Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live

ญาติมิตรร่วมไว้อาลัย อุสมาน ลูกหยี ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ

$
0
0

สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ และจตุพร พรหมพันธุ์ร่วมไว้อาลัยและประกอบพิธีฝังตามธรรมเนียมศาสนาอิสลามให้กับ "อุสมาน ลูกหยี"ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติเป็นครั้งสุดท้าย หลังล้มป่วยจนหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต ภายหลังร่วมแถลงนโยบายพรรคเพื่อชาติ

พิธีฝังศพอุสมาน ลูกหยี มีเพื่อนมิตรทุกศาสนาเข้าร่วม (ที่มา: Facebook/อุสมาน ลูกหยี)

พิธีฝังศพอุสมาน ลูกหยี ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช (ที่มา: Facebook/จตุพร พรหมพันธุ์)

พิธีฝังศพอุสมาน ลูกหยี (ที่มา: Facebook/จตุพร พรหมพันธุ์)

วันที่ 6 ก.พ. ที่มัสยิดรูฮฺฮุลลอฮฺ ต.โพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช มีพิธีฝังศพตามธรรมเนียมศาสนาอิสลาม ให้กับอุสมาน ลูกหยี ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โดยมีญาติมิตรของอุสมาน มาร่วมไว้อาลัย นอกจากนี้สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ, จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช., นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา และคณะเดินทางมาร่วมพิธีด้วย

โดยจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อชาติโพสต์ไว้อาลัยอุสมาน เมื่อ 5 ก.พ. ว่า "คือนักสู้ตัวจริง ยิ่งกว่าสู้  มีหัวใจดำรงอยู่ด้วยศักดิ์ศรี ประชาธิปไตยเทิดไว้ในใจนี้ อาลัย อุสมาน ลูกหยี ที่เรารัก ขอให้น้องชาย ผู้ร่วมเป็นร่วมตาย ให้อยู่กับพระผู้เป็นเจ้า พี่ไม่มีวันลืมลูกหยี ขอบคุณทุกอย่าง ชาติหน้าพบกัน พี่รักลูกหยีมาก”

อุสมานล้มป่วยจนหัวใจหยุดเต้นเมื่อ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา หลังร่วมแถลงนโยบายพรรคเพื่อชาติ ก่อนเสียชีวิตที่ รพ.วิภารามเมื่อ 11.23 น. วันที่ 5 ก.พ. ดังกล่าว (ชมคลิปปราศรัยของอุสมาน)

อุสมาน ลูกหยี ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ (แฟ้มภาพ/พรรคเพื่อชาติ)

ด้านพรรคเพื่อชาติได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การถึงแก่กรรม ของอาจารย์อุสมาน ลูกหยี ประธานยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อชาติ โดยเปิดเผยว่าอุสมาน ลูกหยี ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจ ณ รพ.วิภาราม เมื่อเวลา 11.23 น. วันที่ 5 ก.พ.2562

"ยังความเสียใจเป็นอย่างยิ่งมายังครอบครัว คนรักใคร่ ญาติมิตร คณะกรรมการบริหารพรรค สมาชิกพรรคเพื่อชาติ ตลอดจนผู้เคารพรักใคร่ ศรัทธาในแนวคิดอุดมการณ์ประชาธิปไตย ที่อาจารย์อุสมาน ลูกหยี ได้นำเสนอผ่านทางรายการทีวี และโซเชียลมีเดียทั้งหลายมาโดยตลอด"แถลงการณ์ตอนหนึ่งของพรรคเพื่อชาติระบุ

สำหรับอุสมาน ลูกหยี ในสมัยที่เป็นนักศึกษาเคยอยู่พรรคศรัทธาธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่นเดียวกับจตุพร พรหมพันธุ์ ในช่วงประท้วงขับไล่รัฐบาล รสช. หลัง พล.อ.สุจินดา คราประยูร สืบทอดอำนาจเมื่อพฤษภาคม 2535 นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรฝึกอบรมศิลปะการพูดสถาบันแมนพาวเวอร์     

ต่อมาในปี 2545 กลายเป็นนักพูดที่มีชื่อเสียงจากการร่วมรายการ “สภาโจ๊ก” เช่นเดียวณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (รับบทไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ทางไอทีวี นอกจากนี้อุสมานยังเคยร่วมก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ PTV กับวีระ มุสิกพงศ์, จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ก่อแก้ว พิกุลทอง และจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งรายหลังลี้ภัยไปต่างประเทศตั้งแต่ปี 2552

ในช่วงขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อุสมาน และสมชาย หนองฮี สมาชิกสภาโจ๊ก ได้ไปปราศรัยที่เวทีพันธมิตรเมื่อ 27 มีนาคม 2549 นอกจากนี้ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปี 2551 เขาได้ฝากบทกลอน "หมาไม่เคย โกงกิน สินของชาติ, หมาไม่เคย บ้าอำนาจ อาฆาตฆ่า ฯลฯ"ให้อมร อมรรัตนานนท์ หรือชื่อปัจจุบันคือ รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี อ่านบนเวทีเมื่อ 4 กรกฎาคม 2551 ด้วย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาในระยะหลังเขาไปร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รวมทั้งจัดรายการในสถานี PEACE 24 นอกจากนี้เขายังอธิบายหลักการศาสนาอิสลามผ่านทาง Facebook Live ส่วนตัว และเมื่อมีการก่อตั้งพรรคเพื่อชาติ เขายังเข้าร่วมและมีบทบาทในฐานะประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ

ก่อนหน้านี้จตุพรกล่าวถึงอุสมานว่า ในเหตุการณ์พฤษภาปี 2535 พรรคการเมืองต่างๆ มีนักพูดมากมาย เขากับนายอุสมานเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยรามคำแหงใน พ.ศ. นั้น นักการเมืองระดับไหนก็ตามต่างยกให้ผู้ปราศรัยดีที่สุด ประชาชนรอฟังมากที่สุดคือลูกหยี ทั้งที่เขาเป็นโรคหืดหอบ สุขภาพไม่ดี แต่มีจิตใจที่เข้มแข็ง ช่วงทำศึกหนักๆ ตนก็ไม่กล้าชวน เพราะเราก็ห่วงสังขารเขามีปัญหา จนกระทั่งชวนมาจัดรายการ ช่วงทำกิจกรรมเขาจริงจังทุกเรื่อง ตอนทำศูนย์ปราบโกง เราถูกฟ้องที่กรุงเทพฯ แต่ลูกหยีถูกฟ้องที่ จ.ยะลา

“ในยุทธภพนี้ก็รู้ว่าเขาไม่มีวันตามหลังใครยกเว้นผมคนเดียว ตั้งแต่อยู่ที่รามคำแหงมาแล้ว ใครจะชวนเขา เขาเป็นจอมยุทธ์คนหนึ่ง ใครจะชวนเขาอย่างไรเขาก็ไม่มีวันที่จะยินยอม ยกเว้นผมชวนเขา เขาก็ไม่เคยปฏิเสธกันในตลอดชีวิตนี้มา ก็ไม่น่าเชื่อหลังจากพูดที่ห้องประชุมในวันนั้น พอกลางคืนเข้าโรงพยาบาลรอบแรกหมอก็ให้กลับ แล้วก็รอบหลังเกิดอาการหนักขึ้นมาอีก ต้องกลับไปใหม่ รอบนี้มันหนักที่สุด เพราะกว่าจะไปถึงโรงพยาบาลหยุดหายใจประมาณ 5 นาที กว่าจะถึงโรงพยาบาล หมอก็ปั๊มหัวใจดับไปดับมา 3 รอบ ตอนนี้ก็หายใจได้ด้วยสายออกซิเจน อย่างไม่รู้สึกรู้เนื้อรู้ตัว ก็วาดหวังว่าหลังจากได้มีการส่งข้ามโรงพยาบาลไปอีกโรงพยาบาลหนึ่งที่เขาชำนาญเรื่องโรคหัวใจนั้น เขาได้กลับฟื้นกันมา” จตุพรระบุ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

อุตตม มั่นใจประยุทธ์จะตอบรับเป็นแคนดิเดตนายกฯ พร้อมยื่นบัญชีรายชื่อ ส.ส. 120 ชื่อ

$
0
0

6 ก.พ. 2562 เวลา 10.00 น. ที่ พรรคพลังประชารัฐ อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค แถลงความคืบหน้าการเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี อยู่ในบัญชีรายชื่อ นายกฯ ของพรรค ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่ได้ตอบรับ หรือแจ้งการตัดสินใจมาที่พรรค แต่เชื่อว่าจะทันภายในวันที่ 8 ก.พ. แน่นอน

อุตตม กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ตนได้นำเอกสารไปเชิญสมคิดเหมือนกับที่เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ โดยสมคิดขอเวลาตัดสินใจ 1 - 2 วัน ซึ่งเราต้องให้เกียรติและให้เวลาท่าน ส่วนความคืบหน้าการจัดทำรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครที่มี สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค เป็นประธาน พิจารณาใกล้เสร็จแล้ว และในช่วงบ่ายวันเดียวกันคาดว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อให้พิจารณา และถ้ามีความพร้อมจะไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 7 ก.พ. นี้ และมีแนวโน้มที่จะยื่นบัญชีรายชื่อ นายกฯ ของพรรคไปพร้อมกันหาก พล.อ.ประยุทธ์ และนายสมคิดตอบรับทัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า โอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะตอบรับมีมากน้อยแค่ไหน อุตตม กล่าวว่า คงประเมินไม่ได้ เพราะต้องให้เกียรติ พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณา ส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อ เป็นไปได้ที่พรรคจะส่งไม่ถึง 150 คน แต่จะมีประมาณ 100 คน ขึ้นไป โดยเราพยายามคัดสรรบุคคลที่มีความเหมาะสมจริงๆ เข้ามาทำงาน ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่พอใจรายชื่อของ ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับต้นๆ ของพรรคนั้น ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะเราดูรายชื่ออย่างละเอียดรอบคอบ และโชคดีที่พรรคเรามีคนจากหลายอาชีพ เข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน จึงทำให้มีตัวเลือกหลากหลาย

เมื่อถามว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบรับจะกระทบต่อความนิยมของพรรคหรือไม่ อุตตม กล่าวว่า ไม่อยากให้พูดก่อน แต่เราต้องการทำพรรคนี่อย่างถาวร ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ ตัวบุคคลเป็นเพียงหนึ่งในสามองค์ประกอบ ซึ่งเราไม่ได้ยึดติดกับตัวบุคคลแบบจะเป็นจะตาย แต่ส่วนตัวไม่ค่อยเผื่อใจ มั่นใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะตอบรับ ตนมีความเชื่อมั่น และหวังว่าจะเป็นอย่างนั้น และผู้สมัครหลายคนเองก็เตรียมขึ้นป้ายหาเสียงคู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ แล้ว รอเพียงการตอบรับ และยื่น กกต. เท่านั้น

อุตตม กล่าวว่า จากการที่ผู้สมัครได้ลงพื้นที่หาเสียงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ถึงขนาดนี้ยังไม่พบปัญหาใดๆ แม้จะมีการทำลายป้ายหาเสียงบ้าง ซึ่งต้องดำเนินการทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชารัฐ จะมีการปราศรัยใหญ่ทุกภาคทั่วประเทศและใน กทม. ในเร็ววันนี้ ยืนยันว่า พรรคพลังประชารัฐ จะไม่ซื้อเสียงแน่นอน และหวังว่าทุกพรรคจะไม่ซื้อเสียงเช่นเดียวกัน เพราะประชาชนคาดหวังในการเลือกตั้งครั้งนี้สูงมาก ทุกพรรคการเมืองควรร่วมกันทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยควรแข่งขันกันที่นโยบาย ไม่ใช้วิธีการซื้อเสียง

ด้านสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยถึงการส่งผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค ว่า จะสามารถไปยื่นสมัคร กกต. ได้ในวันพรุ่งนี้ วันนี้จะนำรายชื่อผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 120 รายชื่อ ซึ่งปรับลดจาก 150 รายชื่อ เข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เพื่อให้การรับรองและพร้อมจะเปิดเผยกับสื่อมวลชนได้ในวันพรุ่งนี้

ที่มาจาก : คมชัดลึกออนไลน์ , สำนักข่าวไทย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สนธิรัตน์ พร้อมยื่น 120 รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ ยันมีแผนสำรองหากประยุทธ์เมินแคนดิเดตนายกฯ

$
0
0

6 ก.พ. 2562 เวลา 10.00 น. ที่ พรรคพลังประชารัฐ อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค แถลงความคืบหน้าการเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี อยู่ในบัญชีรายชื่อ นายกฯ ของพรรค ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่ได้ตอบรับ หรือแจ้งการตัดสินใจมาที่พรรค แต่เชื่อว่าจะทันภายในวันที่ 8 ก.พ. แน่นอน

อุตตม กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ตนได้นำเอกสารไปเชิญสมคิดเหมือนกับที่เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ โดยสมคิดขอเวลาตัดสินใจ 1 - 2 วัน ซึ่งเราต้องให้เกียรติและให้เวลาท่าน ส่วนความคืบหน้าการจัดทำรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครที่มี สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค เป็นประธาน พิจารณาใกล้เสร็จแล้ว และในช่วงบ่ายวันเดียวกันคาดว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อให้พิจารณา และถ้ามีความพร้อมจะไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 7 ก.พ. นี้ และมีแนวโน้มที่จะยื่นบัญชีรายชื่อ นายกฯ ของพรรคไปพร้อมกันหาก พล.อ.ประยุทธ์ และนายสมคิดตอบรับทัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า โอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะตอบรับมีมากน้อยแค่ไหน อุตตม กล่าวว่า คงประเมินไม่ได้ เพราะต้องให้เกียรติ พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณา ส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อ เป็นไปได้ที่พรรคจะส่งไม่ถึง 150 คน แต่จะมีประมาณ 100 คน ขึ้นไป โดยเราพยายามคัดสรรบุคคลที่มีความเหมาะสมจริงๆ เข้ามาทำงาน ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่พอใจรายชื่อของ ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับต้นๆ ของพรรคนั้น ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะเราดูรายชื่ออย่างละเอียดรอบคอบ และโชคดีที่พรรคเรามีคนจากหลายอาชีพ เข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน จึงทำให้มีตัวเลือกหลากหลาย

เมื่อถามว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบรับจะกระทบต่อความนิยมของพรรคหรือไม่ อุตตม กล่าวว่า ไม่อยากให้พูดก่อน แต่เราต้องการทำพรรคนี่อย่างถาวร ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ ตัวบุคคลเป็นเพียงหนึ่งในสามองค์ประกอบ ซึ่งเราไม่ได้ยึดติดกับตัวบุคคลแบบจะเป็นจะตาย แต่ส่วนตัวไม่ค่อยเผื่อใจ มั่นใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะตอบรับ ตนมีความเชื่อมั่น และหวังว่าจะเป็นอย่างนั้น และผู้สมัครหลายคนเองก็เตรียมขึ้นป้ายหาเสียงคู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ แล้ว รอเพียงการตอบรับ และยื่น กกต. เท่านั้น

อุตตม กล่าวว่า จากการที่ผู้สมัครได้ลงพื้นที่หาเสียงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ถึงขนาดนี้ยังไม่พบปัญหาใดๆ แม้จะมีการทำลายป้ายหาเสียงบ้าง ซึ่งต้องดำเนินการทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชารัฐ จะมีการปราศรัยใหญ่ทุกภาคทั่วประเทศและใน กทม. ในเร็ววันนี้ ยืนยันว่า พรรคพลังประชารัฐ จะไม่ซื้อเสียงแน่นอน และหวังว่าทุกพรรคจะไม่ซื้อเสียงเช่นเดียวกัน เพราะประชาชนคาดหวังในการเลือกตั้งครั้งนี้สูงมาก ทุกพรรคการเมืองควรร่วมกันทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยควรแข่งขันกันที่นโยบาย ไม่ใช้วิธีการซื้อเสียง

ด้านสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยถึงการส่งผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค ว่า จะสามารถไปยื่นสมัคร กกต. ได้ในวันพรุ่งนี้ วันนี้จะนำรายชื่อผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 120 รายชื่อ ซึ่งปรับลดจาก 150 รายชื่อ เข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เพื่อให้การรับรองและพร้อมจะเปิดเผยกับสื่อมวลชนได้ในวันพรุ่งนี้ สำหรับรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่ตอบรับกลับมา แต่หากได้รับการตอบรับแล้วจะเปิดเผยและยื่นต่อ กกต. ต่อไป ทั้งนี้ หาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบรับคำเชิญ พรรคก็มีแผนสำรอง และเตรียมการทุกสถานการณ์ไว้แล้ว โดยภายในวันที่ 8 ก.พ. พรรคจะดำเนินการทุกอย่างอย่างครบถ้วน

ที่มาจาก : คมชัดลึกออนไลน์ , สำนักข่าวไทย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ชัชชาติ เผยไม่ถนัดงานนิติบัญญัติ จึงไม่มีชื่อในปาร์ตี้ลิสต์เพื่อไทย แย้มอนาคตอาจลงผู้ว่าฯ กทม.

