอีก
ที่มา : Parit Chiwarak
 
จากนั้น พริษฐ์ ได้นำข้อความที่ สมชัย โพสต์ข่าวกรณีที่ตนออกจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว แชร์ในเฟซบุ๊ก โดย สมชัย กล่าวด้วยว่า "เต้นไม่ผิดครับ แต่มีบางอย่างที่อาจต้องขอข้อมูล เดี๋ยวสัปดาห์หน้า จะหาโอกาสไปเยี่ยมน้องที่โรงเรียนนะ" 
 
ซึ่ง พริษฐ์ กล่าวตอบว่า "ยินดีต้อนรับ และขอให้นัดวันล่วงหน้า จะได้เชิญหลายท่านมาเป็นสักขีพยานว่าใครพูดอะไร"
 

จำหมายเปิดผนึกของเพนกวิ้น ถึง สมชัย : 

 
"ผมผิดอะไร"

เมื่อช่วงเที่ยงวันนี้ ท่านสมชัย ศรีสุทธิยากร หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้งได้แถลงว่า ผู้ที่ปรากฎตัวในคลิปเพลงของกลุ่มพลเมืองโต้กลับ อาจมีความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญา กฎหมายความมั่นคงและประกาศของ คสช. นอกจากนี้ยังได้แนะนำบุคคลราว 20 กว่าคนในคลิป ซึ่งรวมผมด้วยนั้น ให้ไปทำบันทึกประจำวันหากต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ผมในฐานะที่เป็นนักเรียนที่เคลื่อนไหวประเด็นการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญ และถูกพาดพิงในครั้งนี้ ชี้แจงจุดยืนของผม ดังนี้

นับตั้งแต่มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้น คนในแวดวงการศึกษาก็เริ่มวิตกกังวลว่า การที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยกเลิกการกำหนดให้รัฐสนับสนุนสวัสดิการเรียนฟรีระดับมัธยมปลายและสายอาชีพนั้น จะเป็นการริดรอนสิทธิเยาวชนหรือไม่ ผมเองก็ให้ความสนใจต่อประเด็นดังกล่าวและพยายามเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจนมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ด้วยหวังว่าจะนำพาความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้อ่านมาตราการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ที่คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แม้ว่าจะคงระยะเวลาเรียนฟรี 12 ปีดังเดิม แต่ก็ตัดทอนสวัสดิการเรียนฟรีระดับมัธยมปลายและสายอาชีพ ซึ่งเป็นการศึกษาวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต โดยไปสนับสนุนสวัสดิการการศึกษาระดับปฐมวัย ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังกำหนดให้นักเรียนที่มีปัญหาทางการเงินต้องหันไปพึ่งพากองทุน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระทางธุรการให้แก่นีกเรียน และยังมีความเสี่ยงว่าจะมีนักเรียนจำนวนมากตกหล่นจากระบบการศึกษา นอกจากนั้นยังเป็ยการเพิ่มภาระต่อผู้ปกครองทุกระดับ ด้วยหลักการตามรัฐธรรมนูญนี้ "ม.ปลายฟรี"จะเป็นเพียงการสงเคราะห์จากรัฐเป็นรายบุคคล แทนที่จะเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนจะต้องได้อย่างเท่าเทียมกันและมีศักดิ์ศรี เมื่อสถานการณ์ของนักเรียนมัธยมปลายและสายอาชีพตกต่ำลงกว่าเมื่อครั้งมีรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ในช่วงค่ำวันที่ 29 นั้นเอง ผมและเพื่อนจึงเริ่มแคมเปญ "เอาม.ปลายฟรีของเราคืนมา"และพวกเราก็ได้แสดงจุดยืนชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ว่าในฐานะนักเรียน เราไม่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิการศึกษาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน เราได้ทำกิจกรรมหลายอย่างเพื่อสื่อสารต่อสังคมว่าเราไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ เราเคลื่อนไหวเพราะเราเชื่อว่าเยาวชนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เมื่อเห็นความไม่ถูกต้อง เยาวชนก็ควรจะชี้ให้เห็นความบิดเบี้ยวนั้น เมื่อเห็นว่าสิทธิ ม.ปลายฟรี ซึ่งเป็นของเรา เป็นของน้องเรา จนไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานของเรากำลังถูกลิดรอนไป เราก็จำเป็นต้องแสดงตัวเพื่อให้สังคมรับรู้ว่า เยาวชนไม่ยอมให้ใครพรากสิทธิอันควรได้ของเราไป

ในช่วงต้นเดือนเมษายนนั้นเอง กลุ่มพลเมืองโต้กลับได้เชิญชวนผมให้ร่วมวาดฝีมายลายเท้าในคลิปเพลง "อย่างนี้ต้องตีเข่า (โหวตไม่เอาแล้วตีตก)"เพื่อแสดงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญ จุดยืนของผมนั้นไม่อาจยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่พรากสิทธิเยาวชนและทำลายการศึกษาไทยได้อยู่แล้ว ผมจึงตอบตกลงเพื่อแสดงจุดยืนของผมผ่านการ "เต้น"ซึ่งผมคิดว่าเป็นศิลปะการแสดงออกอย่างสันติ ไม่ละเมิดสิทธิผู้ใด

และในวันนี้ ท่านสมชัยแถลงว่าการ "เต้น"ของผมอาจขัดต่อ พรบ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญา กฎหมายความมั่นคงแ และคำสั่ง คสช. ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ผมอาจต้องถูกดำเนินคดี ผมอาจต้องขึ้นศาลเด็กและเยาวชน หรือกระทั่งศาลทหาร และผมอาจต้องได้รับโทษทางอาญา ซึ่งอาจสูงถึงขั้นจำคุกก็ได้ ก่อนที่เหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้น ผมขออนุญาตเรียนถามท่านสมชัย และท่านใดก็ตามที่คิดจะดำเนินคดีพวกเราสั้น ๆ

ท่านกล่าวหาว่าการกระทำของผมอาจขัดกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจหมายถึงการนำเข้าข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบ หากเป็นเช่นนั้น "การเต้น"จะนำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบได้อย่างไร การเต้นก็คือการเต้น และผมเชื่อว่าเนื้อหา ทั้งของเพลงที่เต้นและสาส์นที่ผมพยายามสื่อมาโดยตลอด ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงทั้งสิ้น หากท่านคิดว่าข้อใดเป็นเท็จ ก็โปรดกรุณาชี้แจงให้ชัดเจน

ท่านกล่าวหาว่าการกระทำของผมอาจขัดกับกฎหมายความมั่นคง "ความมั่นคง"ของท่านเปราะบางขนาดที่จะถูกคุกคามด้วยการเต้นชองนักเรียนมัธยมปลายคนหนึ่งเลยหรือ เพียงแค่แสดงจุดยืนของตัวเองผ่านศิลปะอย่างสงบ ใช้สันติวิธี ก็ถือว่าเป็นการปลุกระดมได้แล้วหรือ

ท่านกล่าวหาว่าการกระทำของผมอาจขัดกับกฎหมายอาญา เพียงการเต้น การแสดงจุดยืนอย่างสันตินั้นจะผิดกฎหมายมาตราใดหรือ ผมมิได้พาดพิงใครในทางเสียหายอย่างเจาะจงรายบุคคล ท่านจะถือว่าผมหมิ่นประมาทผู้ใดได้หรือ และที่ท่านกล่าวหาว่าผมอาจละเมิดประกาศของ คสช. ผมละเมิดประกาศฉบับใด ข้อใดหรือ เพียงเต้นกันเฉย ๆ จะถูกดำเนินคดีเลยหรือ

ผมขอยืนยันว่าทุกการกระทำของผมล้วนบริสุทธิ์ใจ เป็นไปเพื่อทวงคืนสิทธิการศึกษา ซึ่งก็เป็นประโยชน์ส่วนรวมทั้งสิ้น ผมเต้นประกอบคลิปเพลงด้วยความซื่อสัตย์ต่อหลักการของผม ซึ่งมีผลประโยชน์ของสังคมเป็นใหญ่ ผมไม่ได้มุ่งทำร้ายใคร ผมไม่ได้ละเมิดสิทธิใคร เหตุใดท่านจึงคิดว่า การกระทำของผมและท่านอื่นในคลิปจะละเมิดกฎหมายทั้งหลายเหล่านั้น ซ้ำยังจะให้พวกเราไปลงบันทึกประจำวัน ในความผิดที่ไม่ใช่ความผิดเสียอีก

ผมยังคงยืนยันว่าผมไม่ได้ทำผิดกฎหมายอันชอบธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น การที่นักเรียนลุกขึ้นมาทวงสิทธิการศึกษาคืนนั้นจะเป็นความผิดไปได้อย่างไร แต่หากท่านคิดว่าผมทำผิด ก็ขอให้มาควบคุมตัวผมไปดำเนินคดีเสีย ให้จารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ว่าครั้งหนึ่ง ในประเทศไทย การลุกขึ้นทวงสิทธิและแสดงความคิดเห็นโดยสันตินั้นผิดกฎหมาย และจะต้องมีนักเรียนถูกลงโทษ เพียงเพราะลุกขึ้นมาทวงสิทธิเหนือสวัสดิการการศึกษาของตนเอง รวมถึงเพื่อนนักเรียนหลายล้านชีวิตและคนรุ่นลูกรุ่นหลานที่จะต้องเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไป

ขอให้ทุกท่านที่ได้อ่านจนจบเป็นสักขีพยานในการคำถามของผม ว่าสุดท้ายแล้ว ผมผิดอะไร

พริษฐ์ ชิวารักษ์

9 มิถุนายน 2559

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมคิด ชี้ หากบ้านเมืองสงบ เศรษฐกิจจะเจริญเติบโต ต่างประเทศจะเข้ามาลงทุน

$
0
0

9 มิ.ย.2559 สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวถึงกรณีธนาคารโลกรายงานภาวะเศรษฐกิจโลกรอบครึ่งปี ปรับค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยเพิ่มขึ้น ว่า เศรษฐกิจของไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 2.5 ในปีนี้ จากที่คาดการณ์เดิมร้อยละ 2 ซึ่งเป็นประเทศเดียวในแถบเอเชียตะวันออก และแปซิฟิกที่ได้คาดการณ์ว่าจีดีพีจะปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานเดิมในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา และปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ปี 2559 ลงเหลือร้อยละ 2.4 จากเดิมร้อยละ 2.9

“ธนาคารโลกได้ปรับขึ้นจีดีพีของไทยเพียงประเทศเดียว เป็นสิ่งที่เราดีใจ แต่เราก็ไม่ประมาท เพราะธนาคารโลกปรับลดอัตราการเติบโตของโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกยังทรงกับทรุด ในระยะสั้นคงยังไม่ฟื้นตัวเร็ว ต้องยอมรับว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของไทยในอาเซียนอยู่ในอัตราการเจริญเติบโตที่ต่ำมานานหลายปี ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่เริ่มปรับตัวขึ้น สวนกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งเราจะประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัวลง หัวใจสำคัญอยู่ที่การวางรากฐานในอนาคต ต้องเน้นเรื่องการผลักดันการปฏิรูป แม้ว่ามีสัญญาณเศรษฐกิจดีขึ้น แต่รายได้ของประชาชนระดับล่างยังน้อย ซึ่งจำเป็นต้องช่วยให้ประชาชนให้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น เพราะจะส่งผลดี ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นเรื่อย ๆ และจะมีส่วนช่วยเพิ่มการลงทุนมากขึ้นด้วย” สมคิด กล่าว

สมคิด กล่าวว่า ในส่วนของฤดูกาลผลิตใหม่ของเกษตรกร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ตั้งใจช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้สูงขึ้น เพราะนายกรัฐมนตรีเห็นความสำคัญการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมีส่วนสำคัญเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาตกต่ำมาก และในปีนี้ก็ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ธนาคารโลกจะปรับการเติบโตเศรษฐกิจประเทศใดง่าย ๆ แต่อย่าพอใจแค่นี้

“หากบ้านเมืองสงบ เศรษฐกิจจะเจริญเติบโต ต่างประเทศจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น และถ้าประเทศในกลุ่มอาเซียนมีเศรษฐกิจดี จะยิ่งทำให้ไทยได้รับผลประโยชน์ เพราะถือเป็นศูนย์กลางอาเซียน ขณะเดียวกันเราต้องพึ่งตัวเอง รัฐบาลจึงมีแนวคิดช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่ต้องการเม็ดเงินไปพัฒนาธุรกิจ โดยจะให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป” สมคิด กล่าว

สมคิด กล่าวถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจของโลก ว่า สหรัฐฯ คงไม่กล้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2008 เนื่องจากสหรัฐฯ ใช้วิธีอัดฉีดเม็ดเงินเพียงอย่างเดียว นักธุรกิจสหรัฐเองยังไม่มั่นใจในเศรษฐกิจของตนเอง เช่นเดียวกับในประเทศแถบยุโรปยังไม่มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว กลุ่มที่พอมีความหวังเติบโตทางเศรษฐกิจ คือกลุ่มประเทศเอเชีย โดยเฉพาะจีน ต้องหวังว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่ทรุดตัว

ที่มา สำนักข่าวไทย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือเมเจอร์ส่ง Now You See Me 2 พากย์อีสาน-ฉายทั่วภูมิภาค

$
0
0

เครือเมเจอร์ฉายภาพยนตร์แนวทริลเลอร์/จารกรรม 'Now You See Me 2'หรือ 'อาชญากลปล้นโลก 2'ฉบับพูดอีสาน ฉายโรงภาพยนตร์ในเครือที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ 9 มิ.ย. โดยนอกจากจะใช้ภาษาอีสานในบทพูดแล้ว ยังมีการแปลศัพท์เฉพาะที่ต่างจากฉบับภาษาไทยกลาง เช่น  "The Four Horsemen"พากย์ว่า "สี่ม้าหนุ่ม/สี่ม้าผู้บ่าว"ส่วนฉบับไทยกลางพากย์ว่า "จตุรอาชา"

ตัวอย่างภาพยนตร์ Now You See Me 2 พากย์อีสาน ที่มา: YouTube/Mongkol Major

9 มิ.ย. 2559 ในเพจ Major Cineplex Group (Thailand)เปิดเผยวันนี้ (9 มิ.ย.) ว่า เตรียมฉายภาพยนตร์ "Now You See Me 2"หรือ "อาชญากลปล้นโลก"พากย์ด้วยภาษาอีสาน โดยจะฉายในโรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่ 9 มิ.ย. นี้

นอกจากการใช้สำเนียงอีสานพากย์บทพูดแล้ว ภาพยนตร์ Now You See Me 2 ฉบับภาษาอีสาน จะแปลคำศัพท์เฉพาะที่ต่างจากฉบับภาษาไทยกลางด้วย เช่นกลุ่มตัวละครหลักทีมนักมายากลที่ชื่อ "The Four Horsemen"ถูกแปลเป็นคำว่า "สี่ม้าหนุ่ม"และ "สี่ม้าผู้บ่าว"ส่วนฉบับภาษาไทยกลาง ใช้คำว่า "จตุรอาชา"เป็นต้น

สำหรับภาพยนตร์อาชญากลปล้นโลก (Now You See Me) เป็นภาพยนตร์แนวทริลเลอร์/จารกรรม กำกับโดย หลุยส์ เลเทอเรียร์ นำแสดงโดย เจสซี ไอเซนเบิร์ก, มาร์ค รัฟฟาโล, มอร์แกน ฟรีแมน และไมเคิล เคน ภาคแรก เข้าฉายในประเทศไทย เมื่อ 30 พฤษภาคม 2556 และภาค 2 จะเข้าฉาย 9 มิถุนายน 2559

เนื้อเรื่องของภาคที่แล้ว นักมายากลผู้มีความสามารถสี่คนได้แก่ แดเนียล แอตลาส (รับบทโดยเจสซี ไอเซนเบิร์ก) แจ็ค ไวลเดอร์ (รับบทโดยเดฟ ฟรังโก) เมอร์ริต แมคคินนีย์ (รับบทโดยวู้ดดี้ แฮร์เรลสัน) และสมาชิกหญิงในทีม เฮนลี รีฟส์ (รับบทโดยอายลา ฟิชเชอร์) ถูกเรียกตัวมาพบกันโดยบุคคลลึกลับ หนึ่งปีต่อมาพวกเขาออกแสดงที่ลาสเวกัสในชื่อ "จตุรอาชา" (The Four Horsemen) โดยมีผู้สนับสนุนคือ อาร์เธอร์ เทสเลอร์ เจ้าของธุรกิจประกันภัย ในการแสดงครั้งแรกพวกเขาบอกว่าจะขโมยเงินจากธนาคารในปารีส และส่งผู้ชมชื่อเอเตียน ฟอร์ซีเยร์ไปที่ปารีสด้วยเครื่องย้ายมวลสาร (teleporter) เมื่อเข้ามาอยู่ในห้องนิรภัยของธนาคารปารีส ฟอร์ซีเยร์ได้ส่งเงินกลับมาผ่านช่องระบายอากาศให้ผู้ชมในลาสเวกัส หลังพบว่าเงินดังกล่าวหายไปจากห้องนิรภัยจริง ๆ เจ้าหน้าที่ FBI นำโดยดีแลน โรดส์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสากล อัลมา เดรย์ จึงเข้ามาทำคดี พวกเขานำตัวจตุรอาชามาสอบสวน โดยภาพแรกพวกเขาร่วมกันชิงไหวชิงพริบเอาชนะ FBI ได้สำเร็จ

ส่วนในภาค 2 มีการเปลี่ยนแปลงตัวละคร โดย อายลา ฟิชเชอร์จะไม่ได้กลับมารับบทเดิมเนื่องจากตั้งครรภ์ และลิซซี แคปแลนจะรับบทเป็นลูลา สมาชิกใหม่ของ "จตุรอาชา"

โดยภาค 2 นี้ จะว่าด้วยเหตุการณ์ให้หลัง 1 ปี หลังจากการชิงไหวชิงพริบระหว่าง FBI และ "จตุรอาชา"ในภาคแรก ที่ความพิศวงในมายากลของพวกเขายังคงเป็นที่โด่งดังทั่วโลก และพวกเขาก็ได้กลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในนิวยอร์ก พร้อมเผชิญหน้ากับศัตรูคนใหม่ ที่ชักชวนพวกเขาสู่การโจรกรรมเสี่ยงตายกว่าที่ผ่านมา

