Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live

กองทัพแมงอีนูนกัดกินใบยอ-ใบปีบเกลี้ยงต้น-ชาวสุรินทร์จับทอดกรอบ

$
0
0

ฝูงแมงอีนูนกัดกินใบยอ-ใบปีบจนเกลี้ยง ชาวบ้านศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ พลิกวิกฤตเอาตาข่าย-ถังพลาสติกดักจับแล้วตั้งกระทะนำแมงอีนูนไปทอดน้ำมันพืช ใส่เกลือนิดหน่อย

ช่วงค่ำวันที่ 9 มิถุนายน 2559 เวลา 19.30 น.ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านยางหมู่  1 ต.ยาง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ว่ามีแมงอีนูนหลายพันตัว บินออกมาหากัดกินใบปีบหรือใบกาสลองและใบยอเป็นจำนวนมาก และมีชาวบ้านช่วยกันจับนำมาประกอบอาหารทอดกรอบ กับน้ำมันพืช และเครื่องปรุงรสชาติ อร่อย อาหารตามฤดูกาล หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง

เมื่อผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านยาง ไปที่บ้านของคุณยายหอม พบว่าลูกหลานของคุณยายหอม ได้ออกไปจับแมลงอีนูนที่มากินใบไม้ของต้นปีบ หรือกาสลอง ใกล้ๆ บ้านยายหอม นอกจากนี้ยังกัดกินใบที่ปลูกไว้ในบ้าน หลังจากนั้นก็บินไปหลบซ่อนตัวที่อื่น พอค่ำมืดวันถัดมา ก็จะพากันมากินใบปีบอีกจนใบไม้หมดต้น

ชาวบ้านจึงพลิกวิกฤตเป็นโอกาส โดยนายเอือม  รัมพณีนิล อายุ 61 ปี ครูนิภาศรี  ศิริมาก อายุ 50 ปี อรพิไล  รัมพณีนิล อายุ 35 ปี คุณรุจิรา รัมพณีนิล อายุ 37 ปี เด็กหญิงณัฎฐากร แย้มสงค์ และประโยชน์ รัมพณีนิล อายุ 60 ปี พากันนำอุปกรณ์จับแมลง มี ไฟฉาย ตาข่ายพลาสติกที่ใช้จับปลา ถังพลาสติกใส่น้ำ ไปจับแมลงจีนูนที่ต้นปีบซึ่งกำลังมากินใบปีบกันเป็นจำนวนมาก ใช้เวลาในการจับประมาณ 20นาที ก็จะได้แมลงจีนูนครึ่งถังพลาสติก  แล้วนำมาแช่น้ำไว้หนึ่งคืนเพื่อให้มันปล่อยของเสียออกหลังจากนั้นก็นำมาทอดกับน้ำมันพืชใส่เกลือนิดหน่อย เติมด้วยเครื่องปรุงรสชาตินิดหนึ่งก็จะได้เมนูที่อร่อยที่สุด ทอดกรอบแมงจีนูน หรือจะนำไปตำน้ำพริกแมลงจีนูนก็ได้รสชาติเอร็ดอร่อย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นิติศาสตร์สากล'ขอทหารไทยถอนแจ้งความ 3 นักสิทธิหลังฟ้องปมรายงานซ้อมทรมาน

$
0
0

10 มิ.ย.2559 จากกรณีเมื่อ 17 พ.ค. ที่ผ่ามมา กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าได้แจ้งความดำเนินคดีกับ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ สมชาย หอมลออ และอัญชนา หีมมีนะ ที่สภ.เมืองยะลา ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสารและความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 จากที่ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ องค์กรเครือข่ายนุษยชนปาตานี เก็บข้อมูลและเรียบเรียงและได้เผยแพร่ ‘รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557 – 2558’ นั้น

วานนี้ (9 มิ.ย.59) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลหรือไอซีเจ (International Commission of Jurists) ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า ทางการทหารไทยต้องถอนแจ้งความร้องทุกข์คดีหมิ่นประมาททางอาญาที่มิชอบต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแถวหน้าสามรายที่หยิบยกประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานที่เกิดขึ้นในชายแดนใต้ที่ไม่สงบโดยทันที

แซม ซารีฟี่ (Sam Zarifi) ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคไอซีเจ ประจำเอเชีย กล่าวว่า “ช่างเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่รัฐบาลไทยแจ้งความร้องทุกข์คดีอาญาดังกล่าวในช่วงเวลาที่ประเทศไทยเพิ่งจะได้ให้สัญญาไปว่าจะมีการออกกฎหมายฉบับสำคัญเรื่องการต่อต้านการทรมาน อีกทั้งเพิ่งจะได้ย้ำจุดยืนโดยเปิดเผยถึงความยึดมั่นที่จะคุ้มครองบรรดานักปกป้องสิทธิมนุษยชน”
 
“ทางการทหารไทยต้องถอนแจ้งความร้องทุกข์คดีในทันทีและแทนที่ การกระทำดังกล่าวด้วยการประกันว่าจะมีการสอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานและการประติบัติอย่างทารุณ ทุกกรณีทันทีและอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีกฎหมายระหว่างประเทศของประเทศไทย”  ผอ.สนง.ภูมิภาคไอซีเจ ประจำเอเชีย เรียกร้อง 
 
สำหรับกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา องค์กรของประเทศไทยสามแห่ง  ได้แก่ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, กลุ่มด้วยใจ และเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปัตตานี ได้ออกรายงานซึ่งรวบรวม 54 คดี ที่มีข้อกล่าวหาเรื่อง การทรมานและการประติบัติอย่างทารุณในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ต่อมา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 59 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 (กอ.รมน.) ซึ่งรับผิดชอบเรื่องการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ตอบกลับการออกรายงานฉบับดังกล่าวด้วยการแจ้งความหมิ่นประมาททางอาญาเเละการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ต่อบรรณาธิการร่วม 3 ราย ดังกล่าว

โดย ความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท (5,600 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนความผิดตามมาตรา 14 (1) แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (2,800 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ

ตั้งแต่พ.ศ. 2547  นับเป็นครั้งที่สองแล้วที่ทางการทหารไทยได้ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททางอาญาเอาผิดกับ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติและสมชาย หอมลออ สืบเนื่องมาจากการหยิบยกประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นอกจากนี้ นายแซมฯยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทางการทหารไทยควรจะได้พิจารณาคำพิพากษาล่าสุดในคดีภูเก็ตหวานของศาลจังหวัดภูเก็ตที่วางหลักการว่าพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะครอบคลุมไปถึงข้อกล่าวหาเรื่องการหมิ่นประมาทด้วย”

วันที่ 1 ก.ย. 58 ศาลจังหวัดภูเก็ตได้ยกฟ้องคดีที่นักข่าวสองรายถูกฟ้องหมิ่นประมาททางอาญาเเละกระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ภายหลังที่กองทัพเรือได้ยื่นฟ้องว่านักข่าวได้ทำการหมิ่นประมาทเมื่อวันที่ 17 ก.ค.56 โดยเกี่ยวโยงกับการที่นักข่าวได้พิมพ์ซ้ำย่อหน้าหนึ่งจากบทความของสำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ซึ่งเป็นบทความที่ชนะรางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer) โดยมีเนื้อความกล่าวหาว่า  “กองกำลังทางน้ำของประเทศไทย (Thai naval forces)” ได้สมรู้ร่วมคิดในการค้ามนุษย์

การใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาที่ระวางโทษจำคุกต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยมีเหตุมาจากการรายงานเรื่องข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นผลให้ประเทศไทยละเมิดพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี

นอกจากนี้ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) ได้วางหลักการว่า “บุคคลทุกคนล้วนทรงสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะเป็นอย่างเอกเทศหรือที่จะเกี่ยวข้องกับผู้อื่น อาทิ พิมพ์, ติดต่อสื่อสาร หรือเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับมุมมองอื่น ๆ ข้อมูลและองค์ความรู้ในเรื่องสิทธิมนุษยชนเเละเสรีภาพพื้นฐานทุกประการ”

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 58 ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับอีก 127 รัฐ ณ สมัชชาแห่งสหประชาชาติ (UN General Assembly) เพื่อรับเอาข้อมติเเห่งสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (UN Resolution on human rights defenders) ข้อมติดังกล่าวได้เรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ งดเว้นจากการข่มขู่หรือการโต้กลับต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

เมื่อเดือนที่เเล้ว ระหว่างกระบวนการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review) ประเทศไทยได้แจ้งต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council) ว่าคณะรัฐมนตรีกำลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย  ต่อมามีรายงานว่าทางคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าวในวันที่ 24 พ.ค.59

ภายหลังการสรุปการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าว ประเทศไทยยังได้รับเอาข้อเสนอเเนะบางประการว่าจะคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเเละสอบสวนกรณีที่ได้มีการรายงานประเด็นการข่มขู่ การคุกคาม เเละการโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ สิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพจากการถูกทรมานเเละการประติบัติที่ทารุณอื่น ๆ รวมถึงการที่เรื่องร้องเรียนจักได้รับการสวบสวนโดยทันที โดยครบถ้วนเเละเป็นกลาง ได้รับการประกันโดยสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐภาคี รวมถึง อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาทั้งสองฉบับที่จะดำเนินการสอบสวน หากปรากฏว่ามีข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานเเละการประติบัติที่ทารุณ รวมถึงการนำผู้รับผิดชอบการกระทำความผิดเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมผ่านกระบวนการทางอาญาที่เป็นธรรม

เมื่อเดือน พ.ค.57 ประเทศไทยถูกวิจารณ์ประเด็นเรื่องความล้มเหลวที่จะเคารพซึ่งสิทธิดังกล่าว  ในการนี้คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (United Nations Committee Against Torture) ได้แสดงข้อห่วงใยว่า “ปรากฏว่ามีข้อกล่าวหาจำนวนมากเเละมีเนื้อความที่ขัดเเย้งในเรื่องการกระทำความผิดร้ายเเรงเรื่องการโต้กลับเเละข่มขู่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน, นักข่าว, ผู้นำชุมชนเเละญาติ รวมถึงการทำร้ายด้วยการใช้วาจาเเละทำร้ายร่างกาย  การบังคับบุคคลให้สูญหายเเละการสังหารนอกระบบยุติธรรม รวมทั้งขาดข้อมูลในการสอบสวนข้อกล่าวหาต่างๆ’’

คณะกรรมการฯได้เสนอเเนะให้ประเทศไทย “ควรจะใช้มาตรการที่จำเป็นต่าง ๆ ในการ (ก) หยุดการคุกคามเเละโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าวเเละผู้นำชุมชนทันที และ (ข) ดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นระบบ หากมีรายงานเรื่องเหตุการณ์ของการข่มขู่ การคุกคามเเละการโจมตี โดยมีแนวคิดที่จะนำผู้กระทำผิดเข้ามารับโทษเเละรับรองว่าจะมีการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพให้แก่เหยื่อเเละครอบครัว”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รับคำร้องโอนคดีแรงงานทาสบนเรือประมงที่ระนอง-ไปศาลอาญา แผนกคดีค้ามนุษย์

$
0
0

ศาลจังหวัดระนองรับคำร้องทนายความผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ คดีลูกเรือประมงแรงงานข้ามชาติ 2 ลำ ร้องเรียนถูกบังคับใช้แรงงาน โดยศาลจังหวัดระนองมีคำสั่งโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลอาญา แผนกคดีค้ามนุษย์

9 มิ.ย. 2559 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559 ศาลจังหวัดระนอง ได้กำหนดนัดตรวจพยานหลักฐาน  ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเรืองชัย ผิวงาม กับพวกรวม 3 คน เป็นจำเลย ในข้อหาร่วมกันค้ามนุษย์และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (อ่านรายละเอียด)ในวันเดียวกันนี้ทนายความผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้  ได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 26 [1] เพื่ออนุญาตให้มีการโอนคดีดังกล่าวไปอยู่ในการพิจารณาของศาลอาญาแผนกคดีค้ามนุษย์  โดยเห็นว่า

1. ในระหว่างการดำเนินคดีผู้เสียหายและพยานบางส่วนถูกข่มขู่ คุกคาม ทำให้เกิดความหวาดกลัว
2. จำเลยบางส่วนในคดีนี้ถูกดำเนินคดีค้ามนุษย์มาก่อน  จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีลดน้อยถอยลง  หรืออาจมีการขัดขวางการพิจารณาคดี
3. คดีเป็นที่น่าสนใจของประชาชนและมีองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในและระหว่างประเทศติดตามสังเกตการณ์คดีมาโดยตลอด

หลังจากที่ทนายความโจทก์ร่วม  ได้ยื่นคำร้องแล้ว ทนายความฝ่ายจำเลยได้แถลงคัดค้าน และศาลได้ให้ทนายความฝ่ายจำเลยทำคำแถลงเพื่อคัดค้านภายใน 15 วัน และกำหนดนัดฟังคำสั่ง วันที่ 16 สิงหาคม 2559

สำหรับที่มาของคดี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการกำกับการของผู้บังคับการภูธรจังหวัดระนอง ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจทหารราบที่ 25 กองกำลังเทพสตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันเข้าตรวจเรือประมงและตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของลูกเรือประมงชาวกัมพูชาบนเรือประมงจำนวน 3 ลำ ที่ได้ออกไปทำการประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียและได้เข้ามาจอดเทียบท่าเรือเอกชน พื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีเรือ 2 ใน 3 ลำ มีการบังคับใช้แรงงาน ได้แก่

1. เรือ ก.นาวามงคลชัย 8  ซึ่งศาลจังหวัดระนองได้รับฟ้องกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายบรรจบ แก่นแก้ว และนายสมชาย เจตนาพรสำราญ เป็นจำเลย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 เป็นเลขคดีดำที่ คม.1/2559 และ คดีดำที่ คม 3/2559 ตามลำดับ ในข้อหาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และตามประมวลกฎหมายอาญา โดยมีลูกเรือประมงชาวกัมพูชา จำนวน 4 คน เป็นผู้เสียหาย และ

2. เรือ ก.นาวามงคลชัย 1 ซึ่ง ศาลจังหวัดระนองได้รับฟ้องกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเรืองชัย ผิวงามและนายสมชาย เจตนาพรสำราญ เป็นจำเลย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 เป็นคดีดำ ที่ คม2/2559 และ คดีดำที่ คม4/2559  ซึ่งหลังจากที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจและช่วยเหลือลูกเรือประมงโดยดำเนินกระบวนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในเรือประมง ก.นาวามงคลชัย 1 ได้จำนวน 11 คน และมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การดูแลผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทั้งหมด โดยก่อนฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการจังหวัดระนองได้ยื่นคำร้องขอสืบพยานล่วงหน้า ซึ่งมีแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 11 ราย ขึ้นเบิกความเป็นพยาน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์'ร่วมวงเสวนาอีสานใหม่ แนะ 3 ปัจจัยสร้างอำนาจต่อรอง

$
0
0

10 มิ.ย. 2559 เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ รองประธานอนุกรรมการด้านที่ดินและป่า ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวในงานเสวนา "ป่าไม้ที่ดิน สิทธิที่หายไป"ซึ่งจัดโดยขบวนการอีสานใหม่ และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ที่ชุมชนบ่อแก้ว ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Walk for rights ขบวนเดินเพื่อสิทธิชีวิตคนอีสาน ซึ่งวันนี้หยุดเดิน 1 วัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยเพิ่มศักดิ์เสนอว่า การสร้างอำนาจต่อรองจะสำเร็จได้ต้องมีมวลชนมากพอ ต่อสู้ด้วยข้อมูล และมีแนวร่วมที่มีประสิทธิภาพ

รายละเอียดมีดังนี้

ผมดีใจนะครับที่ได้มาคุยกับพี่น้องที่คอนสาร แล้วก็มีพี่น้องที่หลายพื้นที่ที่มาร่วมกัน แล้วก็ได้เจอเพื่อนเก่าหลายคน วันนี้ผมอาจจะพูดนอกกรอบมากหน่อย แล้วก็จะพูดแรงๆ นิดหนึ่ง ที่จะพูดแรงๆ เพราะคิดว่ามันมากพอแล้วกับประสบการณ์การทำงานกับชาวบ้านมา 30 กว่าปี จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยอยากมาเท่าไหร่ เพราะมาทีไรก็เจอกับความเศร้า และปัญหาเก่าๆ ของชาวบ้าน ผมอยากจะมาเจอชาวบ้านอยู่ดีกินดีมีสุขทั่วหน้ากัน มาคุยกันเรื่องเดินไปข้างหน้า ไม่ต้องมาคุยกันถึงเรื่องปัญหา 20-30 ปี ผมอยากจะเห็นอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้าง เวลามาเจอเรื่องเก่าๆ แล้วใจมันไม่ค่อยดี

เรื่องปัญหาชาวบ้านที่ว่ามีการตั้งกรรมการแก้ไขปัญหากันมาตั้งแต่สมัยบิ๊กจิ๋ว ผมก็เป็นกรรมการทุกชุด เป็นร้อยๆ ชุด จนมีความรู้สึกว่า เรากลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการถ่วงการแก้ปัญหาของชาวบ้านตลอดเหมือนกัน แต่ไม่เป็นก็ไม่ได้ ไม่เป็นก็ไม่มีคนไปตะโกนโหวกเหวกเป็นปากเป็นเสียงให้อีก แต่รู้ว่านี่คือกับดัก นี่คือหลุมพรางหลุมใหญ่ ที่ออกมาไม่ได้เพราะว่าทุกคนตกไปในหลุมหมด