$
0
0

เปิด 250 รายชื่อผู้สมัครระบบแบ่งเขต และ 97 บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ไร้ชื่อชัชชาติ เจ้าตัวระบุไม่ถนัดงานนิติบัญญัติ แย้มในอนาคตหากเพื่อไทยไม่ได้เป็นรัฐบาลอาจจะลงสมัคร ผู้ว่าฯ กทม.

5 ก.พ. 2562 สืบเนื่องจากกรณีพรรคเพื่อไทยได้ยื่นบัญชีผู้สมัครรับเลือกตั้งในประเภทบัญชีรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฎว่าในจำนวน 97 รายชื่อนั้น ไม่มีชื่อของ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ รวมอยู่ด้วย แต่มีชื่อปรากฎอยู่ในบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีร่วมกับ สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และชัยเกษม นิติศิริ

ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ชี้แจงเรื่องรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อไม่มีชื่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่า เพราะนายชัชชาติถนัดงานบริหารมากกว่างานนิติบัญญัติ และปฏิเสธไม่มีการฮั้วกับพรรคอื่น ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีตัวแทนพรรคเพื่อไทยลงสมัครขอให้ประชาชนสนับสนุนพรรคที่สนับสนุนประชาธิปไตย

ขณะที่ ชัชชาติให้สัมภาษณ์ถึงเหตุผลไม่มีรายชื่อสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นไปตามมติกรรมการบริหารพรรค ส่วนตัวยืนยันทำงานด้านยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจต่อไป ส่วนตัวยังคงทำงานสนับสนุนพรรคเพราะทุกคนทำงานเป็นทีม ส่วนกระแสข่าวลือว่า หากไม่ติดในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจะกลับไปทำงานบริหารธุรกิจนั้น นายชัชชาติระบุเป็นเรื่องอนาคต แต่การตัดสินใจมาทำงานการเมืองครั้งนี้มาแบบเต็มตัว ไม่ใช่มาเล่นๆ

เมื่อถามว่าถ้าหลังเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นฝ่ายบริหาร จะตัดสินใจทางการเมืองอย่างไร ชัชชาติ กล่าวว่า "อาจจะสมัครผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งมีทางเลือกอีกมาก มีหลายบทบาท ยืนยันไม่น้อยใจ และไม่ว่าอย่างไรก็อยู่กับพรรคเพื่อไทยแน่นอน เพราะอุดมการณ์ไปด้วยกันได้"

สำหรับรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ประเภทบัญชีรายชื่อของพรรคไทยมีทั้งหมด 97 รายชื่อดังนี้

1.พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ 2.สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 3.ชัยเกษม นิติศิริ 4.ภูมิธรรม เวชยชัย 5.เสนาะ เทียนทอง 6.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 7.ปลอดประสพ สุรัสวดี 8.โภคิน พลกุล 9.พงษ์ศักดิ์ รัตนพงศ์ไพศาล 10.เกรียง กัลป์ตินันท์ 11.กิติ ณ ระนอง 12.ชูศักดิ์ ศิรินิล 13.พงศ์เทพ เทพกาญจนา 14.นพดล ปัทมะ 15.พรศักดิ์ เกจริญประเสริฐ 16.ทุนศักดิ์ เล็กอุทัย 17.ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ 18.พินิจ จันทรสุรินทร์ 19.อนุสรณ์ วงศ์วรรณ 20.ประยุทธ์ ศิริพานิชย์

21.พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ 22.ชูชาติ หาญสวัสดิ์ 23.อดิษศร เพียงเกษ 24.ธนิก มาลีพิทักษ์ 25.ตวงรัตน์ โล่ห์สุทร 26.ปวีณ แซ่จึง 27.พนัส ทัศนียานนท์ 87.พล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน 29.วิรุฬ เตชะไพบูลย์ 30.พิษณุ หัตถสงเคราะห์ 31.ชุมพร พลรักษ์ 32.พล.ต.ท.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ 33.ภาคภูมิ โรจนสกุล 34.พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี 35.ชุมสาย ศรียาภัย 36.ต่อพงษ์ ไชยสาส์น 37.ดวงแข อรรณนพพร 38.วิจักร อากัปกริยา 39.นิสิต สินธุไพร 40.ขานิฐาณันท์ เทียมประเสริฐ

41.สิทธิชัย กิตติธเนศวร 42.สมบัติ รัตโน 43.จักรพงษ์ แสงมณี 44.นราภรณ์ ไวยนิยมพงศ์ 45.ธวัชชัย สุทธิบงกช 46.ภูวนิดา คุณผลิน 47.วิชัย สามิตร 48.สุรจิตร ยนต์ตระกูล 49.จารุพรรณ กุลดิลก 50.ชาญยุทธ เฮงตระกูล 51.ปรีชา ธนานันท์ 52.เอกพจน์ วงศ์อารยะ 53.ทรงพล เกียรติวินัยสกุล 54.พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ 55.นันทนา ตันติทวีโชค 56.นิยม ประสงค์ชัยกุล 57.ศุภณัฐค์ น้อยโสภณ 58.วัฒนา เซ่งไพเราะ 59.ภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ 60.ไพโรจน์ วงศ์พรหม

61.ณรงค์ รุ่งธนวงศ์ 62.ประสพ สารสมัคร 63.ทิพย์สุดา กิจจาพิพัฒน์ 64.เทพฤทธิ์ สีน้ำเงิน 65.ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ 66.เกรียงไกร กิตติธเนศวร 67.จำนงค์ ไชยมงคล 68.กิติพงศ์ พงศ์สุเวท 69.พล.ต.ต.ลัทธสัญญา เพียรสมภาร 70.พ.อ.ประวัติ นิกาญจน์กูล 71.วิบูลย์ แช่มชื่น 72.เณริน จันทกร 73.พล.อ.อ.ชูชาติ ชวนชม 74.กมล บันไดเพชร 75.เอกกฤษ อุณหกานต์ 76.ณกฤช เศวตนันทน์ 77.โกวิทย์ ดอกไม้ 78.พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธุ์ 79.สิริภา มาดะกะกุล 80.ยุ้ง จักรไพศาล

81.บุณฑิกา ประสงค์ดี 82.อลงกรณ์ ทวีรักษา 83.ธวัช บุญเฟื่อง 84.วิมล จันทร์จิราวุฒิกุล 85.นพชัย ศรีสุวนันท์ 86.ภัทร ภมรมนตรี 87.ปิยชาติ วีรเดช 88.อาคม สุวรรณนพ 89.พิมพ์ชนา โหสกุล 90.วรกร คำสิงห์นอก 91.สมบูรณ์ นาคะอินทร์ 92.ชัชฎา ชัยชูชนะภัย 93.เทอดธนัท สีเขียว 94.เอกรัฐ สมันตรัฐ 95.อภิวัฒน์ กองมณี 96.อภิยุทธ ณ กาฬลินธุ์ 97.น้ำฝน นุตมา

สำหรับผู้สมัคร ส.ส. ในระบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครทั้งหมด 250 เขต มีรายละเอียดดังนี้

กรุงเทพฯ ส่ง 22 เขต 

เขต 1 พระนคร ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ตุสิต (ยกเว้นแขวงนครไชยศรี) ส่ง ลีลาวดี วัชโรบล

เขต 5 ดินแดง ห้วยขวาง ส่ง ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ

เขต 6 พญาไท ราชเทวี จตุจักร (เฉพาะแขวงจตุจักร จอมพล) ส่ง ประพนธ์ เนตรรังษี เ

เขต 7 บางซื่อ ดุสิต (เฉพาะแขวง ถ.นครไชยศรี) ส่ง ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์

เขต 8 ลาดพร้าว วังทองหลาง (ยกเว้นแขวงพลับพลา) ส่ง ร.ท.หญิง สุณิสา ธิวากรดํารง

เขต 9 หลักสี่ จตุจักร (ยกเว้นแขวงจตุจักร จอมพล) ส่ง สุรชาติ เทียนทอง

เขต 10 ดอนเมือง ส่ง การุณ โหสกุล

เขต 11 สายไหม ส่ง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

เขต 12 บางเขน ส่ง อนุสรณ์ ปั้นทอง

เขต 13 บางกะปิ วังทองหลาง (เฉพาะแขวงพลับพลา) ส่ง ตรีรัตน์ ศรีจันทโรภาส

 เขต 14 บึงกุ่ม คันนายาว ส่ง นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ

เขต 15 มีนบุรี คันนายาว (ยกเว้นแขวงรามอินทรา) ส่ง วิชาญ มีนชัยนันท์

เขต 16 คลองสามวา ส่ง จิรายุ ห่วงทรัพย์

เขต 17 หนองจอก ส่ง ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์

เขต 18 ลาดกระบัง ส่ง ธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์

เขต 19 สะพานสูง ประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอน ดอกไม้) ส่ง วิตต์ ก้องธรณินทร์

เขต 23 จอมทอง ธนบุรี (เฉพาะแขวงดาวคะนอง บุคคโล สําเหร่) ส่ง ธวัชชัย ทองสมา

เขต 26 บางบอน หนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) ส่ง วัน อยู่บํารุง

เขต 27 ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงตลิ่งชัน ฉิมพลี) หนองแขม (ยกเว้นแขวงหนองแขม) ส่ง พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง

เขต 28 บางแค ส่ง วัฒนา เมืองสุข

เขต 29 ภาษีเจริญ ตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงตลิ่งชัน ฉิมพลี) ส่ง สุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา

เขต 30 บางพลัด บางกอกน้อย ส่ง พงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ

ภาคเหนือ 14 จังหวัด

1.กําแพงเพชร ส่ง 4 เขต คือ เขต 1 วีระศักดิ์ สุ่นสา เขต 2 อดุลย์รัตน์ แสงประชุม เขต 3 จรัญ อิสระบัณฑิต กุล และเขต 4 ปรีชา เพ็งภู่

2.เชียงราย ส่ง 7 เขต คือ เขต 1 สามารถ แก้วมีชัย เขต 2 วิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ เขต 3 วิสาร เตชะธีราวัฒน์ เขต 4 รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ เขต 5 พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เขต 6 อิทธิเดช แก้วหลวง เขต 7 ละออง ติยะไพรัช

3.เชียงใหม่ ส่ง 9 เขต คือ เขต 1 ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ เขต 2 นพคุณ รัฐไผท เขต 3 จักรพล ตั้งสุทธิธรรม เขต 4 วิทยา ทรงค่า เขต 5ประสิทธิ์ วุฒินันชัย เขต 6 จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เขต 7 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เขต 8 สุรพล เกียรติไซยากร เขต 9 ศรีเรศ โกฏคําลือ

4.ตาก ส่ง 1 เขต คือ เขต 3 ชัยณรงค์ มะเตชะ

5.นครสวรรค์ ส่ง 6 เขต คือ เขต 1 บุษญา ตั้งภากรณ์ เขต 2 วรภัทร ตั้งภากรณ์ เขต 3 สัญชัย วงษ์สุนทร เขต 4 พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ เขต 5 ทายาท เกียรติศักดิ์ เขต 6 อภิสิทธิ์ อินสิทธิ์

6.น่าน ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 สิรินทร รามสูตร เขต 2 น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว เขต 3 ณัฐพงษ์ สุปรียศิลป์

7.พะเยา ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 อรุณี ชำนาญยา เขต 2 วิสุทธิ์ ไชยณรุณ เขต 3 ไพโรจน์ ต้นบรรจง

8.พิษณุโลก ส่ง 3 เขต คือ เขต 2 นพพล เหลืองทองนารา เขต 4 นิยม ช่างพินิจ เขต 5 นคร มาฉิม

9.เพชรบูรณ์ ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 สุทัศน์ จันทร์แสงสี เขต 3 นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เขต 4 พ.อ.ท.กิตติคุณ นาคะบุตร

10.แม่ฮ่องสอน 1 เขต คือ วิเชียร บุญระชัยสวรรค์

11.ล่าปาง ส่ง 4 เขต คือ เขต 1 กิตติกร โล่สุนทร เขต 2 ไพโรจน์ โล่สุนทร เขต 3 จรัสฤทธิ์ จันทร์สุรินทร์ เขต 4 อัทธิรัตน์ จันทร์สุรินทร์

12.สําพูน ส่ง 2 เขต คือ เขต 1 สงวน พงษ์มณี 2 รังสรรค์ มณีรัตน์

13.สุโขทัย ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 ปราศาสตร์ ทองปากน้ำ เขต 2 อรุณ สุภาพร เขต 3 อารยะ ชุมดวง

14.อุตรดิตถ์ ส่ง 2 เขต คือ เขต 1 กนก ลิ้มตระกูล เขต 2 ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ

ภาคอีสาน 20 จังหวัด

1.กาฬสินธุ์ ส่ง 5 เขต คือ เขต 1 บุญรื่น ศรีธเรศ เขต 2 วีรวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ เขต 3 คมเดช ไชยศิวามงคล เขต 4 พีระเพชร ศิริกุล เขต 5 ประเสริฐ บุญเรือง

2.ขอนแก่น ส่ง 10 เขต คือ เขต 1 จักริน พัฒน์ดำรงกิจ เขต 2 อรอนงค์ สาระผล เขต 3 จตุพร เจริญเชื้อ เขต 4 มุกดา พงษ์สมบัติ เขต 5 ภาควัตน์ ศรีสุรพล เขต 6 สิงหภณ ดีนาง เขต 7 ณวัฒน์ เตาะเจริญสุข เขต 8 สรัสนันท์ อรรณนพพร เขต 9 วันนิวัติ สมบูรณ์ เขต 10 บัลลังค์ อรรณนพพร  

3.ชัยภูมิ ส่ง 5 เขต คือ เขต 1 โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย เขต 2 อรรถทวีร์ อุระวัฒนพันธุ์ เขต 3 อนันต์ ลิมปคฺปตถาวร เขต 4 มานะ โลหะวณิชย์ เขต 5 พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล เขต 6 สุรวิทย์ คนสมบูรณ์

4.นครพนม ส่ง 4 เขต 1 ยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ เขต  2 มนพร ศรีเจริญ เขต 3 ไพจิต ศรีวรขาน เขต 4 ชวลิต วิชัยสุทธิ์

5.นครราชสีมา ส่ง 14 เขต คือ เขต 1 ร.ต.อ.สุปชัย อินทรักษา เขต 2 สุธรรม พรสันเทียะ เขต 3 ประเสริฐ จันทรรวง ทอง เขต 4 จักกฤช ผามูลสุข เขต 5 โกศล ปัทมะ เขต 6 สมชาย ภิญโญ เขต 7 จรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร เขต 8 ประชาธิปไตย คําสิงห์นอก เขต 9 อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เขต 10 พ.ต.อ.ปฏิวัติ นาคำ เขต 11สมชาติ เดชดอน เขต 12 ศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ เขต 13 รชต ด่านกุล เขต 14 สุรชาติ ภิญโญ