สำหรับภาษาอีสาน หรือภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานของประเทศไทย โดยในการสำรวจปี 2538 ในประเทศไทยมีผู้ใช้ภาษาลาวอีสานเป็นภาษาแม่ 21 ล้านคน โดยภาษาอีสานเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาลาว ซึ่งนักภาษาศาสตร์แบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ

ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบริคำไชย และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ)

ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไชย ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)

ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น

ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร

ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร

ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดเดิม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศุภชัย สมเจริญ

$
0
0

"เนื้อเพลงดังกล่าวไม่มีการชี้นำหรือเหยียดคนภาคใดภาคหนึ่ง ตามที่มีการกล่าวหา ขอร้องอย่านำประเด็นเล็กประเด็นน้อยมาจับผิดกระบวนการการทำประชามติ  เพราะเป้าหมายเราต้องการให้ประชาชนออกใช้สิทธิโดยไม่มีการชี้นำ ทุกคนมีเสรีภาพ ออกมาแสดงความคิดเห็นได้ภายใต้กรอบกฎหมาย” 

ประธาน กกต. กล่าวถึงเพลงรณรงค์ประชามติของตนที่ถูกวิจารณ์ว่าเหยียดคนภาคเหนือ-อีสาน

'กกต. สมชัย'บอก 'ม.61 วรรค 2'ตกเป็นจำเลยของสังคม ยันเป็นของดีกันเหตุวุ่นวาย

$
0
0

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าวไทยรายงาน การสัมมนาวิชาการเนื่องในวันสถาปนาสำนักงาน กกต. ครบรอบ 18 ปี เรื่อง “เหลียวประชามติสากล แลประชามติไทย” โดย สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า เวลาพูดถึงการทำประชามติ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 เรื่อง คือ 1. เนื้อหา การให้คนทั้งประเทศมาออกเสียงประชามติ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ การกำหนดเนื้อหาต้องเป็นประเด็นที่สำคัญและใหญ่จริงๆในการให้ประชาชนตัดสินใจ 2.เวลา การให้คนได้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศต้องมีเวลาอย่างเพียงพอในการคิดไตร่ตรองเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งครั้งนี้มีกรอบเวลาค่อนข้างจำกัดเพียง 120 วัน

สมชัย กล่าวว่า 3.กระบวนการ ต้องโปร่งใสให้ทุกฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าเป็นธรรม เป็นกติกาที่ทุกคนจะได้รับความเท่าเทียมกัน ถ้าจำกันได้ร่างกฎหมายประชามติร่างแรกที่กกต.เสนอให้สนช.บัญญัติคำว่าเปิดโอกาสให้คนทั้งสองฝ่ายแสดงความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน มีงบให้ฝ่ายละ 50 ล้านบาท แต่การประเมินสถานการณ์ของฝ่ายที่ออกกฎหมายคิดว่าถ้าเปิดโอกาสจะมีความวุ่นวายทางการเมือง และ4.บรรยากาศ ทุกมีความตื่นตัวที่จะช่วยกันตัดสินใจอนาคตของประเทศ ภายใต้ความเป็นเหตุเป็นผล

“ขณะนี้มาตรา 61 วรรคสองของพ.ร.บ.ประชามติ กำลังตกเป็นจำเลยของสังคม มีการกล่าวหากันว่าใครเป็นผู้ร่างกฎหมาย แต่ผมยืนยันว่ามาตรา 61 วรรคสอง เป็นของดี ต้องถามว่าขณะนี้เราต้องการให้สังคมเอาเรื่องเท็จมาหลอกกัน เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจลงประชามติบนความรู้พื้นฐานที่ผิดหรือไม่ หรือต้องการให้ใช้คำหยาบคาย รุนแรงต่อกันเช่นนั้นหรือไม่ รวมทั้งต้องการให้เกิดการปลุกระดมไม่เคารพกฎหมายออกมาเดินขบวนเผาบ้านเผาเมืองอย่างนั้นหรือไม่ ทั้งที่เจตนารมณ์ของผู้ยกร่างฯ เพื่อเป็นการปรามเหตุการณ์เหล่านี้ไว้เท่านั้น บรรยากาศขณะนี้ไม่ได้น่ากลัว อย่าดราม่ากันไปเอง สังคมดราม่ามากเกินไปหรือไม่ เพลงประชามติที่เขียนก็ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงเพียงแต่ต้องการกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด เอะอะอะไรก็ว่าเป็นการกำจัดสิทธิเสรีภาพ สังคมหวาดระแวงจนเกินไป หากคิดเช่นนี้ก็จะไม่มีความสุข” สมชัย กล่าว

สิริพรรณ ระบุเพลงรณรงค์ของ กกต. บางท่อนเหมือนอวยร่างรธน.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การรณรงค์เป็นหัวใจสำคัญ แต่เพลง 7 สิงหหาประชามติของ กกต. ที่ถูกวิจารณ์ว่าลำเอียง เนื้อความในเพลง บางประโยคเหมือน กกต.จะเชิดชูร่างรัฐธรรมนูญ คนอาจมองว่ากกต.กำลังสนับสนุนให้รับร่าง ซึ่งตามหลักสากล กกต.จะไม่มาร่วมรณรงค์อย่างเด็ดขาด และการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็น่าสนใจ เพราะไม่ว่ามีคำวินิจฉัยเป็นอย่างใด หวังว่าบรรยากาศจะสดใสกว่านี้

ปริญญา ชี้เป็นประชามติที่ถูกใจก็รับไป ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น

ส่วน ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้คำถามคือคสช.คิดอย่างไรที่ทำประชามติ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะเกิดอะไรขึ้น นี่เป็นข้อบกพร่องรุนแรงที่สุดในการทำประชามติครั้งนี้ บทความต่างประเทศจะเรียกการทำประชามติ 7 สิงหาคมว่าทางเลือกของฮอบส์สัน คือถ้าถูกใจก็รับไป ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น

“บรรยากาศตอนนี้คือความมืดดำ ไม่รู้อะไรเลย ซึ่งจะมีผลต่อความชอบธรรมและความยั่งยืนของร่างรัฐธรรมนูญนี้ การทำประชามติที่ดีคือ ต้องเป็นธรรม รู้ว่าทางเลือกมีอะไรบ้าง ต้องมีเสรีภาพ ประธาน กกต.อาจทำให้เกิดเสรีภาพในคูหาได้ แต่กระบวนการก่อนลงประชามติประชาชนจะมีสิทธิพูดได้มากแค่ไหน หากจะให้เป็นประชามติที่สมบูรณ์ต้องให้สองข้างแสดงความเห็นตามสมควร” ปริญญา กล่าว

ปริญญา กล่าวถึง มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติ ว่า กติกาในมาตรานี้ทำให้การออกเสียงประชามติกระทบต่อหลักเสรีภาพ ถ้าไม่แก้ไขก็ต้องรอฟังศาลรัฐธรรมนูญ คำว่าปลุกระดมไม่ควรจะมีอยู่ในกฎหมายนี้เนื่องจากมีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ส่วนคำถามพ่วง ควรเป็นคำถามที่ชัดเจนกว่านี้ พร้อมเสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งประเด็นคำถามพ่วงให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เชื่อว่าน่าจะขัดรัฐธรรมนูญ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช.ไฟเขียวตั้งกมธ.ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนเมือง

$
0
0

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานที่ประชุม ได้พิจารณาญัตติ เรื่อง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง ที่ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ

โดย กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้เปลี่ยนฐานรากการผลิตจากภาคเกษตรสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ประกอบกับมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและมีวิทยาการสมัยใหม่ที่เจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ของชุมชนเมืองมากกว่าชนบท จึงเกิดการอพยพของประชากร เกิดการสร้างชุมชนเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยไม่มีแบบแผน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยหลังสมาชิกแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง จำนวน 21 คน ระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน

ไฟเขียวประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก เป็นกฎหมาย

นอกจากนี้ ที่ประชุม สนช. ยังมีมติเห็นสมควรให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เพิ่มช่องทางชำระค่าปรับ) เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเห็นด้วย 179 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง และเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่เสนอต่อที่ประชุม สนช. อาทิ  การเพิ่มช่องทางชำระค่าปรับโดยวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ควรเปิดโอกาสให้ธนาคารหรือหน่วยบริการรับชำระเงินอื่นๆ เข้าร่วมโครงการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเร่งรัดการออกกฎหมายอนุบัญญัติให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา การกำหนดอัตราค่าปรับ ควรมีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดอัตราค่าปรับให้เป็นอัตราเดียวกันในกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกันและใช้อัตราค่าปรับเดียวกันในทุกช่องทางการชำระค่าปรับ เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรนำมาตรการบันทึกคะแนน การพักใช้และการยึดใบอนุญาตขับขี่ตามข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดและการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มาใช้บังคับอย่างเคร่งครัด

สำหรับเหตุผลที่ต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการนำระบบการชำระเงินด้วยวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น สมควรเพิ่มช่องทางการชำระค่าปรับตามใบสั่งด้วยวิธีการดังกล่าวในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถในการชำระค่าปรับตามใบสั่ง ประกอบกับได้มีการโอนกรมตำรวจไปเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว สมควรแก้ไขการระบุชื่อตำแหน่ง "อธิบดีกรมตำรวจ"ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกเป็น "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ"ในคราวเดียวกัน

เห็นชอบประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม เป็นกฎหมาย

ที่ประชุม สนช. ยังมีมติเห็นสมควรให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม พ.ศ. .... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเห็นด้วย 178 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง และเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่ว่า ควรมีกฎหมายกลางเพื่อคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย (กฎหมายเจนีวา 2) ในทำนองเดียวกับประเทศที่เป็นศูนย์กลางองค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อใช้รองรับการดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัว ลดภาระในการออกพระราชบัญญัติเป็นรายกรณีและเพิ่มประสิทธิภาพในการเจรจาเพื่อเชื้อเชิญให้มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศและจัดการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย
 
สำหรับเหตุผลความจำเป็นที่ต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องด้วยรัฐบาลไทยได้ร่วมลงนามในความตกลงการสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve Agreement) เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2554 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อจัดตั้งองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve: APTERR) และมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้กับรัฐมนตรีเกษตรของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry Plus Three : AMAF +3) ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2555 ณ เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามในประเทศไทยตามข้อเสนอของประเทศไทย โดยมุ่งประสงค์เพื่อสำรองข้าวไว้สำหรับความจำเป็นในกรณีเกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรม รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคตามกรอบอาเซียนบวกสาม และความตกลงดังกล่าว ดังนั้นเพื่อให้สำนักเลขานุการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและให้สำนักเลขานุการและเจ้าหน้าที่ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยได้รับเอกสิทธิ์และการอำนวยความสะดวกในการเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย   
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่าย อปท. ร้อง 'สนช.-สปท.'อย่ายุบควบรวม 'ท้องถิ่น'แนะจัดสรรงบให้เพียงพอ

$
0
0

ประธาน สนช. และ รองประธาน สปท. รับยื่นหนังสือจากผู้แทนเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบุ ไม่เห็นด้วยกับการยุบรวมและควบรวมองค์กรปกครองท้องถิ่น และขอให้จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการ

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ข่าวรัฐสภารายงานว่า พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับการยื่นหนังสือจาก เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้แทนจากสมาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แห่งประเทศไทย  สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)แห่งประเทศไทย และสมาคมสมาชิกสภา อบต.แห่งประเทศไทย ที่นำเสนอแนวทางการปฏิรูปด้านท้องถิ่นในหลายประเด็นโดยเสนอว่า ไม่ควรยุบรวมและควบรวมองค์กรปกครองท้องถิ่น ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการ อาทิ ให้อำนาจในการจัดเก็บภาษีทั้งหมด หรือมีหน่วยงานอื่น ๆ คอยจัดเก็บให้  ควรมีการเพิ่มค่าตอบแทนสภาท้องถิ่น  ควรให้มีกองกิจการสภาเช่นเดียวกับโครงสร้าง อบจ. ทุกท้องถิ่น  กรณีมีการเปลี่ยนแปลงฐานะจาก อบต. ไปเป็นเทศบาลหรือมีการควบรวมหรือยุบรวม ควรเพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีในทุก ๆ ด้าน แล้วจัดสรรให้รัฐบาลกลาง  พร้อมกันนี้ ขอให้มีองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้งสามฝ่าย  โดยมีสัดส่วนทั้งสามตำแหน่ง คือ นายก อบต. ปลัด อบต. และประธานสภา อบต. อยู่ในคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลทั้งคณะกรรมการส่วนตำบลส่วนจังหวัดและส่วนกลาง

นอกจากนี้ กลุ่มดังกล่าวเข้ายื่นหนังสือโดยมีข้อเสนอเดียวกันต่อ อลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) คนที่ 1 เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ณัฏฐกรณ์ เทวกุล: รัฏฐาธิปัตย์ไม่มีจริง

$
0
0


 

ใครก็ตามที่พยายามมาโดยตลอดที่จะสร้างความชอบธรรมทางกฏหมายให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ควรจะไปศึกษาคำสอนทางด้านรัฐศาสตร์ให้ลึกซึ้งกว่านี้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะย้อนกลับไปดูตำราที่อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่เขาใช้สอนกัน ก่อนที่จะแสดงวิสัยทัศน์ที่ทำให้ประชาชนนั้นเข้าใจผิดว่ารัฏฐาธิปัตย์นั้นมีจริง ด้วยความเคารพแท้ที่จริงแล้วถ้าจะพยายามแปลคำว่ารัฏฐาธิปัตย์เป็นศัพท์เทคนิคทางด้านรัฐศาสตร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษที่สื่อสารกันแล้วโลกเข้าใจ คำที่เหมาะสมที่สุดก็คือคำว่า Sovereign ในที่นี้หมายถึง ‘อำนาจอธิปไตย’ ซึ่งโดยหลักการแล้ว อำนาจอธิปไตยไม่ว่าจะเขียนหรือไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ต้องมีที่มาซึ่งเชื่อมโยงกับประชาชน แม้กระทั่งในรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ คสช.ได้ร่างมาที่มีปัญหาเยอะแยะมากมายและย้อนแย้งในตัวร่างของมันเอง ก็ยังอุตส่าห์เขียนไว้ในมาตรา 3 ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” เพราะฉะนั้นในวันนี้ไม่ว่าบิ๊กตู่หรือบิ๊กป้อมจะได้สถาปนาตนเองเป็น Duumvirate หรือรัฏฐาธิปัตย์คู่ไปแล้วหรือไม่ มันเป็นการสำคัญตนเองผิดโดยสิ้นเชิง เพราะว่าหากจะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่แท้จริง คุณจะต้องมีพละกำลังผ่านกลไกทางด้านการปกครองที่สามารถควบคุมทุกๆ อณูของสังคมได้

สองประเด็นที่ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็คือ หนึ่ง ต่อให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการที่ประเทศไทยมีมาหลายยุคหลายสมัย ที่ร่างมาใช้กันอย่างชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ไม่เคยให้ความชอบธรรมทางกฎหมายสำหรับคอนเซ็ปต์รัฏฐาธิปัตย์ ด้วยเหตุที่ในทุกๆร่างจะระบุชัดว่าการบริหารราชการแผ่นดินไม่ว่าจะมีอำนาจล้นฟ้ามากเพียงใดจะต้องคำนึงถึงความที่แผ่นดินนี้เป็นของคนไทยและอำนาจซึ่งคุณถืออยู่ชั่วคราวนั้นมาจากประชาชนคนไทยเท่านั้น

สองถ้าลองไปอ่านดูในมาตรา 44 จะเขียนไว้ว่า คำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่จะมีอำนาจในการบังคับปฏิบัติเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ สามารถออกได้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หัวหน้า คสช. ไม่มีสิทธิที่จะใช้อำนาจตามอำเภอใจ ดังนั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เคยเป็นและก็จะไม่มีวันเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ถ้าเราจะย้อนกลับไปสมัยก่อน พ.ศ. 2475 ที่ราชอาณาจักรไทยปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็เป็นสิ่งที่อาจจะพูดได้ว่า รัฏฐาธิปัตย์ในยุคนั้นคือพระมหากษัตริย์ จะเห็นได้ว่ามีนักประวัติศาสตร์หลายคนเลือกที่จะอธิบายว่าพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือองค์อธิปัตย์ อย่างไรก็ดี ต่อให้อยู่ในยุคสมัยนั้น ก็ไม่ใช่ว่าเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารราชการสามารถสั่งการให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามพระราชหฤทัยได้

รัฏฐาธิปัตย์หากมีจริงอาจเกิดขึ้นได้หากโลกใบนี้ของเราอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการโดยเทคโนโลยีในรูปฟอร์มของสิ่งที่ George Orwell อาจจะเรียกว่า Big Brother วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในศตวรรษข้างหน้า อาจนำสังคมมนุษย์ไปสู่การผูกขาดการใช้เทคโนโลยีทางด้านการปกครองโดยพันธะคู่สัญญาระหว่างรัฐทหารและทุนเทคโนโลยีใหญ่สามานย์ ทว่า เผด็จการเทคโนโลยีอย่างที่ได้กล่าวถึงนี้ มันยังเป็นสิ่งที่อยู่ไกลเกินกว่าคนส่วนใหญ่จะสามารถจินตนาการถึงได้

กลับมาที่ประเทศไทยยุค Duumvirate–‘สำคัญตนเองผิดว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์’–‘ทหารเป็นใหญ่’นี้ สิ่งที่เราเห็นวันนี้ในบ้านเมืองของเราไม่ใช่ระบอบการเมืองการปกครองที่ฟังแล้วดูสวยหรู ที่มีรัฏฐาธิปัตย์นำพาการปฏิรูปประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพมากขึ้นหรอก แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือผู้ที่กุมไว้ซึ่งอำนาจและที่ต้องการรักษาอำนาจของพรรคพวกของตนเองต่อไป ในความพยายามนั้น พร้อมที่จะบิดเบือนคำสอนขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยให้คนที่ไม่รู้เข้าใจผิด

ความชอบธรรมในการเป็น Sovereign ที่ทั่วโลกและคนไทยทุกคนนั้นยอมรับ ยังไงๆก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเชื่อมโยงกลับมาสู่ประชาชนโดยที่มีกระบวนการการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม ซึ่งนำมาสู่รัฐสภา และที่จะนำไปสู่การคัดเลือกนายกรัฐมนตรีซึ่งต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหากจะสมบูรณ์อย่างแท้จริงต้องรวมไปถึงการสร้างองคาพยพทางตุลาการใหม่ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประชาชนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แทนที่จะเชื่อมโยงกับองค์อธิปัตย์ทางพิธีการ แต่ทั้งหมดนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่ออำนาจดิบของกองทัพอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ผ่านกระบวนการคัดสรรและแต่งตั้งที่เชื่อมโยงกับ ‘รัฏฐาธิปัตย์’ ที่แท้จริงและในที่นี้หมายถึงSovereign ที่แท้จริง ซึ่งนั่นก็คือประชาชน

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน:ปัจจุบัน ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ The Daily Dose และ Wake Up News สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: ‘เงินเดือนให้เปล่า’ ฟื้นความเป็นมนุษย์หรือเพิ่มปัญหาสังคม?