ผมเองจริงๆ แล้ววางมือเรื่องพวกนี้มาพักใหญ่ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเศร้าหมอง มันมองไม่เห็นทางชนะ มันมีแต่ถอย มันมีแต่แพ้ รุ่นพ่อตายไปก็มี เหลือรุ่นลูก ต่อมาก็รุ่นหลาน มันจะสู้กันไปอีกกี่ชั่วคน

แต่ที่มาวันนี้แล้วดีใจอย่างหนึ่ง แม้หลายคนจะชราไปมาก แต่ดูสายตาแล้วยังมีแววในการสู้ จิตวิญญาณเรายังมีอยู่ ผมเองถ้าจะฟันธง พูดถึงความไม่สามารถจะต่อสู้เอาชนะปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการใช้อำนาจรัฐต่อพี่น้องชาวบ้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพี่น้องทางอีสาน และพี่น้องทางเหนือ ที่ผมจะพูดคือเรื่องของการทบทวนประสบการณ์ทำงานของผมกว่า 30 ปี และการศึกษาเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน ผมฟันธงพูดประโยคเดียวได้เลยว่า เรายังเข้มแข็งไม่พอ เรายังสู้ไม่พอ

ผมเองตอนที่สู้เรื่องป่าชุมชน รวมกับไปต่อรองกับรัฐบาลสมัยนั้นคือ รัฐบาลทักษิณ มากันเป็นร้อยพอ แต่พอเข้าไปในทำเนียบเหลือผมอยู่คนเดียว คนนู้นก็ไม่ว่าง คนนี้ก็ไม่ว่าง คนในทำเนียบเขาก็ถามแล้วไหนล่ะมวลชนอยู่ไหน ก็แค่ได้คุยสัก 5 นาที ยื่นจดหมายร้องเรียนแล้วก็เลิก

บทเรียนครั้งนั้นมันทำให้รู้ว่า ถ้ามาเป็นหมื่น ก็มาคุยกันในทำเนียบ แต่ถ้ามาเป็นร้อยเป็นพัน ก็ได้คุยอยู่ที่ต้นมะขาม ถ้ามาเป็นสิบก็จะมีคนมารับเรื่องอยู่ที่ป้ายรถเมล์ แต่ถ้าไปคนเดียวก็อาจจะไม่มีคนมารับเรื่อง หรืออาจจะต้องส่งไปทางไปรษณีย์

ฉะนั้น ฟังธงได้เลยว่า ความเข้มแข็งของมวลชนคือจุดเปลี่ยน ผมศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวเรื่องที่ดินที่บราซิล (MST) ชัดเจนเลยว่า เขาสู้กันทั้งชุมชน สู้กันทั้งเครือข่ายชุมชนไม่ใช่ชุมชนเดียว ฉะนั้น การจัดตั้งความคิดเขาชัดเจนต่อเนื่องยาวนาน ไม่แพ้เหมาเจ๋อตุงจัดตั้งชาวนาขึ้นมาปฏิวัติ การจัดตั้งของเขาเพรียบพร้อมไปด้วยข้อมูล มันมีความไม่เป็นธรรมอย่างไร ใครที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้มันเกิดอย่างนี้ มันกระทบกับชาวบ้านอย่างไร เขาไม่ต้องมารอฟังนักวิชาการมาวิเคราะห์ปัญหาให้เขา แต่เขาทำวิจัยวิเคราะห์กันได้เอง ใครไปถามชาวบ้านเขาตอบได้หมดว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไร และความไม่เป็นธรรมที่เขาได้รับมันเชื่อมโยงกับอะไร เขาจัดตั้งขบวนจนชาวบ้านวิเคราะห์ได้ชัดเจน นี่คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาสามารถที่จะเปลี่ยนนโยบายรัฐบาล ทั้งนโยบายเรื่องที่ดิน และในหลายๆ เรื่อง นี่คือตัวอย่าง

ที่อินเดียก็เป็นอีกไม่กี่ประเทศในโลกแต่ว่าของเขาอาจจะไม่เหมือนของบ้านเรา อินเดียได้มรดกตกทอดทางความคิดทางจิตวิญญาณจากบิดาของเขา มหาตมะ คานธี คนอินเดียไม่กลัวติดคุก เพราะเวลาถูกจำคุกเขาไปกันหมด เข้าคุกก็เข้ากันหมด ถึงไม่จับก็อยู่มันตรงนั้นแหละ อยู่กับเหมือนอยู่ในคุก สู้ไม่ถอย ผมยังนึกอยากเห็นตอนที่คนคอนสารเข้าไปอยู่ในคุกทั้งหมด อันนี้ไม่ใช่เพื่อความสะใจนะ แต่ถ้าเราถูกจับเข้าไปอยู่ในคุกกันหมด มันจะเกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมพวกเราต้องเข้าไปอยู่ในคุก ถ้าเข้าไปแค่คนสองคนมันไม่มีคำถาม มันมีแต่คำประณามว่า พวกนี้มันบุกรุกป่า พวกนี้มันต่อต้านอำนาจรัฐ

ผมเชื่อว่านี่คือจุดเปลี่ยน ต้องทำขบวนให้ชัด ผมดูขบวนป่าชุมชน ขบวนรัฐธรรมนูญสีเขียวตั้งแต่ปี 2540 ค่อนข้างจะชัดเจนแล้วเรื่องได้เครื่องมือคือกฎหมายมา แต่ขบวนป่าชุมชนไม่ประสบความสำเร็จในเชิงนโยบาย เพราะว่าช่วงหลังๆ ไม่มีชุมชนออกมาเคลื่อนเลย มีแต่ฝ่ายวิชาการ และเอ็นจีโอไม่กี่คน

ต่อมาเครือข่ายที่ดิน แรกๆ ก็มีพลังในการต่อรอง แต่หลังๆ ก็ไม่ต่างจากขบวนการเดิมๆ หลังๆ ก็เริ่มเหมือนกันแล้วมีการตั้งคณะกรรมการเต็มไปหมด ไม่ใช่ตั้งน้อยๆ ตั้งมากกว่าเดิมอีก 13-14 ชุด แล้วก็ไม่มีอะไรคืบหน้า

ฉะนั้น 30 กว่าปี เราเรียนรู้อะไรได้มาก แต่ว่าการต่อสู้การเรียกร้องของเราทำไมไม่สามารถยกระดับขึ้นมาได้ เราสู้กันในปัจจุบันนี้ เราสู้เพื่อต่อรองอะไร เราอยากได้ที่สัก 1,500 ไร่ เราอยากจะทำรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน เราอยากจะทำเศรษฐกิจพอเพียง เราก็รับวาทกรรมของรัฐของนักวิชาการมาหมด แต่จริงแล้วปัญหามันคืออะไร เราฟันธงเรื่องของความไม่เป็นธรรมไม่ชัดเจน หรือบางอย่างชัดเจนแล้ว แต่เราก็ไม่ได้ต่อสู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างจริงๆ จังๆ

เรื่องป่าสงวน ที่เขียนแผนที่บนกระดาษบนห้องกันเป็นประเด็นหลักประเด็นแรกเลยที่รัฐปฏิเสธไม่ได้ว่าทำจริง เชื่อได้ว่าประเด็นนี้ประเด็นเดียวถ้าชุมชนทั่วประเทศลุกกันขึ้นมา บอกว่าตอนนี้ผมไม่ยอมแล้ว 50 กว่าปี ตั้งแต่ปี 2507 ที่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ นี่ปี 2559 แล้ว 52 ปีที่เราไม่ได้รับความเป็นธรรม รากฐาน รากเหง้า ก่อนจะมาเป็นสวนป่า ก่อนจะมาเป็นอุทยาน ก่อนจะมาเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มาจากตรงนี้

ถ้าประชาชนทั่วประเทศลุกขึ้นมาต่อสู้สักล้านคน แล้วบอกให้รัฐบาลกลับมาทบทวน และต้องมีกระบวนการที่มีส่วนร่วม เราต้องลุกกันขึ้นมาต่อสู้แบบนี้ แล้วก็ยึดแนวทางของมหาตมะ คานธี คือสู้อย่างสันติ ผมคิดว่ามันจะนำไปสู่การแก้ปมปัญหาในเชิงนโยบาย พูดง่ายๆ คือ ถ้ากฎหมายป่าสงวนมันคลี่ มันทบทวนได้ ไอ้การประกาศป่าอื่นที่ใช้แนวเขตป่าสงวนเป็นฐานมันก็ต้องแก้ด้วย เพราะมันประกาศอยู่บนฐานข้อมูลที่ผิด หลักฐานที่ผิด เราต้องสู้กันถึงรากเหง้าที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในเรื่องที่ดินทำกินที่แท้จริง

และการต่อสู้มันจะไม่มีพลัง ถ้าคนสู้ไม่ทำข้อมูล ไม่ทำหลักฐานขึ้นมาชี้แจงยืนยัน ตอนนี้เรายังยืนยันกันในลักษณะนามธรรม เราอ้างป่าช้า เราอ้างชุมชน เราอ้างต้นมะขาม มันก็ดี แต่มันต้องมีหลักฐานที่มีมากกว่านั้น ผมคิดว่าถ้าเราระดมทำข้อมูลกันจริงๆ จังๆ และต้องทำให้ข้อมูลนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เราต้องดึงสถาบันทางวิชาการเข้ามาช่วยด้วย ถ้าหลักฐานพอเพียง และชุมชนลุกขึ้นมาพร้อมกัน มันจึงจะมีพลังต่อรองได้

ผมยังเชื่อว่าเรายังมีเลือดนักสู้อยู่เต็มตัว แต่ว่าขณะนี้จิตวิญญาณในการต่อสู้ กำลัง สติปัญญา มันลดน้อยถอยลง เพราะว่าเราท้อแท้ และดูสภาพเศรษฐกิจมันบังคับให้เราหมดแรงที่จะสู้ไปเอง แต่ว่าในการต่อสู้มันไม่มีอะไรที่เราจะได้มาเปล่าๆ ตอนนี้เรามีทุนทางสังคม มีทุนทางวัฒนธรรม แต่ว่ามันยังไม่พอ เราต้องเพิ่มเรื่องจิตวิญญาณเข้าไปด้วย เราต้องเชื่อว่าสิ่งที่เราทำถูกต้อง และเมื่อมันถูกต้องเราก็ต้องไม่กลัวโรงพัก ไม่กลัวศาล และถ้าที่ในห้องขังมีที่เหลือผมก็จะช่วยเข้าไปอยู่อีกคน

จะตั้งอีสานใหม่ หรืออีสานใหม่กว่า แต่ถ้าการจัดตั้งยังอยู่ในระดับเดิม มวลชนก็ยังอยู่ในระดับแบบนี้ ก็จะมีแต่ถูกไล่ล่า มันสู้เขาไม่ได้จริงๆ แค่การเมืองท้องถิ่นก็จะเอาไม่รอดแล้ว นี่ต่อสู้ระดับการเมืองระดับชาติ หรือเจอทุนข้ามชาติไม่ต้องลืมตาอ้าปากเลย
ผมไม่อยากพูดให้เสียกำลังใจแต่มีความจำเป็น เราต้องถอนรื้อแนวคิดเก่าๆ ตั้งปรับกระบวนการจัดตั้งใหม่ เราต้องรวมพลังกันให้ได้ ขยายแนวร่วม และสร้างอำนาจต่อรองให้ได้ ตราบใดที่ยังไม่มีอำนาจต่อรอง เขาก็ไม่ฟัง

ผมหวังอย่างเดียวในการต่อสู้ของภาคประชาชนคือมีการกระบวนการต่อสู้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ถ้าเป็นอย่างนี้ประชาชนไม่มีวันแพ้ เพราะความเป็นจริงมันจะยืนยันการต่อสู้ของประชาชน แต่ถ้ากระบวนการต่อสู้มันยังไม่เท่าเทียมเรายังไม่รู้ว่าต่อสู้กับอะไร อำนาจทุน อำนาจเงิน อำนาจรัฐ ไอ้คนที่เราต่อสู้ด้วยมันเปลี่ยนหน้ากันมาตลอด 30 ปี ฉะนั้นถ้าอำนาจต่อรองมีเท่านี้ก็ยอมรับชะตากรรม แต่ถ้าไม่ยอมรับชะตากรรมก็ต้องสร้างอำนาจต่อรองขึ้นมา

อำนาจต่อรองจะสร้างขึ้นมาได้ต้องมีสามอย่างด้วยกันคือ 1.ต้องมีมวลชนมากพอ 2.ต้องมีฐานข้อมูลรองรับ 3.ต้องมีแนวร่วมที่มีประสิทธิภาพ สามอย่างเท่านั้นเงินทองไม่สำคัญที่เหลือมันมาเอง

 

 

หมายเหตุ: การเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นที่ชุมชนบ่อแก้ว ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Walk for rights ขบวนเดินเพื่อสิทธิชีวิตคนอีสาน ซึ่งจัดโดยขบวนการอีสานใหม่ กิจกรรมดังกล่าวเป็นการเดินทางถามสารทุกข์สุกดิบของชาวบ้านทั่วทั้งภาคอีสาน และเป็นการเปิดปัญหาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา และนโยบายของรัฐ ร่วมทั้งเรื่องราวการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาคอีสาน โดยจะเดินเป็นระยะเวลาทั้งหมด 35 วัน ระยะทางกว่า 800 กิโลเมตร
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัลจาซีร่าสัมภาษณ์อดีต ปธน.บราซิล-ประกาศสู้เพื่อทวงตำแหน่งและคืน ปชต.ให้บราซิล

$
0
0

หลังจากที่มีการสมคบคิดเพื่อ 'รัฐประหาร'ด้วยวิธีการลงมติถอดถอนประธานาธิบดี ดิลมา รุสเซฟฟ์ ของบราซิล หลังจากนั้นเธอได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อความยาว 20 กว่านาที ประกาศว่าการถอดถอนเธอไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งกล่าวถึงระบบการเมืองที่ทำให้พรรครัฐบาลอ่อนแอเป็นเหตุให้เกิดการสมคบคิดถอดถอนเธอได้

ดิลมา รุสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีบราซิลซึ่งถูกวุฒิสภาบราซิลลงมติถอดถอน (ที่มา: Wikipedia)

10 มิ.ย. 2559 อัลจาซีราสัมภาษณ์ดิลมา รุสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีบราซิลผู้ถูกลงชื่อถอดถอนเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่เธอถูกกล่าวหาเรื่องการแก้ไขข้อมูลงบประมาณเพื่อหลบซ่อนการขาดดุลงบประมาณเพื่อรักษาคะแนนนิยมให้ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นประธานาธิบดีได้อีกครั้ง แต่ทว่ากลุ่มนักการเมืองผู้ร่วมมือกันถอดถอนรุสเซฟฟ์กลับถูกเปิดโปงเมื่อไม่นานมานี้ว่าพวกเขาสมรู้ร่วมคิดกันถอดถอนรุสเซฟฟ์เพราะต้องการปกปิดและตัดตอนการสืบสวนสอบสวนกรณีอื้อฉาวการทุจริตสินบนรัฐวิสาหกิจพลังงานของประเทศบราซิล

และหลังจากที่มีการเปิดโปงในเรื่องดังกล่าวก็ส่งผลให้นักการเมืองที่เกี่ยวข้องต้องลาออก ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในกลุ่มรัฐบาลรักษาการของ มิเชล เทเมร์ที่มาแทนที่หลังจากรุสเซฟฟ์ถูกถอดถอน

อัลจาซีราระบุว่ามีนักการเมืองบราซิลอย่างน้อยร้อยละ 60 ถูกสอบสวนหรือกล่าวหาในอาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อหาพยายามฆ่า ไปจนถึงการทุจริตคอร์รัปชั่นขนาดใหญ่ และประธานวุฒิสภาผู้ที่จะพิจารณาถอดถอนรุสเซฟฟ์ในขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาด้วย

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีรา ลูเซีย นิวแมน สัมภาษณ์อดีตประธานาธิบดี รุสเซฟฟ์ ในกรุงบราซิลเลีย ในช่วงที่รุสเซฟฟ์กำลังรอคำตัดสินถอดถอนเธอในขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้เธอถูกขับออกจากการเป็นประธานาธิบดีอย่างถาวร จากที่ก่อนหน้านี้เธอลงมติถอดถอนมาแล้วจากสภาล่าง โดยในการให้สัมภาษณ์มีการพูดคุยว่าเหตุใดเธอถึงยังคงต่อสู้เพื่อให้กลับไปเป็นผู้นำทางการเมืองได้ เรื่องการแตกส่วนทางการเมืองในบราซิล และเธอมีแผนจะสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนให้กลับมาได้อย่างไรถ้าหากเธอเป็นฝ่ายชนะในขั้นตอนสุดท้ายของการถอดถอน

รุสเซฟฟ์กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า การถอดถอนเธอในครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายเลย และเธอเชื่อว่าชาวบราซิลส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการลงมติถอดถอนเธอในครั้งนี้อีกแล้ว ซึ่งเธอตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีการสำรวจโพลล์ความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นนี้เลยในช่วที่ผ่านมาทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาทำโพลล์กันมาตลอด

นอกจากความเชื่อมั่นว่าประชาชนจะไม่ยอมรับการถอดถอนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนี้แล้ว เธอยังเชื่อว่ายังมีโอกาสที่จะสามารถชนะการลงมติถอดถอนในขั้นตอนสุดท้ายในวุฒิสภาได้ เธอบอกว่าการจะชนะการลงมติได้นั้นเธอต้องการคะแนนเสียง 28 เสียง เธอประเมินว่าตนเองมีเสียงสนับสนุนอยู่แล้ว 22 เสียง และถ้าหากจะต้องการเพิ่มอีก 6 เสียงก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก

รุสเซฟฟ์กล่าวอีกว่าในการลงมคิถอดถอนใดๆ ก็ตามควรมีโอกาสให้มีการแก้ต่างและการสิบสวนด้วยข้อมูลหลักฐานได้ในทุกข้อกล่าวหา เธอกล่าวว่าสาเหตุที่ผู้กล่าวหาเธอไม่มีกระบวนการสืบสวนด้วยข้อมูลหลักฐานเพราะพวกเขารู้ตัวว่าข้อกล่าวหาของพวกเขากอ่อนเพียงใดและถ้าหากมีการสืบสวนตัวเธอจะสร้างความอับอายให้กับสถาบันการเมืองบราซิลมากเพราะไม่มีอะไรน่าอับอายไปกว่าการพยายามสืบสวนเอาผิดคนที่บริสุทธ์อยู่แล้ว ทั้งนี้จากหลักฐานการพูดคุยทางโทรศัพท์ระหว่างผู้สมรู้ร่วมคิดในการถอดถอนรุสเซฟฟ์ แสดงให้เห็นว่าพวกเขาแค่ต้องการถอดถอนเธอให้ได้แล้วหาข้ออ้างมาทีหลัง

หลังจากรุสเซฟฟ์ถูกถอดถอน ก็ยังคงมีประชาชนประท้วงต่อต้านรัฐบาลบนท้องถนน รุสเซฟฟชี้ว่าเป็นเพราะกลุ่มนักการเมืองที่รวมหัวถอดถอนเธอไม่สามารถบงการความคิดเห็นของประชาชนได้

นอกจากข้อกล่าวหาเรื่องการแก้บัญชีงบประมาณแล้ว รุสเซฟฟ์ยังถูกอ้างถอดถอนในข้อหาปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในรัฐบาลภายใต้การนำของเธอ ซึ่งรุสเซฟฟ์ตอบคำถามในเรื่องนี้ว่ามีการสืบสวน ส.ส. ที่ถูกกล่าวหาแและมีการสั่งพักงานพวกเขาโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ส่วนในเรื่องข้อหาแก้งบประมาณนั้นเธอไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปยุ่งกับดุลงบประมาณด้วยเพราะอยู่นอกขอบเขตหน้าที่ของประธานาธิบดีแต่เป็นหน้าที่ของรัมนตรีการคลัง ซึ่งตามกฎหมายบราซิลแล้วควรเอาผิดกับผู้ที่กระทำ เธอบอกอีกว่ารัฐบาลของเธอเป็นผู้สร้างระบบการจูงใจให้รับสารภาพผิดเพื่อแลกเปลี่ยนกับบางอย่าง (plea bargain) ซึ่งนำมาใช้ในการต่อสู้กับแก็งค์อาชญากร

นิวแมนยังถามเกี่ยวกับการที่เธอเป็นหนึ่งในประธานบอร์ดวิสากิจพลังงาน 'เปโตรบราส'ที่เกิดเรื่องการทุจริตสินบน ในฐานะที่เธอเป็นประะานบอร์ดเธอควรจะรับผิดชอบที่ปล่อยให้เรื่องนี้เกิดขึ้นด้วยหรือไม่ รุสเซฟฟ์ตอบว่าเธอไม่ควรจะต้องร่วมรับผิดชอบในเรื่องนี้ เพราะมีบางเรื่องที่ประธานและกรรมการบอร์ดไม่ได้รับรู้แต่จะเป็นที่รับรู้กันแต่ในฝ่ายการจัดการบริษัท อีกทั้งการติดสินบนเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าเธอเป้นประธานาธิบดีแล้วเพียงแต่เพิ่มมีการค้นพบการกระทำผิดในช่วงที่เธอดำรงตำแหน่ง และเป็นการเอาผิดจากกฎหมายที่รัฐบาลเธอเป็นคนร่าง

รุสเซฟฟ์ ยังให้สัมภาษณ์อีกว่าเธอเองก็ไม่มีอำนาจในการชี้นำเปโตรบราสมากนัก คณะกรรมการในสมัยเธอใช้เวลาเปลี่ยนแปลงการทำงานจัดการในเปโตรบราสถึง 11 เดือน จนไม่มีโอกาสสนใจเรื่องกรณีการทุจริต โดยที่เปโตรบราสเองมีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก ดังนั้นถ้าหากจะมีคนร่วมรับผิดชอบไม่ควรจะเป็นคณะกรรมการบอร์ดแต่อย่างเดียวแต่องค์กรตรวจสอบภายนอกควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย

ในข้อกล่าวหาเรื่องที่การบริหารของรุสเซฟฟ์ทำให้บราซิลเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้น รุสเซฟฟ์ตอบโดยอ้างคำกล่าวของโจเซฟ สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัดนเบลที่ประเมินว่าบราซิลจะเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้รวมถึงวิกฤตทางการเมืองในบราซิลก้ส่งผลต่อปัญหาเศรษฐกิจด้วย นอกจากนี้ยังเป็นเพราะรัฐสภาปฏิเสธนโยบายการคลังไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจ (procyclical) ของรัฐบาลรุสเซฟฟ์ แต่แทนที่ด้วยนโยายเชิญเสถียรภาพดุลงบประมาณแทน

รุสเซฟฟ์กล่าวต่อไปถึงเรื่องการแบ่งขั้วอำนาจทางการเมืองในรัฐสภาบราซิลว่า มีการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจจากกลุ่มสายกลางไปสู่ฝ่ายขวามากขึ้นในรัฐสภาและพวกแนวร่วมฝ่ายขวานี้ก็มีวาระทางการเมืองของตัวเองและแนวร่วมฝ่ายขวากลุ่มนี้ก็พยายามบ่อนทำลายตำแหน่งทางการเมืองของเธอ ฝ่ายขวาเหล่านี้ยึดกุมอำนาจควบคุมเอาไว้ในแบบที่พรรคเธอทำอะไรไม่ได้เพราะพรรคของรุสเซฟฟ์คือพรรคแรงงานมีอยู่เพียงร้อยละ 25 ในสภา พรรคฝ่ายค้านมีอยู่ร้อยละ 25 แต่พรรคอย่างพีเอ้มดีบีซึ่งมีอยู่ร้อยละ 50 ในสภาประกาศแยกตัวเองออกจากการเป็นพรรคแนวร่วมรัฐบาล

ปรากฎการณ์เช่นนี้ทำให้พรรคที่ชนะการเลือกตั้งในบราซิลมีความอ่อนแอ โดยรุสเซฟฟ์เปรียบเทียบว่าก่อนหน้านี้ในปี 2541 พรรครัฐบาลเสียงข้างมาในบราซิลมีอยู่ 3 พรรค ต่อมากลายเป็น 4 พรรค แต่การแยกส่วนทางการเมืองบราซิลในปัจจุบันต้องมีพรรคการเมืองอย่างน้อย 15 พรรคถึงจะยึดกุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ความอ่อนแอของระบบเช่นนี้ทำให้รองประธานาธิบดีทรยศเธอโดยการเป็นส่วนหนึ่งของการสมคบคิดเพื่อ "รัฐประหาร"เธอได้

ในคำถามที่ว่าเธอจะกลับมาสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนได้อย่างไร รุสเซฟฟ์กล่าวว่าการปกป้องประชาธิปไตยจะทำให้เธอสามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นจากประชาชนชาวบราซิลได้ "สิ่งที่ฉันเรียกร้องนั้นไม่ใช่เป็นเพียงการปกป้องรัฐบาลของตัวเองแต่ยังจัดเป็นการปกป้องกระบวนการประชาธิปไตยในบราซิลด้วย"รุสเซฟฟ์กล่าว

 

เรียบเรียงจาก

Dilma Rousseff: 'No legal grounds for this impeachment', Aljazeera, 07-06-2016 http://www.aljazeera.com/programmes/talktojazeera/2016/06/dilma-rousseff-legal-grounds-impeachment-160606083853902.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับ โรม NDM ทำไมถึง ‘โหวตโน’ และข้อเสนอต่อฝ่าย ‘โนโหวต’

$
0
0

ในห้วงของการถกเถียงระหว่างโหวตโนกับโนโหวต การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 ส.ค. 'ประชาไท'ชวนอ่านความคิด 'รังสิมันต์ โรม'จากขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ในฐานะกลุ่มแรกๆ ที่รณรงค์เรื่องโหวตโนมาแต่ต้น ทำไมต้องโหวตโน โหวตโนเท่ากับยอมรับกติกาที่ไม่ชอบธรรมหรือไม่ พร้อมข้อเสนอต่อกลุ่มโนโหวต


6 เม.ย. 2559 (ภาพ: banrasdr)

 

ถ้าเราบอกว่า คนที่เป็นเจ้าของอำนาจสถาปนาหรือเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นประชาชนจริงๆ คำถามคือมันจะมีวิธีการไหนที่จะพิสูจน์ได้ว่าประชาชนเป็นเจ้าของได้ดีที่สุด ถ้าไม่ใช่การเลือกตั้งหรือการลงประชามติ


ประชาไท: ทำไมต้องโหวตโน
รังสิมันต์: เราคิดว่าการโหวตโนคือการที่เรา ไม่ใช่แค่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ แม้การลงประชามติคราวนี้เป็นการลงประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญแต่เราต้องยอมรับว่าการที่ประชาชนออกมาพูดปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้หมายถึงแค่ร่างเท่านั้น แต่เป็นการปฏิเสธไม่เอา คสช.ด้วย

ในแง่นี้ จุดยืนของ NDM ที่ผ่านมา เราต้านรัฐประหาร แต่เรามองว่านี่คือพื้นที่หรือเวทีในการต่อสู้อีกอันหนึ่งระหว่างประชาชนกับ คสช. เพราะฉะนั้น การที่ประชาชนออกไปโหวตโน ก็เป็นการแสดงความจำนงของประชาชนในการไม่เอา คสช. ไม่เอารัฐประหาร

เราไม่เคยเห็นด้วยกับที่ คสช.ทำตรงนี้อยู่แล้ว แต่ทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนออกมาแสดงความจำนงของตัวเอง คือเราเห็นด้วยกับภาพใหญ่ที่ต้องปฏิเสธทั้งยวงอยู่แล้ว แต่โดยวิธีการ เรามองว่าวิธีการโหวตมันโอเค เพราะถ้าเราไปดูในทางหลักการ ถ้าเราบอกว่า คนที่เป็นเจ้าของอำนาจสถาปนาหรือเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นประชาชนจริงๆ คำถามคือมันจะมีวิธีการไหนที่จะพิสูจน์ได้ว่าประชาชนเป็นเจ้าของได้ดีที่สุด ถ้าไม่ใช่การเลือกตั้งหรือการลงประชามติ

ในแง่นี้ เราเลยมองว่า เมื่อประชาชนออกมาลงประชามติ มันคือการแสดงออกของความเป็นเจ้าของประเทศนี้จริงๆ เพราะฉะนั้น พอเข้ามายึดอำนาจแล้วอ้างว่าตัวเองเป็นใหญ่ ได้รับการยอมรับจากประชาชน คำถามก็คือมันจะมีวิธีการไหนที่พิสูจน์ได้จริงๆ ว่า คสช. ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน อันนี้พูดในเชิงหลักการ ยังไม่ได้แตะเรื่องกติกาประชามติ


ในแง่นี้กระบวนการลงประชามติเองมันจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแน่ๆ แต่คนที่จะตัดสินคือ ประชาชน

 

คิดอย่างไรกับข้อถกเถียงของฝ่ายโนโหวตที่ว่าการไปโหวตเท่ากับไปยอมรับกติกาที่ไม่เป็นธรรม
ถ้าเราดูสิ่งที่ NDM ทำตั้งแต่ 6 เม.ย. เป็นต้นมา ที่เราเล่นเรื่องประชามติ ผมคิดว่าไม่มีใครสามารถบอกได้เลยว่า NDM ยอมรับกติกาการลงประชามติแบบนั้น ที่ผ่านมา เราสู้เรื่องกติกามาโดยตลอด เราบอกว่ากติกามันไม่เป็นธรรม

และถ้าถึงที่สุดแล้ว ถ้าสมมติทาง คสช. กกต. ยังคงดื้อรั้นในการที่จะให้การลงประชามติเป็นกติกาแบบนั้น สุดท้ายโดยตัวของมันเองต่อให้มีการลงประชามติเกิดขึ้น มันก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน พูดง่ายๆ ก็คือ เวลาเราต่อสู้ เราแยกส่วน

คือจุดยืนของ NDM เราเห็นด้วย ต้องมีการลงประชามติ เพราะมันเป็นการ prove ว่าใครกันแน่คือเจ้าของประเทศนี้จริงๆ

แต่ว่าในเชิงกติกา เชิงหลักการ ก็เป็นอีกเรื่องที่เราก็ต้องสู้เหมือนกัน คือสุดท้าย มันจำเป็นต้องดีไซน์กติกาให้คนสามารถได้พูดอย่างไม่มีเพดาน ซึ่งทุกวันนี้มันไม่เป็นอย่างนั้น พวกเราก็ท้วงติงต่อ กกต. เรามีการจัดงานแถลงข่าว เอาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับกติกามาถกเถียง ซึ่งเราพูดมาตลอดว่ากติกาตรงนี้มันไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้น แม้ว่ากติกายังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยสภาพของประชามติที่มันเกิดขึ้น มันไม่มีทางที่ใครจะยอมรับตรงนี้ได้ ซึ่งคนที่ตัดสินตรงนี้ก็คือประชาชน เพราะฉะนั้น พวกเราเลยไม่กังวลว่า การเข้าไปตรงนี้จะเท่ากับเป็นการยอมรับกติกา เพราะเราพูดชัดมาโดยตลอดว่าการที่พวกเราเคลื่อนไหวตรงนี้เราไม่เคยยอมรับกติกาเลย เราท้วงติง กกต.ด้วยซ้ำว่าสุดท้าย ต่อให้คุณชนะบนกติกาแบบนั้น คำถามก็คือจะมีประชาชนคนไหนยอมรับการลงประชามติแบบนี้

ในแง่นี้กระบวนการลงประชามติเองมันจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแน่ๆ แต่คนที่จะตัดสินคือ ประชาชน คือสังคมทั้งสังคม เราจะมามองแค่ว่า นาย ก. นาย ข. หรือตัวเราบอกว่าเรายอมรับกติกาแล้ว อย่างนี้มันไม่พอ มันต้องพิสูจน์ให้สังคมทั้งสังคมเห็นว่าสุดท้ายมันไม่เป็นธรรมจริงๆ แล้วผมคิดว่ายิ่ง กกต.ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ คสช.ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ นอกจากจะทำให้การลงประชามติเกิดขึ้น ซึ่งเราอาจจะแพ้หรือชนะ นอกจากไม่เป็นธรรมแล้ว เผลอๆ ผลเสียผลกระทบต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นก็จะเกิดกับฝ่าย คสช. กกต.เองมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะท่านจะกล้าพูดได้อย่างไรว่าท่านชนะบนกติกาแบบนี้

ยิ่งเขาบี้ ยิ่งเขาอยากจะชนะมันกลับกลายเป็นเขายิ่งพ่ายแพ้ ผมมองอย่างนั้น

คือผมมองว่าสุดท้ายประชาชนมีความเข้าใจและตัดสินใจได้เอง บนกติกาแบบนี้ไม่ใครออกมาตบมือเชียร์แล้วบอกว่า สิ่งที่ คสช.ทำมันถูก ทุกคนก็ตำหนิกติกาตรงนี้ทั้งสิ้น

แต่การที่เราตำหนิกติกามันคนละเรื่องกับการที่เราบอกว่าจะไปล้มประชามติ หรือไม่เอาประชามติตั้งแต่ต้น

ผมมองว่าสุดท้ายมันต้องแยกกัน ถ้าเรายืนยันว่าหลักการของพวกเรา หลักการของคนไทย ทุกคนควรจะได้กำหนดเจตจำนงของตัวเอง อนาคตของตัวเอง ฉะนั้น ประชามติต้องมี แต่ต้องมีแบบไหน เป็นอีกเรื่องที่ต้องมาคุย มาดีไซน์กัน ซึ่งการดีไซน์แบบนี้มันไม่เวิร์ค มันไม่ทำให้การลงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 ส.ค. มันเป็นธรรม
 

ประเมินผลประชามติอย่างไร มีการนำผลประชามติรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2550 มาประเมินหรือไม่
พวกเราไม่ได้ดูแค่การลงประชามติปี 2550 เพียงอย่างเดียว เราดูการเลือกตั้ง การใช้สิทธิของประชาชนย้อนหลังกลับไป จนถึงปี 2549 สุดท้ายพวกเราประเมินว่าคนจะมาใช้สิทธิไม่มีทางเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยการใช้สิทธิเลือกตั้งประเทศไทยอยู่ประมาณนี้ พวกเราเชื่อว่าจะชนะตรงนี้  15 – 16  ล้านคนขึ้นไป ถ้าคนใช้สิทธิ 70 เปอร์เซ็นต์

แต่ว่าคราวนี้เราเชื่อว่ามันไม่เหมือนกับการเลือกตั้งแบบที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พวกเราค่อนข้างเชื่อว่าคนไม่ได้มาใช้สิทธิลงประชามติมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ผมว่าอาจจะซัก 52-53 หรือ 60 เปอร์เซ็นต์ ไม่น่าจะเกินนี้  คือส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะบรรยากาศ ความคึกคัก อยากใช้สิทธิ ณ จุดๆ นี้ยังขาดความคึกคัก กกต. ก็ยังไม่ได้พยายามโปรโมทอะไรมากขนาดนั้น คนก็อาจจะไม่ได้อยากใช้สิทธิมากขนาดนั้น

ตอนลงประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 2550 คนมาใช้สิทธิประมาณ 25 ล้านไม่เกิน 26 ล้านคน คนไม่มาใช้สิทธิมีประมาณ 19 ล้านกว่า ประมาณรวมกันมันจะอยู่ที่ประมาณ 44 ล้าน เกือบๆ 45 ล้านคน คราวนี้ คนที่จะมีสิทธิจะมากขึ้น เพราะมีการขยายสิทธิให้ผู้ที่อายุ 18 ปี ณ วันที่มีการลงประชามติ พวกเราประเมินตัวเลขคนที่จะมีสิทธิน่าจะอยู่ที่ประมาณ 50 ล้าน ถ้าคิดว่าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คือน่าจะมากกว่าปี 2550 แน่ๆ

คือจริงอยู่ว่าตอนนี้ภาวะบีบคั้นของสังคมจาก คสช. มันมากกว่าก็จริงเมื่อเทียบกับปี 50 คสช.ค่อนข้างรุนแรงกว่า แต่ว่าผมคิดว่ารัฐธรรมนูญนี้มันเกินกว่าที่จะรับได้จริงๆ ในเชิงเนื้อหารัฐธรรมนูญก็แย่มากๆ คำถามง่ายๆจนถึงทุกวันนี้ ถ้าไม่นับคนที่ได้ประโยชน์จากการใช้มาตรา 44 มันไม่มีใครที่จะได้ประโยชน์ในรัฐธรรมนูญนี้เลย อย่างที่ 2 ในเชิงรูปแบบ การรัฐประหารคราวนี้ ผมคิดว่ากองเชียร์รัฐประหารก็ลดลงเรื่อยๆ อย่างชัดเจน ขนาดฝั่ง กปปส.ที่เป่านกหวีดให้รัฐประหารเกิดขึ้น ณ วันนี้ผมว่าจำนวน กปปส.ที่สนับสนุน คสช. และรัฐประหาร ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ในมุมหนึ่งเมื่อเราคิดถึงการลงประชามติที่จะเกิดขึ้นคราวนี้  มันจะมีความแตกต่างจากปี 50 คือปี 50 อาจจะมีคนที่เสนอว่าการโหวตโนเท่ากับว่าไม่เอารัฐประหาร แต่ผมคิดว่า point ของเรื่องนี้มันจะไปไกลกว่าปี 50 จริงๆ ปี 50 คนยังค่อยไม่รู้สึกว่ามันคือการล้มรัฐประหาร แต่การลงประชามติคราวนี้มันให้ความรู้สึกเป็นการล้มรัฐประหารอย่างหนึ่ง เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ประชาชนสามารถแสดงออกในการล้มรัฐประหารได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมันเกิดจาการที่ คสช. อยู่มานานด้วย

เราต้องเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญของคุณมีชัยที่ร่างขึ้นมา จุดประสงค์มันชัดเจนว่าต้องการสืบทอดอำนาจ คสช. ซึ่งมันจะแตกต่างจากปี 50 คือปี 50 คมช.ไม่ได้จะสืบทอดอำนาจขนาดนั้นเมื่อเทียบกันในเชิงความเข้มข้น คืออาจจะมีกลไกบางอย่างที่ถูกวางเข้าไปแต่ว่ามันไม่ได้เป็นการต่อข้ออำนาจของ คมช.ในลักษณะที่เข้มข้นขนาดนี้ แต่ คสช. นี่ชัดเจน มีคำถามในประชามติที่จะกำหนดให้ ส.ว. สามารถที่จะมาเลือกนายกฯ ได้ เพราะฉะนั้นในแง่นี้มันการันตีว่าจะมีการต่อข้ออำนาจของกองทัพ ของ คสช.แน่ๆ ยิ่งถ้าเกิดพิจารณาจาก พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งจะออกมา มันยิ่งชัดเจนว่า คสช.พยายามจะวางกลไกต่างๆ เพื่อให้ตัวเองอยู่นาน

ทีนี้ถ้าเกิดประชาชนสามารถล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ นั่นหมายความว่าสิ่งที่ คสช.มุ่งหวังที่อยากให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นกลไกในการที่จะต่อข้ออำนาจของตัวเองต่อไปมันก็จะถูกทำลายลง เพราะฉะนั้นผมก็เลยคิดว่า การโหวตโนคราวนี้มันจึงหมายถึงการปฏิเสธระบอบรัฐประหารที่ คสช.เป็นคนสร้างขึ้นมา

 

ถ้าคนไทยไม่ชอบ คสช. แล้วคนไทยจะโหวต yes เหรอ ต่อให้มีข้าราชการมารณรงค์ ต่อให้มี รด.มารณรงค์ 
 

มองกลไก ครู ก. ข. ค. ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร เทียบกับเครื่องมือของฝ่ายโหวตโนที่มีอยู่ จะมีผลต่อการตัดสินใจลงประชามติหรือไม่
ครู ก. ครู ข. ครู ค. เป็นข้าราชการ ซึ่งถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิด ข้าราชการไทยมีอยู่ประมาณ 5 ล้านกว่าคน คำถามก็คือ ข้าราชการทั้ง 5 ล้านกว่าคน กลไกของ คสช.คุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ไหม ส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าข้าราชการจะไปทาง คสช.ทั้งหมด ผมประเมินว่า ถ้าตีเลขกลมๆ 5 ล้านคนที่เป็นข้าราชการ จะมีที่เป็นไปได้สูงสุด 4 ล้านคน แล้ว 4 ล้านคนไม่รู้ว่าจะทำหน้าที่แบบเต็มใจแค่ไหน และผมคิดว่า ตอนนี้เราอยู่ในโลกออนไลน์ มันถึงกันหมด ถ้าคุณอยากจะแสวงหาข้อมูลคือมันง่ายมาก เผลอๆ แชร์กันตามไลน์ ตามกลุ่มต่างๆ ที่มีกัน เพราะฉะนั้นผมว่าแม้กลไกของ คสช.จะมีประสิทธิภาพมากกว่าเรา แต่ว่ามันก็มีข้อจำกัดจากการที่โลกไร้พรมแดนอย่างนี้ แต่ผมก็ยอมรับว่ากลไกของเขามันมีประสิทธิภาพมากกว่าเราอยู่แล้ว เขาสามารถใช้กลไกของข้าราชการที่มีอยู่ทำหน้าที่ตรงนี้ได้ แต่ยังมองว่ามันมีหลายๆ ส่วน อย่างที่ผมบอกว่าการลงประชามติครั้งนี้มันไม่ใช่แค่รัฐธรรมนูญ มันเป็นเรื่องของ..เอาตรงๆ มันไม่มีใครอ่านรัฐธรรมนูญแล้วด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้คนอาจไปลงประชามติอาจจะมีเหตุผลร้อยแปดแต่คนไทย 30 เปอร์เซ็นต์ตัดสินใจแล้วโดยที่ไม่จำเป็นต้องอ่านรัฐธรรมนูญ หรือแค่ฟังข่าวเขาก็รู้แล้วว่าทิศทางรัฐธรรมนูญไปยังไง โดยที่ไม่จำเป็นต้องอ่านรัฐธรรมนูญ ในแง่นี้แล้วเราดูจากที่ คสช.ทำ ทั้งบริหารประเทศ ล้มเหลวในทุกๆ ด้าน มันมีการจับกุมหลายๆ เรื่องที่มันกระทบต่อคนจำนวนมาก คำถามก็คือ ถ้าคนไทยไม่ชอบ คสช. แล้วคนไทยจะโหวต yes เหรอ ต่อให้มีข้าราชการมารณรงค์ ต่อให้มี รด.มารณรงค์ 


ผลตอบรับจากการรณรงค์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
การตอบรับมันก็ดี ที่ผ่านมา อย่างน้อยๆ โลโก้ที่พวกเราดีไซน์ คนก็เอาไปใช้มากขึ้น ตอนนี้ถ้าเห็นโลโก้ก็จะนึกถึง NDM นึกถึงการโหวตโน แต่ความตั้งใจของเรา เราไม่ได้ต้องการให้โลโก้นี้เป็นแค่ของ NDM เราต้องการให้มันเป็นขบวนการโหวตโนที่ใครก็สามารถเอาไปใช้ได้ เราไม่ได้รู้สึกว่าต้องเป็นของเรา

แต่ในแง่นี้ในเชิงการนำเสนอโลโก้มันก็เข้าถึงคนได้ และในเชิงการตอบรับ เราก็ขายได้หลายพันตัว การตอบรับในเชิงตัวเลขค่อนข้างดีกว่าที่เราคิดเอาไว้ อย่างวันที่ 22 พ.ค.นี่ก็ชัดเจน คือนอกจากเป็นการครบรอบรัฐประหารแล้ว มันแทบจะกลายเป็นการแสดงความจำนงของประชาชนด้วยซ้ำไปว่าเขาจะไม่เอารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่เอา คสช.

อันนี้อาจจะโยงกับที่ฝั่งบอยคอตเขายกมาว่าการโหวตโนเหมือนกับพูดแค่เรื่องรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ถ้าเราดูวันที่ 22 มันชัดเจนว่ามันคือการต้านรัฐประหารที่อยู่บนฐานของการโหวตโนกับอนาคตที่ไม่ได้เลือกกับรัฐธรรมนูญที่เราไม่ได้มีส่วนร่วม คือมันเป็นการต้านรัฐประหารทั้งยวงอยู่แล้ว


22 พ.ค. 2559 (แฟ้มภาพ: ประชาไท)


ข้อเสนอหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ
NDM มีแพลนจะออกโรดแมปในเดือนกรกฎาคม ผมอาจจะยังพูดข้อเสนอตรงนี้ชัดๆ ก่อนไม่ได้ แต่แน่นอนว่าจะต้องมีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด นี่คือหลักการ

เพราะถ้าเราดูปัญหาอย่างหนึ่งของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือกว่าจะมีการเลือกตั้ง ต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดหนึ่งปีครึ่ง การเลือกตั้งมันจะต้องเกิดขึ้นให้เร็วกว่านั้น

มันนานเกินไปแล้วที่ประชาชนไม่ได้เลือกตั้ง  ที่ประชาชนไม่ได้มีอำนาจเป็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น เราต้องมีการเลือกตั้งให้เร็วกว่านั้น เร็วกว่า คสช.แน่ๆ แต่รายละเอียดโรดแมปจะออกมาอีกทีในเดือน ก.ค.
 

ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านประชามติ
ถ้าสมมติรัฐธรรมนูญผ่าน โดยเฉพาะด้วยกติกาแบบนี้ ผมว่ามันง่ายมาก คือโดยสภาพไม่มีใครยอมรับอยู่แล้ว คือ ณ วันนี้ กติกาเป็นแบบนี้ ประเทศต่างๆ ก็ไม่มีใครเอาด้วย เวที UPR ก็คอมเมนต์ให้แก้หรือทำให้กติกาเป็นธรรมมากขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าสมมติว่ามันผ่านด้วยกติกาแบบนี้ NDM ไม่ยอมรับอยู่แล้ว แล้วเราก็เคลื่อนไหวเพื่อต้านตรงนี้อยู่แล้ว เราก็คงทำเหมือนกับที่เราเคยทำที่ผ่านมา

ถ้าทางฝ่ายบอยคอตไม่เห็นด้วยกับกติกา แต่ยืนยันว่าถ้ามีประชามติได้ก็โอเค ก็ขอเชิญชวนให้ฝ่ายบอยคอตออกมาเล่นงาน กกต. มาซัก กกต. เรื่องกติกาให้มากกว่านี้
 

ทิ้งท้าย
ตอนนี้สุดท้ายผมไม่อยากให้เราแบ่งฝ่ายกัน จริงๆ ภาคประชาชนเรามีเยอะ แต่การถ่ายทอดออกมาเป็นเจตจำนง ความต้องการของประชาชน มันไม่ใช่เรื่องง่าย การมาทะเลาะกันเองมันไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะคนที่ได้ประโยชน์จากการทะเลาะกัน โดยเฉพาะการทะเลาะกันแบบหนักๆ เอาเป็นเอาตาย ก็คือ คสช.

ผมคิดว่าสุดท้ายฝ่ายประชาธิปไตยก็มีจุดหมายปลายทางเหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือการล้ม คสช. และสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาในสังคมไทย ผมคิดว่าเรื่องตรงนี้มันเป็นแนวทางที่น่าจะสามารถร่วมกันได้ แม้ว่าจุดยืนบางเรื่องอาจจะไม่เหมือนกัน

ประเด็นของฝ่ายบอยคอตอันหนึ่งแน่ๆ คือเขาไม่เห็นด้วยกับกติกานี้ จึงไม่ต้องการสังฆกรรมกับ คสช. กับการลงประชามติเลย คือจะไม่ไปใช้สิทธิเลย ส่วนฝ่ายโหวตโนเราก็สู้กัน ถ้ากติกามันแย่ก็ต้านกติกาไปก่อน

ผมเลยมีข้อเสนอกลางๆ ว่าถ้าทางฝ่ายบอยคอตไม่เห็นด้วยกับกติกา แต่ยืนยันว่าถ้ามีประชามติได้ก็โอเค ก็ขอเชิญชวนให้ฝ่ายบอยคอตออกมาเล่นงาน กกต. มาซัก กกต. เรื่องกติกาให้มากกว่านี้ อันนี้อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ถึงที่สุดแล้วถ้ากติกามันไม่มีการแก้ไข ปรับเปลี่ยนเลย จะบอยคอตก็ไม่มีปัญหาอะไร มันเป็นเรื่องของจุดยืน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยุติธรรมเห็นพ้อง 'คดีเลือกตั้งที่(รัก)ลัก'อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร

$
0
0

ศาลทหารเผยศาลแขวงปทุมวันเห็นพ้องคดีเลือกตั้งที่(รัก)ลัก อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร ด้านทนายความยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศ คสช.ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

10 มิ.ย. 2559ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า จากกรณีนางสาวคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายจำเลยคดีที่นักกิจกรรมกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ได้แก่ นายอานนท์ นำภา นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ (จ่านิว) นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ และนายวรรณเกียรติ ชูสุวรรณ ถูกฟ้องในข้อหาร่วมกันฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง จากการจัดกิจกรรมเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลทหารว่า การพิจารณาคดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงปทุมวัน โดยศาลทหารกรุงเทพส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลแขวงปทุมวันไปแล้วนั้น

วันนี้ (10 มิถุนายน 2559) ศาลทหารกรุงเทพนัดฟังคำสั่งเรื่องข้อโต้แย้งเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดี มีสาระว่าศาลแขวงปทุมวันมีความเห็นพ้องกันว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพ โดยไม่ได้อ่านความเห็นของศาลแขวงปทุมวันให้ทนายความและจำเลยในคดีนี้ฟังแต่อย่างใด

จากนั้น ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องให้ศาลทหารเพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บังคับกับคดีนี้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ เนื่องจากจำเลยทั้ง 4 คน เห็นว่า ประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร และฉบับที่ 38/2557 เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร รวมทั้งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557

อัยการศาลทหารกรุงเทพจึงแถลงต่อศาลทหารกรุงเทพขอทำคัดค้านคำร้องดังกล่าวภายใน 30 วัน ศาลทหารกรุงเทพจึงมีคำสั่งให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไปก่อนเพื่อวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวด้วย แล้วจะนัดคู่ความมาฟังคำสั่งต่อไป

 

สำหรับรายละเอียดคำร้องเบื้องต้นของทนายจำเลยที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาลและพิจารณาพิพากษาในคดีดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มีดังต่อไปนี้

1. พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 5 และมาตรา 10 ขัดหรือแย้งกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเพราะในมาตรา 5 ระบุว่า ศาลทหารอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม และมาตรา 10 ระบุว่าอำนาจในการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งปัจจุบันมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและยังดำรงตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษา คสช. ซึ่งเป็นผู้ออกประกาศ คสช.มาบังคับใช้เอาผิดกับจำเลยทั้ง 4 คน

2. ประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ที่ทำให้จำเลยทั้ง 4 ต้องถูกพิจารณาคดีในศาลทหารนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติโดยอาศัยเหตุความแตกต่างจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือความเห็นอื่น และประกาศ คสช.ทั้ง 2 ฉบับก็ขัดกับ มาตรา 4 ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ที่ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองของประเทศและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว

ทั้งนี้เมื่อศาลทหารกรุงเทพวินิจฉัยคำร้องของทนายจำเลยแล้วจะส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศของ คสช.ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ศาลทหารกรุงเทพเคยมีคำสั่งจากการวินิจฉัยคำร้องลักษณะดังกล่าวแล้วคือ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 ศาลทหารกรุงเทพมีคำสั่งในเรื่องที่นางสาวจิตรา คชเดชยื่นคำร้องขอให้ศาลทหารส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น

โดยศาลทหารกรุงเทพเคยมีคำสั่งว่า ศาลทหารกรุงเทพไม่อาจส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้เพราะตามมาตรา 5 วรรค 2 ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยบัญญัติเฉพาะที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดี ศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดเท่านั้นที่จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดได้ ด้วยเหตุนี้ศาลทหารกรุงเทพจึงไม่สามารถส่งเรื่องดังกล่าวได้

แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาคำร้องของทนายจำเลยคดีที่ยื่นให้ศาลทหารในวันนี้ ก็จะพบว่า ในคำร้องดังกล่าวได้ระบุให้ศาลทหารกรุงเทพมีหน้าที่ส่งคำร้องนี้แก่ศาลรัฐธรรมนูญแม้รัฐธรรมนูญจะมิได้บัญญัติถึงอำนาจการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญไว้เหตุเพราะหากพิจารณาตาม มาตรา 5 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดให้การกระทำนั้นหรือวินิจฉัยนั้นไปตามประเพณีการปกครอง

นอกจากนี้ตามประเพณีการปกครองของประเทศไทยตั้งแต่ตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ก็กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิฉัยว่า บทบัญญัติในกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ประกอบกับมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ก็กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่

ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติห้ามมิให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลใช้บังคับในคดีนี้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องฉบับนี้ของจำเลยได้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมชัยขอโทษเหตุแอพฯ กกต.เตือน 'ไม่รับ'เป็นคำไม่สุภาพ สั่งแก้แล้วขอบคุณที่เป็นหูเป็นตา

$
0
0

สมชัย ขอโทษ เหตุแอพฯ กกต. เตือน 'ไม่รับ'เป็นคำไม่สุภาพ เผยสั่งแก้แล้ว ระบุเหตุเพราะประสานงานที่ผิดพลาด พร้อมขอบคุณที่เป็นหูเป็นตา แจงเหตุยอดคนลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตน้อยเพราะเซ็ตซีโร่ใหม่ รับยังมีปัญหาด้านประชาสัมพันธ์

10 มิ.ย.2559 จากกรณีที่มีผู้ทำลองใช้แอพพลิเคชั่น 'ฉลาดรู้ประชามติ'ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งใช้ในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและกระบวนการออกเสียงประชามติ รวมทั้งยังเปิดให้ผู้ใช้สามารถอ่านเนื้อหาได้ครบทั้งหมด จะได้รับประกาศนียบัตรแสดงความชื่นชม และสามารถแชร์ไปให้บุคคลอื่นรับทราบด้วย โดย วันนี้ (10 มิ.ย.59) มีผู้ใช้เว็บบอร์ด pantip.com ได้โพสต์หลังเข้าใจแอพฯ ดังกล่าว โดยระบุว่าพิมพ์คำว่า "ไม่รับ"ลงในประกาศนียบัตรหลังได้ศึกษาข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญในแอพฯ ดังกล่าวแล้ว กลับถูกเตือนว่าคำดังกล่าว เป็นคำไม่สุภาพ

สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวประชาไท ว่า ตนได้ทราบถึงถึงข่าวกรณีพิมพ์คำว่า 'ไม่รับ'ในแอพพลิเคชั่น 'ฉลาดรู้ประชามติ'ที่ทาง กกต. เป็นผู้จัดทำขึ้น แล้วขึ้นข้อความว่า 'กรุณาใช้คำที่สุภาพ'หลังจากที่ได้ทราบ ตนจึงได้ทำการตรวจสอบปัญหาและพบว่าเกิดจากการประสานงานที่ผิดพลาด ซึ่งตอนนี้ ทาง กกต. ได้แจ้งไปยังบริษัทที่ดูแลให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าระบบแอนดรอยด์จะถูกอัพเดทภายในพรุ่งนี้ ส่วน IOS จะถูกอัพเดทภายใน 2-3 วัน

"ผมอยากจะขออภัยกับผู้ใช้งาน ที่อาจเกิดความรู้สึกไม่สบายใจและขอขอบพระคุณ ของคุณทุกๆ ท่าน ที่ช่วยเป็นหูเป็นตา ในการตรวจสอบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ซึ่งผมขอให้ทุกคนเชื่อมั่นว่าการแสดงความคิดเห็นนั้นสามารถทำได้ อย่างเสรีว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ภายใต้กรอบของกฏหมาย"สมชัย กล่าว พร้อมยืนยันว่า พอทราบเรื่องเสร็จ ได้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น และได้สั่งการให้แก้ไข

แจงเหตุยอดคนลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตน้อยเพราะเซ็ตซีโร่ใหม่

ต่อกรณีตัวเลขผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดในการประชามติครั้งนี้ ล่าสุด วันนี้10 มิ.ย.59 มีเพียง 23,032 คน ขณะที่การเลือกตั้งทั่วไปในปี 54 มีถึง 2,712,184 คน นั้น สมชัย อธิบายว่า ตัวเลข 2.7 ล้าน นั้น มันเป็นการออกแบบแบบเดิมที่ทำสะสมกันมา เป็นตัวเลขที่คุณย้ายครั้งหนึ่งแล้วคุณไม่เคยย้ายออกหรือเคยติดต่อเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ว่าคุณไปอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ชื่อก็จะค้างอยู่ในบัญชีประมาณ 2.7 ล้านกว่าคน แล้วจำนวนนี้จริงๆ แล้ว ไปใช้สิทธิน้อยมาก ดังนั้นในการออกเสียงประชามติคราวนี้ เราจึงกำหนดให้มีการล้างบัญชีหมด แล้วให้คนที่ประสงค์จะใช้สิทธินอกเขตจริงๆ ทำการลงทะเบียนใหม่ เพราะฉะนั้นมันคือการเริ่มต้น เซ็ตซีโร่ และแนวทางดังกล่าวจะเป็นแนวทางของการจัดการเลือกตั้งทุกครั้งในอนาคต ทั้งผู้ประสงค์จะใช้สิทธินอกเขตและนอกประเทศ เพราะเราถือว่ามันเป็นสิ่งชั่วคราว แต่ในอดีตมันเป็นการถาวรทำให้เกิดการสะสมไปเรื่อยๆ ดังนั้นตัวเลข 2 ล้านกว่าจึงไม่ใช่ตัวเลขที่เกิดขึ้นใหม่ แต่มันเป็น 18 ปี ที่มันสะสม

รับยังมีปัญหาด้านประชาสัมพันธ์

กรณีคนที่อาจไม่ทราบถึงการ เซ็ตซีโร่ นั้น สมชัย กล่าวว่า กกต. ก็ต้องพยายามรณรงค์ให้คนทราบให้มากที่สุด ซึ่งตอนนี้งานด้านประชาสัมพันธ์เอง ได้พยายามทำทุกช่องทาง เพียงแต่ว่ายกเว้น 2 อย่างที่ยังทำไม่ได้  หนึ่งคือการลงหนังสือพิมพ์ กับ สอง การจ้างออกเป็นสปอตออกทางโทรทัศน์และวิทยุ เนื่องจากว่ากระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้างของ กกต. มันมีระเบียบพัสดุในการที่จะต้องไปเปิดซอง หาผู้ที่จะมาเสนอราคา ซึ่งตนก็ขีดเส้นตายไว้ว่าทุกอย่างมันต้องเริ่มต้นได้ หนังสือพิมพ์และวิทยุจะต้องเริ่มต้นได้ 15 มิ.ย.นี้ และสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์จะต้องเริ่มต้นได้ 1 ก.ค.นี้ ภายใต้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีอยู่ในปัจจุบันมันไม่เร็ว แต่การขอความร่วมมือโดยฟรี เช่น เป็นตัววิ่งทำนองนี้ก็ทำอยู่ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ทั่วถึง การทำลงเว็บไซต์ก็ทำอยู่ แต่คนก็ยังรู้น้อย ยอมรับว่าในเรื่องนี้เป็นปัญหาของด้านประชาสัมพันธ์ของ กกต. 

สำหรับผู้สนใจลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด สามารถใช้ช่องทางนี้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

HRW จี้รัฐถอนฟ้อง3 เอ็นจีโอปมรายงานซ้อมทรมาน ผู้จัดทำยันเปิดข้อมูลหวังรัฐแก้ปัญหา

$
0
0

10 มิ.ย.2559 เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า พันเอก พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษก กอ.รมน. ยืนยันว่า ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ รอง ผอ.รมน. ได้สั่งการให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ดำเนินการฟ้องร้องเอ็นจีโอภาคใต้ 3 คน ที่กล่าวหาว่า ทหารทารุณกรรมผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมในคดีก่อความไม่สงบ เพื่อเป็นการธำรงเกียรติของกองทัพ เนื่องจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ ปฎิบัติตามหลักกฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และนโยบายการแก้ปัญหาที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ตามที่ผู้บัญชาการทหารบกเน้นย้ำเสมอให้เป็นไปตามหลักสากล ทั้งระหว่างการสอบสวนและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ที่ผ่านมากองทัพเปิดโอกาสให้เข้าตรวจสอบได้ตลอดเวลา ซึ่งขณะนี้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวชื่อ “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักศรี ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558”เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม 2559 เก็บข้อมูลและเรียบเรียงโดย กลุ่มด้วยใจ องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ภายหลังมีการเปิดตัวรายงานในเดือนกุมภาพันธ์ ไม่กี่วันถัดมา กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าได้ออกมาชี้แจงและปฏิเสธข้อมูลดังกล่าว โดยระบุว่า กลุ่มนี้เคยออกรายงานมาครั้งหนึ่งในปี 2555 และนำข้อมูลเก่ามาใช้ นอกจากนี้ยังปฏิเสธไม่มีการซ้อมทรมานและยืนยันว่าการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่กระทำภายใต้การรับรู้และมีส่วนร่วมของผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และบุคคลในครอบครัวตามแนวทางสันติวิธี โดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก ขั้นตอนการคุมตัวและซักถามที่เปิดโอกาสให้บุคคลในครอบครัวเข้าเยี่ยมได้ทุกวันตามช่วงเวลาที่กำหนด

ส่วนผู้จัดทำรายงานในปี 2559 ที่ถูกกล่าวหาทั้ง 3 รายคือผู้ที่มีรายชื่อปรากฏเป็นกองบรรณาธิการในรายงานดังกล่าว คือ สมชาย หอมลออ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ อัญชนา หีมมิน๊ะห์ โดยถูกข้อกล่าวหาว่าร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) โดยเป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน สภ.เมืองยะลา อย่างไรก็ตามผู้ถูกกล่าวหาระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่มีการเรียกผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดไปรับทราบข้อกล่าวแต่อย่างใด

ด้านฮิวแมนไรซ์วอทช์ (Human Rights Watch-HRW) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ระบุว่า กองทัพไทยควรถอนฟ้องข้อกล่าวหาอาญาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 3 คนโดยทันที การกระทำของกองทัพเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการติดตามและรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั้งปวงในประเทศไทย ในช่วงเวลาที่มีการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิอย่างกว้างขวางในประเทศ

“กองทัพไทยพุ่งเป้าโจมตีนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่รายงานการปฏิบัติมิชอบร้ายแรง และการเป็นปากเสียงให้กับผู้เสียหาย” แถลงการณ์ระบุ

“รัฐบาลควรสั่งการให้ถอนฟ้องคดีอาญาเหล่านี้ และควรทำสิ่งที่น่าจะได้ทำตั้งแต่ในอดีตคือ การสอบสวนอย่างจริงจังต่อข้อกล่าวหาว่ามีการซ้อมทรมาน” แบรด อดัมส์ (Brad Adams) ผู้อำนวยการแผนกเอเชีย ฮิวแมนไรต์วอชต์กล่าว

แถลงการณ์ HRW ระบุอีกว่า ที่ผ่านมากองทัพไทยมีแนวโน้มจะปฏิเสธข้อกล่าวหาว่ามีการซ้อมทรมานและการปฏิบัติมิชอบร้ายแรงของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้ โดยทางการไทยมักจะตอบโต้เมื่อมีการรายงานข้อมูลกล่าวหาว่ามีการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิ โดยการแจ้งความดำเนินคดีผู้วิจารณ์ กล่าวหาว่าให้ข้อมูลเท็จโดยประสงค์จะสร้างความเสียหายให้กับชื่อเสียงของกองทัพ ความพยายามของกองทัพไทยในการแจ้งความอาญาเพื่อตอบโต้นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคำสัญญาที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ให้ไว้เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่าจะเอาผิดทางอาญากับการทรมานและการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยเพื่อต่อต้านการปฏิบัติดังกล่าว

ทั้งนี้ การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี เป็นข้อห้ามตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานซึ่งไทยให้สัตยาบันรับรองตั้งแต่ปี 2550 กำหนดให้รัฐบาลต้องสอบสวนและดำเนินคดีต่อการซ้อมทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยในเดือนมิถุนายน 2557 คณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติเสนอแนะให้ไทย “ควรดำเนินมาตรการทั้งปวงที่จำเป็นเพื่อ (ก) ยุติการคุกคามและทำร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้สื่อข่าว และผู้นำชุมชนโดยทันที และ (ข) ดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นระบบต่อรายงานการข่มขู่ คุกคาม และทำร้าย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิด และประกันให้ผู้เสียหายและครอบครัวได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผล”

HRW ระบุว่า กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ที่มีชื่อว่า กลุ่มนักรบเพื่อเสรีภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายหลวม ๆ ของ BRN-Coordinate ยังคงดำเนินงานในหลายร้อยหมู่บ้าน แม้จะประสบความถดถอยที่สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ก่อความไม่สงบได้ใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติมิชอบและการปราบปรามที่หนักหน่วงของรัฐ เป็นเหตุผลเพื่อหาสมาชิกใหม่ ๆ และเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการที่ความรุนแรงและสร้างความหวาดกลัว แต่ความโหดร้ายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนไม่ได้เป็นเหตุผลให้ฝ่ายความมั่นคงของไทยต้องปฏิบัติมิชอบ

ด้าน พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้สัมภาษณ์ว่า รายงานดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นความจงใจที่จะทำลายชื่อเสียงกองทัพ เมื่อขอหลักฐานทางองค์กรผู้จัดทำก็ไม่ให้ ตอนนั้นทาง กอ.รมน.ได้ตั้งคณะกรรมการและได้มติว่า องค์นี้ทำแบบนี้มาหลายรอบแล้ว เป็นการทำลายชื่อเสียงองค์กรและประเทศไทย จึงต้องดำเนินการ ไป

“ที่ผ่านมาถ้าพบมีการร้องเรียนเราก็ต้องตรวจสอบ แต่กลุ่มนี้เขาแจกจดหมายข่าวไปทั่วโลกเลย คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า รัฐเองพยายามจะอะลุ่มอล่วยมาตลอดเวลา เราตรวจสอบ 54 เคสนั้นแล้ว มันซ้ำกันอยู่ 20 กว่าเคส เขียนซ้ำไปซ้ำมาอยู่เกือบ 30 กว่าเคส จริงๆ มันมีแค่ 18 เคส แต่เรายืนยันว่าไม่มีการซ้อมทรมานเลย ฝ่ายผู้ต้องหายังงงเลยว่ารายงานนี้ออกมาได้ยังไง การควบคุมทุกอย่างมีหลักฐานอยู่แล้ว แต่คุณไม่มาตรวจสอบกับรัฐเลย เรามีการตรวจร่างกาย มีการถ่ายภาพ เรามีการบันทึกไว้หมด” พ.อ.ปราโมทย์กล่าว

อัญชนา หีมมิน๊ะห์หนึ่งในผู้ร่วมจัดทำรายงานกล่าวว่า กลุ่มผู้เสียหายเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐ มีทั้งคนที่อยู่ในเรือนจำและคนที่ได้รับการปล่อยตัวแล้ว รายชื่อนั้นมีชัดเจน แต่ผู้จัดทำรายงานจำเป็นต้องปกป้องผู้ที่ให้ข้อมูลเพราะเขาถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอาวุธ และในการจัดทำรายงานก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าเขาพร้อมหรือต้องการให้ข้อมูลมากเพียงไร คนในพื้นที่ความขัดแย้งมีความเสี่ยงถูกเรียกตัวไปได้ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่สามารถอ้างเหตุผลอะไรก็ได้เพื่อคุมตัวเพราะอยู่ใต้กฎอัยการศึก กว่าเราจะได้ข้อมูลมาเราลงพื้นที่หลายครั้ง ต้องลงทุนมากเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลถูกต้อง และเพื่อเพิ่มความไว้วางใจกับแหล่งข่าวด้วย ที่น่าสังเกตคือ คนที่กระทำกับพวกเขาคือเจ้าหน้าที่ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบกันเอง

อัญชนากล่าวว่า ในปี 2557-2558 มีการร้องเรียนเรื่องนี้มากขึ้นและรุนแรงขึ้น มีผู้เสียชีวิตระหว่างคุมตัวด้วย ในการประชุมกับ กอ.รมน.ทางกลุ่มได้พูดเรื่องนี้มาโดยตลอด แต่ทางการก็บอกว่าไม่มีการซ้อม มีการร้องเรียนไปที่คณะกรรมการสิทธิฯ ด้วยและก็มีการรายงานอย่างนี้อยู่ สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นจริง ในรายงานของแอมเนสตี้ ฮิวแมนไรซ์ วอทช์ก็มีรายงานเรื่องแบบนี้ออกมาตลอด แต่ก็ไม่เคยมีใครถูกตรวจสอบหรือถูกดำเนินคดี ทำไมการร้องเรียนหรือการพูดเรื่องนี้ไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างโปร่งใส ทั้งๆ ที่ประเทศไทยยืนยันว่าปกป้องสิทธิมนุษยชน เชื่อว่าหากเรื่องนี้ได้รับการแก้ไขมันจะเป็นประโยชน์ต่อขบวนการสันติภาพด้วย ไม่อย่างนั้นจะนำไปสู่ความรุนแรง อันที่จริงรัฐมีหน้าที่โดยตรงในการปกป้องประชาชน ทุกคนต้องได้รับการปกป้องไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม แต่เราก็เข้าใจเจ้าหน้าที่อย่างมากว่าเขาก็ต้องการปกป้องตัวเอง