6.บึงกาฬ ส่ง 2 เขต คือ เขต 1 เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ เขต 2 ไตรรงค์ ติธรรม

7.บุรีรัมย์ ส่ง 4 เขต คือ เขต 2 สุรศักดิ์ นาคดี เขต 3 พีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ เขต 4 ประกิจ พลเดช เขต 6 พรชัย ศรีสุริยันโยธิน

8.มหาสารคาม ส่ง 5 เขต คือ เขต 1 กิตติศักดิ์ ธนาสวัสดิ์ เขต 2 ไชยวัฒนา ติณรัตน์ เขต 3 ยุทธพงษ์ จรัสเสถียร เขต 4จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ เขต 5 สุทิน คลังแสง

9.มุกดาหาร ส่ง 2 เขต คือ เขต 1 อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ เขต 2 บุญธิน ประทุมลี

10.ยโสธร ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 ปิยวัฒน์ พันธ์สายเชื้อ เขต 2 บุญแก้ว สมวงศ์ เขต 3 ธนกร ไชยกุล

11.ร้อยเอ็ด ส่ง 7 เขต คือ เขต 1 วราวงษ์ พันธุ์ศิลา เขต 2 ฉลาด ขามช่วง เขต 3 นิรมิต สุจารี เขต 4 นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เขต 5 จิราภรณ์ สินธุไพร เขต 6 กิตติ สมทรัพย์ เขต 7 ศักดา คงเพชร

12.เลย ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 เลิศศักดิ์ พัฒนกุลชัย เขต 2 ศรัณย์ ทิมสุวรรณ เขต 3 สันติภาพ เชื้อบุญมี

13.ศรีสะเกษ ส่ง 8 เขต คือ เขต 1 ธเนศ เครือรัตน์ เขต 2 สุรชาติ ชาญประดิษฐ์ เขต 3 วิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ เขต 4 จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เขต 5 ธีระ ไตรสรณกุล เขต 6 วีระพล จิตสัมฤทธิ์ เขต 7 มานพ จรัสดํารงนิตย์ เขต 8 ผ่องศรี แซ่จึง

14.สกลนคร ส่ง 6 เขต คือ เขต 1 อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย เขต 2 นิยม เวชกามา เขต 3 พัฒนา สัพโส เขต 4 อนุรักษ์ บุญศล เขต  5 สกุณา สาระนันท์ เขต 6 เกษม อุประ

15.สุรินทร์ ส่ง 7 เขต คือ เขต 1 พันธ์เทพ ฐานุพงศ์ชรัช เขต 2 ชูชัย มุ่งเจริญพร เขต 3 คุณากร ปรีชาชนะภัย เขต 4 ตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล เขต 5 ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม เขต 6 สมบัติ ศรีสุรินทร์ เขต 7 ชูศักดิ์ แอกทอง

16.หนองคาย ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ เขต 2 ชนก จันทาทอง เขต 3 เอกธนัช อินทร์รอด

17.หนองบัวลําภู ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 สยาม หัตถสงเคราะห์ เขต 2 ไชยา พรหมมา เขต 3 รัฐวุฒิ กองจันทร์ดี

18.อํานาจเจริญ ส่ง 2 เขต คือ เขต 1 สมหญิง บัวบุตร เขต 2 ดนัย มหิทธิพันธ์

19.อุดรธานี ส่ง 8 เขต คือ เขต 1 ศราวุธ เพชรพนมพร เขต 2 อนันต์ ศรีพันธุ์ เขต 3 ขจิต ชัยนิคม เขต 4 อาภรณ์ สาราคํา เขต 5จุฑาพัตธน์ เมนะสวัสดิ์ เขต 6 จักรพรรดิ ไชยสาสน์ เขต 7 เกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม เขต 8 เทียบจุฑา ขาวขํา

20.อุบลราชธานี ส่ง 10 เขต คือ เขต 1 วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ เขต 2 ณรงค์ชัย วีระกุล เขต 3 กิตธัญญา วาจาดี เขต 4 เอกชัย ทรงอํานาจเจริญ เขต 5 รัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ เขต 6 พิสิษฐ์ สันตพันธุ์ เขต 7 ชูวิทย์ พิทักษ์พร ภัลลภ เขต 8 เอกพล ญาวงศ์ เขต 9 ประภูศักดิ์ จินตะเวช เขต 10 สมคิด เชื้อคง

ภาคกลาง 19 จังหวัด

1.ฉะเชิงเทรา ส่ง 2 เขต คือ เขต 2 สมชัย อัศวชัยโสภณ เขต 3 สายัณห์ นิราช

2.ชลบุรี ส่ง 4 เขต คือ เขต 1 จําโนทย์ ปล้องอุดม เขต 2 สราวุธ วงษ์แสงทอง เขต 3 รินทิรา วัฒนวงษ์ภิญโญ เขต 4 จิรวุฒิ สิงโตทอง

3.ชัยนาท ส่ง 1 เขต คือ เขต 1 พรหมมิน สีตะบุตร

4.นครนายก ส่ง 1 เขต คือเขต 1 วุฒิชัย กิตติธเนศวร

5.นนทบุรี ส่ง 6 เขต คือ เขต 1 นิทัศน์ ศรีนนท์ เขต 2 นิยม ประสงค์ชัยกุล เขต 3 มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ เขต 4 มนตรี ตั้งเจริญถาวร เขต 5 วันชัย เจริญนนทสิทธิ์ เขต 6 ภณณัฏฐ์ ศรีอินทร์สุทธิ์

6.ปทุมธานี ส่ง 6 เขต คือ เขต 1 สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เขต 2 ศุภชัย นพขำ เขต 3 สมศักดิ์ ใจแคล้ว เขต 4 ชัยยันต์ ผลสุวรรณ เขต 5 พิมพิมล ธรรมสาร เขต 6 สมชาย รังสิวัฒนศักดิ์

7.ประจวบคีรีขันธ์ ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 วิชิต ปลั่งศรีสกุล เขต 2 พรเทพ วิสุทธิวัฒนศักดิ์ เขต 3 สมนึก รุ่งจํากัด

8.ปราจีนบุรี ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 เกียรติกร พากเพียรศิลป์ เขต 2 สมเกียรติ คําดํา เขต 3 คมกฤช หงษ์วิไล

9.พระนครศรีอยุธยา ส่ง 4 เขต คือ เขต 1 สุรเขษฐ์ ชัยโกศล เขต 2 นพ ชีวานันท์ เขต 3 วิทยา บุรณศิริ เขต 4 จิรทัศ เรืองไกรเดชา

10.ระยอง ส่ง 3 เขต คือ เจต 1 ด.ต.สรศักดิ์ รากแก้ว เขต 3 เกรียงไกร กิ่งทอง เขต 4 สุรินทร์ เปา อันทร์

11.ลพบุรี 4 เขต คือ เขต 1 พิชัย เกียรติวินัยสกุล เขต 2 สุชาติ ลายน้ำเงิน เขต 3 อุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม เขต 4 สนั่น พรหมสุข

12.สมุทรปราการ ส่ง 7 เขต คือ เขต 1 สุทธิรัตน์ ยังตรง เขต 2 ภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์ เขต 3 ประเสริฐ ชัยกิจ เด่นนภาลัย เขต 4 วรชัย เหมะ เขต 5 สลิลทิพย์ สุวัฒน์ เขต 6 นฤมล ธารดํารง เขต 7 นันทวรรณ ประสพดี

13. สมุทรสาคร ส่ง 1 เขต คือ เขต 3 พล.ต.อ.วิเลข ศรีนิเวศน์

14.สมุทรสงคราม ส่ง 1 เขต คือ ประกอบ แสงจันทร์

15.สระแก้ว ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 สนธิเดช เทียนทอง เขต 2 พ.ต.อ.พายัพ ทองขึ้น เขต 3 สรวงศ์ เทียนทอง

16.สระบุรี 3 เขต คือ เขต 1 พรพันธ์ เจริญรัศมี เขต 2 อรรถพล วงษ์ประยูร เขต 3 องอาจ วงษ์ประยูร

17.สิงห์บุรี 1 เขต คือ สุรสาล ผาสุก

18.สุพรรณบุรี ส่ง 1 เขต คือ เขต 4 สหรัฐ กุลศรี

19.อ่างทอง ส่ง 1 เขต คือ พล.ต.ต.ประจวบ เปาอินทร์

ภาคใต้ 7 จังหวัด

1.กระบี่ ส่ง 1 เขต คือ เขต 2 อัศวโรจน์ เถาว์กลอยกูจิ

2 ชุมพร ส่ง 2 เขต คือ เขต 2 รุจินาถ ศรีสุวรรณ เขต 3 ไตรฤกษ์ มือสันทัด

3.นราธิวาส ส่ง 3 เขต คือ เขต 1 ต่วนโซะ มือกะหะมะ เขต 3 สุกรี ซูเพียน เขต 4 มูหามัดรอซากี เจ๊ะอุเซ็ง

4.ปัตตานี ส่ง 2 เขต คือ เขต 1 อัสมาน โต๊ะมีนา เขต 3 นาเซร์ พงศ์ประเสริฐ

5.พัทลุง ส่ง 1 เขต คือเขต 2 พ.อ.ทวี แก้วกลับ

6.ภูเก็ต ส่ง 1 เขต คือ เขต 2 สนธยา หลาวหล้าง

 

เรียบเรียงข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์ , workpointnews

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

โพลระบุ 'นโยบายต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมือง'มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน 69%

$
0
0

จากผล 'โครงการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองและนักการเมืองไทยในการเลือกตั้ง 2562'พบว่านโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมือง มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งมากคิดเป็นร้อยละ 69 

7 ก.พ. 2562 ผลการสำรวจโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้สำรวจความคิดเห็นคนไทยทั่วประเทศจำนวน 3,054 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 16 พ.ย.-15 ธ.ค.2561 เพื่อนำเสียงของประชาชนเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะและส่งต่อให้พรรคการเมืองนำไปพัฒนาเป็นนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน ณ สัปดาห์แรกของเดือน ก.พ. มีเพียงไม่กี่พรรคที่ประกาศนโยบายต้านโกงต่อสาธารณะ ทั้งนี้พบว่านโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมือง มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งมากคิดเป็นร้อยละ 69 

โดยรายละเอียดที่น่าสนใจของผลสำรวจมีดังต่อไปนี้

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

มพบ. ยื่นเอกสาร ต่อ คกก.แก้ไขฯ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณายุติการใช้พาราควอต

$
0
0

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับ 2 องค์กร ยื่นเอกสาร ‘อันตรายจากพาราควอต’ ต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อประกอบการพิจารณายุติการใช้พาราควอต


ที่มาภาพประกอบ: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

จากการที่กลุ่มผู้คัดค้านการยกเลิกสารพาราควอตได้เข้ายื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ รวมถึงคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2562 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง มีการประชุมและนำเอกสารของกลุ่มผู้คัดค้านการยกเลิกสารพาราควอตเข้าสู่การพิจารณาด้วย ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เห็นว่าข้อมูลของกลุ่มผู้คัดค้านเป็นข้อมูลที่ไม่รอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความเป็นพิษ ทั้งพิษเฉียบพลัน พิษเรื้อรัง การตกค้างในสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิธีการจัดการเพื่อทดแทนการใช้สารพาราควอตและความจำเป็นในการใช้ของคนบางกลุ่ม
          
มพบ. จึงร่วมกับ สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สสอบ.) และคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ยื่นเอกสาร “ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม: พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต” ต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ และขอให้ใช้ข้อมูลชุดดังกล่าวประกอบการพิจารณาด้วย เนื่องจากเอกสารดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เกิดจากเวทีเสวนา “ข้อเท็จจริงทางวิชาการมีการควบคุมสารเคมีอันตราย: พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส” ซึ่งมีความรอบด้าน และเหมาะสมต่อการพิจารณา
          
สำหรับวิธีการจัดการเพื่อทดแทนการใช้สารพาราควอตและความจำเป็นในการใช้ของบางกลุ่มนั้น มพบ. ได้ร่วมกับ คอบช. สำรวจนโยบายของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำตาลต่อการใช้สารพาราควอตในเดือนพฤษภาคม 2561 ทั้งหมด 47 บริษัท พบว่ามี 7 กลุ่มบริษัท ซึ่งเป็ฯบริษัทขนาดใหญ่ครองตลาดจำนวนมาก ได้แก่บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด (ตราลูกโลก) โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (ตรากุญแจคู่) บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด บริษัท ประจวบอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท น้ำตาลนครเพชร จำกัด และบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ซูการ์คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) มีนโยบายลดและเลิกใช้อย่างชัดเจน ส่วนบริษํทที่ยังไม่มีนโยบายลดการใช้สารพาราควอตบอกว่า หากในอนาคตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมติยกเลิกก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม

จากผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำตาลมีความพร้อม สามารถปรับตัวตามนโยบายของรัฐได้ จึงเป็นภารกิจของรัฐที่จะกำหนดนโยบายเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมรวมถึงผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตาม ดังนั้น มพบ. จึงอยากขอให้แก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงพิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบคอบและรอบด้าน โดยคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนในประเทศเป็นหลัก ก่อนการลงมติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง

รายละเอียดเพิ่มเติม

          วันที่ 5 เมษายน 2560 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิกถอนทะเบียนและไม่ต่ออายุทะเบียนสารพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส รวมถึงให้มีการจำกัดการใช้ไกลโซเฟต แต่ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 คณะกรรมการวัตถุอันตราย กลับมีมติในที่ประชุมให้จำกัดการใช้สารเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิด โดยให้เหตุผลว่าข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพไม่เพียงพอ

          เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงกว่า 700 องค์กร เห็นว่ามีข้อมูลวิชาการที่ชัดเจนถึงอันตรายของสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ที่มีต่อผู้บริโภคและเกษตรกร จึงเข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มิถุนายน 2561 และในช่วงค่ำวันเดียวกันท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะจัดการปัญหานี้ให้ได้ภายในปี 2652 หรือเร็วกว่านั้น

          ภายหลังผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยให้ คณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศปรับระดับการควบคุมและปรับปรุงบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายพาราควอต จากเดิมที่มีการจำกัดการใช้เป็นยกเลิกการใช้ โดยกำหนดเวลาการใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

          จากการดำเนินการของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ และผู้ตรวจการแผ่นดินชี้ให้เห็นว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดเป็นอันตรายต่อคนและต่อสิ่งแวดล้อม จึงควรยกเลิกการใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส รวมถึงให้มีการจำกัดการใช้ไกลโซเฟต

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

องค์กรสิทธิขอให้ไทยปล่อยตัว 'ฮาคีม'ไม่ส่งกลับบาห์เรน

$
0
0

องค์กรสิทธิมนุษยชน ส่งจดหมายเปิดผนึก ขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน

7 ก.พ. 2562 องค์กรสิทธิมนุษยชน ได้ส่งจดหมายเปิดผนึก 'ขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน'โดยระบุว่า สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจากที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัยที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ

หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้ร้องขอให้ศาลส่งตัวเขากลับประเทศบาห์เรนตามคำขอของประเทศบาห์เรน ซึ่งนายฮาคีมได้คัดค้านคำร้องดังกล่าว โดยทีมทนายความของเขาได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำคัดค้านออกไป 60 วัน  ในการเบิกตัวเขามาศาล ปรากฏภาพตามสื่อมวลชนว่าเขาได้ถูกพันธนาการด้วยการใส่เครื่องพันธนาการที่เท้า ซึ่งเข้าข่ายเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งที่เขาไม่ได้เป็นอาชญากรร้ายแรง เป็นเพียงผู้ลี้ภัยและไม่ได้กระทำความผิดใดๆ ในประเทศไทย