$
0
0

เปิดประเด็นถกเถียง ‘เงินเดือนให้เปล่า’ หลังชาวสวิตฯ เพิ่งลงประชามติปฏิเสธนโยบายนี้ มุมคิดฝ่ายหนุน เชื่อช่วยฟื้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนฝั่งค้านหวั่นก่อปัญหาเศรษฐกิจ อาชญากรรม และผู้อพยพ

ภาพจาก http://basicincome-europe.org/ubie/2016/06/swiss-basic-income-referendum-marks-the-beginning-of-a-european-debate

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา สวิตเซอร์แลนด์ได้จัดให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับนโยบาย Basic Income หรือเงินเดือนให้เปล่าแก่ประชาชน ซึ่งเป็นผลมาจากการลงชื่อเพื่อออกเสียงประชามติตามระบบที่เปิดโอกาสให้การเสนอว่าสวิตเซอร์แลนด์ควรมีกฎหมายใดเพิ่มเติม โดยนโยบายเงินเดือนให้เปล่าสำหรับประชาชนได้รับคะแนนโหวตให้มีการลงประชามติ ผลของการลงประชามติคือมีผู้ปฏิเสธนโยบายดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 77

เงินเดือนให้เปล่าคืออะไร? เงินเดือนให้เปล่าคือสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่รัฐมอบเงินให้แก่ประชากรทุกคน โดยไม่มีเงื่อนไข ประชาชนไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อจะได้สวัสดิการนี้มา โดยประชาชนทุกคนจะได้รับเงินเดือนให้เปล่านี้เท่ากัน ไม่ว่ารวยหรือจน ทำงานหรือไม่ทำงาน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งหมดในประเทศ จำนวนเงินที่จะได้รับคือจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อยอย่างเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 600-1,000 บาทต่อเดือน แต่มากถึง 2,500 ฟรังก์สวิส หรือกว่า 90,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

หนึ่งในแนวคิดที่สนับสนุนการให้เงินเดือนให้เปล่า คือแนวคิดที่ถามว่า ถ้าเราได้ทำงานโดยไม่ต้องสนใจเงินเดือน เราจะทำงานอะไร โดยในปัจจุบัน เราทำงานโดยมีปัจจัยเรื่องเงินเดือนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่สามารถเลือกงานที่อยากทำจริงๆ ได้

กระแสการเรียกร้องให้มีเงินเดือนให้เปล่าไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เงินเดือนให้เปล่าเป็นสวัสดิการที่มีแนวคิดมานานหลายร้อยปี จุดเริ่มต้นของความคิดเรื่องเงินเดือนให้เปล่านั้นมาจากความคิดในหนังสือชื่อดังอย่าง Utopia ของทอมัส มอร์ (Thomas Moore) ที่มีตอนนึงกล่าวถึงการลงโทษขโมยจากการกระทำผิดว่า ‘ไม่มีการลงโทษใดในโลกที่จะหยุดคนมิให้ขโมย ถ้านั่นคือการขโมยเพื่อปากท้อง’ แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญแก่ชีวิตมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด นำไปสู่แนวคิดเรื่องการให้เงินเดือนเพื่อที่จะมีชีวิตแก่มนุษย์ทุกคน

"นโยบายดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ปกป้องประชาชนและแรงงานเอาไว้จากงานที่จ่ายค่าแรงและสัญญาจ้างไม่เป็นธรรม งานที่สุ่มเสียงต่อศีลธรรมและงานที่ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แนวคิดเงินเดือนให้เปล่าจึงเป็นแนวคิดที่สนับสนุนเสรีภาพและศักดิ์ศรีของผู้คนเป็นสิ่งที่ฟื้นความเป็นมนุษย์ของคนกลับคืนมา"

รุทเกอร์ เบรกมัน (Rutger Bregman) นักข่าวจากสำนักข่าวออนไลน์อย่าง De Correspondent กล่าวว่า การให้เงินให้เปล่าเป็นวิธีที่ถูกที่สุด เจริญที่สุด ในการต่อสู้กับความยากจน รุทเกอร์ ยกตัวอย่างการทดลอง ให้เงินแก่ผู้เร่ร่อนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คนละ 3,000 ปอนด์ หรือประมาณ 150,000 บาท เมื่อปี 2009 โดยไม่มีเงื่อนไข คนเร่ร่อนเหล่านั้นใช้เงินอย่างประหยัด หลังจากนั้นหลายปี 7 จาก 13 คนสามารถมีที่อยู่อาศัยได้และได้รับการฝึกทักษะเพื่อประกอบอาชีพ เช่นเดียวกับงานวิจัยเรื่องเงินเดือนให้เปล่าในอูกันด้าที่บอกว่า การให้เงินเดือนให้เปล่าจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะเพื่อประกอบอาชีพ ในอดีตที่ผ่านมามีการทดลองแนวคิดเงินเดือนให้เปล่าในหลายที่ นอกเหนือไปจากกรุงลอนดอน ยังมีบางพื้นที่ในเม็กซิโก บราซิล อินเดีย แอฟริกาใต้ รวมไปถึงสหรัฐอเมริกาและแคนาดาด้วย การทดลองดังกล่าวให้ผลการทดลองไปในทิศทางเดียวกัน คือการให้เงินเดือนให้เปล่าแก่ประชาชนส่งผลในด้านดีเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของอาชญากรรม ความไม่เท่าเทียม ความยากจน ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนสวัสดิการสุขภาพ รวมไปถึงการลดลงของการหนีเรียนส่งผลให้การศึกษาพัฒนา

คาร์ล วิเดอร์ควิสท์ (Karl Widerquist) กล่าวว่า ข้อดีที่สำคัญที่สุดของแนวคิดเงินเดือนให้เปล่า คือการที่นโยบายดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ปกป้องประชาชนและแรงงานเอาไว้จากงานที่จ่ายค่าแรงและสัญญาจ้างไม่เป็นธรรม งานที่สุ่มเสียงต่อศีลธรรมและงานที่ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แนวคิดเงินเดือนให้เปล่าจึงเป็นแนวคิดที่สนับสนุนเสรีภาพและศักดิ์ศรีของผู้คนเป็นสิ่งที่ฟื้นความเป็นมนุษย์ของคนกลับคืนมา

ข้อโต้แย้งจากกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเงินเดือนให้เปล่าเสนอว่า การที่รัฐเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประชาชนมากเช่นนี้ อาจจะทำให้อำนาจรัฐมีมากขึ้นไปกว่าเดิม แนวคิดเรื่องเงินเดือนให้เปล่าต้องใช้เงินจำนวนมากในการปฏิบัติ ค่าแรงต่างๆ จะปรับตัวสูงขึ้นทำให้ต้นทุนสูงตาม ส่งผลต่อค่าครองชีพที่มากขึ้น

การให้เงินเดือนให้เปล่าอาจก่อให้เกิดภาวะว่างงาน เนื่องจากไม่มีแรงงานในระบบหรือค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น สภาวะขาดแคลนแรงงานนี้อาจส่งผลให้เกิดการนำเข้าแรงงานราคาถูกจากต่างชาติ เพื่อใช้แรงงานในงานที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยต่างๆ นำไปสู่การอพยพของผู้ลี้ภัยจากประเทศโลกที่สาม เพื่อใช้ประโยชน์จากสวัสดิการและตลาดแรงงานที่พร้อมจะรองรับพวกเขา การเข้ามาของผู้อพยพ อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา แม้ว่าการให้เงินเดือนให้เปล่าอาจจะทำให้ชีวิตของผู้ถือสัญชาติและได้รับเงินเดือนนี้ดีขึ้น แต่ผู้อพยพซึ่งไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวอาจจะรู้สึกเป็นส่วนเกิน โดยเฉพาะในสวิตเซอร์แลนด์ที่พึ่งมีการลงประชามติไป การขอสัญชาติเป็นเรื่องที่ยาก เพราะต้องมีภูมิลำเนาและจ่ายภาษีเป็นเวลา 12 ปีจึงจะได้สัญชาติ ผู้อพยพที่อพยพเข้ามาและใช้แรงงานซึ่งไม่ได้รับสิทธิเงินเดือนให้เปล่ามีความเป็นไปได้ว่าจะรู้สึกเป็นส่วนเกินและอาจจะนำไปสู่การก่ออาชญากรรมได้

ปีเตอร์ โจเซฟ (Peter Joseph) กล่าวว่า ข้อโต้แย้งที่สำคัญอีกอย่างคือ การที่ให้เงินเดือนเปล่าๆ แก่ผู้คนจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดการบริโภคเกินขนาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลทางด้านสิ่งแวดล้อมว่า การบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายเงินเดือนให้เปล่านั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเร็วกว่าการฟื้นตัวของธรรมชาติจะส่งผลเสียอย่างยิ่ง การพัฒนาโดยไม่เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติจะทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา

แม้ว่าข้อโต้แย้งเรื่องสวัสดิการที่ดีจะนำไปสู่การเข้ามาของผู้อพยพที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศ แต่มีนักวิชาการบางกลุ่มไม่คิดเช่นนั้น ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

“argument ที่ห่วยที่สุดเวลาวิพากษ์นโยบายสวัสดิการที่สูงคือ จะทำให้คนหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศนั้น ผู้อพยพจะแย่งกันไปใช้สวัสดิการในประเทศนั้น

การกล่าวแค่นี้ถือว่า มืดบอด ทั้งเศรษฐศาสตร์แรงงานและประชากรศาสตร์ (การอพยพ)

1.โลกมีนโยบายรัฐสวัสดิการมาเกือบศตวรรษ พบว่านโยบายสวัสดิการไม่ได้เป็นตัวดึงให้คนอพยพเข้าสู่ประเทศนั้นเลย (คนอพยพเพื่อทำงาน ใช้ชีวิต ไม่มีใครอพยพมาเพื่องอมืองอเท้า) และประเทศเหล่านี้ส่วนมากหางานยากมากและเป็นงานที่อาศัย skill สูงเป็นส่วนใหญ่-คนมักอพยพไปสหรัฐอเมริกาประเทศที่ไร้สวัสดิการใดๆ/รวมถึงประเทศห่วยๆ อย่างไทยก็เป็นปลายทางการอพยพเพราะมีงานห่วยๆ เสี่ยงตายตามโรงงานและแพปลา)

2.นั่นหมายความว่า ผู้อพยพส่วนมากคือคนหนุ่มสาว เพื่อทำงาน เริ่มชีวิตใหม่ และส่วนมากพวกเขาเหล่านี้มี contribution ต่อระบบเศรษฐกิจมากกว่าสวัสดิการที่พวกเขาได้รับอยู่แล้ว คนได้ประโยชน์จากนโยบายพวกนี้โดยตรงคือ คนชราที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิต

3.แล้วคนแก่จากต่างประเทศจะไม่อพยพมาที่สวิสเหรอ....ย้ำอีกครั้งคนแก่ ไม่อพยพ ต่อให้ชีวิตจะดีอย่างไร พวกเขาก็อยากตายกับคนที่เขารัก”

นอกจากนี้ในปี 2012 เอดูอาร์โด ซูปลีซี (Eduardo Suplicy) นักการเมืองชาวบราซิลเคยให้สัมภาษณ์ กับ pulitzercenter ให้ความเห็นตอบโต้ข้อความที่ว่า เมื่อคนจนได้เงินเดือนให้เปล่า พวกเขาเหล่านั้นจะหยุดทำงานไว้ว่า

“แม้คุณมีเงินเพียงพอที่จะใช้ชีวิต แต่คุณก็ยังจะทำงานต่อไป เพื่อจะได้เงินมากขึ้นใช่หรือไม่ ทำไมคุณถึงคิดว่าคนจนทั้งหลายจะไม่อยากพัฒนาความเป็นอยู่ของพวกเขาบ้าง มันเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่จะทำให้ดีกว่าแค่มีชีวิตรอด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น”

สิ่งที่ถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิดเงินเดือนให้เปล่า ไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการนั้นหรือไม่ แต่ถกเถียงกันเรื่องสิทธินั้นส่งผลดีกับเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และอะไรจะเป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชน

เมื่อมองมาที่ประเทศไทย สิ่งที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันกลับเป็นเรื่องคนไทยมีสิทธิที่จะตัดสินใจมากแค่ไหน คนไทยควรจะได้รับการศึกษาหรือเปล่า สวัสดิการสุขภาพเป็นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือหรือไม่

 

เรียบเรียงจาก

http://www.basicincome.org/basic-income/history

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.bbc.com/news/world-europe-36454060

http://pulitzercenter.org/reporting/brazil-economy-dreaming-world-free-hunger-and-need-Eduardo-Suplicy

http://qz.com/566702/finland-plans-to-give-every-citizen-a-basic-income-of-800-euros-a-month/

https://www.youtube.com/watch?v=aIL_Y9g7Tg0

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คดีข่มขืนใน ม.แสตนฟอร์ด คนเกือบล้านลงชื่อถอดถอนผู้พิพากษา

$
0
0

9 มิ.ย.2559 เว็บไซต์ Banana Postซึ่งเป็นเว็บสรุปข่าวต่างประเทศในภาษาไทย รายงานกรณีความเคลื่อนไหวล่ารายชื่อถอดถอนผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีข่มขื่นที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดในสหรัฐอเมริกาเมื่อมกราคม 2015 เป็นคดีที่ บร็อค เทอร์เนอร์ (Brock Turner)  นักศึกษาซึ่งเป็นนักกีฬาว่ายน้ำของมหาวิทยาลัยข่มขืนหญิงสาวคนหนึ่งหลังถังขยะ แต่มีนักศึกษาปริญญาเอกชาวสวีเดนสองคนที่ขี่จักรยานผ่านมาจึงตะโกนให้เขาหยุดพร้อมทั้งวิ่งไล่จับตัวเขาไว้ คดีนี้ศาลเพิ่งมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน จากนั้นมีการเผยแพร่ถ้อยแถลงจากทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย และกลายเป็นกระแสคัดค้านคำพิพากษาอย่างรุนแรง

ความรู้สึกของมวลชนที่มีต่อกรณีนี้ ทำให้มีผู้ริเริ่มเขียนจดหมายเปิดผนึกผ่านทางเว็บไซต์ Change.org ให้ถอดผู้พิพากษาออกจากตำแหน่ง และล่าชื่อได้แล้วมากกว่า 1 ล้านรายชื่อแล้ว (จำนวน 1,011,753 เวลา 15.30 น. วันที่10 มิ.ย.2559) นอกจากนี้ยังระดมชื่อพลเมืองอเมริกันให้เสนอคำร้องไปยังทำเนียบขาวเพราะหากระดมได้ครบ 1 แสนชื่อ ทำเนียบขาวมีพันธะต้องหยิบเรื่องนี้มาพิจารณา ปัจจุบันมีผู้ร่วมลงชื่อราว 8 หมื่นชื่อแล้ว

ผู้พิพากษาแอรอน เพอร์สกีย์ (Aaron Persky) ถูกวิจารณ์หลังตัดสินให้บร็อค เทอร์เนอร์ จำคุก 6 เดือนจากความผิด 3 ข้อหา 1) พยายามข่มขืนหญิงสาวที่อยู่ในอาการมึนเมา 2) สอดใส่สิ่งแปลกปลอมทางเพศเข้าไปในร่างกายของผู้ที่มึนเมา และ 3) สอดใส่สิ่งแปลกปลอมทางเพศเข้าไปในร่างกายของคนที่ไม่ได้สติ ซึ่งทั้งหมดนี้ มีโทษสูงสุดจำคุก 14 ปี แต่ด้วยนิยามคดีทางเพศภายใต้กฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนีย จำเลยจึงหลุดจากข้อหาในคดี “ข่มขืน” ตั้งแต่วันตรวจพยานหลักฐาน

ผู้พิพากษาเพอร์สกีย์กล่าวว่า เทอร์เนอร์ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น และอ้างว่าโทษจำคุกจะส่งผลกระทบทางร้ายต่อชีวิตของเขา เขาได้รับการผ่อนผันโทษจากหลายปัจจัย อาทิ มีพฤติกรรมที่ดี ไม่เคยก่ออาชญากรรมมาก่อน และต้องเข้าโครงการจัดการผู้กระทำความผิดทางเพศ และถูกขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีประวัติก่อความผิดทางเพศ หลังคำพิพากษาเทอร์เนอร์เริ่มรับโทษจำคุกเมื่อ 2 มิ.ย. ซึ่งระบบออนไลน์ของเรือนจำเขตซานตา คลารา ระบุว่าเขาอาจจะพ้นโทษวันที่ 2 ส.ค. หรือจำคุก 3 เดือนหากมีความประพฤติดี

เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคดีนี้หนาหูยิ่งขึ้นเมื่อมีการเปิดเผยจดหมายจากพ่อจำเลยที่ขอให้ศาลตัดสินด้วยความปรานีโดยบอกว่า โทษจำคุกนี้เป็นค่าใช้จ่ายราคาแพงจากการกระทำแค่ 20 นาที