อัญชนากล่าวว่า ในส่วนของการซ้อมทรมานนั้นดูจากรายงานของคำพิพากษาก็มีปรากฏ รัฐต้องรับผิดชอบจ่ายเงินให้กับประชาชนที่ถูกกระทำ ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ ต้องมีการเยียวยาผู้ที่ถูกซ้อมทรมาน นอกจากนี้ยังพบว่ามีกรณีที่ผู้ต้องหาถูกข่มขู่ไม่ให้พูดด้วย

“ก่อนที่จะมีการแจ้งความกรณีนี้ เราถูกคุกคามหลายครั้ง มีการประชุมกับ กอ.รมน. ก็หลายครั้ง เมื่อเราเห็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องก็บอกเขาตลอด” อัญชนากล่าวและว่า สำหรับตัวเธอเคยถูกเรียกตัวไปพูดคุยโดยตรงกับกอ.รมน. 1 ครั้ง และให้ไปทำกิจกรรมร่วมกับ กอ.รมน. 2-3 ครั้ง มีทหารไปพบที่บ้าน 1 ครั้ง แต่เจอเพียงมารดา มีความพยายามจะใช้เฟสบุ๊กทำลายชื่อเสียง มีการให้คนมาติดตาม มีการระบุในที่ประชุมว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐ

“แต่เราก็พยายามใช้ชีวิตอย่างปกติ อะไรที่เกิดกว่าเหตุเช่นมาพบที่บ้านเราก็ชี้แจงไป อะไรที่มันเกินเลยเราก็ปฏิเสธ” อัญชนากล่าว  

ทั้งนี้ เนื้อหาบางส่วนในรายงานดังกล่าวระบุว่า เหตุการณ์ความรุนแรงตั้งแต่ปี 2547-2557 มีจำนวน 14,688 ครั้งมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 6,286 รายเฉลี่ยแล้วเสียชีวิต 571 รายต่อปี ส่วนผู้บาดเจ็บมีทั้งสิ้น 11,366 ราย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้รัฐไทยพยายามจัดการปัญหาโดยการออกกฎหมายพิเศษหลายฉบับและนำไปบังคับใช้ในพื้นที่ เช่น อาศัยกฎอัยการศึกษาคุมตัวผู้ต้องสงสัยในค่ายทหาร 7 วันและควบคุมตัวตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อได้อีกคราวละ 7 วันขยายไปได้เรื่อยๆ แต่รวมแล้วไม่เกิน 30 วันโดยยังไม่ต้องมีข้อกล่าวหาแต่อย่างใด

สำหรับตัวเลขผู้ร้องเรียนให้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ "การทรมาน"นั้นมีทั้งสิ้น 54 ราย โดยแยกเป็น

ปี 2547 ไม่มีการร้องเรียน

ปี 2548  ไม่มีการร้องเรียน

ปี 2549  ร้องเรียน 1 ราย

ปี 2550  ร้องเรียน 4 ราย

ปี 2551  ไม่มีการร้องเรียน

ปี 2552  ร้องเรียน 2 ราย

ปี 2553  ร้องเรียน 3 ราย

ปี 2554  ร้องเรียน 2 ราย

ปี 2555  ไม่มีการ้องเรียน

ปี 2556  ร้องเรียน 7 ราย

ปี 2557  ร้องเรียน 17 ราย

ปี 2558  ร้องเรียน 15 ราย

ไม่ระบุปี  ร้องเรียน 2 ราย

ทั้งนี้ ร้อยละ100 นับถือศาสนาอิสลาม หากแบ่งคำร้องเรียนออกเป็นจังหวัด พบว่า ปัตตานีร้อยละ 57.41 ยะลาร้อยละ 18.52นราธิวาสร้อยละ 24.07

ในรายงานมีการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ร้องเรียนและแยกวิธีการทำทรมานเป็นหลายแบบ โดยแบ่งเป็น

1.การกระทำทรมานทางจิตใจเช่นการข่มขู่,การใช้ประโยชน์จากกความหวาดกลัวเช่นจำลองวิธีการประหารชีวิต,การซักถามที่ใช้เวลานาน,การรบกวนการนอน,การขังเดี่ยว,การทำให้สูญเสียประสาทสัมผัสเช่นการใช้ผ้าปิดตา

2.การกระทำทรมานทางร่างกายเช่นการทุบตีและทำร้ายร่างกาย,การัดและใช้น้ำเย็น/น้ำอุ่นหยดลงตรงจุดๆหนึ่งในร่างกายทีละหยดส่วนมากเป็นหน้าผาก,ทำให้สำลักหรือบีบคอ,การบดขยี้ส่วนมากเป็นรองเท้าคอมแบทเหยียบไปที่จุดใดจุดหนึ่ง,การทำให้จมน้ำ/การจุ่มน้ำ,การให้อยู่ในอุณหภูมิสุดขั้ว,การช็อตด้วยไฟฟ้า,ทำเสียงดัง,ทำให้ขาดอากาศ

นอกจากนี้ยังมีการบรรยายถึงผลกระทบทางร่างกายและจิตใจของผู้ต้องหาหลังจากถูกปล่อยตัวผลกระทบกับครอบครัวรวมถึงสำรวจการดำเนินการต่อผู้ทำทรมานโดยระบุว่าไม่ปรากฏมีผู้ที่กระทำทรมานได้รับโทษถึงขั้นถูกคุมขังในเรือนจำแม้แต่กรณีเดียวมีเพียงกรณีของด.ช.อาดิลสาแมที่โดนทำร้ายร่างกายเมื่อปี2553ที่ศาลจังหวัดปัตตานีพิพากษาให้สิบเอกขวัญชัยสีนิลจำคุก1ปีรับสารภาพลดโทษเหลือ6เดือนแต่เนื่องจากไม่เคยกระทำผิดมาก่อนจึงให้รอการลงโทษไว้2ปี

ส่วนกรณีอื่นๆ แม้เป็นผู้ถูกซ้อมทรมานจนเสียชีวิตแต่เมื่อสู้คดีไปในระยะเวลาหนึ่งทางครอบครัวก็ยอมรับการจ่ายเงินชดเชยจากฝ่ายจำเลยและยุติการต่อสู้คดีนำคนผิดมาลงโทษ นอกจากนี้ในรายงานยังบรรยายถึงการเยียวยาผุ้ถูกซ้อมทรมานและครอบครัวรวมถึงแนวทางการป้องกันการซ้อมทรมานด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์งัด ม.44 สั่งห้ามจุด-ปล่อย บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย ก่อนได้รับอนุญาต

$
0
0

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่  คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 27/2559 เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการจุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน โดยมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. เป็นผู้ลงนาม

คำสังระบุว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและเพื่อป้องกันอันตราย รวมทั้งความเสียหายที่จะเกิดแก่ชุมชนและประชาชนจากการจุดและปล่อยหรือกระทําการอย่างใดเพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ สมควรกําหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 

ข้อ 1 ห้ามมิให้ผู้ใดจุดและปล่อย หรือกระทําการอย่างใด เพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อํานวยการเขตสําหรับกรุงเทพมหานคร หรือนายอําเภอแห่งท้องที่ สําหรับจังหวัด ซึ่งรับผิดชอบในเขตพื้นที่ที่จะจุดและปล่อยหรือกระทําการอย่างใดนั้นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตของผู้อํานวยการเขตหรือนายอําเภอแห่งท้องที่ ให้เป็นไปตามประกาศจังหวัดตามข้อ 2 หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามข้อ 4 แล้วแต่กรณี 

ข้อ 2 ให้จังหวัดจัดทําประกาศจังหวัดโดยความเห็นชอบร่วมกันของคณะกรมการจังหวัดและสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อกําหนดมาตรการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยและการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในการจุดและปล่อยหรือกระทําการอย่างใดเพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ 

ข้อ 3 ประกาศจังหวัดตามข้อ 2 อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
(1) กําหนดระยะเวลาในการจุดและปล่อย หรือการกระทําอย่างใด ซึ่งต้องสอดคล้องกับระยะเวลาในการจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 
(2) ชนิด ขนาด และจํานวน ของบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ที่จะทําการจุดและปล่อยหรือกระทําการอย่างใด 
(3) สถานที่จุดและปล่อยหรือกระทําการอย่างใดเพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟโคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ 
(4) มาตรการในการปองก ้ ันมิให้มีการเล่นพนัน 
(5) มาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยและการอื่นใด เพื่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชุมชนและประชาชน

ข้อ 4 ให้กรุงเทพมหานครออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อกําหนดมาตรการให้เป็นไปตามข้อ 2 และข้อ 3 โดยอนุโลม 
ข้อ 5 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 1 หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศจังหวัดตามข้อ 2 หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามข้อ 4 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 
ข้อ 6 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชัชชาติ ดีใจโครงการรถไฟเดินหน้า ระบุส่วนใหญ่วางกันมานานแล้ว ไม่ได้เป็นผลงานของคนใด

$
0
0

11 มิ.ย.2559 จากกรณีที่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์  รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมการทำงานของกระทรวงคมนาคม โดยกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายใต้ เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และสายตะวันออก เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง ที่คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อนุมัติไปแล้วเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน มีวงเงินก่อสร้าง 9.46 หมื่นล้านบาท และเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง มีวงเงิน 1.52 แสนล้านบาท คาดว่าจะประกาศประกวดราคาได้ในปลายปีนี้ และจะเร่งก่อสร้างในปีหน้า เพื่อให้แล้วเสร็จในปี 2563 ตามกำหนดการของโครงการ

จากนั้นวันนี้ (11 มิ.ย.59)เมื่อเวลา 14.28 น. ที่ผ่านมา  ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์ภาพข้อความคำพูดตัวเองเมื่อ ก.ค.56 พร้อมข้อความประกอบผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจตัวเองว่า 

"ผมดีใจที่ได้ยินข่าวการเร่งรัดการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม เช่น รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ ไป ระยอง หัวหิน และ โคราช โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ชมพู และส้ม เพราะโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเชื่อมโยง กระจายโอกาส สร้างงาน สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
 
โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่มีการศึกษาและวางแผนกันมานานแล้ว ไม่ได้เป็นผลงานของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นโครงการของประเทศ ของคนไทยทุก ๆ คน และถึงเวลาที่จะต้องเดินหน้าต่อไป (สักที) สำหรับที่มีคนกังวลถึงงบประมาณโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยมีการเสนอมานั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องของรายละเอียด ซึ่งสุดท้ายแล้ว ผู้รับผิดชอบก็จะต้องสามารถอธิบายที่มาที่ไปของตัวเลขต่าง ๆ ได้ และ พร้อมที่จะรับการตรวจสอบในอนาคต
 
ขอเป็นกำลังใจให้โครงการต่าง ๆ เหล่านี้เดินหน้าไปด้วยความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศและประชาชนอย่างสูงสุดครับ" ชัชชาติ กล่าว
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์ห่วงหลังประชามติคนยกปมไม่แฟร์ไม่ฟรี ชี้จะเสียเวลาเสียเงินความขัดแย้งก็ไม่จบ

$
0
0

ที่มาภาพ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Abhisit Vejjajiva

11 มิ.ย.2559 อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตั้งศูนย์ปราบโกงการทำประชามติ ว่า การตรวจสอบให้ประชามติมีความโปร่งใส สุจริต และเที่ยงธรรมนั้น สามารถทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย และเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะช่วยกันทำ ไม่ให้เกิดการทุจริต แต่ขออย่านำไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง หากปลุกระดม ก็ถือว่าผิดกฎหมาย

ห่วงจนท.ชี้นำระหว่างลงพื้นที่เผยแพร่เนื้อหาร่างรธน.

อภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อีกด้านหนึ่งที่ตนเป็นห่วง คือ การใช้กลไกของรัฐในการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญ เพราะหากจะชี้แจง ต้องชี้แจงเพียงเนื้อหาสาระเท่านั้น แต่ถ้าให้เหตุผลในมาตราต่าง ๆ อาจถูกมองว่าชี้นำได้  ซึ่งโดยหลักสากล จะต้องระมัดระวังการใช้เจ้าหน้าที่รัฐอย่างมาก เพราะมีบทบาทในการชี้นำทางหนึ่งทางใด ยกตัวอย่าง การเลือกตั้ง ก็ไม่ต้องการใช้เครื่องมือของรัฐในการบอกว่า ต้องเลือกใครอย่างไร ดังนั้นกลไกของรัฐจะต้องระมัดระวังอย่างมาก

“ส่วนตัวมองว่า หน้าที่เผยแพร่ ต้องเผยแพร่แค่ตัวบทรัฐธรรมนูญเท่านั้น และเป็นเรื่องของฝ่ายต่าง ๆ ในการให้ความเห็นรณรงค์ ซึ่งการทำประชามติที่ผ่านมา กกต.จะช่วยจัดเวทีให้ 2 ฝ่ายมาถกเถียงกัน ดูได้จากการทำประชามติในต่างประเทศ ซึ่งจะมีการจัดเวทีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก คงไม่ใช้กลุ่มข้าราชการเป็นผู้ไปชี้แจงเอง เพราะเป็นเรื่องยากที่คน ๆ เดียวจะไปพูดทั้งข้อดีข้อเสีย จึงต้องจัดเวทีให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้พูด ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้มีข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร หากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ก็จะเป็นปัญหา เพราะหากพูดด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะถือว่าประชามติไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ยอมรับว่าเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำตามนโยบาย แต่ก็ต้องระมัดระวัง” อภิสิทธิ์ กล่าว

ที่มาภาพ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Abhisit Vejjajiva

ขอ กกต.อำนวยความสะดวกให้ ปชช.พูดได้ 2 ด้าน

อภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อยากให้ กกต.และผู้รับผิดชอบทบทวนและปรับท่าทีใหม่ เพื่อให้เวทีกับประชาชนที่จะพูดได้ทั้ง 2 ด้านโดยไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ส่วนกลไกของรัฐ ก็เอื้ออำนวยให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้มากกว่าที่จะเป็นผู้ชี้แจงเอง แม้ กกต.จะไม่มีอำนาจจัดเวที แต่ก็อำนวยความสะดวกได้ ส่วนตัวนั้น ก็พร้อมไปชี้แจง เพราะไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ให้วินิจฉัยมาตรา 61 วรรคสองของพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ อภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากทำให้เกิดความชัดเจนของข้อกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่ดี

ห่วงหลังประชามติคนยกเรื่องไม่แฟร์ไม่ฟรี ชี้ความขัดแย้งก็ไม่จบ

“เราต้องการให้กระบวนการนี้มีความชอบธรรม แต่ผมเป็นห่วงว่าถ้าหลังประชามติ มีการหยิบยกว่าการทำประชามตินั้นไม่ได้เสรีและเป็นธรรม ก็จะเสียเวลา เสียเงิน ความขัดแย้งเรื่องรัฐธรรมนูญก็จะไม่จบ อยากให้ทุกฝ่ายคิดถึงอนาคต อย่ามองว่าการทำประชามติเป็นการต่อสู้ของแต่ละฝ่าย ให้เป็นเรื่องของเนื้อหารัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะใช้กติกาแบบนี้หรือไม่ ถ้ารับก็เอาไปใช้ ถ้าไม่รับก็ทำใหม่ อย่าไปตั้งธงว่าจะต้องผ่านหรือไม่ผ่าน” อภิสิทธิ์ กล่าว

เรียบเรียงจาก : สำนักข่าวไทย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'อีสานใหม่'เดินวันที่ 6 เข้าพื้นที่พิพาทอุทยานภูผาม่าน เปิดปมผลกระทบทวงคืนผืนป่า

$
0
0

ขบวนเดินเพื่อสิทธิชีวิตคนอีสาน ยังคงออกเดิน มุ่งหน้าสู่บ้านซำผักหนาม-บ้านหนองจาน พื้นที่พิพาทอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ประสบปัญหาอีกครั้งหลังรัฐบาล คสช.