องค์กรที่มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ เห็นว่า 1. ทางการไทยควรพิจารณาไม่ส่งตัวนายฮาคีมกลับไปยังประเทศบาห์เรน มีเหตุผลทางกฎหมาย  และหลักการสิทธิมนุษยชนอย่างน้อย 2 ประการ คือ 1.1 ตามหลักทั่วไปในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 ของไทย กำหนดไว้ชัดเจนว่า การส่งผู้ร้ายข้ามแดนต้องมิใช่ความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง เมื่อปรากฏว่ากรณีนี้ นายฮาคีมถูกดำเนินคดีในประเทศบาห์เรนท์อันเป็นผลมาจากข้อกล่าวหาที่เกี่ยวพันธ์กับการเคลื่อนไหวคัดค้าน หรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลบาห์เรน แม้เขาจะถูกกล่าวหาในความผิดฐานอื่นด้วย แต่ข้อหาดังกล่าวก็เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง ดังนั้น ย่อมไม่อยู่ในข่ายที่จะส่งตัวเขาในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอของรัฐบาลบาห์เรนได้ 1.2 ประเทศไทยผูกพันตามหลักการห้ามผลักดันกลับ (Non-Refoulement) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญทั้งในกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เรียกร้องให้ไม่ส่งกลับผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและต้องไม่ขับไล่หรือผลักดันกลับออกไปหรือส่งบุคคลไปยังอีกรัฐหนึ่งเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตราย มีความเสี่ยงอย่างแท้จริงว่าจะถูกประหัตประหาร ถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติที่โหดร้าย หรือถูกคุกคาม เอาชีวิต รวมทั้งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ยังห้ามไม่ให้รัฐบาลส่งบุคคลกลับหรือส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศใดๆ กรณีมีเหตุอันน่าเชื่อถือว่าบุคคลนั้นจะได้รับอันตรายจากการทรมาน  ดังนั้น เมื่อปรากฏว่านายฮาคีมเคยถูกซ้อมทรมานและถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมในประเทศบาห์เรนมาแล้ว จึงมีเหตุอันควรเชื่อหรือความเสี่ยงที่หากเขาถูกส่งตัวกลับไป อาจจะถูกซ้อมทรมานหรือปฏิบัติที่โหดร้ายเช่นเดิมได้

และ 2. การให้ความคุ้มครองตามหลักประกันการพิจารณาคดีอย่างเป็นแก่นายฮาคีม ในระหว่างรอการนัดพิจารณาคำร้องขอส่งตัวนายฮาคีมตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายน 2562 นี้ อย่างน้อยกระบวนการยุติธรรมไทยก็ควรเคารพและคุ้มครองสิทธิของเขาในการที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่ปฏิบัติต่อเขาเสมือนเป็นผู้กระทำความผิด อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ซึ่งถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 9 และ 14 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29

องค์กรที่มารายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ จึงมีข้อเรียกร้องต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีเพิ่มขึ้นแก่นายฮาคีมและเป็นการคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการสันนิฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ของเขาควรมีการพิจารณาเรื่องการปล่อยชั่วคราวของเขาในระหว่างรอการพิจารณา หรือควบคุมตัวในรูปแบบอื่นที่มีผลกระทบน้อยกว่า 

2.ปัจจุบันกรณีของนายฮาคีมจะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนองค์กรในกระบวนการยุติธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะพนักงานอัยการซึ่งมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล อาจจะพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ถอนฟ้องคดีเพราะจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ  และองค์กรตุลาการ ควรพิจารณาคดีโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และหลักการไม่ส่งกลับ เพราะกรณีนี้มีหลักฐานที่ระบุได้ว่าเป็นการขอส่งตัวกลับในความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองและเสี่ยงที่ผู้ถูกส่งตัวกลับจะเผชิญกับอันตรายดังที่เคยได้รับ และ 3.รัฐบาลไทยต้องไม่ดำเนินการหรือสนับสนุนการส่งกลับนายฮาคีมไปเผชิญอันตรายยังประเทศผู้ร้องขอ และปล่อยให้เดินทางกลับไปยังประเทศออสเตรเลีย

องค์กรที่มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึก

1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
2. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
4. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
5. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
6. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
7. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
8. มูลนิธิอุ่นรักษ์เพื่อพัฒนาเด็ก
9. มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา
10. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
11. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
12. เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
13. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง (กสรก.)
14. ตั้งใจธรรมสำนักงานกฎหมาย
15. กลุ่มด้วยใจ
16. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
17. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
18. นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ
19. นายสุรชัย ตรงงาม ทนายความ
20. นางสาวคอรีเยาะ มานุแช ทนายความ
21. นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
22. นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
23. นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
24. นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความ
25. นายพนม บุตะเขียว ทนายความ
26. นายทิตศาสตร์ สุดแสน ทนายความ
27. นายกฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความ
28. นางสาววราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
29. นายมนตรี อัจฉริยสกุลชัย ทนายความ
30. นางสาวพิชญุตา ธนพิทชัย ทนายความ
31. นางสาวคุณัญญา สองสมุทร ทนายความ
32. นายอานนท์ นำภา ทนายความ
33. นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ
34. นายพิชัย นวลนภาศรี ทนายความ
35. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ทนายความ
36. นางสาวอุบลวรรณ บุญรัตนสมัย นักกฎหมาย
37. นางสาวอัญญาณี ไชยชมพู นักกฎหมาย
38. นายสนธยา โคตปัญญา นักกฎหมาย
39. นายบัณฑิต หอมเกษ นักกฎหมาย
40. นายปภพ เสียมหาญ นักกฎหมาย
41. นางสาวภัทรานิษฐ์ เยาดำ นักกฎหมาย
42. นางสาวอิศสิยาภรณ์ อินทพันธุ์ นักกฎหมาย
43. นางสาวนิจนิรันดร์ อวะภาค อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
44. นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
45. นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
46. นางสาวหทัยกานต์ เรณูมาศ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
47. นางสาวธนพร วิจันทร์ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
48. นางสาววิภาวรรณ คูณทวีลาภผล นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
49. นางสาวกรกนก คำตา นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
50. นายบดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
51. อาจารย์ ดร.ดำเกิง โถทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
52. นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา
53. นายสาคร สงมา
54. นางไพรัตน์ จันทร์ทอง
55. นายณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช
56. นายประพจน์ ศรีเทศ
57. นางสาวเบญจพร บัวสำลี

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไทยสอบสวนการลักพาตัวนักข่าวเวียดนามในไทย

$
0
0

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องทางการไทยสอบสวนเกี่ยวกับการลักพาตัวนาย เจือง ซุย เญิ๊ต หนึ่งในผู้ร่วมจัดรายการของสำนักข่าวเรดิโอ ฟรี เอเชีย ที่หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา หลังจากเขาเดินทางมายื่นคำขอที่ลี้ภัยกับ UNHCR ที่กรุงเทพ

7 ก.พ. 2562 สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร แถลงเรียกร้องทางการไทยสอบสวนเกี่ยวกับการลักพาตัวนาย เจือง ซุย เญิ๊ต (Truong Duy Nhat) หนึ่งในผู้ร่วมจัดรายการของสำนักข่าวเรดิโอ ฟรี เอเชีย (Radio Free Asia) ที่หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา หลังจากเขาเดินทางมายื่นคำขอที่ลี้ภัยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees - UNHCR) ที่กรุงเทพ

มินาร์ พิมเพิล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการระดับโลกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า จากประกาศของสำนักข่าวเรดิโอฟรีเอเชีย และตามรายงานข่าวระบุว่า เจือง ซุย เญิ๊ต (Truong Duy Nhat) หนึ่งในผู้ร่วมจัดรายการวิทยุได้ถูกลักพาตัวไปที่กรุงเทพฯ (ประเทศไทย)

“การหายตัวไปของเจือง ซุย เญิ๊ต เป็นเรื่องที่น่าตระหนก เขาเคยเป็นนักโทษทางความคิด และตกเป็นเป้าหมายของทางการเวียดนามหลายครั้ง เราทราบจากหลายแหล่งข่าวว่า เขาเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อขอลี้ภัย แต่หลังจาก 26 มกราคมเป็นต้นมา ไม่มีใครพบเห็นเขาอีกเลย

“จากรายงานข่าวที่น่าเชื่อถือหลายชิ้น ทางการไทยต้องสอบสวนเกี่ยวกับการลักพาตัวชาวเวียดนามจากชุมชนของผู้ลี้ภัย ซึ่งตามรายงานข่าวและจากการรวบรวมหลักฐานจากเพื่อนร่วมงานของเจือง ซุย เญิ๊ต ที่เรดิโอ ฟรี เอเชีย พบว่าเวียดนามถึงขั้นเคยเข้ามาลักพาตัวผู้หลบหนีและผู้ขอลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เจือง ซุย เญิ๊ต มีความเสี่ยงอย่างชัดเจนที่จะถูกทรมานและปฏิบัติอย่างโหดร้าย หากข่าวการลักพาตัวเป็นเรื่องจริง

“ทางการเวียดนามยังไม่ได้แถลงเกี่ยวกับการหายตัวไปของเจือง ซุย เญิ๊ต ทางการต้องออกมาชี้แจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับชะตากรรมเขา และให้การประกันว่าเขาจะได้รับความปลอดภัยและมีเสรีภาพในการเดินทาง”

ข้อมูลพื้นฐาน

เจือง ซุย เญิ๊ต นักข่าวและผู้ให้ความเห็นในรายการของสื่อชาวเวียดนามถูกจำคุกระหว่างปี 2556-2558 ในข้อหา “โฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัฐ”

หลังได้รับการปล่อยตัว เขาทำงานเป็นนักข่าวอิสระ จนกระทั่งเดือนธันวาคม 2561 เขาได้ข่าวว่าตัวเองมีความเสี่ยงว่าจะถูกจับกุมอีกครั้ง และเริ่มสังเกตเห็นการเพิ่มกำลังตำรวจใกล้บ้านพักของตนเอง

ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2562 เขาจึงเดินทางมาประเทศไทย และในวันที่ 25 มกราคม เขาได้เดินทางไปยื่นคำขอลี้ภัยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees - UNHCR) ในกรุงเทพฯ เพร้อมส่งภาพถ่ายของเขาสองใบให้กับญาติระหว่างอยู่ที่หน้าประตูสำนักงาน UNHCR แต่หลัง 26 มกราคมเป็นต้นมา ไม่มีใครทราบข่าวหรือได้เห็นเขาอีกเลย

จากรายงานของสื่อระบุว่าเมื่อวันที่ 26 มกราคม เจือง ซุย เญิ๊ต ถูกจับตัวไประหว่างเดินซื้อของอยู่ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ ปาร์คโดยกลุ่มชายไม่ทราบชื่อ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลสามารถยืนยันข่าวนี้ได้ จากแหล่งข่าวอิสระซึ่งไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้เพื่อความปลอดภัยของแหล่งข่าว

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ธกส.ผนึก สปสช.เปิด 3 สาขานำร่องใน กทม. ให้ประชาชนลงทะเบียน ‘บัตรทอง’

$
0
0

ธกส.ร่วมมือกับ สปสช. เปิด 3 สาขา นำร่องใน กทม.ให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนสิทธิบัตรทอง เพิ่มเติมจากเดิมที่ลงทะเบียนได้ในสำนักงานเขตทั้ง 19 เขตของ กทม. ในส่วนของความร่วมมือกับ ธกส.เริ่มแล้วที่ 1. สาขาย่อยสถานีขนส่งหมอชิต 2. สาขาย่อยตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ 3.สาขาย่อยวัดไทร เขตจอมทอง คาดขยายไปยังสาขาอื่นๆ เพื่อครอบคลุมทั่ว กทม.

7 ก.พ. 2562 นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เปิดหน่วยรับลงทะเบียนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพิ่มเติม ณ สาขาของ ธกส. โดยนำร่อง 3 สาขา ประกอบด้วย 1.สาขาย่อยสถานีขนส่งหมอชิต 2.สาขาย่อยตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ 3.สาขาย่อยวัดไทร เขตจอมทอง

สำหรับการดำเนินการดังกล่าว เป็นการขยายบริการเพื่ออำนวยความสะดวกผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทอง โดย สปสช.เขต 13 (กทม.) ได้ประสานความร่วมมือกับ ธกส.เพิ่มเติมจุดรับลงทะเบียน จากเดิมที่เปิดให้ลงทะเบียน ที่สำนักงานเขต กทม. 19 เขต ซึ่งยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ กทม. และมีข้อจำกัดในการให้บริการได้เฉพาะในเวลาราชการเท่านั้น

ด้าน นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมา ธกส.มีความร่วมมือกับ สปสช.มาอย่างยาวนาน และลูกค้าของ ธกส.ก็เป็นกลุ่มคนที่ใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้จึงถือเป็นการเพิ่มทางเลือกการให้บริการในการเข้าถึงสิทธิของลูกค้า ธกส. และกลุ่มเป้าหมายของ สปสช.ไปพร้อมๆ กัน

“ผมคิดว่าความร่วมมือในครั้งนี้ ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องประชาชนที่ตรงเป้าหมายสำหรับ ธกส.และ สปสช.” นายกษาปณ์ กล่าว

รองผู้จัดการ ธกส. กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ ธกส.ให้ความสำคัญกับมิติสุขภาพ เนื่องจากเห็นว่าถ้าเกษตรกรมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ก็จะส่งผลต่อการทำกินต่างๆ และย่อมส่งผลกลับคืนมาที่ธนาคารในทางอ้อม แต่เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งสำคัญคือการช่วยกันดูแลสุขภาพให้พี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นทั้งเป้าหมายของรัฐบาล และ สปสช. ดังนั้นสิ่งไหนที่ ธกส.สามารถสนับสนุนได้ก็ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

“ธกส.เป็นมากกว่าธนาคาร เพราะนอกจากการให้เงินทุนแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับลูกค้าในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ การอบรมให้องค์ความรู้ เสริมสร้างทักษะต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยแล้ว ลูกค้า ธกส.ก็เป็นผู้สูงอายุไปด้วย ดังนั้นการดูแลสุขภาพจึงเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของ ธกส.ด้วย” นายกษาปณ์ กล่าว

นายกษาปณ์ กล่าวอีกว่า ธกส.มีสาขาทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,273 สาขา และตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา ได้ขยายการให้บริการครอบคลุมทั้ง 50 เขต ใน กทม. โดยขณะนี้มีจุดให้บริการทั้งหมด 58 สาขา ทั่ว กทม. ซึ่งขณะนี้ ธกส.มีความพร้อมที่จะให้บริการลงทะเบียนผู้ใช้สิทธิบัตรทองในทุกๆ สาขา แต่มีหลายพื้นที่ที่ สปสช.ให้บริการอยู่แล้ว ทาง ธกส.จึงพิจารณาว่าพื้นที่ใดไม่ซ้ำซ้อนและช่วยกระจายการให้บริการได้มากขึ้น ระหว่างนี้ก็จะทำงานควบคู่ไปกับ สปสช.เพื่อขยายบริการให้มากขึ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้น

นายกษาปณ์ กล่าวว่า สำหรับการให้บริการนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ สปสช.มาประจำการอยู่ในสาขาที่นำร่อง คือ ประชาชนที่เดินทางเข้ามายัง ธกส. ก็เปรียบได้กับเดินทางมารับบริการที่ สปสช. ที่จะสามารถมาลงทะเบียน หรือเปลี่ยนสิทธิ ย้ายหน่วยบริการ โดยในอนาคตจะมีการทำงานร่วมกับ สปสช.อีกหลายรายการอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ การขยายบริการจะช่วยให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น โดย 3 สาขาที่นำร่อง ได้แก่ 1. สาขาสถานีขนส่งหมอชิต เปิดบริการ วันจันทร์ – วันอาทิตย์ ในเวลา 09.00-16.00 น. 2.สาขาตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ เปิดบริการ วันจันทร์ – วันอาทิตย์ ในเวลา 09.30-16.30 น. และ 3.สาขาย่อยวัดไทร เขตจอมทอง เปิดบริการวันจันทร์ – วันศุกร์ ในเวลา 08.30-15.30 น.
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ตรวจควันดำ 12 วัน ย่านลาดกระบัง พบเกินมาตรฐานกว่า 1 หมื่นคัน