และยังมีจดหมายจาก เลสลี แรสมุสเซน (Leslie Rasmussen) เพื่อนสมัยเด็กของจำเลยที่ยื่นต่อศาลเพื่อบอกถึงนิสัยที่ดีของเทอร์เนอร์ เธอบอก เธอเห็นว่ามันไม่ยุติธรรมหากคิดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในชีวิตของเทอร์เนอร์ในอีกสิบกว่าปีข้างหน้า กับคำตัดสินที่เกี่ยวข้องกับเด็กสาวคนหนึ่งที่จำอะไรไม่ได้เลยในขณะเมาแล้วมาตั้งข้อหาใส่เพื่อนของเธอ เพื่อนของเทอร์เนอร์ยังบอกว่า เราจะขีดเส้นตรงไหน เราน่าจะหยุดคิดเรื่อง politically correct ตลอดเวลา และเห็นได้ว่าการข่มขืนในมหาวิทยาลัยมันไม่ได้มาจากผู้ข่มขืนตลอดทุกครั้งไป

ความเห็นผ่านคำแถลงในคดีของทั้งสองฝ่าย จุดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ในจดหมายระดมรายชื่อเพื่อให้ถอดถอนผู้พิพากษา กล่าวไว้ว่า การที่จำเลย บร็อค เทอร์เนอร์ เป็นผู้ชายผิวขาว นักกีฬาคนเด่นจากมหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติไม่ได้หมายความว่านั่นควรทำให้เขาได้ลดหย่อนโทษ

สำหรับคำแถลงของฝ่ายหญิงที่ตกเป็นเหยื่อ เว็บไซต์ Buzzfeed ได้เผยแพร่คำแถลงฉบับเต็ม ส่วนใหญ่ของคำแถลงมุ่งสื่อสารไปที่บร็อค เทอร์เนอร์ ตอนหนึ่งระบุว่า

“คุณพรากเอาคุณค่า ความเป็นส่วนตัว พลังชีวิต เวลา อัตลักษณ์ ความมั่นใจ และเสียงของฉันไป จนกระทั่งวันนี้”… “ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่มีใครเอามันกลับมาได้”

“ตอนนี้เราต่างมีทางเลือก เราจะปล่อยให้เรื่องนี้ทำลายเรา ฉันยังคงโกรธและเจ็บปวด ส่วนคุณก็ยังยืนกรานปฏิเสธ หรือเราจะเผชิญหน้ามัน ฉันยอมรับในความเจ็บปวด ส่วนคุณก็ยอมรับการลงโทษ แล้วเราก็ดำเนินชีวิตต่อไป”

คำแถลงส่วนหนึ่งพูดถึงเหตุการณ์ตอนที่นักศึกษาสวีเดนทั้งสองมาช่วย เธอระบุว่า

“คุณวิ่งหนีเพราะคุณบอกคุณกลัว ฉันว่าที่คุณกลัวเพราะคุณอาจจะถูกจับ ไม่ใช่เพราะกลัวนักศึกษาสวีเดนสองคนนั้น ที่บอกว่าคุณคิดว่าคุณกำลังจะถูกทำร้ายโดยไม่ทันตั้งตัวนั้นช่างน่าหัวเราะ ตรงที่มันไม่เป็นประเด็นเลยกับการที่คุณคร่อมอยู่บนตัวฉันขณะไม่ได้สติ คุณถูกจับได้คาหนังคาเขาโดยที่คุณอธิบายอะไรไม่ได้ เมื่อพวกเขาตะครุบตัวคุณได้ ทำไมคุณไม่บอกล่ะว่า ‘หยุด มันไม่มีอะไร ไปถามเธอได้ เธออยู่ตรงนั้น เธอจะบอกคุณเอง’ คุณก็แค่ถามความยินยอมจากฉัน ถูกไหม ตอนนั้นฉันตื่นอยู่สินะ ใช่ไหม? ตอนที่ตำรวจมาและสืบเรื่องจากนักศึกษาสวีเดนสองคนนั้นที่ตะครุบตัวคุณ เขาร้องไห้หนักจนพูดไม่ได้ว่าเขาเห็นอะไร และก็อีกเช่นกัน ถ้าคุณคิดจริงๆ ว่าพวกเขาอันตราย คุณเลยทิ้งผู้หญิงในสภาพกึ่งเปลือยและวิ่งหนีเอาตัวรอดคนเดียว ไม่ว่าคุณจะสร้างเรื่องขึ้นมายังไง มันก็ไม่มีเหตุผลทั้งนั้น”

“ทนายของคุณชี้ประเด็นซ้ำๆ ว่า เอาล่ะ เราไม่รู้แน่ชัดว่าเมื่อไรกันที่เหยื่อเริ่มไม่ได้สติ คุณพูดถูก ฉันอาจจะยังกระพริบตาและไม่ถึงขั้นปวกเปียกเต็มที่ ความผิดของเขาไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขารู้ถึงวินาทีที่ชัดเจนว่าตอนไหนที่ฉันหมดสติ มันไม่เคยเป็นประเด็นนั้นเลย ตอนนั้นฉันอ้อแอ้ เมาเกินกว่าจะให้ความยินยอมก่อนที่จะลงไปนอนที่พื้น ฉันไม่ควรถูกแตะต้องตัวตั้งแต่แรก บร็อกบอกว่า “ไม่มีตอนไหนที่เห็นว่าเธอไม่ตอบสนอง หากเมื่อใดที่ผมเห็นว่าเธอไม่ตอบสนอง ผมจะหยุดทันที” ตรงนี้ล่ะ ถ้าคุณคิดจะหยุดเมื่อฉันหมดสติจริงๆ ถ้าเช่นนั้นคุณคงยังไม่เข้าใจ คุณไม่ได้หยุดเลยแม้ตอนที่ฉันนิ่งไม่ไหวติง แต่ต้องให้มีบางคนมาหยุดคุณ ชายสองคนขี่จักรยานมาเจอว่าฉันไม่ขยับตัวอยู่ในความมืดแล้วไล่ตะครุบตัวคุณ แล้วตอนคุณอยู่บนตัวฉัน ทำไมคุณถึงไม่รู้ล่ะ”

หลังคำแถลงดังกล่าวได้รับการเปิดเผย นักศึกษาชาวสวีเดน 2 คน ที่เรียนปริญญาโทอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด คาร์ล-เฟรดริก อานต์ (Carl-Fredrik Arndt) และ ปีเตอร์ จอนส์สัน (Peter Jonsson) ก็ออกมาพูดถึงเหตุการณ์ว่า คืนนั้นพวกเขาขี่จักรยานไปแถวสมาคมนักเรียนชายแคปปา อัลฟา (Kappa Alpha) และมองไปเห็นตัวของเทอร์เนอร์อยู่บนตัวของผู้หญิงคนหนึ่ง แต่สังเกตได้ว่า ขณะร่างกายของเขาขยับเขยื้อน ตัวผู้หญิงกลับไม่ไหวติง พวกเขาจึงรู้สึกว่ามันมีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้น พวกเขาจึงตรงเข้าไปถามว่านั่นเขากำลังทำอะไร ทำให้เทอร์เนอร์วิ่งหนี พวกเขาก็ไล่ตามไปและตะครุบตัวเอาไว้ได้ แล้วเรียกตำรวจมา

ด้านศาสตราจารย์ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด มิเชล ดอเบอร์ (Michelle Dauber) ก็ทำเว็บไซต์รณรงค์ให้ผู้พิพากษาเพอร์สกีย์ถูกถอดจากตำแหน่งเช่นกัน เพียงเริ่มต้นเปิดเว็บไซต์แค่ 8 ชั่วโมงก็ได้รับเงินบริจาคสนับสนุน 8,000 ดอลลาร์

ขณะที่ครอบครัวและเพื่อนๆ ของเทอร์เนอร์ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมก่อนจะมีคำพิพากษา เขาก็เปิดเว็บไซต์ระดมทุนให้คนช่วยบริจาคเพื่อช่วยจ่ายค่าสู้คดีผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ แต่หน้าดังกล่าวถูกลบออกไปแล้ว

สำหรับการระดมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้พิพากษากรณีนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปีของเขตซานตา คลารา แต่แม้จะได้มีผู้ร่วมลงชื่ออย่างล้นหลาม สตีฟ คุเลย์ (Steve Cooley) อัยการเขตลอสแองเจลิสให้ความเห็นว่า ในทางปฏิบัติค่อนข้างทำได้ยาก เพราะไม่มีน้ำหนักทางกฎหมาย เนื่องจากกรณีนี้เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษหนักหรือเบา ต่างจากกรณีการถอดถอนผู้พิพากษาคดีอื่นๆ ที่มีการกระทำผิดกฎหมายเช่น รับสินบน

 

หมายเหตุ: เพิ่มเติมข้อมูลเมื่อ 13.20 น. วันที่ 10 มิ.ย. 59  เรื่องลดโทษจำคุกจำเลยเหลือ 3 เดือน

ที่มาข้อมูล:

Lindsey Bever. The Swedish Stanford students who rescued an unconscious sexual assault victim speak out.Washington Post. 8 June 2016.

Loulla-Mae Eleftheriou-Smith. Stanford rape case: Petition throw out judge over ‘lenient’ Brock Turner sentence tops 500,000 signatures. The Independent. 9 June 2016.

Travis Gettys. Stanford rapist’s dad set up website asking supporters to pay sex offender son’s legal fees. Raw Story. 8 June 2016.

Itay Hod. Could Stanford Rape Judge Really Have His Gavel Taken Away?. The Wrap. 8 June 2016.

Pipob Udomittipong. สเตตัสเฟซบุ๊กเรื่อง Rape Culture. 8 June 2016.

AP. Stanford rapist Brock Turner due to be released three months early on Sept. 2. NY Daily News. 9 June 2016

ดูเว็บไซต์การระดมชื่อถอดถอนผู้พิพากษา ทาง Change.org

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนาที่ SOAS ลอนดอน: ประเทศไทยใน ‘วิกฤตรัฐพันลึก’?

$
0
0

โครงการนิติธรรมในประเทศไทยที่ ม.ลอนดอน SOAS สัมมนาหัวข้อ “ประเทศไทยใน ‘วิกฤตรัฐพันลึก’ อูจีนี เมริเออ เสนอบทบาทและการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและศาลอื่นในฐานะกลไกของรัฐพันลึก ปิยบุตร แสงกนกกุล เสนอกระบวนการของตุลาการภิวัฒน์และผลกระทบ กลไกปราบปรามภัยคุกคามชนชั้นนำร่วมอภิปรายกลไกรัฐพันลึกโดย กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด และไชยันต์ รัชชกูล

สัมมนา Thailand in a Deeper State of Crisis ? (ประเทศไทยใน ‘วิกฤตพันลึก’?) นำเสนอโดย อูจีนี เมริเออ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล พร้อมวิทยากรร่วมอภิปราย ได้แก่ กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด และไชยันต์ รัชชกูล โดยมี วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมในประเทศไทย SOAS เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559 โครงการนิติธรรมในประเทศไทย ณ ศูนย์กฎหมายเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS ประเทศอังกฤษ จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง Thailand in a Deeper State of Crisis ? (ประเทศไทยใน ‘วิกฤตพันลึก’?) นำเสนอโดย อูจีนี เมริเออ (Eugénie Merieau) นักวิชาการเจ้าของบทความเรื่อง Deep State (รัฐพันลึก) และ ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสมาชิกคณะนิติราษฎร์ พร้อมวิทยากรร่วมอภิปราย ได้แก่ กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด และไชยันต์ รัชชกูล โดยมี วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมในประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา

 

อูจีนี เมริเออ: ศาลรัฐธรรมนูญและสิ่งบ่งชี้สำคัญของรัฐพันลึก

อูจีนี เมริเออ (Eugénie Merieau) (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)

อูจีนี เมริเออ (Eugenie Merieau) นักวิชาการด้านกฎหมายประจำมหาวิทยาลัย Science Po แห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวข้องกับสภาวะรัฐพันลึกของประเทศไทย ศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2540-2558 นำเสนอบทบาทและการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและศาลอื่นในฐานะกลไกของรัฐพันลึก หรือ deep state ในประเทศไทย โดยเสนอว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งบ่งชี้สำคัญในการปรากฎอยู่ของรัฐพันลึกในประเทศไทย

อูจีนีอธิบายว่าการเกิดขึ้นของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2540 มีเป้าประสงค์เป็นเครื่องมือรับประกันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งเป็นไปตามทฎษฎีทางวิชาการของ Tom Ginsburg นับแต่นั้นระบบตุลาการของไทยได้รับการเพิ่มอำนาจมากขึ้น (Judicial empowerment) และเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา (Judicialization of Politics) ศาลทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพิทักษ์ผลประโยชน์ของมหาอำนาจในสังคม (the Counsitutional Court as an hegemonic preservation tool) ตามทฤษฎีของ Ran Hirschl

สำหรับในบริบทการเมืองไทย ที่มีวัฎจักรของการปฎิวัติและการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่อดีต หรือ ที่เรียกกันว่า Vicious cycles (วงจรอุบาทว์) นั้นอูจีนี่กล่าวว่าการรัฐประหารในปี 2549 และ 2557 มีความแตกต่างจากในสมัยก่อน คือบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในระหว่างการรัฐประหารกับการเลือกตั้ง หรือที่หลายคนเรียกว่าเป็น ตุลาการภิวัฒน์ (Judicial Coup d’etat) ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ใช่แค่ศาลรัฐธรรมนูญแต่ศาลในระบบยุติธรรมอื่นๆ เช่น ศาลอาญา และศาลปกครอง เข้ามามีบทบาทเพื่อปูทางไปสู่การรัฐประหารด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างในกรณีการเลือกตั้งปี 2549 ซึ่งมีการบอยคอตการเลือกตั้งและ กกต. ในยุคนั้นได้พยายามที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ทว่าศาลอาญาวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้เกิดภาวะสูญญากาศและท้ายที่สุดเกิดการรัฐประหารในปี 2549 หรือ กรณีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในปี 2556 ที่ชี้ว่าการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นการใช้อำนาจที่มิชอบ ทำให้ยิ่งลักษณ์ต้องลาออกจากตำแหน่งและไม่นานหลังจากนั้นจึงเกิดรัฐประหารเดือน พ.ค. 2557 คำถามสำคัญคือ อะไรทำให้ศาลรัฐธรรมนูญดูเหมือนว่าจะมีทำหน้าที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยเสียเอง ซ้ำยังช่วยเหลือให้เกิดการรัฐประหารอีกด้วย

เมื่อกลับไปดูประวัติการก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญในปี 2538 ซึ่งมีคณะกรรมการนำโดย นพ. ประเวศ วะสี ทำการศึกษาเรื่องศาลรัฐธรรมนูญโดยยึดตัวแบบหลักในประเทศเยอรมันนีที่ให้อำนาจศาลอย่างมากและมีลักษณะของความเป็นอิสระสูง ซึ่งความเป็นอิสระนี้จะดูได้จากขั้นตอนการเลือกสมาชิกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง สำหรับกรณีของประเทศไทย ตุลาการ มีจำนวน 9 คน ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2540 มีจำนวน 15 คน และมากกว่าครึ่งมาจากการคัดเลือกของศาลปกครองสูงสุดและศาลฎีกา ซึ่งชี้ให้เห็นว่าไม่มีการแทรงแซงใดๆจากองค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นการเลือกสรรภายในของฝ่ายตุลาการเอง สำหรับคณะกรรมการแต่งตั้งนั้นมีจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่มาจากกระบวนเลือกตั้งทางการเมือง ซึ่งในทางวิชาการ ถือว่าเป็นขั้นตอนในลักษณะนี้แสดงถึงความมีอิสระสูง

ในปี 2540 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักให้มีการก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญได้กล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องรับประกันความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนประชาธิปไตย ซึ่งกำลังเบ่งบานในยุคนั้น เช่น หากมีกลุ่มพรรคการเมืองที่มีความเสี่ยงจะเป็นกลุ่มหัวรุนแรง ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้อำนาจในการยุบพรรคการเมืองนั้นได้

นอกจากนี้ อูจีนี่ยังได้ใช้ทฤษฎีของ Jon Elster ซึ่งบ่งชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการรับประกันผลประโยชน์ของสถาบันการเมืองและกลุ่มผู้ร่างเองด้วย

ในปี 2550 หลังจากที่มีรัฐธรรมนูญภายหลังเกิดการรัฐประหารปี 2549 เราจะได้เห็นความเบ่งบานในการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมากกว่าที่ผู้ร่างในปี 2540 ได้คาดการณ์ไว้ หรือที่เราเรียกว่า ตุลาการภิวัฒน์ เช่น กรณีที่เป็นที่กล่าวถึงกันมากในปี 2556 ที่ศาลรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15–18/2556 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวกับการเลือกวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ นั้นเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ อูจีนีมองว่านี่เป็นใช้อำนาจที่มากที่สุดของศาลในการกีดกันไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนำมาซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมว่านี่เป็นการรัฐประหารโดยตุลาการ ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างใดๆจากการรัฐประหารโดยทหาร

จากคำวินิจฉัยต่างๆ ของศาลรัฐธรรมนูญทำให้เราเห็นถึงพฤติการณ์ที่ต้องการปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มอำนาจนำในสังคมและเป็นการลงมาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามทฤษฎีของ Ran Hirschl ได้อธิบายว่าตุลาการโดยศาลรัฐธรรมนูญจะถูกทำให้เป็นการเมืองด้วยกระบวนการที่ฝ่ายการเมืองให้ความวางใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง (Judicialization of Politics) ด้วยวิธีการที่ศาลได้เข้าไปสู่พื้นที่ทางการเมือง (Political arena) ในรูปแบบต่างๆ เช่น แทรกแซงกระบวนการเลือกตั้ง ล้มอำนาจฝ่ายบริหาร สร้างความชอบธรรมในการเปลี่ยนระบอบ หรือ การแทรกแซงความขัดแย้งในสังคม ซึ่งอูจีนีได้ยกตัวอย่างคำวินิจฉัยต่างๆ ของศาลรัฐธรรมนูญไทย เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่ได้กล่าวมาข้างต้น