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'ขบวนการอีสานใหม่ Neo E-Saan Movement

11 มิ.ย. 2559 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ขบวนการอีสานใหม่ได้ออกเดินทางมุ่งสู่บ้านซำผักหนาม และบ้านหนองจาน ต.นาหนองทุ่ม อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน โดยการเดินทางในวันนี้มีชาวบ้านในพื้นที่ทั้ง 2 หมู่บ้านออกมาเดินรับขบวนเข้าไปในหมู่บ้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะขบวนการอีสานใหม่ได้เดินทางเพื่อเข้าสู่หมู่บ้านได้มีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ประมาณ 10 นาย ขับรถกะบะมา 2 คัน เข้าสอบถามถึงการเดินว่า เดินไปไหน เดินเพื่ออะไร และจะเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการอุทยานหรือไม่ โดยตัวแทนกลุ่มได้ให้ข้อมูลว่า การเดินในวันนี้เป็นการเดินเพื่อสิทธิในที่ดินที่ทำกินของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยาน และจะไม่มีการเข้าไปที่บริเวณที่ทำการอุทยาน เจ้าหน้าจึงได้ถ่ายรูปขบวนเดินเป็นระยะ แล้วจึงกลับไป

ทั้งนี้เมื่อเดินทางมาถึงในพื้นที่หมู่บ้านหนองจาน กลุ่มอีสานใหม่ได้ร่วมพุดคุยกับชาวบ้านเกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2559 เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ได้เรียกชาวบ้านมาประชุมที่ที่ทำการอุทยานฯ เพื่อชี้แจงเรื่องการสำรวจกรถือครองที่ดิน การพิสูจน์สิทธิ และการรับรองสิทธิ์ ตามมติ ครม. 30 มิ.ย. 2541 แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนกับชาวบ้าน  มีแต่เพียงการชี้แจงว่า หากผู้ใดไม่ยินยอมในมีการสำรวจการถือครองที่ดิน หรือไม่ยินยอมให้มีการพิสูจน์สิทธิ จะไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน และอาจจะถูกดำเนินคดี โดยเจ้าหน้าที่จะเรียกทำประชาคมในเรื่องดังกล่าวกับชาวบ้านอีกครั้ง ประมาณวันที่ 18 มิ.ย. 2559 ทั้งนี้ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอน อย่างไรก็ตามชาวบ้านในพื้นที่ยังคงยืนยันไม่รับการตรวจสอบที่ยึดมติ ครม. ดังกล่าว เนื่องจากเป็นมติที่ไม่มีความเป็นธรรมกับชาวบ้าน ขาดกระบวนมีส่วนร่วมในการพิสูจน์สิทธิจากชุมชน และถือเป็นนโยบายในการนำคนออกจากป่า ซึ่งป็นบ้านของตัวเอง โดยถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อมูลชุมชนซำผักหนาม และชุมชนหนองจาน 

ข้อมูลจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน และข้อมูลจากศูยน์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า-ประเทศไทย ระบุว่า  ชุมชนซำผักหนามและชุมชนหนองจานเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในปี  2493 โดยการอพยพของชาวอีสานหบายจังหวัด หลังจากนั้นได้ถูกคำสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่โดยคำสั่งของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ต่อมาในปี 2508  ชาวบ้านได้ย้ายกลับเข้ามาในพื้นที่เดิม ซึ่งปีนี้ได้มีการประกาศพื้นที่บริเวณนั้ ต่อมาในปี 2518 มีชาวบ้านจาก จ.ขอนแก่น  และ จ.หนองบัวลำภู เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองจานอีกประมาณ  30  ครัวเรือน  โดยตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายตามที่ทำกินของตัวเอง

ต่อมาในปี 2533 ได้มีโครงการจัดสรรที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรม (คจก.) และอพยพชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ทั้งหมด ไปอยู่ที่บ้านผาสามยอด ต. ผานกเค้า  อ. ภูกระดึง  จ.เลย  โดยได้มีการให้สัญญาว่าจะจัดหาที่ทำกินให้ใหม่ แต่ในปี 2535 คจก. ได้ถูกยกเลิกไป ชาวบ้านที่ถูกย้ายออกไปทั้งหมดจึงได้ย้ายกลับเข้ามาในพื้นที่อีกครั้งโดยกลับมาตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายตามที่ทำกินของตน ในปี 2536 มีการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านย้ายบ้านเรือนมาตั้งรวมกันเป็นชุมชนเหมือนปัจจุบัน

สถานภาพปัจจุบันภายหลังประกาศคำสั่ง 64 / 2557 และแผนแม่บทป่าไม้ฯ ในยุค คสช.

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2558 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ส่งหนังสือแจ้งให้ทราบว่าจะมีการลงพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินทำกินในพื้นที่อุทยานภูผาม่าน กว่า 10 ชุมชน เช่น วังอีเมียง บ้านซำผักหนาม บ้านหนองจาน และบ้านตาดฟ้าดงสะคร่าน ก่อนหน้านั้นชุมชนเหล้านี้ ล้วนเคยได้รับผลกระทบในที่ดินทำกินมาอย่างต่อเนื่อง จากเหตุการณ์ถูกอพยพเรื่อยมา การลงมาสำรวจสิทธิครั้งนี้ชาวบ้านจึงเกรงว่าจะเป็นนโยบายการทวงผืนป่า และรัฐจะนำมติ ครม. 30 มิ.ย. 2541 มาใช้ในการพิสูจน์สิทธิ์ ซึ่งนโยบายนี้ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน และเป็นไปเพื่อการนำคนออกจากป่าอย่างถูกต้องตามกระบวนการของรัฐ ดังนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่กำลังจะก่อตัวขึ้นมาอีกครั้ง ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบในที่ดินทำกิน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน กว่า 300 คน จึงได้เข้าเดินทางไปยังที่ทำการอุทยานภูผาม่าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า จะทำการสำรวจพิสูจน์สิทธิไปเพื่ออะไร แต่หากดึงดันที่จะตรวจสอบควรให้มีคณะกรรมการหมู่บ้านมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาต่อชุมชนด้วย ทั้งนี้ ผลการพูดคุยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับตัวแทนชุมชน 5 พื้นที่ในเขตอุทยานฯ ดังนี้

1.      ในพื้นที่ที่การสำรวจสิทธิ์ตามมติ ครม. 30 มิ.ย. 2541 และพื้นที่ในเขตผ่อนปรน ให้ทำกินได้ตามเดิมไปก่อน

2.      ในพื้นที่ภูฮี บ้านโคกยาว ให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อสำรวจแนวเขตผ่อนปรน ตามบันทึกข้อตกลงร่วมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน วันที่ 8 ก.ค.57

3.       พื้นที่ที่มีการบุกรุกใหม่ นอกพื้นที่ผ่อนปรนให้ประสานผู้นำชุมชนและคณะกรรมการพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เข้าตรวจสอบ และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้

ต่อมา 20 ก.ค. 2558 มีหนังสือแจ้งมาจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มอบหมายให้นายอิทธิพล ไทยกมล ตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่งเจ้าหน้าที่ลงมาปฏิบัติการสำรวจข้อมูลชุมชนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่านซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเลย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่ายังขาดข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฏร์

7 ส.ค.58 ชาวบ้านจึงรวมตัวกันไปยื่นหนังสือที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น โดยมีข้อเรียกร้องให้ยุติการลงสำรวจข้อมูลชุมชน เพราะจากการติดตามข่าวในการทวงคืนผืนป่า หลายพื้นที่ถูกดำเนินคดีโดยไม่รู้ตัว และอีกหลายพื้นที่ถูกเจ้าหน้าที่บุกเข้าไปทำลาย ตัดฟันสวนยาง ดังนั้น หากจะมีการสำรวจข้อมูลในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่านต้องมีการประชุมร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจ และมีมติร่วมกันว่าสมควรที่จะมีการสำรวจหรือไม่ ไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าที่จะลงมาสำรวจเองโดยพลการ โดยขาดการมีส่วนร่วมในส่วนของภาคประชาชน  ภายหลังเข้ายื่นหนังสือมอบผ่านตัวแทนจากศูนย์ดำรงธรรมขอนแก่น ตัวแทนสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 (ขอนแก่น) ปลัดอาวุโสอำเภอภูผาม่าน และนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่าจะไม่มีการลงสำรวจสิทธิ์แต่อย่างใดจนกว่าจะได้มีการหารือร่วมกันทั้งจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ นายอำเภอ และประชาชนในพื้นที่

แต่ต่อมา ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2559 ได้มีเจ้าหน้าที่อุทยานเรียกประชุมชาวบ้านในพื้นที่พิพาททั้งหมด ที่ทำการอุทยาน เพื่อชี้แจงเรื่องการสำรวจสิทธิ และแนวทางการแก้ปัญหา แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลชัดเจนกับพี่น้องชาวบ้าน และพยายามเลี่ยงการพูดถึง มติครม 30 มิย 41 ที่จะใช้ในการสำรวจสิทธิ มีแต่เพียวการชี้แจงว่า หากชาวบ้านคนใดไม่ยินยอมให้มีการลงสำรวจสิทธิจะไม่ได้รับการจัดสรรที่ทำกิน และอาจจะถูกดำเนินคดี โดยในวันที่ 18 มิ.ย. นี้เจ้าหน้าที่อุทยานจะนัดทำประชาคมกับชาวบ้านในทุกพื้นที่เรื่องการสำรวจสิทธิอีกครั้ง ทั้งนี้วันเวลายังไม่แน่นอน อาจจะมีการเลื่อนและเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ ปัจจุบันบ้านซำผักหนามมีจำนวน 107 ครอบครัว เนื้อที่ 2,500 ไร่ บ้านหนองจานมีจำนวน 48 ครอบครัว เนื้อที่ 1,810 ไร่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สรรเสริญ แนะนปช.ตั้งศูนย์ปราบโกงฯ ทำตัวเองน่าเชื่อถือก่อน เตือนคำสั่งคสช.ห้ามชุมนุมยังมีอยู่

$
0
0

11 พ.ค.2559 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ร่วมกันเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ และพยายามกดดันรัฐบาลในทำนองหากไม่ให้เปิดแสดงว่ารัฐบาลตั้งใจจะโกงประชามติ ว่า การคิดจะตั้งศูนย์หรือกลุ่มอะไร เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่ามีหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่ ทำแล้วเหมาะสมหรือไม่ ตั้งขึ้นแล้วจะได้รับความเชื่อถือหรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

“หากผู้กระทำการในศูนย์ยังเป็นผู้มีคดีความติดตัวที่ยังไม่สะสางให้กระจ่าง การจะมาเสนอตัวว่าจะช่วยรักษากฎหมาย ก็คงดูแปลกประหลาดและคงไม่เหมาะสมเท่าไรนัก เพราะคนที่จะมาทำหน้าที่นี้ได้ควรเป็นคนที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยและมีความน่าเชื่อถือ ที่สำคัญต้องมีความเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริง มิใช่คนที่มีพฤติกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบเลือกข้างมาโดยตลอด ขอฝากไปถึงกลุ่ม นปช.ว่าก่อนที่จะคิดไปปราบปรามว่าใครกระทำผิดกฎหมาย กลุ่ม นปช.ต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ได้ก่อน อาทิ คำสั่ง คสช. ที่ 7/2557 เรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมือง เกิน 5 คน ก็ยังมีผลบังคับใช้ และห้ามล่วงละเมิด เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงมีหน้าที่ต้องเข้าไปติดตามดูแลความสงบเรียบร้อยให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย เพื่อมิให้ใครฉวยโอกาสแอบแฝงทำกิจกรรมที่ละเมิดต่อระเบียบของบ้านเมือง” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า การที่ นปช. ระบุว่าหากหน่วยงานรัฐไม่ให้ตั้งศูนย์ แสดงว่าหน่วยงานรัฐตั้งใจจะโกงประชามตินั้น ถือเป็นการด่วนสรุปไปเองตามความคิด พฤติกรรม และประสบการณ์ที่คุ้นชินในแวดวงของนักการเมืองบางคนบางกลุ่ม ขณะที่รัฐบาลไม่เคยมีความคิดแบบนั้น

“ความจริงแล้ว กลุ่ม นปช.ไม่ควรวิตกกังวลเรื่องการโกงที่ยังไม่เกิดขึ้น หากใจคิดอยากจะช่วยประเทศชาติโดยบริสุทธิ์ใจแล้ว ควรใช้สรรพกำลังที่มีอยู่ไปติดตามเงินงบประมาณแผ่นดินที่ถูกนักการเมืองโกงไปแล้วจะดีกว่า ไม่ว่าจะการโกงในคดีจำนำข้าว การโกงในโครงการบ้านเอื้ออาธร การฉ้อโกงในคดีปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย เหล่านี้เป็นการโกงที่เกิดขึ้นแล้ว และประเทศชาติเสียหายแล้วอย่างชัดเจน” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

คสช.ชี้ นปช.มีนัยเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

ขณะที่วานนี้ (10 มิ.ย.59) พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคสช. กล่าวถึงการตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติของ นปช. ว่า กลุ่มที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้เคยเป็นคู่ขัดแย้งและมีส่วนได้เสียทางการเมือง การเคลื่อนไหวดังกล่าวจึงแฝงนัยเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะกลุ่มเท่านั้น สำหรับการทำประชามติ มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงตามอำนาจหน้าที่และกรอบกฎหมายอยู่แล้ว ในส่วนของ คสช.จะได้ติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

นปช. ร้องประยุทธ์ สั่ง จนท.หยุดคุกคามแกนนำต่างจังหวัด

วันเดียวกัน (10 มิ.ย.59) จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. พร้อมด้วย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ธิดา ถาวรเศรษฐ์ เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริการประชาชน โดยมีพันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน เป็นผู้รับหนังสือ โดยข้อความในหนังสือ ระบุถึงวัตถุประสงค์ของการตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติของ นปช.ที่ต้องการให้ประชาชนออกมาใช้เสียงอย่างอิสระและร่วมกันป้องกันและปราบปรามการทุจริต

จตุพร กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลหลังจากที่ศูนย์ปราบโกงประชามติเตรียมจัดตั้งศูนย์ระดับจังหวัดในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ แกนนำในพื้นที่ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่ในการจัดตั้งศูนย์ฯ โดยเห็นว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยแต่ก็ไม่ได้ห้ามให้จัดตั้งศูนย์ฯ จึงขอความชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีว่าต้องการสิ่งใด และหากไม่ห้าม ขอให้สั่งให้เจ้าหน้าที่หยุดคุกคามประชาชนในพื้นที่
 
“ศูนย์ปราบโกงไม่มีปัญหากับ คสช. แต่มีปัญหากับคนโกงประชามติ ดังนั้นหากไม่โกงก็ไม่ต้องเดือดร้อน ยืนยันว่าการเดินทางมาในครั้งนี้มาอย่างมิตรไมตรี ขอให้นายกรัฐมนตรีใจเย็นและนิ่งให้เข้าใจว่าศูนย์นี้เป็นคุณ ช่วยป้องกันคนทุจริต พร้อมขอเชิญชวนข้าราชการทหารฝ่ายปกครองร่วมกับศูนย์ของ นปช.ในแต่ละจังหวัด และไม่มีความลับที่ต้องปิดบัง ขออย่าได้หวาดระแวง” จตุพร กล่าว
 
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ขณะนี้มีหลายพื้นที่แสดงความไม่สบายใจที่ถูกคุกคาม โดยขอร้องให้นายกรัฐมนตรียอมรับการทำงานของศูนย์ฯ ในช่วงระยะเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น ขอยืนยันว่าไม่มีวิชามาร ไม่มีเกมการเมือง และแม้นายกรัฐมนตรีจะมอง นปช.เป็นธาตุอากาศ แต่ขอให้รู้ว่าเป็นอากาศแห่งเสรีภาพ
 

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: 7 สิงหา ประชาร่วมใจไปใช้สิทธิ์

$
0
0


 

ฉันรับปากเธอว่าจะไปกาประชามติ          คืนสติสู่คูหาเป็นสารัตถะ

สะสมพัฒนาสู่อารยะ          สู่ยุคกระดาษปากกาพาชาติไป

ฉันจะไม่ต่อต้านการเข้าคูหา          จะเชิดหน้ากาบัตรชัดเจนไหม

จะสู้สู่ระบอบประชาธิปไตย          ผองชนได้เข้าคูหากติกาสากล

ให้ทุกสิทธิ์ทุกเสียงได้เรียงแถว          คุ้นเคยคล่องแคล่วคลาดแคล้วปล้น

ปฏิวัติวัฒนธรรมผู้นำชน          รู้แห่งหนคูหาเป็นอาจิณ

ฉันจะทำทุกหนจนเห็นเป็นนิสัย          ฉันจะไปเลือกตั้งจนติดเป็นนิจสิน

เลิกคิดมิจฉาทิฐิที่ชาชิน          สัมมาทิฐิทั่วถิ่นแผ่นดินธรรม


ฉันและเธอต้องต่อต้านการฉีกกฎหมาย          หลายครั้งคล้ายใจง่ายให้ชายปล้ำ         

มาตรา 113 ถูกย่ำยีปู้ยี่ปู้ยำ          กฎน่าขำล่ามโซ่ไว้ให้ทนดู

7 สิงหามาฉลองจองคูหา          ชาวประชามาพร้อมใจไม่อดสู

ไม่นอนหลับทับสิทธิ์ผิดเป็นครู          เราต้องสู้เพื่อคูหาปากกาเรา 

เป็นพื้นที่แห่งธรรมมอบอำนาจ          หน้ากระดาษประกาศไปใจตรงเป้า

โชว์ปืนโตตบโต๊ะโละเลิกเอา          เราต้องเข้าคูหาอาจิณเอย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บริหาร ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ยันไม่มีเจตนาปิดกันสิทธิ ปมบันทึกเตือนบุคลากรเล่นเฟซฯ

$
0
0

11 มิ.ย.2559 จากกรณีเมื่อช่วงปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กชื่อ 'Arjinjonathan Arjinkit'ของ อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้เผยแพร่บันทึกข้อความ ซึ่งออกโดยผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ถึง คณบดีทุกคณะ ผู้อำนวยการสถาบัน สำนักและศูนย์ ในมหาวิทยาลัย โดยระบุว่าผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งพบว่ามีบุคลากรบางคนได้โพสต์ข้อความที่อาจไม่เหมาะสม   มหาวิทยาลัยควรกำชับในการโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ เพราะอาจผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ล่าสุด นฤชล เรือนงาม ผอ.สำนักงานอธิการบดี ชี้แจงกับผู้สื่อข่าวประชาไทว่า บันทึกดังกล่าว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้รับบันทึกจากนายไพรสิทธิ์  ศรีสุทธิเกิดพร ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอว่า ขอความอนุเคราะห์มหาวิทยาลัยจัดทำหนังสือตักเตือนไปยังผู้บริหารสูงสุดทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัย ให้กำชับและย้ำเตือนบุคลากรในสังกัด อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จึงมอบผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ความว่า "มอบผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีจัดทำหนังสือเพื่อเรียนให้คณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าส่วนงาน ได้กำชับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตระหนักรู้และปฏิบัติตามระเบียบฯ กฎหมายที่เกี่ยวข้องการสื่อสารดังกล่าว และความเหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณฯ หรือวัฒนธรรมอันดีงาน"ทำให้ตนในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาจึงทำบันทึกไปยังคณะต่างๆ  ภายในมหาวิทยาลัยตามที่อธิการบดีบัญชา และยืนยันด้วยว่า ไม่มีเจตนาปิดกั้นการใช้หรือแสดงความคิดเห็นของบุคลากรแต่อย่างใด เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล

ทั้งนี้ ผอ.สำนักงานอธิการบดี เปิดเผยด้วยว่า ตนได้ขออนุญาตมอบบันทึกข้อความ และคำสั่งการของอธิการบดีให้ผู้สื่อข่าวแล้ว ปรากฎว่า ท่านอธิการบดีพิจารณาแล้วมีข้อสั่งการดังนี้คือ "ไม่อนุญาต เนื่องจากเป็นการมอบหมายสั่งการภายในตามปกติ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตยสรุป 7 ประเด็นร่าง รธน. ชี้สืบทอดอำนาจองค์กรแต่งตั้ง

$
0
0

12 มิ.ย. 2559 สมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย เผยแพร่หนังสือแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ตั้งข้อสังเกต 7 ข้อ ชี้ร่างรัฐธรรมนูญลดทอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน, ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บิดผันเจตจำนงของประชาชน, วุฒิสมาชิกไม่มีที่มาจากประชาชน, เปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง, ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร, การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยากยิ่ง และเป็นการสืบทอดอำนาจองค์กรที่มาจากการแต่งตั้ง พร้อมระบุร่วมรณรงค์ประชาชนลงประชามติ

รายละเอียด มีดังนี้

 

หนังสือแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559


ตามที่ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2559 ซึ่งมีกำเนิดมาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จะถูกนำเข้าสู่การลงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นี้

ในฐานะประชาชนชาวไทยซึ่งเป็นผู้ที่จะได้ผลประทบโดยตรง ควรได้ศึกษาถึงข้อดี ข้อเสีย เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ทางสมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ในฐานะของกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่ง ได้ศึกษาตัวร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรี นักวิชาการ นักการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนแล้ว และมีความเห็นสรุปต่อร่างรัฐธรรมนูญนี้

จึงขอใช้สิทธิและเสรีภาพเท่าที่ได้อนุญาตไว้ในปัจจุบัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 34 ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมาย”, พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 7 ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต” และ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแสดงความเห็นในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559 แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้

ความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2559

สมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ในฐานะประชาชนกลุ่มหนึ่ง ได้ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งความเห็นของทุกๆ ฝ่ายแล้ว มีข้อสรุปต่อร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้

1. ร่างรัฐธรรมนูญลดทอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
การย้ายประเด็นสิทธิหลายประการจากหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ไปไว้ในหมวด
หน้าที่ของรัฐ ทำให้สิทธิเดิม ที่ประชาชนเรียกร้องได้เองโดยตรง กลับต้องไปเรียกร้องให้รัฐเป็น
ผู้จัดหาให้

2. ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บิดผันเจตจำนงของประชาชน
การลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งใบเดียวแต่นำไปใช้คิดคะแนนทั้งระบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ ทำให้เจตจำนงที่แท้จริงของผู้ลงคะแนนถูกบิดผันไป

3. วุฒิสมาชิกไม่มีที่มาจากประชาชน
วุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย คือ อำนาจนิติบัญญัติ แต่ประชาชนกลับไม่มีส่วนในการเลือกตั้ง

4. เปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นการไม่เคารพปณิธานของวีรชนเดือนพฤษภา ปี 35 ที่ได้เคยเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อเรียกร้องไว้

5. ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร
ผิดหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย

6. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยากยิ่ง
รัฐธรรมนูญจะต้องแก้ไขได้ เพื่อให้มีความเหมาะสมแห่งยุคสมัย และสถานการณ์ หากรัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้ ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา และการสร้างความมั่นคงของประเทศ

7. เป็นการสืบทอดอำนาจองค์กรที่มาจากการแต่งตั้ง
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงอยู่และยังมีอำนาจตามมาตรา 44 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ยังคงอยู่ต่อไป แม้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้แล้ว และวุฒิสมาชิกวาระแรกมาจากการแต่งตั้งของคสช.ทั้งหมด

เราจึงขอร่วมรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิลงประชามติ และมีความคิดต่อร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น


สมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตย
กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรคฝ่ายซ้ายสเปนออก 'แถลงการณ์นโยบาย'แบบโก้เก๋สไตล์แคตตาล็อกสินค้า

$
0
0

 

11 มิ.ย. 2559 พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของสเปนที่ต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัด 'โปเดมอส'พยายามทำ "แถลงการณ์ที่มีคนอ่านมากที่สุด"โดยการนำเสนอรูปแบบออกมาคล้ายกับแคตตาล็อกสินค้าของห้างค้าเฟอร์นิเจอร์อิเกีย (Ikea) เช่นการนำเสนอรูปถ่ายหัวหน้าพรรคในท่วงท่าที่ผ่อนคลายในบ้านที่มีแสงอาทิตย์สาดส่องเข้ามา ขณะที่เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายหลักๆ ของพรรคที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนอย่างแผนการลดการว่างงานหรือการจัดการภาษีในแบบที่ลดความเหลื่อมล้ำ 

ในแถลงการณ์นโยบายพรรคแบบแคตตาล็อคยังนำเสนอออกในรูปแบบที่โยงนโยบายต่างๆ ที่สัญญาไว้ให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนธรรมดาทั่วไป โดยที่ในบางรูปก็มีสมาชิกพรรคโปเดมอสกำลังดำเนินชีวิตประจำวันอยู่พร้อมกับข้อความนโยบายที่ดูมีผลเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร ทำงานบ้าน ใช้เวลาไปกับครอบครัว หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่นในหัวข้อ "ครัว" (Cocinas) มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร มีการนำเสนอเรื่องนี้พร้อมกับรูปสมาชิกพรรคจูลิโอ รอดริดจซ์ กำลังล้างจานอยู่ ในอีกหัวข้อหนึ่งคือ "สำนักงาน" (offices) มีเนื้อหาเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจและสิทธิแรงงาน ก็มีภาพของหัวหน้าพรรค ปาโบล อิกเลเซียส เขียนเอกสารบางอย่างอยู่บนโต๊ะ อีกหน้าหนึ่งที่ระบุถึงการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอย่างต่อเนื่องมีภาพประกอบเป็นแคโรไลนา เบสแกนซา ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกำลังยืนอ่านหนังสืออยู่ใกล้ชั้นวางหนังสือในบ้าน

แถลงการณ์นโยบายพรรคให้คำมั่นว่าจะลดการว่างงานลงร้อยละ 11 ภายในช่วงปลายรัฐบาลหน้าและเพิ่มภาษีโรงเรือนกับผู้ที่มีรายได้มากกว่า 60,000 ยูโร (ราว 2,300,000 บาท) และเพิ่มอัตราภาษีอีกร้อยละ 55 สำหรับผู้ที่มีรายได้มากกว่า 300,000 ยูโร (ราว 12 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังสัญญาว่าจะลดงบประมาณกองทัพ และหันไปเพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุขและการศึกษา 15,000 ล้านยูโรทุกปี เป็นเวลา 4 ปี

"พวกเราต้องการให้มันเป็นแถลงการณ์พรรคที่มีคนอ่านมากที่สุด"เบสแกนซากล่าว

แถลงการณ์พรรคโปเดมอสออกมาในช่วงก่อนหน้าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ หลังจากที่การลงคะแนนเมื่อเดือน ธ.ค. 2558 ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าพรรคใดชนะ ผลโพลล์เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมาระบุว่ากลุ่มแนวร่วมพรรคฝ่ายซ้ายในสเปนในนามของ 'ยูนิดอส โปเดมอส'ได้แก่พรรคโปเดมอสกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่นๆ น่าจะได้รับคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นมากในการขับเคี่ยวกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน

โดยในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2015 พรรคการเมืองที่ชนะที่นั่งในสภามากที่สุด 4 พรรคแรก ซึ่งมีทั้งพรรคพีพีซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันได้คะแนนสูงสุดและพรรคโปเดมอสที่ได้คะแนนอันดับสามต่างก็ไม่สามารถเจรจาตกลงพรรคร่วมรัฐบาลกันได้ ทำให้มีการกำหนดการเลือกตั้งเสริมดังกล่าว 

 

เรียบเรียงจาก

Left-Wing Party In Spain Borrows Ikea Style to Promote Anti-Austerity Manifesto, Common Dreams, 09-06-2016

http://www.commondreams.org/news/2016/06/09/left-wing-party-spain-borrows-ikea-style-promote-anti-austerity-manifesto

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Spanish_general_election,_2016

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีดีอาร์ไอเสนอ สธ.ปรับบทบาทเหมือน ธนาคารแห่งประเทศไทย

$
0
0

เสนอกระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่เฉพาะผู้กำหนนโยบาย หลังต้องทำ 2 หน้าที่ขัดแย้ง ทั้งเป็นเจ้าของ รพ. 800 แห่งที่ต้องบริหารไม่ขาดทุน ส่งผลต่อบทบาทควบคุมและกำกับไม่เป็นกลาง พร้อมแนะ รพ.ออกนอกระบบเหมือน รพ.บ้านแพ้ว หรือส่งต่อ รพ.ให้กับท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นบริหารแทน  

นางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงข้อเสนอการปรับบทบาทกระทรวงสาธารณาสุข (สธ.) ในเวทีสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 ภายใต้หัวข้อ “ปรับบทบาทรัฐไทย ให้ประชาชนได้บริการที่ดี” ว่า เป็นข้อเสนอเพื่อให้ประเทศไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้า และมองว่า สธ.เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องมีการปรับบทบาทเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง โดยบทบาท สธ.ปัจจุบันยังคาบเกี่ยวกับการเป็น “ผู้ให้บริการ” ทำให้ สธ.ขาดความเป็นกลาง ทั้งที่โดยหลักการแล้วบทบาทแท้จริงแล้วจะต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายนโยบายที่คอยกำกับและควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ทั้งการจัดซื้อบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ และการให้บริการของหน่วยบริการ แต่ด้วยขณะนี้ สธ.ยังคงความเป็นเจ้าของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศ มีจำนวนถึงกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ ส่งผลให้การทำหน้าที่ควบคุมจึงคลุมเครือ เพราะมีบทบาทหน้าที่ทั้งผู้ควบคุมตรวจสอบและให้บริการในขณะเดียวกัน

“ในฐานะผู้กำกับนโยบายและตรวจสอบ ไม่ควรทำหน้าที่ผู้ให้บริการ เพราะสองบทบาทขัดแย้งกัน ทำให้การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเกิดความไม่เป็นกลางได้ รวมถึงการนำกฎระเบียบต่างๆ ไปใช้อย่างเหมาะสม เนื่องจากต้องทำหน้าที่เจ้าของโรงพยาบาลที่ต้องปกป้องให้หน่วยบริการในสังกัดดำเนินกิจการได้ จึงควรดำเนินบทบาทเช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่ทำหน้าที่ควบคุมธนาคารพาณิชน์ยทั้งหมด โดยไม่ได้เป็นเจ้าของธนาคารพาณิชย์ ทำให้บทบาทการควบคุมและกำกับดำเนินไปอย่างเหมาะสม”  

วรวรรณ กล่าวว่า นอกจากนี้หลังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมี สปสช.ทำหน้าที่ผู้ซื้อบริการสุขภาพและ สธ.ทำหน้าที่ผู้ให้บริการสุขภาพ ด้วยความเป็นเจ้าของโรงพยาบาล 800 แห่ง ทำให้ สธ.ต้องทำหน้าที่ต่อรองการจัดบริการ งบประมาณ และกลุ่มเป้าหมายประชากรกับ สปสช. ตรงนี้ผิดบทบาทของ สธ.เช่นกัน เพราะตามหลักการแล้ว สธ.จะต้องมีบทบาทที่อยู่เหนือทั้งผู้ซื้อบริการสุขภาพและผู้ให้บริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดการต่อรองที่เป็นธรรม แต่เมื่อ สธ.ลดบทบาทมาเป็นผู้ซื้อเองจึงทำให้การทำบทบาทด้านการควบคุมและกำกับไม่สามารถดำเนินไปอย่างเต็มที่ได้ ตัวอย่างเช่นกรณีการซื้อแพ็คเกจบริการสุขภาพของ สปสช.ไม่เป็นธรรมกับ สธ. ซึ่งตามบทบาทหน้าที่กำกับควบคุม สธ.จะต้องดูว่า แพ็คเกจที่เป็นธรรมควรเป็นอย่างไร แต่เมื่อ สธ.พ่วงด้วยความเป็นเจ้าของโรงพยาบาลด้วย ทำให้ไม่สามารถพูดในเรื่องนี้ได้ เพราะเท่ากับเป็นการต่อรองให้กับตนเอง ดังนั้น สธ.จึงต้องมีบทบาทเช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่วนรูปแบบของโรงพยาบาลสังกัด สธ.หลังจาก สธ.ปรับบทบาทจะเป็นอย่างไรนั้น นางวรวรรณ กล่าวว่า มีหลายรูปแบบ ซึ่งต้องบอกว่าปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศไม่ได้เป็นของ สธ.ทั้งหมด มีทั้งในส่วนของกรมการแพทย์ กทม. กระทรวงหลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ และท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการออกนอกระบบโดยแยกเป็นอิสระแต่ยังคงอยู่ภายใต้กำกับของรัฐ อย่าง โรงพยาบาลบ้านแพ้วที่บริหารโดยชุมชนเข้ามีส่วนร่วม และผลดำเนินการไม่ขาดทุน ต่างจากโรงพยาบาลบางแห่งของ สธ.ที่ขาดทุน แต่น่าเสียดายที่ สธ.ไม่เดินหน้าต่อ

ทั้งนี้เรื่องโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยยังขาดแคลนและไม่ทั่วถึง สธ.จึงต้องมีบทบาทในการขยายโรงพยาบาลเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเข้าถึงบริการได้ แต่สถานการณ์ปัจจุบันนี้ต่างจากในอดีต และระบบสุขภาพต้องการความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยในแง่บริหารจัดการหากยังปล่อยให้โรงพยาบาลที่ไม่มีผู้ป่วยรับบริการคงอยู่ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณ เนื่องจาก สธ.ยังต้องอุ้มโรงพยาบาลเหล่านี้ไว้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีโรงพยาบาลป่าตองซึ่งได้เตรียมความพร้อมออกนอกระบบได้ แต่ปรากฎว่าได้ถูกยุติไป รวมถึงโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปหลายแห่งมีความพร้อมออกจากระบบได้ แต่ที่ผ่านมา สธ.กลับไม่ดำเนินการในเรื่องนี้

ต่อข้อซักถามถึงความเป็นไปได้ในข้อเสนอการปรับบทบาทกระทรวงสาธารณสุข วรวรรณ กล่าวว่า เรื่องนี้คงต้องถามฝ่ายการเมือง เพราะทั้งหลายขึ้นอยู่กับการเมืองอย่างเดียว แต่ถ้ามองในมุมของเศรษฐศาสตร์ ไม่มีเหตุผลต่อที่ สธ.จะยังถือโรงพยาบาล โดยยังคงบทบาทความเป็นเจ้าของโรงพยาบาลไว้

วรวรรณ กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของ สธ.ตามข้อเสนอนี้ ไม่แต่เฉพาะควบคุมในส่วนของระบบหลักประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ยังดูแลระบบหลักประกันสุขภาพทั้งหมดในประเทศ ทั้งระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ กองทุนรักษาพยาบาลของท้องถิ่น เพื่อกำหนดสิทธิประโยชน์ที่เป็นธรรมกับประชาชน ขณะเดียวกันก็ดูในส่วนหน่วยบริการว่างบประมาณของกองทุนที่ให้มาเป็นธรรมต่อหน่วยบริการหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ สธ.ทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ แต่หาก สธ.ยังคงบทบาทเช่นเดิม นอกจากทำให้ระบบสุขภาพขับเคลื่อนไปข้างหน้าไม่ได้แล้ว ยังส่งผลต่อภาระงบประมาณของประเทศด้วย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์เผยคนไม่อยากเลื่อนประชามติ-ให้ประยุทธ์เป็นนายกฯ ต่อหากไม่ผ่าน

$
0
0

 

11 มิ.ย.2559 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ เปิดเผยผลโพลล์หลังจากที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยกรุงเทพโพลล์สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “หลังผ่าน 2 เดือนประชาชนคิดอย่างไรกับร่างรัฐธรรมนูญ” เก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,166 คน พบว่า

เมื่อถามความเห็นว่าควรเลื่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ออกไปหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 เห็นว่าไม่ควรเลื่อน ขณะที่ร้อยละ 20.6 เห็นว่าควรเลื่อน ส่วนร้อยละ 12.2 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามว่าควรแก้ไขหรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตัวร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อลดความขัดแย้งให้กับทุกกลุ่ม ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.8 เห็นว่าควรแก้ไข ขณะที่ร้อยละ 38.2 เห็นว่าไม่ควรแก้ไข และร้อยละ 15.0 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความกังวลต่อการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อความไม่สงบ เมื่อใกล้วันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 65.8 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 28.9 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ที่เหลือร้อยละ 5.3 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามว่ายังคงสนับสนุนให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.0 ให้การสนับสนุน  ขณะที่ร้อยละ 21.2 ไม่ให้การสนับสนุน ส่วนร้อยละ 15.8 ยังไม่แน่ใจ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live