$
0
0

ตำรวจจราจร ร่วมกับกรมการขนส่งทางบกและกรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่ตั้งด่านตรวจมลภาวะ หรือด่านตรวจจับควันดำบนถนนลาดกระบัง ตั้งแต่ 27 ม.ค. ถึงปัจจุบัน พบรถปล่อยควันดำเกินค่ามาตรฐาน กว่า 10,000 คัน

7 ก.พ. 2562 นายสมชาย ราชแก้ว หัวหน้าฝ่ายตรวจการ กองตรวจการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่าจากการตั้งด่านตรวจค่าควันดำในกลุ่มรถที่จดทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก (รถป้ายเหลือง) ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (7 ก.พ.) พบรถโดยสารไม่ประจำทาง มีค่าควันดำเกินมาตรฐาน คือ ค่าทึบแสงเกินร้อยละ 45 ขึ้นไป จำนวน 1 คัน ได้พ่นสีสัญลักษณ์ห้ามใช้รถจนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไข พร้อมเปรียบเทียบปรับผู้ประกอบการในอัตราตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท หลังจากนี้เจ้าของรถ จะต้องนำรถไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และนำไปตรวจสภาพที่กรมการขนส่งทางบก หากผู้ขับขี่ลบสัญลักษณ์ดังกล่าวออกเอง จะถือว่ามีคำผิด ฝ่าฝืนคำสั่งผู้ตรวจการ มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลที่ควันดำเดินค่ามาตรฐาน จำนวน 10 คัน เฉพาะช่วงเช้า ตำรวจจราจรได้เปรียบเทียบปรับจำนวน 1,000 บาท และสั่งให้แก้ไขปรับปรุง 

ขณะที่วันนี้ (7 ก.พ.) ยังมีการตั้งด่านตรวจวัดควันดำอีก 13 จุด จากการตั้งด่านตรวจควันดำ ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2562 จนถึงปัจจุบันพบรถปล่อยควันดำเกินค่ามาตรฐานกว่า 10,000 คันในพื้นที่กรุงเทพฯ กรณีประชาชนตั้งข้อสังเกตถูกตรวจรถที่ด่านตรวจควันดำไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไปตรวจที่กรมการขนส่งทางบกแล้วผ่านเกณฑ์นั้น นายสมชาย ยืนยันว่าการตรวจค่าควันที่ด่านตรวจและโรงตรวจสภาพในกรมการขนส่งทางบก เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ใช้เครื่องมือเดียวกัน แต่อาจมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าวัดควันดำเปลี่ยนไป เช่น การสันดาปของเครื่องยนต์ขณะนั้น และน้ำหนักที่บรรทุกระหว่างวิ่งกับจอดอยู่กับที่ไม่เท่ากัน ส่วนกรณีโซเชียลโพสต์คลิปรถทหารปล่อยควันดำนั้น   นายสมชายชี้แจงว่า ตลอดสัปดาห์ทีผ่านมาทางกรมการขนส่งทางบกได้ตรวจค่าควันดำรถทหารแล้ว พบว่าบางคันค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งได้แจ้งให้แก้ไขปรับปรุงแล้ว

รณรงค์ไม่เผาไร่อ้อยช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง

ด้านนางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ ขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐ ร่วมกับสมาคมชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และเกษตรกร ชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ จับมือรณรงค์ไม่ให้เก็บเกี่ยวอ้อยด้วยวิธีการเผาไร่อ้อยก่อนตัดส่งเข้าโรงงานน้ำตาล และให้ความรู้เกี่ยวกับการเผาอ้อย อาทิ กาญจนบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุดรธานี จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เรื่องมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ โทษของฝุ่น PM 2.5 การตัดอ้อยเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรชาวไร่อ้อยจำนวนมาก

นางวรวรรณ กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณอ้อยไฟไหม้ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณอ้อยไฟไหม้ฤดูการผลิตปี 2560/2561 และฤดูการผลิตปี 2561/2562 ณ วันหีบที่ 70 ของฤดูการผลิต มีปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงถึง ร้อยละ 4 โดยอ้อยไฟไหม้ฤดูการผลิตปี 2560/2561 มีปริมาณ 37,357,786 ตัน คิดเป็นร้อยละ 60 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ส่วนอ้อยไฟไหม้ฤดูการผลิตปี 2561/2562 มีปริมาณ 34,628,902 ตัน คิดเป็นร้อยละ 56 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จะเดินหน้าโครงการสินเชื่อสำหรับการจัดซื้อรถตัดอ้อยอย่างต่อเนื่อง โดยปีงบประมาณ 2562 สอน.เสนอขอขยายโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ระยะที่ 2 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน ปีละ 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี รวม 6,000 ล้านบาท (งบประมาณปี 2562 – 2564) โดยมีอัตราดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกรรายบุคคลอยู่ที่ MRR-5 รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส.แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และ ธ.ก.ส.รับภาระร้อยละ 2 ต่อปี สำหรับกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตรา MLR-3 รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส.แทนผู้กู้ร้อยละ 2 ต่อปี และ ธ.ก.ส.รับภาระร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยเพิ่มผลิตภาพการผลิตและคุณภาพของผลผลิตอ้อย อีกทั้งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตระยะยาวส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและลดปริมาณอ้อยไฟไหม้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย [1][2]
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

จาตุรนต์ เผยไม่ได้เป็นแคนดิเดตนายกฯ พรรค ทษช. แล้ว

$
0
0

จาตุรนต์ ฉายแสง เผยเวลานี้อาจไม่ได้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติแล้ว ส่วนจะเป็นใครคณะกรรมการบริหารพรรคจะเป็นผู้ตัดสิน ด้านฤภพ ชินวัตร ย้ำคณะกรรมการบริหารพรรคจะประชุมสรุปบัญชีรายชื่อนายกในวันนี้ และเปิดเผยชื่อก่อนยื่นให้ กกต.

แฟ้มภาพประชาไท

7 ก.พ. 2562 ที่พรรคไทยรักษาชาติ จาตุรนต์ ฉายแสง เปิดเผยว่า เวลานี้ตนเองยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติ เนื่องจากไม่ได้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรค แต่สำหรับก่อนหน้านี้เข้าใจว่าตนเองจะเป็นแคนดิเดตคนหนึ่งของพรรค แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีหนังสือจากพรรคส่งมาให้เซ็นยินยอม 

จาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ข้อสรุปของพรรคว่าใครจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จะเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารพรรคจะพิจารณา ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้รับแจ้งอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากคณะกรรมการบริหารพรรค ส่วนผู้ที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค จะต้องเป็นคนที่สามารถนำพาพรรค และเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติทั่วไป

“ครั้งหนึ่งผมก็เคยได้รับการทาบทามจากแกนนำพรรคเพื่อไทยให้เป็นแคนดิเดต แต่ก็เป็นแค่การทามทาบ รับปากกัน ยังไม่ถึงขั้นของการเซ็นยินยอม ผมก็มาอยู่ไทยรักษาก่อน ทีนี้วันนี้เป็นวันที่ 7 แล้ว (8 ก.พ. เป็นวันสุดท้ายของการยื่นบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองต่อ กกต.) แต่ยังไม่มีการยื่นหนังสือมาให้เซ็นยินยอม ก็แสดงว่า คงไม่เป็นแคนดิเดตนายกฯ แล้ว”

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวว่าแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จะเป็นคนสำคัญนอกพรรคการเมือง เรื่องนี้มีความเป็นไปได้หรือไม่ จาตุรนต์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจในการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารพรรคโดยตรง และเวลานี้ยังไม่ได้แจ้งให้สมาชิกทราบ และต้องรอให้คณะกรรมการบริหารออกมาชี้แจงต่อไป

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า รายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมืองของ พล.อ.ประยุทธื จันทร์โอชา หรือไม่ จาตุรนต์ ตอบว่า ไม่ทราบ

ด้านฤภพ ชินวัตร รองหัวหน้าพรรคไทยรักษา ชี้แจงด้วยว่า คณะกรรมการบริหารพรรคจะประชุมสรุปบัญชีรายชื่อนายกในวันนี้ และจะมีการเปิดเผยในวันที่ 8 ก.พ. ก่อนที่จะยื่นบัญชีรายชื่อให้ กกต.

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ศสช.'ออกรายงานผลการพัฒนาประเทศในรอบ 5 ปี (2557-2561)

$
0
0


ที่มาภาพประกอบ: Diliff (CC BY-SA 3.0)

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2562 ที่ผ่านมาสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) ได้ออกรายงานผลการพัฒนาประเทศในรอบ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2561) ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าสูงขึ้นในด้านต่างๆ อย่างไรก็ดี จากรายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (The Global Competitiveness Report) ของ World Economic Forum (WEF) พบว่าประเทศไทยยังคงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนโดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (Efficiency-driven Country) เป็นหลัก เป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร (GDP per capita) อยู่ที่ 3,000-8,999 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ดังนั้น การพัฒนาประเทศให้มีการเติบโตเพื่อหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง จำเป็นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาทุนมนุษย์ สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อก้าวไปสู่กลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมการผลิต (Innovation-driven Country) หรือ Thailand 4.0 และประเด็นอื่นๆ ที่จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของความเท่าเทียม โอกาส คุณภาพชีวิต ความมั่นคง และความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ตลอดจนการวางรากฐานการพัฒนาในระยะต่อไปให้มีความสมดุล ยั่งยืน

เมื่อพิจารณาภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน จากการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 4.3 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 และคาดว่าทั้งปี 2561 จะขยายตัวร้อยละ 4.2 สำหรับในปี 2562 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 4.0 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การออกจากสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) สงครามการค้า และดอกเบี้ยโลก แต่ทั้งนี้ยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อันเนื่องมาจากองค์ประกอบหลักทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัวและกระจายตัวมากขึ้นในทุกด้าน ทั้งมูลค่าการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยมีผู้ว่างงานคิดเป็นเพียงร้อยละ 1 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ตลอดจนสัดส่วนหนี้ภาครัฐทรงตัวจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแม้ว่ารัฐบาลจะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง สำหรับผลการพัฒนาประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา (พ.ศ.2557-2561) ภาครัฐมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในมิติต่างๆ ประกอบด้วย (1) การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันพร้อมกับให้ความสำคัญในการกำกับดูแลเศรษฐกิจฐานราก (2) การปฏิรูปโครงสร้างทางสังคมของประเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสของประชาชน (3) การลดความเสี่ยงของประเทศในด้านต่างๆ (4) การสร้างความภาคภูมิใจและการได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และ (5) การแก้ไขกฎหมายและปรับระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ดังมีรายละเอียดที่สำคัญ ได้แก่

1. การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในแข่งขันควบคู่กับการดูแลเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย ประกอบด้วย

1.1 ความสามารถในการแข่งขัน 

1.1.1 การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต (Innovation driven) ในช่วงปี 2558-2561 ประเทศไทยมีการลงทุนกว่า 539,463 ล้านบาทในอุตสาหกรรม New S-Curve ประกอบด้วย (1) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (2) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (3) อุตสาหกรรมดิจิทัล (4) อุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์ (5) อุตสาหกรรมเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และได้กำหนดอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพิ่มเติม ได้แก่ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการได้มีการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตโดยการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจระดับโลก โดยมีการอนุมัติโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญเพื่อพัฒนาระบบการจัดการขนส่งแบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) ได้แก่ ระบบรางเพื่อเชื่อมโยง 3 สนามบิน ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกหลัก 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 และท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ การพัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยง 3 ท่าเรือ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ EEC มากขึ้น

1.1.2 การสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจเพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ตามนโยบาย Thailand 4.0 การเพิ่มการลงทุนเพื่อการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม (R&D) เพื่อสร้างนวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์ ลดการนำเข้า และให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ทำให้การลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมมีสัดส่วนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 1 ในปี 2560 การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรม เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาคนที่มีคุณภาพ การสร้างนักรบเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีทักษะ ความสามารถในการแข่งขัน และอัตลักษณ์ที่ชัดเจน อาทิ พัฒนาศักยภาพและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs การสร้างและพัฒนา Tech Start up หรือ Start up ที่มีศักยภาพเชิงธุรกิจ การพัฒนา Smart Farmer และ Young Farmer นอกจากนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศและที่กระทบกับความสามารถในการแข่งขันและกำหนดแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ เช่น การแก้ไขปัญหาทรัพย์สินทางปัญญาที่สหรัฐฯ เลื่อนสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญาจาก Priority Watch List (PWL) เป็น Watch List (WL) การจัดทำข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) กับชิลี อินเดีย และฮ่องกง เป็นต้น

1.1.3 การสร้างความเข้มแข็งด้านการท่องเที่ยว โดยรักษาฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและพัฒนาการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศโดยเฉพาะเมืองรอง รวมทั้งรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของการท่องเที่ยวระดับโลกเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง โดยประเทศไทยถือว่าเป็นจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งของประเทศในเอเชีย - แปซิฟิก มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดเป็นอันดับ 10 ของโลก และสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 57,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 14.2 ต่อ GDP เป็นร้อยละ 18.4 ต่อ GDP ในปี 2561

1.1.4 การเร่งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หลังจากหยุดนิ่งมา 10 ปี  โดยดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและขนส่งไร้รอยต่อ เชื่อมไทยเชื่อมโลก และปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต ด้วยการพัฒนาที่ครอบคลุม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง อาทิ การลงทุนระบบรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล วงเงินรวมกว่า 2.4 ล้านล้านบาท การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม อาทิ การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุม 59,255 หมู่บ้าน การลงทุนโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศและการพัฒนาระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา วงเงินรวม 13,779 ล้านบาท และ การปรับโครงสร้างพื้นฐานให้รองรับรูปแบบการค้า การขนส่ง การเงิน และการบริหารจัดการภาครัฐแบบดิจิทัลยุคใหม่ (Digital Transformation) อาทิ การพัฒนาระบบ E-payment ระบบ National Single Window เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สำคัญ เช่น Doing Business Portal, TPMAP เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนพัฒนาประเทศในระยะต่อไป เป็นต้น

1.1.5 การดูแลการจัดการทรัพยากรของประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงของการใช้ทรัพยากรอย่างมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาทรัพยากรน้ำในภาคการผลิตที่สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 2.83 ล้านไร่ และมีแหล่งน้ำสำหรับไร่นา 180,278 แห่ง รวมทั้งการจัดการอุทกภัยชุมชนเมือง 14 แห่ง เนื้อที่ 0.4 ล้านไร่ สำหรับด้านพลังงานมีการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติโดยสามารถเปิดประมูลสัมปทานที่จะหมดอายุของแหล่งปิโตรเลียมบงกช-เอราวัณ ทำให้มีก๊าซธรรมชาติใช้อย่างต่อเนื่องลดการนำเข้าประมาณ 22 ล้านตัน หรือประมาณ 4.6 แสนล้านบาท สร้างรายได้ภาครัฐเพิ่มขึ้น 100,000 ล้านบาท เป็นต้น