เช่น คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีปลดนายสมัคร สุนทรเวชจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่มาของวุฒิสภาทำไม่ได้ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ชนชั้นนำในสังคมเห็นว่าอำนาจของตัวเองถูกท้าทายจากเสียงข้างมากในสังคมประชาธิปไตยจึงใช้กระบวนการศาลในการหยุดหรือล่าช้ากระบวนการประชาธิปไตย

ซึ่งมีเงื่อนไขสี่ประการที่ทำให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ ได้แก่ 1. ผลการเลือกตั้งไม่สะท้อนผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำ 2. ผลการเลือกตั้งนำไปสู่ความเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนระบอบ หรือ ท้าทายอุดมการณ์ของรัฐ 3. วิกฤติทางการเมืองเปิดโอกาสให้ศาลเข้ามามีบทบาท และ 4. ศาลถูกมอบอำนาจทางการเมืองจากกลุ่มการเมืองที่ใหญ่กว่า อูจีนีกล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญของไทยเป็นตัวอย่างในทางทฤษฎีของ Ran Hirschl ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด

อูจีนี กล่าวถึงกรณีการตีความมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ฝ่ายผู้ประท้วงในเวลานั้น เสนอให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทานเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการเมือง ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นให้อำนาจนี้กับกษัตริย์ผ่านศาลรัฐธรรมนูญ ความพยายามนี้ได้ถูกนำมากล่าวถึงและเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับปี 2550 และร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบัน โดยกลุ่มตุลาการและทหารพยายามที่จะต่อรองให้ตัวเองมีอำนาจในสถานการณ์ไม่ปกติ (crisis power) ซึ่งเห็นได้จากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา

นอกจากนี้ในร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันยังเพิ่มความพยายามที่จะไม่ให้มีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากฝ่ายเลือกตั้ง เช่นในมาตรา 301 (7)

ทั้งนี้อูจีนีเสนอว่าบทบาทขององค์กรศาลในฐานะกลไกของ deep state มีความเชื่อมโยงกับการรัฐประหารและสถาบันที่มีบทบาททางการเมือง เช่น กองทัพ โดยควรจับตาบทบาทและกลไก deep state ดังกล่าวจะยิ่งมีบทบาทสำคัญในอนาคตการเมืองประเทศไทยอันไม่แน่นอนของประเทศไทยที่กำลังจะมาถึงอย่างไร

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล: ตุลาการภิวัฒน์และผลกระทบ และกลไกปราบปรามภัยคุกคามชนชั้นนำ

ปิยบุตร แสงกนกกุล (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)

ปิยบุตร แสงกนกกุล จากกลุ่มนิติราษฎร์ ได้นำเสนอประเด็น กระบวนการของตุลาการภิวัฒน์และผลกระทบ โดยกล่าวว่าธีรยุทธ์ บุญมีเป็นผู้นำคำนี้มาใช้เป็นคนแรกและได้รับการนำไปพูดถึงต่ออย่างวงกว้างในสังคมซึ่งจุดเริ่มของกระบวนการนี้ ซึ่งมีที่มาหลังจากพระราชดำรัสวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549

กลับกลายเป็นกรณีที่ศาลเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยไม่ได้ยึดโยงหรือรับผิดชอบต่อประชาชนผ่านองค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง

ปิยบุตรเสนอว่า อันที่จริงคำว่าตุลาการภิวัฒน์ ควรเป็นคำที่มีความหมายที่ดี แต่ในบริบทของสังคมไทยกลายเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ ซึ่งต่างจาก ‘Judicialization of Politics’ ที่มีความหมายในทางบวก โดยปิยะบุตรให้คำจำกัดความคำว่า ‘ตุลาการภิวัฒน์’ ว่าหมายถึง กระบวนการตุลาการที่เล่นบทบาททางการเมืองโดยหยิบยกคดีที่มีเป้าหมายไปที่กลุ่มการเมืองซึ่งเห็นว่าเป็นภัยต่อกลุ่มชนชั้นนำเก่าในสังคม กล่าวโดยสั้น ตุลาการภิวัฒน์คือเครื่องมือต่อสู้กับนักการเมือง

กระบวนการของตุลาการภิวัฒน์ ทำในสองลักษณะคือ 1. การตีความตัวบทกฎหมายที่มีลักษณะกว้างในรัฐธรรมนูญ เช่น นิติธรรม จริยธรรม และ คุณธรรม ในทางมิชอบ (arbitrary) เช่น การตีความมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ศาลไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในส่วนนี้ 2. การใช้ข้อถกเถียงประเด็นเชิงจริยธรรมทางการเมืองในคำพิพากษา เช่น คำพิพากษาปี 2550 ซึ่งมีผลให้ยุบพรรคไทยรักไทย และคำวินิจฉัยในปี 2556 ที่ไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราเกี่ยวกับการเลือกตั้งวุฒิสภา กระบวนการเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงองค์กรเดียว แต่มีเงื่อนไขอื่นๆ มาช่วยสนับสนุน

ทั้งนี้พระราชดำรัส 25 เมษายน 2549 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของตุลาการ สังคมไทยเห็นว่าศาลจะเป็นองค์กรที่มีความอิสระสูงและไม่เลือกข้างมากที่สุด และจะเป็นองค์กรสุดท้ายที่ช่วยแก้ไขความขัดแย้ง (last resort) ซึ่งปิยะบุตรมองว่าศาลมีความเป็นอิสระสูงจากกระบวนการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้มีอิสระจากกลุ่มชนชั้นนำเก่า

นอกจากนั้นยังต้องมีตัวละคร เช่น นักการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระ หรือ สมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้ชงเรื่องไปสู่ศาล ทั้งนี้การสร้างความชอบธรรมในการตีความทางกฎหมายย้อนหลังของศาลในตัวรัฐธรรมนูญเองก็เป็นอีกเงื่อนไขให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ เช่น คำพิพากษาศาลในกรณีการยุบพรรคไทยรักไทยถูกนำมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 หลังจากที่มีการยุบพรรคไปแล้ว

เมื่อมีการใช้กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ ทำให้สังคมไทยมองว่า ในความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ จะต้องถูกแก้ไขด้วยระบบศาลเท่านั้น ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจในการปกครอง (principle on separation of power) ที่มองว่าประเด็นบางอย่างไม่สามารถที่จะแก้ไขโดยศาลหรือระบบตุลาการได้ แต่ต้องใช้กระบวนการทางประชาธิปไตย ทั้งนี้ตุลาการภิวัฒน์ ยังดำเนินการหลายอย่างที่ขัดกับหลักการเสรีนิยมประชาธิปไตย ด้วยการเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทางการเมืองที่เห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อรัฐชนชั้นนำ เช่น การยุบพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การแทรกแซงไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือ การแทรกแซงกระบวนการทางเมืองในระบบเลือกตั้งอื่นๆ ที่นำไปสู่การเข้ามาของอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

คำถามต่อการดำรงอยู่ของอำนาจชนชั้นนำเก่าในสภาพสังคมสมัยใหม่ที่เป็นเสรีประชาธิปไตย ปิยะบุตร อภิปรายว่า วาทกรรมเรื่องนิติรัฐในสังคมที่เป็นที่พูดถึงอย่างมากนั้น แท้ที่จริง หมายถึง การเติบโตของระบบตุลาการ การเติบโตของสถาบันกษัตริย์ และการเติบโตของระบบตุลาการนิยมเจ้า (Royalist Jurist) โดยนักวิชาการด้านกฎหมายตั้งแต่ยุคการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองได้นำเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นแกนหลักในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ในระบบสังคมเสรีประชาธิปไตย และมิได้ให้ความสำคัญกับการปฎิวัติ 2475 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิถุนายน 2475 ภายหลังจากการสิ้นสุดชองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งยังสร้างวาทกรรมใหม่ที่เชื่อมโยงความสำคัญของสถานบันกษัตริย์ต่อการสร้างชาติ รัฐธรรมนูญ และ ประชาธิปไตย

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นนักวิชาการด้านกฎหมายที่ส่งเสริมการสร้างวาทกรรมดังกล่าวอย่างมาก เขากล่าวว่า “เราศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญตามอย่างหลักการของฝรั่งซึ่งมีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ อันหมายถึงกษัตริย์ไม่สามารถกระความผิดใดๆได้ ยกเว้นว่าจะมีการนำความขึ้นทูลเกล้าถวายจากรัฐบาลเพื่อลงพระปรมาภิไธย ในประเทศอังกฤษสถาบันกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ แต่สำหรับประเทศไทย สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชาติ และมีบทบาทสำคัญทางสังคม นั่นหมายถึงบทบาทในการแก้ไขความแย้งด้วยเช่นกัน ดังนั้น อำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่ระบุไว้ในรัฐธรรนูญจึงแตกต่างจากในระบบของอังกฤษ”

บวรศักดิ์ยังสร้างวาทกรรมเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอำนาจอธิปไตยถูกมอบให้ประชาชนโดยผ่านรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อมีการรัฐประหาร อำนาจนั้นจึงกลับมาสู่พระมหากษัตริย์และรัฐบาลภายใต้การรัฐประหารจึงควรได้รับการยอมรับเนื่องจากการถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นกระบวนภายในของไทย

นอกจากนี้ยังมีการสร้างวาทกรรมเรื่องการปฎิรูปการเมืองโดยผ่านการกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี อมร จันทรสมบูรณ์ เป็นนักวิชาการหลักที่ศึกษาเรื่องนี้ อมรเขียนหนังสือเรื่อง "รัฐธรรมนูญนิยม ทางออกของประเทศไทย"โดยเสนอว่า การร่างรัฐธรรมนูญเป็นการออกแบบระบบการปกครองของรัฐ และการบริหารงานรัฐ ซึ่งสามารถควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบอันจะเกิดจากพฤติการณ์หาผลประโยชน์ให้ตนเองของกลุ่มนักการเมืองต่างๆ และยังเป็นกระบวนการปฎิรูปการเมืองที่แท้จริง

ทั้งนี้หากมีการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักการรัฐธรรมนูญนิยมแล้วจะต้องมีส่วนประกอบสามประการ คือ 1. ผู้นำทางการเมืองในประเทศ 2. นักวิชาการที่มีคุณภาพ และ 3. ประชาชนเข้าใจปัญหาอย่างท่องแท้ และพร้อมที่จะลงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว สำหรับอมร ผู้นำทางการเมืองมีบทบาทมากที่สุดในการผลักดันให้เกิดกระบวนการดังกล่าว ด้วยทฤษฎีดังกล่าวทำให้ตุลาการกลายเป็นเทคโนแครตที่มีบทบาทในการก่อตั้งองค์กรและนโยบายกลไกต่างๆ ของรัฐ โดยที่ตัวเองเข้าไปมีตำแหน่งอยู่ในองค์กรอิสระนั้นๆ ที่ควรจะเป็นสถาบันเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐตามหลักการเสรีประชาธิปไตย ท้ายที่สุดตุลาการเหล่านี้จึงเสริมสร้างอำนาจของตนผ่านการอ้างเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุล

ในขณะที่ประเทศไทยมีการก่อตั้งองค์กรใหม่ๆ ภายใต้ระบอบเสรีประชาธิปไตยในช่วงปฎิวัติ 2475 แต่สำหรับบทบาทของศาลเองนั้นถือว่าเป็นมรดกตกทอดมาจากระบบการปกครองในยุคเก่า เนื่องจากระบบศาลได้ถูกปฎิรูปเปลี่ยนแปลงมาแล้วในช่วงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก ซึ่งคณะราษฎรมิได้เปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวเนื่องจากต้องการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของประเทศเจ้าอาณานิคม อันเป็นหนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎร

ถึงแม้คณะราษฎรจะพยายามเปลี่ยนรูปแบบและโครงสร้างระบบของศาลเพื่อให้ดูมีความทันสมัยแต่มิได้เปลี่ยนแปลงพื้นฐานความคิดของการผู้พิพากษาในการเป็นผู้ดำรงความยุติธรรมให้กับประชาชนตามระบอบการปกครองใหม่ และถึงแม้ว่าปรีดี พนมยงค์ จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อสร้างบุคคลากรด้านกฎหมายจากประชาชนธรรมดาแต่ทว่าก็ไม่ได้มีความพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะเปลี่ยนแปลง mind set (ระบบคิด) ของผู้พิพากษาในระบบเดิม ซ้ำนักกฎหมายอาวุโสในระบบตุลาการยังมาจากระบอบเก่า ระบบการคัดเลือกผู้พิพากษาก็มาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และดำเนินการในทางปิด สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อระบบศาล ซึ่งเห็นได้จากคำปฏิญาณของผู้พิพากษาซึ่งต้องกล่าวว่าทำหน้าที่ในนามของพระมหากษัตริย์ด้วยจริยธรรมสูงสุด นับแต่นั้น พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ตอกย้ำว่าผู้พิพากษาเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน เป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงและทำหน้าที่แทนกษัตริย์ในการดำรงความยุติธรรม อย่างที่เราเห็นในพระราชดำรัส 25 เมษายน 2549 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตุลาการภิวัฒน์

ทั้งนี้ สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังได้เคยกล่าวไว้ในระหว่างการฝึกสอนผู้พิพากษาว่า “ในบรรดาหน่วยงานข้าราชการ ศาลเป็นหน่วยงานเดียวที่ถือได้ว่าทำหน้าที่ในนามของกษัตริย์ ถ้าในหลวงสั่งให้เราทำอะไร เรายินดีที่จะทำ แม้นว่าการกระทำนั้นจะทำให้เราต้องตาย”

ปิยบุตรเสนอตอนท้ายด้วยว่า ผู้พิพากษาเชื่อว่าตัวเองเป็นหน่วยงานที่อยู่เหนือสถาบันทางการเมืองใดๆ ในขณะที่ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งกลายเป็นผู้ที่ทุจริต ไม่จริงใจ ขัดแย้งวุ่นวาย และมุ่งแต่รักษาผลประโยชน์ของตน ส่วนความเป็นอิสระของศาล หมายถึงความเป็นอิสระจากสถาบันเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายถึงอิสระจากสถาบันการเมืองอื่น โดยศาลเองก็ได้รับบทบาทเป็นกลไกปราบปรามพลังทางการเมืองทั้งในส่วนนักการเมืองและฝ่ายประชาชนธรรมดา ที่ฝ่ายชนชั้นนำจารีตประเพณีเห็นว่าเป็นภัยคุกคามแก่ตน

 

ไชยันต์ รัชชกูล (ซ้าย) กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด (ขวา) (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)

 

กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด: เสนอศึกษาการเมืองไทยช่วงสงครามเย็น เพื่อทำความเข้าใจกลไกรัฐพันลึก

ในส่วนของวิทยากรผู้ร่วมอภิปราย ดร.กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Rise and Decline of Thai Absolutism ได้ตั้งคำถามว่าตัวอย่างกลไกของรัฐพันลึกที่ปรากฏในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น มีการเริ่มต้นหรือเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านอย่างไร เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนที่จะเกิดการก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นไปอย่างไร และ เราควรตั้งคำถามว่าเมื่อใดที่เกิดสภาวะรัฐพันลึกขึ้น โดยแนะให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วงสงครามเย็นและการเปลี่ยนรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ค.ศ. 1973 ซึ่งอาจช่วยทำให้เข้าใจกลไกของรัฐพันลึกและปัญหาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยได้ชัดเจนมากขึ้นว่าเป็นเพียงการแทรกแซงการเมืองประชาธิปไตย หรือทำหน้าที่ถึงขั้นที่รักษาประชาธิปไตยในบางช่วงเวลา (intermittent) นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่าสถาบันที่มีบทบาทเชื่อมโยงกันดังกล่าว เช่น ตุลาการ และ กองทัพ อาจไม่ได้มีความคิดเห็นหรือความแนบแน่นเป็นปึกแผ่นร่วมกันเสมอไป

 

ไชยันต์ รัชชกูล: วิธีควบคุมการเมืองของชนชั้นนำแบบ มอบให้-ยึดคืน

จากนั้น ไชยันต์ รัชชกูล ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy ได้อภิปรายให้ข้อคิดเห็นว่าฝ่ายชนชั้นนำจารีตประเพณีมีวิธีการจัดการควบคุมการเมืองการปกครองไทยแบบมอบให้-ยึดคืน (appropriate-expropriate) โดยยกตัวอย่างในยุคสมัยใดที่กระแสประชาธิปไตยกำลังแพร่หลายและเป็นที่นิยมในทางที่เกื้อหนุนต่อชนชั้นนำ ชนชั้นนำก็พร้อมที่จะมอบและหนุนกระแสดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะเข้ายับยั้งและยึดคืน เช่น กรณีการรัฐประหาร หรือ การสังหารนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เพราะเห็นว่ามีความเสรี "มากเกินไป"เป็นต้น ซึ่งไชยันต์ กังวลว่าความลักลั่นที่ปรากฏมาต่อเนื่องยาวนานได้นำมาสู่ความขัดแย้งที่ฝังลึกรุนแรงในทุกระดับ ตั้งแต่การในระดับครอบครัว เพื่อนฝูง ทั้งในชิวิตจริงและในปฏิสัมพันธ์ทางอื่น เช่น กลุ่มแชทไลน์ ไปจนถึงความขัดแย้งภาพใหญ่ในบริบทของความแตกต่างทางภูมิภาค ชนชั้น หรือการงานอาชีพ ซึ่งคงเป็นสถานการณ์ที่จะดำเนินต่อไปอย่างน่าอันตราย

 