1.2 การดูแลเศรษฐกิจฐานราก การดำเนินการในระยะที่ผ่านมาภาครัฐมุ่งเน้นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ชุมชน อาทิ การจัดสรรที่ดินทำกินและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ใน 61 จังหวัด จำนวน 46,674 ราย พื้นที่ 399,481 ไร่ การพัฒนา Smart Farmer มากกว่า 1 ล้านราย การช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหา เช่น ช่วยเหลือชาวนา 3.63 ล้านครัวเรือน วงเงิน 39,506 ล้านบาท และชาวสวนยาง 1.54 ล้านครัวเรือน วงเงิน 18,882 ล้านบาท เป็นต้น รวมทั้งได้มีการระบายข้าวจากโครงการรับจำนำข้าว กว่า 17 ล้านตัน  การส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผ่านการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ 4,663 แปลง พื้นที่ 5.41 ล้านไร่ การใช้ Agri-Map เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การวางแผนการผลิตและการตลาด การเพิ่มมูลค่าสินค้าของชุมชนผ่านการดำเนินโครงการสินค้า OTOP และส่งเสริมสินค้า GI สามารถขยายตลาดให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติด้วยการสร้างโอกาส ในการจับคู่ธุรกิจและนำผลิตภัณฑ์ OTOP จำหน่ายบนเครื่องบิน และสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นโดยเฉพาะสินค้า OTOP ที่มีแนวโน้มการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 98,000 ล้านบาท ในปี 2557 เป็น 190,000 ล้านบาทในปี 2561 นอกจากนี้ ภาครัฐได้ตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เช่น สินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านและซ่อมแซมบ้านและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย การให้สวัสดิการต่างๆ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การเปิดโครงการร้านธงฟ้า การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตลอดจนการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองรวมทั้งสิ้น จำนวน 79,598 กองทุน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ ส่งเสริมการออม รวมทั้งการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้เกิดความมั่นคง กินดีอยู่ดีและมีความสุขมากยิ่งขึ้น โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP มีการปรับตัวลดลง และยอดคงค้างสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีสัดส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคิดเป็นร้อยละ 50.4 ของสินเชื่อรวมจากธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด สำหรับการพัฒนาให้เกิดการกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้และคุณภาพชชีวิตที่ดีขึ้น ได้ดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 พื้นที่ มีผู้ประกอบการ SMEsสนใจจัดตั้งธุรกิจจำนวน 3,017 ราย และมีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI วงเงินรวม 8,818.5 ล้านบาทรวมทั้งได้ดำเนินการจัดทำกรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) เพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคใต้และมุ่งเน้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2. การปฏิรูปโครงสร้างทางสังคมของประเทศ เป้าหมายการปฏิรูปโครงสร้างทางสังคมมุ่งเน้นการพัฒนาคนในทุกช่วงวัย ทุกกลุ่มเป้าหมาย และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ดังนี้

2.1 การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการดูแลทุกข์สุขของประชาชน มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญของประเทศและเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยกำหนดนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

2.1.1 การศึกษา ได้แก่ การพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อวางรากฐานสู่การเติบโตในช่วงถัดไปอย่างมีคุณภาพและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน โดยจัดทำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ จัดทำ School Mapping และร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย การลดความเหลือมล้ำด้านการศึกษา โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาสามารถสนับสนุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสไปแล้วกว่า 4.3 ล้านคน และ การยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อตอบโจทย์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตของประเทศ

2.1.2 การพัฒนาและยกระดับบริการสุขภาพขั้นปฐมภูมิ ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นที่ โดยกำหนดกลไกต่าง ๆ เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในลักษณะเชิงรุก โดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุขร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ คลินิกหมอครอบครัว ซึ่งปี 2561 มีมากกว่า 800 ทีม มีแพทย์พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพถึงที่บ้าน การส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สนับสนุนการดำเนินงานของ อสม. โดยเพิ่มค่าป่วยการเป็น 1,000 บาท การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระดับพื้นที่ผ่านการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ทั้ง 878 อำเภอ นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (UCEP) โดยจัดตั้งศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (UCEP Coordination Center) อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเข้ารับการใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินโดยไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาล 72 ชั่วโมงแรก

2.1.3 การดูแลทุกข์สุขของประชาชน ดำเนินการเปิดศูนย์ดำรงธรรมเพื่อทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ และอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ให้คำปรึกษาด้านปัญหาความต้องการ ความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ ได้ทุกเรื่องตลอดเวลา สำหรับข้อมูลข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับบริการจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ประชาชานสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน 1111 ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ด้านการบรรเทาสาธารณภัยได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติในระหว่างปี 2557-2561 รวม 49,880.64 ล้านบาท และได้เร่งรัดการเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้อย่างเร่งด่วน รวมทั้งการวางแผนแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในระยะยาวโดยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการจัดการแหล่งน้ำอย่างเป็นระบบ

2.2 การป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีการดำเนินงานที่ชัดเจนทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การปรับแก้ไขกฎหมายและการบังคับใช้ และกำหนดมาตรการและแนวทางส่งเสริมสนับสนุน โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การลักลอบค้าและครอบครองงาช้าง การบุกรุกที่ดินของรัฐเพื่ออยู่อาศัยและทำกิน การตัดไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกและโฟม การยกเลิกการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ผิดกฎหมาย 

2.3 การจัดระเบียบสังคม เพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนให้น่าอยู่และสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข โดยดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่น การจัดระเบียบทางเท้าและหาบเร่แผงลอย การปรับปรุงภูมิทัศน์ การพัฒนาพื้นที่สาธารณะและลำคลองเพื่อการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย กวดขันและปราบปรามการการแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทางสาธารณะ กำหนดนโยบายลดอบายมุขในทุกกลุ่มวัย 

3. การลดความเสี่ยงของประเทศ การดำเนินการในระยะที่ผ่านมาได้มีการติดตามและแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศที่สะสมมานานและส่งผลกระทบกับการพัฒนาประเทศอย่างมีนัยสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงและช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบทางเศรษฐกิจในอดีต รวมทั้ง สร้างโอกาสและความยั่งยืนให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและบังคับใช้กฏหมาย รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการต่างๆ ติดตามและเฝ้าระวัง รวมทั้งจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้สามารถลดความเสี่ยงของประเทศได้เป็นผลสำเร็จ อาทิ การปลดธงแดงขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO (วันที่ 5 ตุลาคม 2560) จากประเด็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบิน การปลดใบเหลืองของสหภาพยุโรป (วันที่ 8 มกราคม 2562) จากประเด็นปัญหาด้านประมง หรือ IUU และการทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ Tier 2 ในประเด็นการค้ามนุษย์ 

4. การสร้างความภาคภูมิใจและการได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยมีผลสำเร็จของการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศไทยเป็นประธาน G77 ปี 2559 สามารถบรรจุหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) เป็นแนวทางการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายใต้นโยบาย SEP for SDGs Partnership ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประเทศกำลังพัฒนา 24 ประเทศ และภาคีอื่นๆ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ในปี 2562 ที่ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์ผ่านภายใต้แนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกลและยั่งยืน” โดยผลักดันประเด็นต่างๆ อาทิ การรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาคเพื่อสันติภาพ การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนกับภูมิภาคอื่นเพื่ออาเซียนที่ไร้รอยต่อ และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การเสนอแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี ของประเทศไทยที่ส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกประเภท Participant ของ OECD ด้านดิจิทัลและด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม นอกจากนี้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นในระดับนานาชาติจากการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถทางแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ 

สำหรับการจัดอันดับขององค์กรระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับมีลำดับที่ดีขึ้น อาทิ อันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 26 ในปี 2561 มีอันดับที่ดีขึ้น 20 อันดับ การจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก 4.0 (Global Competitiveness Index: GCI 4.0) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ในปี 2561 มีอันดับที่ดีขึ้น 2 อันดับ และการวัดประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Performance Index) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ในปี 2561 มีอันดับที่ดีขึ้น 13 อันดับ การประเมินผลดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index : GII) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 44 ในปี 2561 มีอันดับที่ดีขึ้น 7 อันดับ

5. การแก้ไขกฎหมายและปรับระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย 

5.1 การแก้ไขและปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างเป็นธรรมในสังคม โดยมีพระราชบัญญัติที่ผ่านพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้วทั้งหมดจำนวน 346 ฉบับ และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 103 ฉบับ โดยมีกฎหมายที่สำคัญ เช่น 1) ด้านเศรษฐกิจ อาทิ พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2) ด้านความเหลื่อมล้ำ อาทิ พ.ร.บ. จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และ พ.ร.บ. คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย 3) ด้านความมั่นคง อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 4) ด้านสังคมและวัฒนธรรม อาทิ พ.ร.บ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ พ.ร.บ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย 5) ด้านสวัสดิการ อาทิ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน และ พ.ร.บ. การจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม 6) ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และ พ.ร.บ. ป่าชุมชน และ 7) ด้านกระบวนการยุติธรรม/ภาครัฐ อาทิ พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ และ พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

5.2 การปรับระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ประเทศไทยมีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ฉบับแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยมีวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยประกอบด้วย 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติจะประกอบด้วย 23 แผนแม่บทการพัฒนาที่จะครอบคลุมการดำเนินการในประเด็นต่างๆ และมีแผนการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สร้างรากฐานและพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความเข้มแข็งในทุกระดับ แก้ไขปัญหาและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สร้างความโปร่งใสและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานของภาครัฐ รวมทั้งพัฒนากระบวนการยุติธรรมและปรับปรุงกฎหมายสรุปผลการพัฒนาที่ผ่านมา ในระยะ 5 ปี (พ.ศ.2557-2561) ที่ผ่านมาได้มีการวางรากฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ สร้างโอกาสให้ชุมชนในการมีรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว พัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลทุกข์สุขและความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกช่วงวัยภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ  มีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบกับประชาชนในทุกกลุ่ม อาทิ ประชาชนตลอดช่วงชีวิต ภาคครัวเรือน กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส แต่ก็ยังคงมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขต่อไป อาทิ ความเหลื่อมล้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

6. การวางแผนอนาคตของประเทศไทยในระยะต่อไป การพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไปควรมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานในสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความต่อเนื่อง ยกระดับประสิทธิภาพในการดูแลคนทุกช่วงวัย ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอาศัยอุตสาหกรรมศักยภาพและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะเข้ามารองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยสามารถสรุปได้เป็น 3 ส่วน ครอบคลุม 15 ประเด็นเร่งด่วน ดังนี้ 

6.1 การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เน้นสร้างความสามัคคีปรองดอง และการบริหารพื้นที่อย่างยั่งยืน 2) แก้ปัญหาความมั่นคงเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาด้านยาเสพติดและความปลอดภัยด้านไซเบอร์ 3) พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐในด้านการประเมินผลและการใช้งบประมาณ 4) แก้ปัญหาทุจริตของการดำเนินการทุกภาคส่วน และ 5) บริหารจัดการน้ำและมลพิษจาก
ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

6.2 การดูแลยกระดับ ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมภาครัฐที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการบริการภาครัฐ 2) สังคมสูงวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดูแลตัวเองได้ 3) คนและการศึกษา พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะความรู้ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต 4) เศรษฐกิจฐานราก เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการระดับตำบลทั้งในด้านเกษตรกรรมและนวัตกรรม 5) บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและเข้าถึงง่าย และ 6) กระจายศูนย์กลางความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ผ่านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่เมือง

6.3 สร้างรายได้และรองรับการเติบโตในระบบอย่างยั่งยืน ประกอบ 1) การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ครบวงจรและได้รับการยอมรับในระดับโลก 2) อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เน้นอุตสาหกรรมมูลค่าสูง และอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 3) การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจ EEC และ SEC รวมทั้งการเปิดพื้นที่ใหม่ เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาแบบก้าวกระโดด และ 4) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล สร้างความเชื่อมโยงทั่วประเทศและระหว่างประเทศ
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

คนร้ายก่อเหตุฆาตกรรมนักข่าว BTBP TV กัมพูชา

$
0
0

สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) รายงานเรื่องที่มีคนร้ายฆาตกรรม 'สร สิทธิ'นักข่าว BTBP TV ในกัมพูชาขณะที่นักข่าวผู้นี้กำลังเดินทางกลับจากงานแต่งงาน โดยที่ตำรวจในท้องที่จังหวัดกระแจะที่เกิดเหตุเปิดเผยว่าสามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้บางส่วนแล้ว แต่ยังคงไม่ทราบแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุ

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ในจังหวัดกระแจะของกัมพูชาเกิดเหตุการณ์คนร้ายที่ยังไม่สามารถระบุตัวตนได้ขว้างก้อนหินใส่นักข่าวที่กำลังโดยสารรถจักรยานยนต์จากนั้นก็ทุบตีทำร้ายนักข่าวผู้นี้จนเสียชีวิต

นักข่าวผู้ที่เสียชีวิตคือ สร สิทธิ นักข่าวอายุ 18 ปีของ BTBP TV ออนไลน์ ทางตำรวจในท้องที่เปิดเผยว่ากำลังมีการสืบสวนอาชญากรรมในครั้งนี้ โดยระบุว่ากำลังสืบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าแรงจูงใจเบื้องหลังการฆาตกรรมในครั้งนี้คืออะไร ทางตำรวจระบุอีกว่ามีชาวบ้านพบร่างของสรเมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ (4 ก.พ.) จากนั้นจึงนำเรื่องนี้มาแจ้งตำรวจ 

เสม ติยา ผู้ผลิตรายการของ BTBP TV ให้สัมภาษณ์ต่อสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ว่าในเหตุการณ์ทำร้ายร่างกายดังกล่าวมีกลุ่มคนประมาณ 20 รายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยอ้างอิงจากข้อมูลของตำรวจที่เขาพูดคุยด้วย เสมบอกอีกว่าสรเป็นนักข่าวที่ทำงานให้ BTBP มาเป็นเวลา 1 ปีแล้วโดยทำข่าวเกี่ยวกับเรื่องประเด็นสังคม

ตำรวจในท้องที่เปิดเผยว่าเหตุเกิดในขณะที่สรและเพื่อนของเขาอีก 2 คนกำลังขี่จักรยานยนต์กลับบ้านหลังไปร่วมงานแต่งงาน โดยที่สิทธิเป็นผู้โดยสารซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ตกลงจากรถในช่วงที่มีเหตุโจมตีเกิดขึ้น ขณะที่เพื่อนนักข่าวของเขาขี่รถหนีจากเหตุการณ์ เพื่อนของสรให้การกับตำรวจว่าพวกเขาก็ไม่รู้สาเหตุว่าทำไมถึงมีคนทำร้ายสร

อย่างไรก็ตามในวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมาสื่อ Khmer Times รายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้บางส่วนแล้วจากการสอบปากคำเพื่อนของสร

ข้อมูลของศูนย์ชาวกัมพูชาเพื่อสิทธิมนุษยชน (CCHR) ระบุว่ามีนักข่าวอย่างน้อย 13 รายถูกสังหารในกัมพูชานับตั้งแต่ปี 2537

มีกรณีการใช้ความรุนแรงต่อนักข่าวในกัมพูชาเกิดขึ้นไล่เลี่ยกันเมื่อไม่นานนี้คือกรณีที่มีคนทำร้าย ซิม ชีพวิเชียร พิเสธ นักข่าวจากสมาคมสื่อกัมพูชาเพื่อเสรีภาพ เขาถูกทำร้ายในขณะที่กำลังทำข่าวการจับปลาและตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย โดยที่ซิมกล่าวหาว่า คง มังกุล ผู้นำชุมชนที่เขาเข้าไปทำข่าวเป็นผู้สั่งให้ลูกน้องทำร้ายเขา หลังจากนั้นซิมได้ยื่นฟ้องไปยังศาลจังหวัดเสียมเรียบ

ซิมบอกว่าเขาต้องการเรียกร้องความยุติธรรมเพราะกลุ่มคนเหล่านี้พยายามจะฆ่าเขา มีผู้สั่งให้คนรุมทุบตีทำร้ายเขาไม่หยุดจนกระทั่งเขาหมดสติ ซิมบอกว่าโชคดีที่ตำรวจเข้ามาช่วยไว้ อย่างไรก็ตามในตอนนี้ศาลก็ยังไม่ได้ให้คำตอบใดๆ กับเขาในเรื่องที่ฟ้องร้อง

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเคยระบุในรายงานที่ออกมาเมื่อเดือน ธ.ค. 2558 ว่ากัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้สื่อข่าวด้านสิ่งแวดล้อม

เรียบเรียงจาก
[Cambodia] Journalist beaten to death in Kratie province, SEAPA, 06-02-2019
https://www.seapa.org/cambodia-journalist-beaten-to-death-in-kratie-province/

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ฉันไม่รู้จัก 6 ตุลา: สำรวจ 6 ตุลา ในแบบเรียนไทย