ปิยบุตรชี้รับรัฐธรรมนูญเท่ากับต่อเวลา คสช. ดำรงอำนาจพิเศษถาวร

ในช่วงอภิปรายแลกเปลี่ยน ต่อข้อซักถามเรื่องร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าควรรับหรือไม่รับ และถ้าไม่รับอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ปิยบุตร กล่าวว่า ถ้าเรารับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็เท่ากับว่าเรายอมรับให้ คสช. ดำรงอำนาจพิเศษต่อไปเรื่อยๆ อย่างถาวรในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ เป็นการ Constitutionalized coup d’etat ปัจจุบันเราอยู่ในสภาวะยกเว้น (state of exception) ซึ่งควรจะเป็นเพียงชั่วคราว แต่หากเรารับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เท่ากับเราให้สภาวะยกเว้นดำรงอยู่อย่างถาวรไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ความไม่แน่นอนว่าจะมีการจัดเลือกตั้งหรือไม่นั้นก็มีสูง มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเลื่อนวันลงประชามติออกไป ซึ่งควรจับตามองศาลรัฐธรรมนูญว่าจะมีบทบาทอย่างไร แล้วหลังจากนั้นอาจจะมีเหตุการณ์คล้ายๆ กับสงครามโลก อย่างที่คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ บอกไว้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่มีการทำประชามติอีกเลย นอกจากนั้นหาก คสช. ประเมินว่าผลประชามติออกแล้วมีแสดงถึงความแตกแยกสูงระหว่าง ผลรับหรือไม่รับ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ คสช. คงไม่อยากให้เกิดเหตุกาาณ์นี้ขึ้น และแน่นอนหากว่า คสช.ประเมินแล้วว่าตัวเองไม่ชนะก็ไม่น่าจะจัดประชามติ

ต่อข้อถามที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากโหวตไม่รับชนะ ปิยะบุตรมองว่าการดำรงอยู่ในอำนาจของคสช. จะลำบากมากขึ้นเพราะไม่มีความชอบธรรมแล้ว ถึงแม้ว่าการโหวตไม่รับจะหมายถึงว่า คสช.ยังคงอยู่ในอำนาจต่อไปก็ตาม ซึ่งแบบนี้ก็ยังดีโหวตยอมรับให้ คสช.อยู่ในอำนาจต่อไปแบบถาวรในรัฐธรรมนูญ

ผู้เข้าร่วมเสวนา เสอนว่าหากเราโหวตรับอย่างน้อยเราก็จะมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่ถูกรับรองอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปิยะบุตร ให้ความเห็นว่า ต่อให้รัฐธรรมนูญผ่าน คสช. ก็จะยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป หนำซ้ำระบบต่างๆ ก็จะมีความแนบเนียนมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะรับประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากแค่ไหน เราก็ยังมีมาตรา 44 อยู่ ซึ่งให้อำนาจ คสช. ในการบริหารประเทศต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ อีกทั้งระบบศาลในประเทศไทยเองก็เคยล้มการเลือกตั้งมาแล้วถึงสองครั้ง

ต่อข้อถามว่าหลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าสู่กระบวนการยูพีอาร์ ของ องค์กรสหประชาชาติ ซึ่งได้รับวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในประเด็นกฎหมายมาตรา 112 และ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ร่างรัฐธรรมนูญจะยกเลิก หรือ แก้ไข กฎหมายนี้ อูจีนี ให้ความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2555 กล่าวว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นบังคับใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญตามมาตรา 8 ที่กล่าวว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับกฎหมายมาตรา 112 ในทางกลับกัน การตีความจะกว้างมากขึ้นและมีโทษหนักมากขึ้น

ด้านวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมในประเทศไทย มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS กล่าวว่างานดังกล่าวเป็นกิจกรรมครั้งที่สามของโครงการ โดยก่อนหน้านี้ได้มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติร่วมเป็นวิทยากรอย่างต่อเนื่องทั้งจาก SOAS และสถาบันอื่น อาทิ Professor Sir Jeffrey Jowell อดีตคณะบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) และ Professor Andrew Harding ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากฎหมายเอชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) เป็นต้น ส่วนงานสัมมนาครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมเข้าฟังอย่างหลากหลายทั้งนักวิชาการและนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ และยังมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักรสนใจร่วมรับฟังอีกด้วย

สำหรับโครงการนิติธรรมในประเทศไทยจะจัดกิจกรรมวิชาการครั้งต่อไปในช่วงเดือนกันยายน 2559 ซึ่งเป็นวาระฉลองครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้ง SOAS มหาวิทยาลัยลอนดอน อีกทั้งยังเป็นช่วงครบรอบ 10 ปีหลังการรัฐประหารไทย พ.ศ. 254 9โดยผู้สนใจสามารถชมคลิปกิจกรรมและติดตามข่าวสารของโครงการได้ทาง https://www.facebook.com/soasrolt/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอพฯ กกต. เตือนคำว่า 'ไม่รับ'ไม่สุภาพ ด้านสมชัย ระบุยังไม่รับรายงาน ขอตรวจสอบก่อน

$
0
0

ชาวพันทิปทดสอบแอพพลิเคชั่น 'ฉลาดรู้ประชามติ'ของ กกต. พบระบบเตือนคำว่า  'ไม่รับ'เป็นคำไม่สุภาพ ด้าน 'กกต. สมชัย' ระบุยังไม่รับรายงาน ขอตรวจสอบก่อน

10 มิ.ย.2559 จากกรณีที่มีผู้ทำลองใช้แอพพลิเคชั่น 'ฉลาดรู้ประชามติ'ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและกระบวนการออกเสียงประชามติ รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติ ซึ่งมีทั้งรูปแบบตัวหนังสือ และอินโฟกราฟฟิก รวมทั้งยังเปิดให้ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นสามารถอ่านเนื้อหาได้ครบทั้งหมด จะได้รับประกาศนียบัตรแสดงความชื่นชม และสามารถแชร์ไปให้บุคคลอื่นรับทราบด้วย

วันนี้ (10 มิ.ย.59) มีผู้ใช้เว็บบอร์ด pantip.com ได้โพสต์หลังเข้าใจแอพฯ ดังกล่าว โดยระบุว่าพิมพ์คำว่า "ไม่รับ"ลงในประกาศนียบัตรหลังได้ศึกษาข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญในแอพฯ ดังกล่าวแล้ว กลับถูกเตือนว่าคำดังกล่าว เป็นคำไม่สุภาพ

ต่อมา ณัชปกร นามเมือง เจ้าหน้าที่ โครงการอินเตอร์เน็ทเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ได้ทดลอง และรายงานผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Nutchapakorn Nummueng'ในลักษณะสาธารณะ ซึ่งพบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน โดย ณัชปกร ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้เรื่องนี้จะตลก แต่เป็นตลกร้าย หากนี้เป็นคำไม่สุภาพ และคำหยาบคายถูกทำให้เป็นความผิดตามกฎหมายประชามติในมาตรา 61 วรรค 2

"ผมคิดว่า ถ้าคำว่า "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ"ในสายตา กกต. เป็นคำไม่สุภาพจนมีโทษทางกฎหมายแล้วล่ะก็ แสดงว่ามันต้องมีอะไรสักอย่างในระบบคิดของ กกต. แน่ๆ" ณัชปกร กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้สอบถามไปยัง สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง โดย สมชัย กล่าวเพียงว่า ยังไม่ได้รับรายงาน ขอตรวจสอบก่อน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ใครทำให้ความหมายเพลง ‘7 สิงหาประชามติ’ เพี้ยนไป

$
0
0

 

เวลาเราเสนอความเห็นอะไรต่อสาธารณะ ความเห็นนั้นย่อมไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของเราอีกต่อไป เป็นไปได้เสมอที่มันจะถูกสร้างให้มีความหมายใหม่ไปตามบริบทการตีความ ตัดความ เติมความ ฯลฯ ของคนอื่น เช่นที่มติชนออนไลน์นำความเห็นในเฟซบุ๊กของผมมาเผยแพร่ตรงตามต้นฉบับว่า

“ในฐานะ “คนอีสาน” ผมรู้สึก “เจ็บปวดมาก” นะครับ เมื่อได้ฟังเนื้อเพลงนี้ คุณยกย่องคนใต้ว่ารักประชาธิปไตย รักความเสรี ร่วมสร้างประวัติศาสตร์นำอนาคตประเทศชาติอะไรแบบนี้ แล้วพูดถึงคนอีสาน คนเหนือเชิงสั่งสอน(ดูแคลน)ว่าอย่าให้เขาหลอก อย่าให้เขาชี้นำ…

การปกป้องการเลือกตั้งอันเป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ของระบบประชาธิปไตยของคนอีสาน คนเหนือ นอกจากไม่สามารถจะนับได้ว่า “รักประชาธิปไตย” แล้ว ยังถูกเหยียดว่านั่นเป็นเพียงถูกหลอก ถูกชี้นำงั้นหรือครับ และตอนนี้อย่าให้เขาหลอก อย่าให้เขาชี้นำได้อีก บลา บลา

จะกดเหยียดคนไทยด้วยกันเองไปถึงไหนกันครับ? “

(ดูที่นี่)

ต่อมาเฟซบุ๊กรายการทุบโต๊ะข่าว อมรินทร์ทีวี ได้นำไปเผยแพร่ต่อโดยจงใจตัดให้เหลือ เฉพาะข้อความตามภาพข้างล่าง พร้อมกับเขียนว่า“เพลงนี้เจ็บปวด”


(ดูที่นี่)

ถ้าอ่านข้อความทั้งหมดจะเห็นว่าผมไม่ได้บอกว่าผมเจ็บปวดเพียงเพราะเนื้อเพลงยกย่องคนใต้รักประชาธิปไตย แต่เจ็บปวดตรงที่เนื้อเพลงสามารถตีความได้ว่ามีความหมายในเชิง “กดเหยียด” คนอีสานและคนเหนือ ผมไม่ได้บอกว่าผู้แต่งเพลงและ กตต.ตั้งใจจะให้มีความหมายในเชิงกดเหยียด แต่ถึงคุณจะไม่ตั้งใจเมื่อคุณโยนเพลงนี้ลงไปใน “บริบท” ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่จริงซึ่งดำเนินต่อเนื่องมากว่า 10 ปี มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนอื่นๆจะเข้าใจความหมายไปอย่างนั้น

เป็นความจริงว่าในความขัดแย้งทางการเมืองกว่า 10 ปี คนอีสาน คนเหนือ “ถูกกล่าวหา” ว่าถูกชักจูง ถูกหลอก ถูกซื้อ ถูกมอมเมาด้วยนโยบายประชานิยม โดยชนชั้นนำ นักวิชาการ สื่อ ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ฝ่ายการเมืองฟากตรงข้าม

ความประหลาดของปรากฏการณ์นี้ก็คือ ขณะที่คนอีสาน คนเหนือหลายล้านคน ไม่คิดว่าพวกเขาถูกหลอก แต่พวกเขาเลือกนักการเมือง พรรคการเมืองจากนโยบายที่ตนเห็นว่ามีประโยชน์ และการที่พวกเขาเลือกพรรคการเมืองพรรคเดียวอย่างต่อเนื่องก็ไม่ใช่เรื่องผิดในตัวมันเอง เพราะคนใต้ก็เลือกพรรคการเมืองพรรคเดียวมาก่อนหลายทศวรรษแล้ว ทว่านอกจากฝ่ายที่กล่าวหาว่าคนอีสาน คนเหนือถูกหลอกจะไม่ฟังเหตุผลใดๆพวกเขาแล้ว ยังละเมิดสิทธิเลือกตั้งของพวกเขาด้วยการทำให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้และสนับสนุนอำนาจรัฐประหารให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

ความหมายของการกระทำเช่นนั้นมันคือการ “สื่อสาร” ว่า “พวกคุณไม่เชื่อพวกฉันว่าพวกคุณเองถูกหลอกเหรอ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องเลือกตั้ง ไม่ต้องมีสิทธิเสรีภาพแสดงออกทางการเมือง ต้องเดินตามกระบวนการปฏิรูปที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่พวกฉันสนับสนุนเท่านั้น” นี่คือปรากฏการณที่เจ็บปวด ไม่ใช่เรื่องของการ “อ่อนไหวง่าย” แต่การไม่อ่อนไหวกับปรากฏการณ์เช่นนี้ต่างหากที่อธิบายไม่ได้

ยิ่งกว่านั้น ยังมีการ “ผลิตซ้ำ” วาทกรรมกล่าวหาคนอีสาน คนเหนือถูกหลอกง่าย โดยกลุ่มคนที่แสดงออกว่าพวกตนมีวิจารณญาณที่ดีกว่าเสมอๆ ผ่านหน้าสื่อต่างๆ จนกระทั่งผลิตซ้ำผ่านเพลงรณรงค์ประชามติที่จงใจเตือนสติคนอีสานคนเหนือไม่ให้ถูกหลอก ถูกชี้นำ นี่ต่างหากที่ทำให้ผมรู้สึกเจ็บปวด  

ผู้แต่งเพลงแย้งว่าอย่าโยงไปอย่างนั้น “เนื้อเพลงบอกชัดเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ คำตอบอยู่ที่คุณจะใช้วิจารณญาณ จริงไหมล่ะประชามติครั้งนี้มีการชี้นำ ทำสงครามประชาชนกัน คสช.ชี้นำให้รับ ฝ่ายตรงข้ามชี้นำให้ไม่รับ ประชาชนอยู่ตรงกลาง กกต.และผมจึงพยายามชี้ว่าอย่าให้ฝ่ายใดมาชี้นำ ให้ศึกษาเนื้อความหลักการของรัฐธรรมนูญดีหรือไม่ดีแล้วตัดสินใจเองจะรับหรือไม่รับ” เพื่อให้แฟร์ ผมควรนำเนื้อเพลงที่พูดถึงคนอีสาน คนใต้ และคนเหนือมาให้ดูทั้งหมด

“พี่น้องอีสานบ้านเฮา อย่าให้ใครเขาชี้ซ้ายชี้ขวา ใช้สติพิจารณา เนื้อหาถ้อยความหลักการสำคัญ ออกไปใช้เสียงใช้สิทธิ์ ร่วมรับผิดชอบบ้านเมืองนำกัน ให้ฮู้เขาฮู้เฮาเท่าทัน เฮาคนอีสานอย่าให้ไผมาตั๊วได้”

“ปักษ์ใต้คนใต้แหลงใต้ รักประชาธิปไตยรักความเสรี ไปลงประชามติ เป็นพลเมืองดีหน้าที่ของชาวไทย ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ ช่วยนำพาชาติให้เจริญก้าวไกล ดอกไม้ประชาธิปไตย หกสิบห้าล้านใจคนไทยบานสะพรั่ง”

“ปี้น้องชาวเหนือหมู่เฮา อย่าหื้อใครเขาชักจูงจี้นำ ต้องหมั่นเฮียนฮู้ติดตาม ศึกษาเนื้อความฮื้อมันกระจ่าง บ้านเมืองจะค้ำจะจุน รัฐธรรมนูญต้องเป็นที่ตั้ง หนึ่งเสียงหนึ่งใจหนึ่งพลัง ฮ่วมกันสรรค์สร้างบ้านเฮาเมืองเฮา”

เห็นได้ชัดว่าเนื้อเพลงพูดถึงคนอีสาน คนเหนือต่างจากคนใต้แน่นอน แต่เอาล่ะ สมมติเราตัดการตีความของผมข้างบนทิ้งหมดเลย และเชื่อว่าความหมายของเพลงเป็นไปตามคำอธิบายของผู้แต่งและ กกต.จริง ยิ่งกว่านั้นให้เราตัดชื่อภาค 4 ภาค ทิ้งไปเลย ให้เหลือเนื้อเพลงที่พูดถึงใจความสำคัญว่า “คนไทยทุกคนรักประชาธิปไตย รักความเสรี แล้วมาร่วมลงประชามติด้วยวิจารณญาณของตนเองโดยไม่ถูกใครชี้นำ...”

เมื่อเรานำความหมายที่ผู้แต่งและ กกต.ต้องการสื่อดังกล่าวนี้มาสัมพันธ์กับการลงประชามติ “ภายใต้กติกาที่ไม่เสรีและเป็นธรรมตามหลักสากล” ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กกต.เราก็จะเห็น “สาร” ที่ผู้แต่งเพลงและ กกต.สื่อออกมาจริงๆว่า “ขอเชิญไทยทุกคนที่รักประชาธิปไตย รักความเสรี มาลงประชามติด้วยการตัดสินใจอย่างอิสระภายใต้กติกาที่ไม่เสรี” 

ฉะนั้น ในบริบทการเลือกตั้งที่ไม่เสรีและเป็นธรรมตามหลักสากล ความหมายของเพลงนี้จึงไม่ใช่ความหมายอย่างที่ผู้แต่งและ กกต.อ้างว่าต้องการจะสื่อ หากแต่ความหมายที่แท้จริง หรือ “สาร” ที่ “ปรากฏเป็นจริง” ของเพลงนี้คือความ “ไม่ make sense” เพราะขณะที่คุณยกย่องประชาชนว่ารักประชาธิปไตย รักเสรี และแนะนำให้พวกเขาใช้วิจารณญาณอย่างอิสระ การการกระทำของคุณคือการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกอันเป็นเงื่อนไขจำเป็นของใช้วิจารณญาณอย่างอิสระ

พูดอีกอย่างว่าเพลงไม่ได้ function ตามที่ผู้แต่งและ กตต.พยายามอธิบายกับสังคม แต่เพลงมัน function ในการแสดงถึง “ความไม่มีความหมาย” ของตัวมันเอง หรือแสดงถึงการที่คุณนั่นเองคือผู้ที่ทำให้ความหมายของเพลงเพี้ยนไปจากความหมายที่คุณพยายามอธิบายกับสังคม

ภายใต้การลงประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรมตามหลักสากล การแสดงออกทางการเมืองใดๆที่ “ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย” เช่นยืน เดิน เต้น ร้องเพลง หรือการแสดงออกทางการเมืองใดๆอย่างสันติวิธีที่ “ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน” กลายเป็นสิ่งที่ “ผิด” การแต่งเพลงยกย่องประชาชนว่ารักประชาธิปไตย รักเสรี และแนะนำให้ใช้วิจารณญาณอย่างอิสระจึงไม่มีความหมายใดๆ

ตัวเนื้อเพลงรณรงค์ประชามติ มันจึงสะท้อน “ตัวตน” ของคนบางกลุ่มที่ถือว่า การกระทำที่มีความหมายถูกหรือผิดในทางสังคมการเมืองขึ้นอยู่กับ “เจตนาดี” หรือ “เจตนาบริสุทธิ์” ที่ตัวเองใช้อ้างกับสังคมเท่านั้น โดยที่ความถูก ผิดนั้น ไม่จำเป็นต้องวางอยู่บนฐานของความถูกต้องชอบธรรมตาม “หลักการและกติกาประชาธิปไตย” แต่อย่างใด