$
0
0

หลังจากนำเสนอคลิปวิดีโอชวนนักเรียนคุย “รู้จัก 6 ตุลามั้ย” หลากหลายคำตอบและแววตาสงสัย สุดท้ายคนถามก็เริ่มสงสัยเลยกวาดซื้อหนังสือ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ ฯลฯ อะไรก็ได้ที่พูดถึงการเมืองไทยในชั้นมัธยม ไล่เปิดทีละเล่ม ทีละสำนักพิมพ์ ตื่นตาตื่นใจ 6 ตุลาร่วงหล่นอยู่ตรงไหน อธิบายยังไงให้เหมือนไม่อธิบาย

หลังทดลองสัมภาษณ์นักเรียน ม.ปลาย จากหลายโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครสั้นๆ เพื่อสำรวจว่าความรับรู้ที่พวกเขามีต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาเป็นอย่างไร เกินครึ่งไม่แน่ใจและสับสนกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 การอธิบายส่วนใหญ่เป็นคีย์เวิร์ดสั้นๆ เช่น มีการแขวนคอ มีการล้อมปราบนักศึกษา จำนวนไม่น้อยไม่เคยได้ยินเรื่องนี้เลย บางคนก็บอกว่าไม่ได้เรียนในโรงเรียน แต่รู้จากอินเตอร์เน็ตรวมถึงมิวสิควิดีโอ ‘ประเทศกูมี’

ไม่ใช่ความผิดของเหล่านักเรียนแน่นอนที่จะจำเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่ได้ แม้เหตุการณ์นี้จะโหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยและชุดภาพถ่ายเหตุการณ์ที่ถ่ายโดย นีล ยูเลวิช จะได้รับรางวัลพูลิตเซอร์โด่งดังไปทั่วโลก 

จนถึงวันนี้รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ก็ยังคลุมเครือและไม่มีความชัดเจน เช่น จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนคนถูกแขวนคอ ชื่อผู้เสียชีวิต หรือกระทั่งใครออกคำสั่งให้ล้อมปราบ ใครอยู่เบื้องหลังกลุ่มขวาจัด ฯลฯ 

คำตอบงงๆ ของเหล่านักเรียนนำไปสู่ความสงสัยว่า รัฐไทยอธิบายเรื่องนี้ให้เยาวชนเข้าใจว่าอย่างไร แต่นั่นอาจเป็นคำถามที่ดีเกินไป บางทีอาจต้องเริ่มต้นตั้งแต่ว่า รัฐไทยอธิบายเรื่องนี้หรือไม่ 

เรากวาดแบบเรียนจากหมวดสังคมศึกษาทั้งหมดเท่าที่หาได้มาอ่าน คละกันตั้งแต่ระดับชั้น ม.1-ม.6 จำนวนทั้งสิ้น 23 เล่ม แบ่งเป็นหลักสูตรปี 2544 จำนวน 4 เล่ม ปี 2551 จำนวน 15 เล่ม ปี 2559 จำนวน 2 เล่ม ปี 2560 จำนวน 2 เล่ม แบ่งเป็นของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด สำนักพิมพ์ประสานมิตร กระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่ทำหนังสือเฉพาะของตัวเอง

ข้อค้นพบคือ 

-แบบเรียนที่ไม่กล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาเลย มีจำนวน 17 เล่ม บางเล่มตลกกว่านั้นเพราะกล่าวถึง 14 ตุลาสั้นๆ แล้วข้ามไปที่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เลย บางเล่มไม่กล่าวถึงทั้ง 14 ตุลาและ 6 ตุลาแต่กล่าวถึงเหตุการณ์พฤษภา 35 หรือมี 3 เล่มตัดจบที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 

-แบบเรียนที่มีกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาเล็กน้อยมีอยู่ 2 เล่มโดยเป็นแค่การอ้างอิงถึง ได้แก่ ‘หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-6’ เล่ม 1 และ 2 (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช

-แบบเรียนที่ให้รายละเอียดเหตุการณ์อย่างสั้น 1 เล่ม ได้แก่ ‘สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3’ (ฉบับปี 2544) ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช เป็นเล่มเดียวที่กล่าวว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 100 กว่าคน ซึ่งมากกว่าเอกสารชันสูตรพลิกศพคดี 6 ตุลาซึ่งระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 46 คน มีการพูดถึงคดีหมิ่นพระบรมฯ แต่ไม่พูดถึงการเล่นละครแขวนคอฯ ของนักศึกษาก่อนหน้านั้น 

-อีกเล่มที่กล่าวรายละเอียดและมีบริบทสังคมการเมืองเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย พูดถึงพรรคการเมืองในสมัยนั้นซึ่งเล่มอื่นไม่ได้พูดถึง คือ ‘หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.2’ (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด โดยในหัวข้อ ‘เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519’ 

-แบบเรียน 2 เล่มที่มีเนื้อหาเหมือนกัน และเขียนถึง 6 ตุลาไว้ยาวที่สุดในบรรดาทุกเล่ม โดยให้รายละเอียดเหตุการณ์คร่าวๆ และสาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด 14 ตุลา ซึ่งเกี่ยวโยงมาจนถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา คือ ‘ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย’ (ฉบับปี 2559) ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ‘ประวัติศาสตร์ไทย’ (ฉบับปี 2551) ของกระทรวงศึกษาธิการ

‘หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-ม.6’ (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด ไม่กล่าวถึงทั้ง 14 ตุลาและ 6 ตุลาแต่กล่าวถึงเหตุการณ์พฤษภา 35

 

‘สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม.2’ (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช กล่าวถึง 14 ตุลาสั้นๆ แล้วข้ามไปที่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เลย

 

ประวัติศาสตร์ไทยม.4-6’ (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช ตัดจบที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

 

ประวัติศาสตร์ไทยม.4-6’ (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด ตัดจบที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

 

ประวัติศาสตร์ไทยม.4-6’ (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด ตัดจบที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

 

‘หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-6’ เล่ม 1 (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช

กล่าวถึงในตอนที่พูดเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) โดยอธิบายว่า 

“...มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า “กระจายความเจริญสู่ชนบท” เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมาเน้นเฉพาะในส่วนกลางและเกิดภาวะเงินเฟ้อ การว่างงาน ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และสังคม และความไร้เสถียรภาพทางการเมือง (หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) โดยเน้นกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค 2 แนวทาง คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยขยายการผลิตด้านการเกษตร และปรับปรุงโครงการสร้างอุตสาหกรรม...”

 

‘หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-6’ เล่ม 2 (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช

อยู่ในหัวข้อ ‘ปัญหาสถาบันทางการเมือง’ ในหัวข้อย่อย ‘กลุ่มผลประโยชน์’ โดยกล่าวถึงในย่อหน้าหนึ่งว่า 

“การแทรกแซงด้วยวิธีทางกฎหมาย เป็นการแทรกแซงโดยการที่รัฐจะใช้วิธีการออกกฎหมายเพื่อห้ามกลุ่มผลประโยชน์ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยบัญญัติให้กลุ่มมีฐานะเป็นเพียงสมาคมทางสังคมไม่มีบทบาททางการเมือง หรือการออกกฎอัยการศึกหรือประกาศคณะปฏิวัติฉบับต่างๆ ที่ห้ามการรวมกลุ่มทางการเมือง ส่วนการแทรกแซงด้วยการจัดตั้งกลุ่มหรือสนับสนุนกลุ่มบางกลุ่มเพื่อต่อต้านกลุ่มผลประโยชน์ที่เรียกร้องสิ่งต่างๆ จากรัฐ เช่น การจัดตั้งกลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดงขึ้นมาคานอำนาจกลุ่มนักศึกษาในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519”

 

‘สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3’ (ฉบับปี 2544) ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ให้รายละเอียดเหตุการณ์อย่างสั้น

เป็นเล่มเดียวที่กล่าวว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 100 กว่าคน ซึ่งมากกว่าเอกสารชันสูตรพลิกศพคดี 6 ตุลาซึ่งระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 46 คน มีการพูดถึงคดีหมิ่นพระบรมฯ แต่ไม่พูดถึงการเล่นละครแขวนคอฯ ของนักศึกษาก่อนหน้านั้น 

“ขณะเดียวกัน จอมพลถนอม กิตติขจร ได้เดินทางกลับเข้าประเทศเพื่ออุปสมบท เป็นเหตุให้นิสิตนักศึกษาทำการประท้วงให้เดินทางกลับออกไป แต่เหตุการณ์กลับถูกแปลงเป็นคดีหมิ่นพระบรมโอรสาธิราช กลุ่มนวพล กระทิงแดง และลูกเสือชาวบ้าน พากันมาชุมนุมหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งตำรวจตระเวนชายแดน เช้าวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 การปราบปรามก็ได้เริ่มขึ้น มีนักศึกษาเสียชีวิตกว่า 100 คน และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ในที่สุดกลุ่มทหารนำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช”“การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม นักศึกษาหลบหนีเข้าป่ากันมาก ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น ยากแก่การปราบปราม รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้พยายามแก้ปัญหาไม่ใช้ความรุนแรง หันมาใช้นโยบายการเมืองนำหน้าการทหาร โดยส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้แข็งแกร่ง ขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคมประกาศนิรโทษกรรมนักวิชาการและนิสิตนักศึกษา ที่หนีเข้าไปอยู่ในป่าโดยให้มีสิทธิเข้าทำงาน หรือเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาเดิมได้ การนี้ รัฐบาลสามารถชักชวนนักศึกษาออกมาจากป่า และสามารถสลายพลังของพรรคคอมมิวนิสต์ได้ในที่สุด”

 

‘หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.2’ (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

เล่มที่ให้รายละเอียดเหตุการณ์่และมีบริบทสังคมการเมืองเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย พูดถึงพรรคการเมืองในสมัยนั้นซึ่งเล่มอื่นไม่ได้พูดถึง โดยในหัวข้อ ‘เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519’ ย่อหน้าแรกกล่าวว่า 

“ผลสืบเนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2517 ที่กลุ่มนักศึกษา ประชาชน และกลุ่มชาวนาชาวไร่ เกิดความสำนึกและตื่นตัวทางการเมือง สังคมไทยมีบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยสูง มีการแข่งขันทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองที่มีมากถึง 22 พรรค โดยแต่ละพรรคอยู่ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มทุนที่เจริญก้าวหน้าขึ้นมาจากยุคส่งเสริมการลงทุน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 รวมทั้งการเมืองไทยในระบบรัฐสภาก็มีการแข่งขันช่วงชิงอำนาจกันเป็นเวลากว่า 3 ปี จนกระทั่งจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตผู้นำประเทศ ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย จึงเป็นสาเหตุให้นิสิตนักศึกษา และประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นมาต่อต้านการกลับมาของจอมพล ถนอม กิตติขจร และเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งด้วยการรวมตัวกันชุมนุมประท้วงการกลับมาของผู้นำคนดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช”

 

‘ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ชั้นม.4’ (ฉบับปี 2559) ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นหนึ่งในสองเล่มที่มีเนื้อหาเหมือนกันและเขียนถึง 6 ตุลาไว้ยาวที่สุดในบรรดาทุกเล่ม โดยให้รายละเอียดเหตุการณ์คร่าวๆ และสาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด 14 ตุลา ซึ่งเกี่ยวโยงมาจนถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา ดังตัวอย่าง

'การรวมกลุ่มเคลื่อนไหว'

“สภาพการณ์ภายหลังวิกฤติการณ์ 14 ตุลาคม 2516… นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เข้ามาเป็นผู้นำในการบริหารประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในเวลานั้นประเทศไทยประสบปัญหาในหลายด้านซึ่งเป็นปัญหาที่หมักหมมกันมายาวนาน เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองพ้นจากระบบเผด็จการก้าวมาสู่ยุคประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น นิสิตนักศึกษาและประชาชนบางส่วนใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขต ต้องการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว ซึ่งในบางครั้งเป็นการละเมิดกฎหมาย รัฐบาลไม่อาจตอบสนองความต้องการได้ บางกลุ่มโจมตีรัฐบาลในทางที่เสียหาย เกิดความขัดแย้งกัน”

“แนวคิดทางการเมืองไทยเกิดความแตกแยกสถานการณ์ขณะนั้นประชาชนส่วนใหญ่ต่างพากันเบื่อหน่ายกลุ่มพลังต่างๆ ซึ่งพากันประท้วงรัฐบาลและเรียกร้องต่างๆ นานา นอกจากนั้นประชาชนยังเบื่อหน่ายรัฐบาลและนักการเมืองที่เกิดการแตกแยกและแย่งชิงผลประโยชน์กัน...”

“เกิดการรวมกลุ่มต่างๆ มากมายหลายกลุ่ม บางกลุ่มมีจุดหมายช่วยเหลือสังคม บางกลุ่มมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตน กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มครู กลุ่มนักศึกษาอาชีวะ กลุ่มชาวไร่ชาวนา กรรมกร พระสงฆ์ เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้พยายามเคลื่อนไหวตามแนวทางของตน เช่น เผยแพร่ประชาธิปไตยในชนบท ช่วยเหลือผู้ที่ถูกกดขี่ข่มแหงให้ได้รับความยุติธรรม เรียกร้องค่าจ้างแรงงานให้สูงขึ้น เดินขบวนขับไล่ผู้บริหารออกจากตำแหน่ง ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาพืชผลราคาตกตต่ำ การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ บางครั้งกระทำไปในลักษณะรุนแรง ฝ่าฝืนกฎหมายและทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น การนัดหยุดงาน เป็นต้น”

'กระแสคอมมิวนิสต์'

“ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเริ่มเสื่อมความนิยม เนื่องจากประชาชนเห็นว่าศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ของรัฐบาล เป็นเหตุให้รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างราบรื่น ฝ่ายสูญเสียผลประโยชน์และกลุ่มอำนาจเก่าเริ่มรวมตัวกัน และพยายามปลุกกระแสให้ประชาชนเห็นว่านิสิตนักศึกษายุยงประชาชนให้ก่อเหตุวุ่นวาย มีการประท้วงรัฐบาลอย่างพร่ำเพรื่อและใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย นอกจากนั้นยังกล่าวหานักศึกษาอย่างรุนแรงว่าเป็นพวกนิยมคอมมิวนิสต์ ต้องการล้มล้างชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”

 

‘ประวัติศาสตร์ไทย ชั้นม.4-6’ (ฉบับปี 2551) ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหนึ่งในสองเล่มที่มีเนื้อหาเหมือนกันและเขียนถึง 6 ตุลาไว้ยาวที่สุดในบรรดาทุกเล่ม โดยให้รายละเอียดเหตุการณ์คร่าวๆ และสาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด 14 ตุลา ซึ่งเกี่ยวโยงมาจนถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา ดังตัวอย่าง

'การรวมกลุ่มเคลื่อนไหว'

“สภาพการณ์ภายหลังวิกฤติการณ์ 14 ตุลาคม 2516… นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เข้ามาเป็นผู้นำในการบริหารประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในเวลานั้นประเทศไทยประสบปัญหาในหลายด้านซึ่งเป็นปัญหาที่หมักหมมกันมายาวนาน เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองพ้นจากระบบเผด็จการก้าวมาสู่ยุคประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น นิสิตนักศึกษาและประชาชนบางส่วนใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขต ต้องการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว ซึ่งในบางครั้งเป็นการละเมิดกฎหมาย รัฐบาลไม่อาจตอบสนองความต้องการได้ บางกลุ่มโจมตีรัฐบาลในทางที่เสียหาย เกิดความขัดแย้งกัน”

“แนวคิดทางการเมืองไทยเกิดความแตกแยกสถานการณ์ขณะนั้นประชาชนส่วนใหญ่ต่างพากันเบื่อหน่ายกลุ่มพลังต่างๆ ซึ่งพากันประท้วงรัฐบาลและเรียกร้องต่างๆ นานา นอกจากนั้นประชาชนยังเบื่อหน่ายรัฐบาลและนักการเมืองที่เกิดการแตกแยกและแย่งชิงผลประโยชน์กัน...”