เท่ากับว่า ถ้าอ้างเจตนาดี เจตนาบริสุทธิ์ต่อส่วนรวมก็ถือว่าตนเองเสียสละทำประโยชน์เพื่อชาติ โดยที่การทำเพื่อ “ชาติ” นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กติกาที่เคารพอำนาจและสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตัวตนความเป็นหญิง กับการล่วงละเมิดทาง‘แพทย์’

$
0
0


หากถามว่ามีอาชีพอาชีพใดที่มีอำนาจเหนือร่างกายหรือเนื้อตัวมนุษย์มากที่สุด คงปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าเป็นอาชีพ “แพทย์”... อาจมีสัปเหร่ออีกอาชีพหนึ่ง แต่นั่นเป็นช่วงที่ไร้ชีวิต... จะมีอาชีพไหนอีกเล่าที่สามารถจับเนื้อต้องตัวผู้ป่วยได้โดยอิสระ อยากจะล้วงจะควักจะบีบตรงไหนก็ทำได้ตามใจชอบ เพราะนั่นคือการตรวจร่างกาย (Physical examination) ให้แก้ผ้าก็ต้องแก้ แม้ต้องขออนุญาตหรือบอกกล่าวกันบ้าง อย่างไรเสียก็เป็นการขออนุญาตที่ไม่เปิดช่องให้ปฏิเสธได้... เมื่อคุณเข้าสู่ห้องตรวจของแพทย์ และอยู่บนเตียงผู้ป่วย สิทธิเหนือเนื้อตัวของคุณก็แทบจะโอนไปให้แพทย์เกือบหมด

แพทย์ได้รับ(อภิ)สิทธิ์ในการ “ละเมิด” ผ่านหลักการยินยอมในการตรวจรักษา สิ่งที่ควบคุมแพทย์ไม่ใช่กฎหมายโดยตรง แต่เป็น “จริยธรรม” “จรรยาบรรณ” และ “ความเป็นมืออาชีพ” แต่สิ่งหนึ่งที่คนในวงการแพทย์อาจไม่ตระหนัก คือ บางครั้งแพทย์ได้รุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวหรือใช้สิทธิเหนือเนื้อตัวของผู้ป่วย “มากเกินไป” (ตามมุมมองของผู้ป่วย)

คำถามคือคำว่า “มากเกินไป” ใครเป็นคนนิยาม ใครเป็นคนขีดเส้น... คำตอบคือ ไม่มีนิยาม ไม่มีเส้นแบ่ง เพราะปัจเจกบุคคลย่อมมี “ขีดความรับได้” แตกต่างกัน สิ่งเดียวที่แพทย์อาจทำได้ คือการตระหนัก สังเกตและพูดคุย ขอดัดจริตใช้คำศัพท์ให้สวิงสวายว่า แพทย์ต้องใช้ “ตาที่มี awareness ต่อ humanity ของคนอื่น”

เรื่องที่พูดข้างต้น จะเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก เมื่อพื้นที่และเนื้อตัวนั้นเป็นร่างกายของ “ผู้หญิง” และ “ความเป็นหญิง” ถึงผู้เขียนไม่จำนรรจาว่าทำไมเรา “คิดเล็กคิดน้อย” กับเรื่องของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทุกท่านก็คงทราบว่าเนื้อตัวผู้หญิงมีเรื่องให้ “อ่อนไหว” ได้มากกว่า ไม่ว่าจะด้วยมุมมองทางสังคมศาสตร์ หรือมุมมองทางการแพทย์

เชื่อว่าทุกคน ไม่ว่าจะเพศสภาพหรือเพศวิถีใด คงมีประสบการณ์ “อึดอัด” กับการที่ร่างกายที่เราสงวนมาหลายสิบปี ถูกสัมผัสหรือถูก “ตรวจรักษา” โดยแพทย์ แม้รู้ว่านั่นคือ “หน้าที่” และสิ่งที่ทำอยู่บนเจตนา “รักษา” แม้หน้าหมอไม่ได้หื่น แต่ก็อดไม่ได้ที่จะอึดอัด นั่นคือความรู้สึกของการมีตัวตน จึงอาจเรียกว่ามันเป็นการ “ละเมิดทางแพทย์” และ “ละเมิดโดยแพทย์” ซึ่งไม่ได้ร้ายแรงตามชื่อหรอก แต่เชื่อว่า “ความเข้มข้น” ของความรู้สึกแบบนี้ เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายแน่นอน

บทความนี้ไม่ได้มีคุณค่าทางวิชาการอะไร เป็นเพียงการลองใช้แว่นตาที่มี awareness ต่อ “ตัวตนผู้หญิง” มาใช้ในการมอง “พื้นที่” และ “ตัวตน” ของผู้หญิงในบริบททางการแพทย์ดูบ้าง เป็นการ “เห่อแว่นใหม่” หลังจากได้เรียนรู้งูๆ ปลาๆ เกี่ยวกับสตรีศึกษา จากโครงการหลักสูตรภาคฤดูร้อนของวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  พร้อมกับย้อนดูตัวเองว่า “แพทย์” ได้เข้ามายุ่มย่ามกับพื้นที่และตัวตนเหล่านี้มากแค่ไหนและอย่างไร เผื่อว่าสุดท้าย เมื่อเราคิดไตร่ตรอง และเข้าใจมากขึ้น ปัญหาการ “ล่วงละเมิดโดยแพทย์”(ที่แพทย์ไม่ตั้งใจ)จะน้อยลง และความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยจะดีขึ้นไม่มากก็น้อย


ตรวจภายใน: พื้นที่ส่วนตัวของผู้หญิง

เมื่อเราพูดถึงพื้นที่ส่วนตัวบนร่างกายของผู้หญิง ถ้าไม่คิดอะไรมาก เราคงนึกถึงอวัยวะใต้ร่มผ้า และที่สำคัญสุดมีอยู่สองส่วนคือ “เต้านม” (breast) กับ “ช่องคลอด” (vagina) นี่ไม่ใช่คำถามที่ตั้งใจจะหยาบคาย แต่หากถามว่าโดนจับนม กับโดนละเมิดทางช่องคลอด อะไรคือเรื่องใหญ่กว่า? แน่นอน แม้ไม่ใช่ร้อยทั้งร้อย ก็คงเกือบร้อยที่มองเรื่อง “ช่องคลอด” เป็นเรื่องสำคัญ

ในภาษาไทย มีคำว่า “ของลับ” “ของสงวน” เป็นการระบุที่ชัดเจนว่าพื้นที่นั้นคือพื้นที่ส่วนตัวเพียงไร แม้แต่ในราชาศัพท์ ก็เรียกอวัยวะเพศว่า “พระคุยหฐาน” ซึ่ง ‘คุยห’ หมายถึง ลับ จึงจะเห็นได้ว่าพื้นที่ตรงนี้สำคัญเพียงไร แต่เดิมในทางกฎหมายอาญาประเด็นการข่มขืน (ก่อนที่จะมาปรับปรุงภายหลัง) เราก็ตีความผ่าน “ความลึกของการล่วงล้ำผ่านทางช่องคลอด” ด้วย

ในทางการแพทย์ การตรวจที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับผู้หญิงคือ “การตรวจภายใน” (Internal pelvic examination) ซึ่งคือการตรวจบริเวณอุ้งเชิงกราน (Pelvic area) อวัยวะที่สำคัญคืออวัยวะเพศของผู้หญิงนั่นแล

เมื่อพูดถึงการตรวจภายใน ผู้หญิงหลายคนและคิดว่าเป็นส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกที่พูดไม่ออกบอกไม่ถูก  ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่ตรวจ แต่ถ้าเลือกไม่ได้ ก็ไม่สบายใจที่จะตรวจอยู่ดี โดยเฉพาะเมื่อมันถูกคิดพ่วงรวมไปถึง “พรหมจรรย์”

มองในมุมแพทย์ การตรวจภายในเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับการวินิจฉัยโรคสตรี หรือโรคทางนรีเวชวิทยา (Gynecology) ซึ่งคงไม่มาพูดถึงให้มากความในที่นี้ ปัญหาที่พบบ่อยของผู้หญิงและจำเป็นจะต้อง “ตรวจภายใน” คือ 1) อาการปวดท้องน้อยและปวดอุ้งเชิงกราน (Pelvic pain) ซึ่งอาจจะมาจากการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) หรืออาจจะมาจากการอักเสบติดเชื้อภายใน หรือที่น่ากลัวกว่านั้นคือมาจากการมีก้อน 2) อาการตกขาว (Vaginal discharge, Leukorrhea) ที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นแรง คันมาก 3) อาการที่สัมพันธ์กับการมีเลือดออกผิดปกติ และ 4) การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear)

การตรวจภายในมีขั้นตอนที่สำคัญโดยสังเขป 3 ส่วนคือ 1) ใช้ตา (Inspection) คือ ดูความผิดตรงภายนอก ดูว่ามีแผลมีติ่งเนื้อมีก้อนที่บ่งบอกอะไรหรือไม่ บางครั้งเราอาจวินิจฉัยโรคบางโรคได้เลย เช่น ซิฟิลิส (Syphilis) จากการดูแผลบริเวณอวัยวะเพศ 2) ใช้นิ้ว คือการใช้นิ้วสอดเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อตรวจความผิดปกติภายใน และใช้สองมือ คือมือหนึ่งคลำบริเวณหน้าท้องไปพร้อมกันด้วย หรืออีกแบบหนึ่งคือการสอดนิ้วเข้าไปทางทวารหนักพร้อมกันด้วย ทักษะการตรวจโดยใช้การใช้นิ้วนี้เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญมากของแพทย์ทุกคน และ 3) ใช้เครื่องมือถ่างขยายปากมดลูกหรือ speculum ซึ่งช่วยให้มองเห็นภายในชัดเจนขึ้น และนำไปสู่การทำหัตถการอื่นๆ เช่น ป้ายเก็บเซลล์ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ขูดมดลูก ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เป็นต้น

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมการตรวจทางสูติศาสตร์ (Obstetrics) คือในกรณีหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งกรณีนี้การตรวจภายในยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีก และหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย โดยเฉพาะภาวะใกล้คลอด หรือการติดตามระหว่างและหลังคลอด

โดยสรุปแล้ว ถ้าให้แพทย์เขียนถึงการตรวจภายใน การตรวจภายในก็ต้องสำคัญอยู่แล้ว ไม่ว่าจะพูดในมุมไหน ก็สำคัญ และแพทย์ก็ไม่ได้อยากตรวจพร่ำเพรื่ออยู่แล้ว (หลายท่านเข้าใจว่าแพทย์ผู้ชายช่างโชคดีที่ได้ตรวจภายในสตรี ต้องเรียนว่าไม่มีใครคิดเช่นนั้นดอก) หากแต่ในมุมของผู้ถูกตรวจแล้ว คงขอ say no และต้องพยายามหลีกเลี่ยงหรือแม้แต่ยืนกรานว่าจะไม่ตรวจ โดยเฉพาะในรายที่เป็นเด็กสาวหรือสาววัยรุ่น

เหตุผลสำคัญของความไม่สบายใจ เท่าที่มีโอกาสได้คุยกับเพื่อนผู้หญิง หรือแม้แต่ผู้ป่วยบางท่าน คือ “กลัวเจ็บ” เพราะสภาพการตรวจที่ต้องขึ้นเตียงนอนกางขาบนขาหยั่งในท่าขบนิ่ว (Litiotomy) พร้อมกับมีอะไรต่อมิอะไรที่ล้วงเข้ามาในช่องคลอด ทั้งนิ้วทั้งเหล็ก มันเป็นเรื่องที่เกินจินตนาการและสุดจะทานทน

อีกเหตุผลน่าจะเป็นการให้คุณค่ากับ “เยื่อพรหมจารี” ที่เป็นตัวบ่งบอกความบริสุทธิ์ การตรวจภายในอาจทำให้เยื่อพรหมจารีขาด ทำให้เลือดออก เป็นการทำลายคุณค่าของผู้หญิง ซึ่งความรู้ที่พยายามบอกกล่าวกันก็คือ “เยื่อพรหมจารี” ไม่ใช่สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เพราะแค่วิ่งเล่นกีฬาผิดท่าผิดทาง เยื่อก็อาจขาดได้ แต่ปัญหานี้ แท้จริงแล้วไม่น่าใช่ปัญหาของผู้หญิง แต่เป็น “กระแสชาย” (Malestream) ที่กดทับและวัดค่าผู้หญิงต่างหาก เพราะในสายตาผู้ชาย ความบริสุทธิ์คือสิ่งหอมหวานที่เขาเหล่านั้นต้องแสวงหามาพิชิต

เหตุผลที่ซับซ้อนและสูงกว่านั้น อาจเป็นเรื่อง “อำนาจในตัวตน” ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ลองนึกภาพคนคนหนึ่งที่ถูกสั่งแก้ผ้า นอนถ่างขา ใช้เครื่องมือตรวจ ใช้นิ้วสอดเข้าไป เจ็บก็ต้องทน มันจะเหลือ “อำนาจต่อรอง” อะไรหรือไม่ (ดูตัวอย่างข่าว ‘3 สาวผู้ต้องหาคดีการเมือง เปิด 3 เรื่องเล่าละเมิดสิทธิฯ ระหว่างรอประกันในเรือนจำ’ )

การล่วงล้ำพื้นที่นี้อาจไม่ใช่แค่การตรวจภายใน ยังมีเรื่องของผ้าอนามัยแบบสอด ห่วงคุมกำเนิด และการเหน็บยาทางช่องคลอดอีก ผู้เขียนเชื่อว่าเหตุที่ผ้าอนามัยแบบสอด และการใช้ห่วงคุมกำเนิด ได้รับความนิยมน้อยมาก จนแทบไม่มีใครใช้แล้ว ก็เพราะความรู้สึก “แปลกๆ” ในการล่วงล้ำพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองนั่นแล เช่นเดียวกันกับกรณียาเหน็บที่แพทย์สั่งให้ใช้ น่าจะสร้างความตะขิดตะขวงใจพอกัน จึงพบบ่อยว่าผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ด้วยอาการเดิม เพราะไม่ได้เหน็บยาตามสั่ง

ผู้เขียนขอเล่าถึงกรณีผู้ป่วยมุสลิมท่านหนึ่ง ซึ่งตรวจติดตามเรื่องมะเร็งปากมดลูกกับสูตินรีแพทย์ชายที่ รพ.แห่งหนึ่งมานานกว่า 10 ปี มีครั้งหนึ่งมาตรวจแล้วมีนักศึกษามาสังเกตการณ์อยู่ด้วยประมาณห้าคน แพทย์ท่านนั้นขอผู้ป่วยว่าระหว่างการตรวจภายใน จะขอให้นักศึกษาเรียนไปด้วย ผู้ป่วยไม่ยินดี โดยให้เหตุผลเรื่องศาสนา แพทย์จึงกล่าวค้านว่าทำไมถึงตรวจมาได้เป็นสิบปีไม่มีปัญหาอะไร ท้ายที่สุด ผู้ป่วยขอไม่รับการตรวจ แล้วจากไปด้วยความไม่พอใจ

ความรู้สึกแรกหลังทราบเรื่องนี้ ผู้เขียนคิดว่า “เรื่องแค่นี้” ทำไมต้องทำให้มากความ เพราะเจตนาคือการเรียนและการตรวจ ไม่ได้มีใครคิดอกุศลอะไร แต่ตอนนี้มานึกอีกที การที่เขาละทิ้งตัวตนยอมให้แพทย์ที่เป็นผู้ชายตรวจมาสิบปี ต้องยอมผ่อนปรนข้อปฏิบัติทางศาสนาด้วยความ “ไว้วางใจ” นั่นถือว่าเป็น “เรื่องใหญ่” ของเขามากมายแล้ว แต่ในครั้งนี้ที่เผอิญมีนักศึกษามาอยู่ด้วย เขาอาจทำใจรับได้ยากว่าต้องมี “ผู้ชมของสงวน” ของเขามาเพิ่มอีกหลายคน แถมเป็นหน้าใหม่ที่ดูใฝ่เรียนรู้เสียเหลือเกิน

ท้ายที่สุด เรื่องนี้คงไม่มีทางออกอะไรนอกจากการทำความเข้าใจ... เพราะทางการแพทย์คงไม่อาจตัดความจำเป็นของการตรวจนี้ไปได้ อย่างไรก็ตาม หากแพทย์ตระหนักและเข้าใจว่ามันมี “ตัวตน” บางอย่างที่เขายึดถืออยู่ และมันไม่ใช่แค่ “รู” แพทย์ก็อาจจะอยากเพิ่มเวลาอธิบายความ อธิบายขั้นตอน อธิบายความจำเป็น และปฏิบัติด้วยความสุภาพ... ซึ่งอะไรอะไรอาจจะดีขึ้นและง่ายขึ้นก็เป็นได้


มดลูก การมีลูก และประจำเดือน : การมีอยู่ของความเป็นหญิง

ในสายตาผู้เขียน คิดว่าสิ่งที่แตกต่างกันในเชิงหน้าที่ (Function) ระหว่างเพศสรีระแบบชายและแบบหญิง (Male sex VS Female sex) คือความสามารถในการตั้งครรภ์ (Pregnancy) เป็นการจำแนกเพศทางชีววิทยาที่ดูง่ายที่สุด และเมื่อมองที่การตั้งครรภ์ เราก็จะแยกด้วยอวัยวะที่ช่วยทำให้ตั้งครรภ์ได้ นั่นคืออวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานผู้หญิง คือ มดลูก (Uterus) ซึ่งเป็นที่ฝังตัวของเซลล์ผลผลิตจากการปฏิสนธิ (ผสมพันธุ์) ที่จะพัฒนาไปเป็นทารกต่อไป

การมีมดลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญของความเป็นหญิง ผู้หญิงหลายคนอาจไม่ได้สังเกตความสำคัญนี้ จนกระทั่งมีเหตุให้ต้องตัดมดลูกทิ้ง ในทางการแพทย์ มีเหตุจำเป็นมากมายที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการตัดมดลูก เช่น มดลูกฉีกขาดระหว่างการคลอดและควบคุมการเสียเลือดไม่ได้ มะเร็ง ก้อนเนื้องอก ภาวะหลังการตัดมดลูก ในทางการแพทย์จะเรียกว่า Surgical menopause คือภาวะวัยทองที่มาจากการผ่าตัด (ไม่ใช่วัยทองเพราะแก่) ผลที่ตามมาก็คือการไม่มีประจำเดือน มีลูกไม่ได้ ขาดฮอร์โมนเพศที่จำเป็น และมีอาการเหมือนคนวัยทองทุกประการ

แต่หากมองการตัดมดลูกในมุมของ “ความเป็นหญิง” เท่าที่ได้ลองคุยกับผู้ป่วยจะเห็นความแตกต่างใน 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือในกลุ่มผู้ป่วยอายุมาก หรืออายุที่ใกล้หมดประจำเดือนตามธรรมชาติ และผู้หญิงที่มีลูกแล้ว การตัดมดลูกจะถูกมองในฐานะ “การรักษาที่จำเป็น” มากกว่า กล่าวคือความรู้สึกจะเป็น “ช่างมัน ตัดไปเถอะ” ขณะที่อีกกลุ่มคือกลุ่มผู้หญิงที่ไม่มีลูก อายุยังน้อย ประจำเดือนยังไม่หมดง่ายๆ หรือเรียกว่า “ยังสาว” การตัดมดลูกจะสร้างความกังวลมากมาย เพราะเป็นการตัดคุณสมบัติการตั้งครรภ์และการมีลูกออกไปจากชีวิตอย่างถาวร (ไม่นับการตั้งครรภ์หรือมีลูกด้วยเทคนิคอื่น) 

นอกจากนี้ยังมีการตัดมดลูกเพื่อการบำบัดรักษาอีกลักษณะหนึ่ง คือการตัดมดลูกในผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะปัญญาอ่อนหรือมีความบกพร่องด้านสติปัญญา (Mental retardation) ทั้งนี้ก็ด้วย “ตัดไฟแต่ต้นลม” ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในอนาคต

เมื่อพูดถึง “ประจำเดือน” ก็สำคัญไม่แพ้การมีลูก ผู้หญิงบางส่วนเห็นการมีประจำเดือนเป็นสิ่งยืนยันว่ายังเป็น “ผู้หญิงปกติ” การขาดประจำเดือน(ที่ไม่ใช่ท้อง) สร้างความเครียดให้ผู้หญิงหลายคน ผู้หญิงบางคนที่มีประจำเดือนไม่ได้หรือนานๆ ทีจะมี ก็จะเครียดว่านี่คือ “ความไม่สมบูรณ์”

สิ่งที่เห็นได้ชัดเวลาผู้หญิงเลือกวิธีคุมกำเนิด ในความคิดแบบผู้ชาย มักคิดว่าทำไมไม่เลือกยาคุมชนิดที่ประจำเดือนมันหายไปเลย จะได้ไม่ต้องมาคอยเปลี่ยนผ้าอนามัยหรือปวดประจำเดือน แต่ในมุมของผู้หญิงมักเลือกการคุมกำเนิดที่ทำให้ประจำเดือนมาปกติ คำตอบที่ได้รับคือ มันรู้สึกแปลกๆ เวลาไม่มีประจำเดือน

กลับมาที่ประเด็น “การมีลูก” เชื่อว่าผู้อ่านส่วนใหญ่คงเคยสัมผัสกับชีวิตผู้หญิงที่ทุกข์จาก “การไม่มีลูก” หรือ “มีลูกยาก” แม่ของผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในนั้น หลังจากแต่งงานมาห้าปี ก็ไม่มีลูก พยายามแล้วพยายามอีก ปรึกษาแพทย์และใช้เทคโนโลยีช่วยจนเจ็บตัวหลายครั้งสุดท้ายก็ไม่มีลูก เป็นทุกข์และหมดหวังคิดว่าจะไปรับเด็กมาอุปถัมภ์ สุดท้ายผู้เขียนก็โผล่ชิงอะไรหลายอย่างมาเกิด

ความสามารถเรื่องการมีลูกเป็นความสามารถที่สำคัญมาก หน่วยดูแลผู้มีบุตรยากหรือ Infertility center จึงเป็นหน่วยที่ “ขายดี” แม้เทคโนโลยีการช่วยตั้งครรภ์จะแพงแสนแพง แต่การมีลูกก็เป็นอะไรหลายๆ อย่างของชีวิตคู่ เมื่อความสามารถในการมีลูกหายไป ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องดิ้นรนทดแทน นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงวิธีนอกวิทยาศาสตร์ด้วย เช่น ขอลูกเจ้าพ่อ ถ้าคิดเลยไปอีกก็จะเห็นความพยายามที่หลากหลายมากในการชดเชยความสามารถนี้

ความสามารถในการมีลูก ในแง่หนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรักและครอบครัวที่ “สมบูรณ์” คู่รักที่ไม่ใช่ชายหญิงทั่วไป จึงต้องพยายามหาทางมีลูกผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น การอุ้มบุญ ดังกรณีน้องคาร์เมน หรือการรับอุปถัมภ์ นอกจากนี้ความสามารถในการมีลูกก็ยังเป็นสัญลักษณ์ “หญิงแท้” ผู้เขียนจึงได้ยินคำพูดติดตลก (แต่ไม่ตลก) ตั้งแต่ยังเด็กว่า “กะเทยยังไงก็ไม่เหมือนผู้หญิง เพราะไม่มีมดลูก มีลูกไม่ได้” ในบางวงสนทนายังมีการพูดเลยไปถึงการขอยืม “มดลูก” จากทอมมาให้กะเทยในกลุ่มที่อยากเป็นผู้หญิง

แล้วแพทย์มาละเมิดเรื่อง “การมีลูก” “มดลูก” และ “ประจำเดือน” ของผู้หญิงได้อย่างไรบ้าง ?

เท่าที่ผู้เขียนมองเห็น ในประเด็น “การมีลูก” แพทย์จะเข้ามายุ่มย่ามได้ในกรณีการทำแท้ง (Abortion) ที่อาจจำเป็นต้องทำเพื่อความปลอดภัยของแม่ ในกรณีการตั้งครรภ์ที่มีปัญหา การที่เขามีลูกแล้ว แพทย์ต้องแจ้งว่าควรจะต้องทำแท้ง เป็นเรื่องที่ “ดรามา” ของแพทย์มากๆ และเป็นการทำร้ายจิตใจครั้งยิ่งใหญ่ต่อผู้หญิงคนนั้น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับเรื่อง “ความสามารถในการมีลูก” ที่แพทย์จะยุ่งกับเรื่องนี้ได้ในกรณีการตัดมดลูกดังที่กล่าวข้างต้น

ส่วนเรื่องประจำเดือน สัมพันธ์กับเรื่องเทคนิคการคุมกำเนิดดังอธิบาย และแพทย์อาจต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งพอสมควรว่าประจำเดือน (ที่ในทางการแพทย์เป็นเพียงการลอกตัวของมดลูก) มีค่ามากกว่า “เลือด” ที่ไหลตามวาระของเดือนเท่านั้น


เต้านม น้ำนม : ความสำคัญที่มากกว่าเรื่องขนาด

เมื่อพูดถึง “นม” หรือ “หน้าอก” (Breast) ผู้หญิงและผู้ชายอาจสนใจในประเด็นเดียวกัน ว่าความสำคัญน่าจะเป็นเรื่องสัญลักษณ์ทางเพศ และอาจเลยไปถึงเรื่องขนาด หากเข้าใจผิดไปก็ขออภัย แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้น และผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญคือเรื่องของ “การมีนม/ไม่มีนม” ซึ่งเรื่องการมี-ไม่มีนมนั้น จะว่าไปก็ตีความได้ 2 อย่าง หนึ่ง คือไม่มีเต้านม สองคือไม่มีน้ำนม

ปัญหาการไม่มีเต้านมที่เกิดจากการแพทย์ (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับขนาดหน้าอกเล็ก) คือการผ่าตัดเต้านมอันเนื่องมาจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งคือโรคมะเร็งเต้านม โดยการรักษามะเร็งเต้านมในบางระยะ จะมีการรักษาอยู่ลักษณะหนึ่งคือการตัดเต้านมทิ้ง อาจร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองด้วย การตัดเต้านมมีหลายเทคนิค เช่น ตัดทั้งหมด ตัดแบบเหลือไว้ ตัดหนึ่งข้าง ตัดสองข้าง ตัดแล้วเอาเนื้อตรงข้างรักแร้มาใส่ให้เต็ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการตกลงกับผู้ป่วย

หากถามว่าผู้ป่วยจะเลือกแบบไหน ก็คงไม่มีใครอยากให้ตัดเต้านม คงอยากให้ตรวจให้แน่ใจ ให้เคมีบำบัด (Chemotherapy) ให้ยากิน หรือทำอย่างอื่นที่ดีกว่าตัดเต้านมก่อนได้หรือไม่ แต่เมื่อมาถึงจุดที่ต้องตัด หากตัดสินใจได้ก็จะตัดแค่บางส่วน ถ้าต้องตัดทั้งหมด ก็อยากจะขอให้มีการเติมเนื้อเต้านมด้วย ความต้องการจะเปลี่ยนไปตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อคงสภาพไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด

แนวคิดเกี่ยวกับการตัดเต้านม เท่าที่ได้ลองพูดคุย ก็จะมีความแตกต่างตามช่วงวัยเช่นเดียวกับการตัดมดลูก ถ้าเป็นวัยที่อาวุโสหน่อย ก็จะทำใจบอกให้ตัดเลย รักษาชีวิตมากกว่า ไม่ค่อยได้สนใจว่ามันจะสวยหรือไม่หรือต้องเติมเนื้อหรือไม่ ตัวอย่างที่ใกล้ตัวก็คือยายของผู้เขียนเอง ที่ต้องตัดเต้านมตอนอายุ 84 ปี ยายบอกว่าตัดไปเถอะ ไม่ได้ทำอะไรแล้ว ในทางตรงกันข้าม เมื่อเป็นวัยที่เป็นวัยที่ยังต้องแต่งตัวออกสังคม ปัญหาที่ผู้หญิงกังวลก็มีทั้งนอกร่มผ้าและในร่มผ้า นอกร่มผ้าคือกลัวใส่เสื้อผ้าไม่สวย คนจะมองได้ว่าเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน ส่วนในร่มผ้าคือสูญเสียความสมบูรณ์ในร่างกายไป ผู้ป่วยท่านหนึ่งใช้คำว่า “เหมือนพิการ” ผู้เขียนยังมีความสงสัยอีกเรื่องหนึ่งว่าผู้หญิงที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วหรือยังไม่ได้แต่งงาน จะกังวลเรื่องเต้านมที่หายไปโดยอิงกับความรู้สึกของผู้ชายแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งคำถามนี้ขอยอมรับว่าไม่กล้าถาม

ช่วงที่ผู้เขียนเรียนในแผนกศัลยกรรม และได้ออกตรวจผู้ป่วยนอกร่วมกับอาจารย์ ในช่วงเตรียมการผ่าตัด จะคุ้นเคยกับการเจรจาเรื่อง “เต้านม” ดังที่กล่าวเมื่อครู่นี้ และเหมือนจะเห็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่าแพทย์ที่เป็นผู้หญิงจะคุยเรื่องนี้ได้ดี และดูเข้าอกเข้าใจผู้ป่วยมากกว่า แม้ปลายทางเป็นการ “ตัดนม” เหมือนกันก็ตาม

มาถึงเรื่องการ “มี-ไม่มีนม” ในแง่ของ “น้ำนม” กันบ้าง ผู้หญิงส่วนใหญ่มอง “น้ำนม” และ “การให้นม” คือภาวะของความเป็นแม่ แม้ไม่ใช่แม่จริง แต่ใครให้นมก็ถือว่า “มีความเป็นแม่” เช่น แม่นม และถือว่าน้ำนมมีคุณค่าในการหล่อเลี้ยงชีวิตคน เช่น เพลงค่าน้ำนม

หากจะพูดถึงการถกเถียงคลาสสิกของวงการการเลี้ยงลูก ต้องมีเรื่องของ “นมแม่” และ “นมกระป๋อง” มาแรงแซงทางโค้งเสมอ ในช่วงที่การรณรงค์ให้กินนมแม่ถึงจุด “พีค” ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ทั้งหมดที่ยืนยันว่านมแม่ดีที่สุดจริง ก็มีปัญหาบางมุมที่ผู้หญิงบางคนที่ไม่มีนมให้ลูกกิน (น้ำนมไม่มี/น้ำนมไม่พอ/ให้นมไม่ได้/ติดเชื้อHIV) ได้ถูกสังคมบีบให้รู้สึกว่า “เป็นแม่ที่ไม่สมบูรณ์” จนมีอาจารย์หมออีกท่านหนึ่งออกมารณรงค์ในแง่ “นมกระป๋องก็ได้” ขอแค่ว่าให้ลูกได้กินนม

ผู้เขียนนึกย้อนไปในช่วงที่ผู้เขียนดูแลผู้ป่วยหลังคลอด ความเครียดที่สำคัญอย่างหนึ่งของคุณแม่มือใหม่ คือการไม่มีนมให้ลูกกิน น้ำนมไม่ไหล กลัวลูกจะอด รู้สึกไม่สบายใจ ผู้เขียนรู้สึกได้ว่าคุณแม่เหล่านั้นเครียดจริงๆ และผิดหวังมากขึ้นเมื่อผู้เขียนช่วยแก้ปัญหาให้ไม่ได้ เช่น แนะนำให้เอาลูกเข้าเต้าบ่อยๆ ให้ยากระตุ้นน้ำนม แล้วผลสุดท้ายคือวันรุ่งขึ้นน้ำนมยังไหลไม่ดี นี่คือศาสตร์และศิลป์ของแพทย์เลย ที่ต้องคิดว่าจะช่วยทำให้คุณแม่หลังคลอดผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างไร

ดังที่กล่าวมา เรื่องเต้านมจึงไม่ใช่แค่เรื่อง “นมเล็ก-นมใหญ่” การตัดเต้านมเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ป่วยปวดร้าวไม่น้อยไปกว่าการตัดมดลูก เรื่องการไม่มีน้ำนมก็ไม่ใช่เรื่องเล็กที่แพทย์บอกแค่ว่ารอไปแล้วจะดีเอง เต้านมมีความสำคัญต่อผู้หญิงทั้งในเชิงสัญลักษณ์ เชิงความสมบูรณ์ ตลอดจนการทำหน้าที่ของความเป็นผู้หญิง


บทส่งท้าย(แต่ไม่สรุป)

หากมองในมุมของแพทย์ และแพทย์เป็นผู้อ่านบทความนี้ คำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจ หลังอ่านจบทั้งบทความ หรืออ่านจบในแต่ละช่วง ก็อาจจะเป็นคำถามที่ว่า “แล้วจะให้ทำยังไง(วะ)?” นั่นสิครับ ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่เมื่อถามตัวเองว่ารู้สึกอะไรหรืออยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรหลังจากได้มองผู้หญิงให้ถี่ถ้วนขึ้น และได้เรียบเรียงความคิดผ่าน

บทความนี้ ผู้เขียนคิดว่าสายตาที่ผู้เขียนมองผู้ป่วยหญิงจะเปลี่ยนไป น่าจะเข้าอกเข้าใจผู้หญิงมากขึ้น... ส่วนเรื่องการ “ละเมิด” พื้นที่ส่วนตัวหรือตัวตนของผู้หญิง ผู้เขียนคิดว่าคงเปลี่ยนอะไรไม่ได้ในเชิงกายภาพ วิธีตรวจ ขั้นตอนการตรวจ แนวทางการรักษา ที่มันอาจกระทบกับ “ช่องคลอด” “มดลูก” “เต้านม” เพราะมันต้องเป็นไปตามมาตรฐานการแพทย์แบบเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงน่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงการละเมิดทางจิตใจ มิเช่นนั้นแล้ว การตรวจทางการแพทย์จะต่างอะไรจากการ “ข่มขืน”



หมายเหตุผู้เขียน 

ผู้เขียนตั้งใจเขียนบทความนี้ลงหนังสือรวบรวมผลงานของ Summer School in Women, Gender & Sexuality Studies ของหลักสูตรสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลบางประการ บทความนี้ไม่ได้ลงเผยแพร่ในหนังสือตามที่ตั้งใจไว้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เป็นการเสียเปล่า (แก่ผู้เขียน) และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จึงขอนำมาลงเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้

บทความนี้ใช้องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียนจาก Summer School มา ‘turn the table’ ความรู้ที่ผู้เขียนคุ้นเคยและใช้ในการประกอบอาชีพ เสมือนเป็นการสนทนาปะทะสังสรรค์ระหว่างศาสตร์ที่ผู้เขียนเรียนมาแต่เดิมกับองค์ความรู้ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ใหม่ ผู้เขียนขอเรียนว่าบทความนี้เป็นเพียง “ปัจเจกทรรศนะ” และผู้เขียนขอน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์อันจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ด้วยใจคารวะ

(9 มิถุนายน 2559)

 

เกี่ยวกับผู้เขียน:  ธนาคาร สาระคำ เป็นอดีตนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ปัจจุบัน เป็นแพทย์ประจำ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์


 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

$
0
0

“บรรยากาศตอนนี้คือความมืดดำ ไม่รู้อะไรเลย ซึ่งจะมีผลต่อความชอบธรรมและความยั่งยืนของร่างรัฐธรรมนูญนี้ การทำประชามติที่ดีคือ ต้องเป็นธรรม รู้ว่าทางเลือกมีอะไรบ้าง ต้องมีเสรีภาพ ประธาน กกต.อาจทำให้เกิดเสรีภาพในคูหาได้ แต่กระบวนการก่อนลงประชามติประชาชนจะมีสิทธิพูดได้มากแค่ไหน หากจะให้เป็นประชามติที่สมบูรณ์ต้องให้สองข้างแสดงความเห็นตามสมควร”

กล่าวถึงกระบวนการประชามติ
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live