“เกิดการรวมกลุ่มต่างๆ มากมายหลายกลุ่ม บางกลุ่มมีจุดหมายช่วยเหลือสังคม บางกลุ่มมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตน กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มครู กลุ่มนักศึกษาอาชีวะ กลุ่มชาวไร่ชาวนา กรรมกร พระสงฆ์ เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้พยายามเคลื่อนไหวตามแนวทางของตน เช่น เผยแพร่ประชาธิปไตยในชนบท ช่วยเหลือผู้ที่ถูกกดขี่ข่มแหงให้ได้รับความยุติธรรม เรียกร้องค่าจ้างแรงงานให้สูงขึ้น เดินขบวนขับไล่ผู้บริหารออกจากตำแหน่ง ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาพืชผลราคาตกตต่ำ การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ บางครั้งกระทำไปในลักษณะรุนแรง ฝ่าฝืนกฎหมายและทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น การนัดหยุดงาน เป็นต้น”

'กระแสคอมมิวนิสต์'

“ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเริ่มเสื่อมความนิยม เนื่องจากประชาชนเห็นว่าศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ของรัฐบาล เป็นเหตุให้รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างราบรื่น ฝ่ายสูญเสียผลประโยชน์และกลุ่มอำนาจเก่าเริ่มรวมตัวกัน และพยายามปลุกกระแสให้ประชาชนเห็นว่านิสิตนักศึกษายุยงประชาชนให้ก่อเหตุวุ่นวาย มีการประท้วงรัฐบาลอย่างพร่ำเพรื่อและใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย นอกจากนั้นยังกล่าวหานักศึกษาอย่างรุนแรงว่าเป็นพวกนิยมคอมมิวนิสต์ ต้องการล้มล้างชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”

 

'หน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ชั้นม.4' (ฉบับปี 2559) ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 

ไม่มีกล่าวถึง

 

'สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นม.1' (ฉบับปี 2544) ของสำนักพิมพ์ประสานมิตร

ไม่มีกล่าวถึง

 

'หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นม.4-6' (ฉบับปี 2551) ของกระทรวงศึกษาธิการ

ไม่มีกล่าวถึง

 

'สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ชั้นม.1' (ฉบับปี 2560) ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช

ไม่มีกล่าวถึง

 

'หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.3' (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

ไม่มีกล่าวถึง

 

'สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม.3' (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช

ไม่มีกล่าวถึง

 

'หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-6' (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

ไม่มีกล่าวถึง

 

 

'สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ม.1' (ฉบับปี 2560) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

ไม่มีกล่าวถึง

 

'ประวัติศาสตร์ ม.1' (ฉบับปี 2544) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

ไม่มีกล่าวถึง

 

'หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1' (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

ไม่มีกล่าวถึง

 

'สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม.1' (ฉบับปี 2544) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

ไม่มีกล่าวถึง

 

'สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม.3' (ฉบับปี 2551) ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

ไม่มีกล่าวถึง

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

‘สามัญชน’ จะเดินเข้าสภา เลิศศักดิ์เผยส่งผู้สมัคร 14 เขต 6 บัญชีรายชื่อ

$
0
0

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ เผยพรรคสามัญชนส่งผู้สมัคร ส.ส. แล้ว 14 เขต พร้อม 6 รายชื่อในระบบปาร์ตี้ลิสต์ เเย้มพร้อมส่งผู้สมัครลงเขตในกรุงเทพฯ เพิ่มเติมพรุ่งนี้ 

แฟ้มภาพประชาไท

7 ก.พ. 2562 เวลา 13.00 น. เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์​ หัวหน้าพรรคสามัญชน และ ศิววงศ์ สุขทวี นายทะเบียน ได้เข้ายื่นบัญชีรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยรายชื่อ สส. แบบแบ่งเขต ส่งทั้งหมด 14 เขต ใน 8 จังหวัด และบัญชีรายชื่อจำนวน 6 รายชื่อ ดังนี้

รายชื่อผู้สมัครแบบแบ่งเขต

1. กาฬสินธ์ เขต 1 วงศกร สารปรัง เขต 3 จินตนา ศรีนุเดช เขต 5 ณัฐพร อาจหาญ

2. เลย เขต 1 ภัทราภรณ์ แก่งจำปา เขต 3 วิรอน รุจิไชยวัฒน์

3. สุรินทร์ เขต 5 พักตร์วิไล สหุนาฬุ เขต 6 พรทิพย์ มังกร

4. เชียงราย เขต 2 วรวุธ ตามี่ เขต 4 ศุภนันท์ แสงบุญเรือง

5. สกลนคร เขต 5 เสงี่ยม สุดไชยา เขต 6 สีสมพร ทองนาง

6. ขอนแก่น เขต 3 สุรเดช แก้วกัลยา

7. ลำปาง เขต 2 ชุทิมา ชื่นหัวใจ

8. หนองบัวลำภู เขต 8 อุเทน อินทร์เจริญ

บัญชีรายชื่อ อันดับ 1 เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรค อันดับ 2 พรทิพย์ หงชัย สมาชิกพรรคจังหวัดเลย อันดับ 3 สุริยา แสงแก้วฝั้น สมาชิกพรรคจังหวัดเชียงราย อันดับ 4 อภิวัตน์ กวางแก้ว สมาชิกพรรคจังหวัดนนทบุรี อันดับ 5 ว่าที่ ร.ต.พร้อมศักดิ์ จิตจำ สมาชิกพรรคจังหวัดนครศรีธรรมราช อันดับ 6 ปกรณ์ สระแก้งตูม สมาชิกพรรคจังหวัดขอนแก่น

เลิศศักดิ์ หัวหน้าพรรคฯ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ความพยายามของคนเล็กคนน้อยสัมฤทธิ์ผลทางการเมืองไปอีกขั้นหนึ่ง แม้จะเหนื่อยยากแสนสาหัสกับการฝ่าวงล้อมกฎหมายพรรคการเมืองและเลือกตั้งของ คสช. ที่พยายามกีดกันประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมืองอะไรที่สูงไปกว่าการเข้าคูหาลงคะแนนเสียง วันนี้เราทำสำเร็จที่สร้างพื้นที่ทางการเมืองที่สูงไปกว่าการเข้าคูหาลงคะแนนเสียงด้วยการสร้างพรรคของชนชั้นสามัญชน

“การที่พรรคสามัญชนเข้าไปในสภาไม่ได้มีความหมายว่าเราจะจำนนหรือจำยอมกับกติการัฐสภาเสียงข้างมากที่สามารถพัฒนาการเป็นเผด็จการอีกรูปแบบหนึ่งได้ แต่ภารกิจในสภาของสามัญชนคือการเชื่อมประชาธิปไตยทางตรงที่อยู่นอกสภาหรือบนท้องถนนกับประชาธิปไตยในสภาเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้ประชาธิปไตยมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งๆ ขึ้นไป” เลิศกล่าว

ทั้งนี้ พรรคสามัญชนยังเตรียมส่งรายชื่อผู้สมัครฯ ลงในเขตกรุงเทพมหานครด้วย โดยจะยื่นรายชื่อในวันพรุ่งนี้

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ใบตองแห้ง: ไม่แยแสกติกาลี้ภัย?

$
0
0

รัฐมนตรีต่างประเทศและเพจดราม่า (ซึ่งมีคนเชื่อมากกว่ารัฐมนตรี) บอกว่าตำรวจสากลออสเตรเลียแจ้งเตือนมาเอง ว่าฮาคีม อัล อาไรบี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน มีหมายจับของทางการบาห์เรน ตำรวจไทยจึงจับไว้ แล้วประเทศไทยก็ต้องรับเคราะห์ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรเลย กลับถูกนานาชาติประณาม ถูกโลกโซเชียลติดแฮชแท็ก #SaveHakeem #BoycottThailandโดยออสเตรเลียไม่พูดถึงความผิดพลาดของตัวเองสักคำ

คนไทยรักชาติฟังแล้วของขึ้น ระดมแฮชแท็ก #SaveThailand ประเทศเราไม่ได้รับความเป็นธรรม ไอ้พวกฝรั่งล่าเมืองขึ้น ไอ้พวกผิวขาวเอาคนมาเป็นทาส เที่ยวตัดสินคนอื่นละเมิดสิทธิมนุษยชน

ขอโทษที ก่อนจะบ้าจี้ไปกว่านี้ ช่วยย้อนดูเหตุการณ์ เอาล่าสุดก่อน ทำไม #BoycottThailand จึงฮิตกระหน่ำ ทั้งที่ฮาคีมถูกจับมาสองเดือนกว่า แม้มีการรณรงค์มาเป็นระยะ แต่ก็ไม่กระฉูดเท่าวันจันทร์

ภาพฮาคีมถูกนำตัวไปขึ้นศาลโดยใส่ “กุญแจเท้า” ยังกับอาชญากรปล้นฆ่า มันแพร่ไปทั่วโลกในชั่วพริบตาไงครับ สร้างความสะเทือนใจให้คนทั้งโลก รวมถึงนักฟุตบอลดัง ๆ ออกมาช่วยกันเรียกร้อง ถึงแม้กรมราชทัณฑ์อ้างว่าไม่ใช่ “ตรวน” แค่ทำตามระเบียบเพื่อไม่ให้หลบหนีเป็นภัยสังคม

นึกภาพกลับกัน ถ้าฮาคีมได้ปล่อยตัวชั่วคราว ใส่สูทมาศาลกับทนาย แรงกดดันคงเบากว่าเยอะ

นี่เป็นปัญหาสิทธิมนุษยชน ต่อให้อ้างว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ระหว่างต่อสู้คดี เขาก็สูญสิ้นอิสรภาพ ทั้งที่เพิ่งเริ่มขอตัวเท่านั้น

ย้อนไปจุดเริ่มต้น ที่ว่าตำรวจสากลออสเตรเลียแจ้งมาเอง ที่จริงก็มาจากสื่อออสเตรเลีย ซึ่งชี้ว่าตำรวจสากลทำผิดพลาดมาแล้วหลายครั้ง ไม่เชื่อมโยงข้อมูลผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ตาม หลังตำรวจไทยจับฮาคีมเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ตำรวจสากลก็ยกเลิก Red Notice ทันที วันรุ่งขึ้น กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียก็ยืนยันสถานะผู้ลี้ภัย ขอให้ส่งตัวกลับ

ซึ่งนักกฎหมายระหว่างประเทศหลายราย ชี้ว่ารัฐไทยมีอำนาจตัดสินใจส่งตัวกลับออสเตรเลีย ไม่จำเป็นต้องกักไว้ แต่ไม่ทราบเพราะเหตุใด กลับรอจนบาห์เรน (ซึ่งไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน) ทำเรื่องขอให้ส่งตัว แล้วก็บอกว่าต้องไปสู้กันในศาล

กรณีฮาคีม แม้จุดเริ่มต้นมาจากความผิดพลาดของตำรวจสากล แต่จริงหรือที่รัฐไทยไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ซวย รับเคราะห์ เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ในรอบห้าปี รัฐบาลทหารไทยส่งกลับผู้ลี้ภัยจนถูกชาวโลกวิจารณ์มาหลายครั้ง ตั้งแต่อุยกูร์ มาถึงผู้ลี้ภัยกัมพูชา ซึ่งหลายรายถูกจับส่งกลับฐานหลบหนีเข้าเมือง ไม่ยอมให้สู้ในศาลด้วยซ้ำ

ประเทศไทยเคยได้รับการยกย่องด้านสิทธิมนุษยชน อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคนี้ เคยเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยเพื่อนบ้าน แต่ห้าปีมานี้ สถานการณ์เปลี่ยนสิ้นเชิง คงเพราะหลังรัฐประหาร คนไทยจำนวนมากกลายเป็นผู้ลี้ภัย กระจายไปอยู่ทั่วโลก วิพากษ์วิจารณ์ ต่อต้าน คสช. ไม่ต่างจากฮาคีมวิจารณ์รัฐบาลบาห์เรน รัฐไทยจึงมีแนวโน้มไม่พอใจกติกาสากลว่าด้วยผู้ลี้ภัย ไม่ปฏิบัติตาม และกลับไปเห็นใจรัฐบาลอำนาจนิยมที่ขอให้ส่งตัวกลับ (หัวอกเดียวกัน)

กรณีฮาคีม เจอแรงกดดันขนาดนี้ เดี๋ยวรัฐบาลก็คงหาทางคลี่คลาย แต่ต่อไปจำไว้ ประเทศไทยเป็นแดนต้องห้ามของผู้ลี้ภัย และนักสิทธิมนุษยชน

เพราะผู้ลี้ภัยในทัศนะไทยคือพวกสร้างความวุ่นวาย ขนาดโดนฆ่าตายทิ้งแม่น้ำโขง บางคนยังสมน้ำหน้า จะมาเห็นใจอะไรกับต่างชาติต่างศาสนาอย่างฮาคีม

เผยแพร่ครั้งแรกใน:ช่าวหุ้นธุรกิจ www.kaohoon.com/content/276692

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ปิยบุตร แสงกนกกุล:ต้องยืนยันหลักการ “นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.”

$
0
0

หลักการ “นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.” คือ มรดกของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เป็นผลพวงจากการต่อสู้ของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยต่อระบอบ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ตามรัฐธรรมนูญ 2521 และ 2534

“ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ต้องการให้การเลือกตั้งเป็นเพียง “เครื่องประดับ” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นประชาธิปไตย แต่เมื่อเลือกตั้งแล้ว พรรคการเมืองต่างๆก็เชิญนายทหารเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับมีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ประกอบไปด้วยนายทหารและข้าราชการประจำ

ยามใดก็ตามที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส.ส. ย่อมมีโอกาสที่ “คนนอก” จะเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 และรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ต้องการทำลายหลักการ “นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.” แต่ไม่สำเร็จ ความพยายามนี้มาสำเร็จลงเมื่อคราวรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเป็นผลพวงของรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ได้แปลง “นายกฯ คนนอก” ให้กลายเป็น “นายกฯ คนใน” ด้วยการกำหนดให้พรรคการเมืองเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีได้ 3 รายชื่อ โดยไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. นั่นหมายความว่า “นายกฯคนนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส.” ถูกสถาปนาเข้าไปในรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว

เราต้องแลกเลือดเนื้อ ชีวิต ของประชาชนไปจำนวนมากกว่าประเทศไทยจะสถาปนาหลักการ “นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.” ลงไปในรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันมิให้ “คนนอก” ฉวยโอกาสเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นพรรคการเมืองที่ประกาศตนเป็นฝ่ายประชาธิปไตย บุคคลที่ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีของฝ่ายประชาธิปไตย ต้องไม่ยินยอมใช้ช่องทาง “นายกฯคนนอก” ที่ถูกแปลงให้เป็น “นายกฯคนใน” ตามรัฐธรรมนูญ 2560

คำว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” ไม่ใช่เพียงแค่การต่อต้าน คสช. หรือการยุติการสืบทอดอำนานของ คสช.เท่านั้น แต่ต้องหมายความถึงความพยายามในการพิทักษ์รักษาหลักการประชาธิปไตยที่ประชาชนได้ร่วมกันต่อสู้มาด้วย

ในบรรดาตำแหน่งหรือองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นเพียงตำแหน่งเดียวที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ในขณะที่ตำแหน่งอื่นๆ มาจากการแต่งตั้ง ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นตำแหน่งที่ทรงเกียรติ และเป็น “ตัวแทน” ของประชาชนมาใช้อำนาจรัฐ

การลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. มิใช่เรื่องความถนัดหรือไม่ถนัด แต่นี่คือหน้าที่ คือภารกิจ คือการสร้างความชอบธรรม และเมื่อเป็น ส.ส.แล้ว หากได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรให้ไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานด้านบริหารราชการแผ่นดินได้

การต่อต้านเผด็จการต้องไม่ใช้การเล่นแร่แปรธาตุทางรัฐธรรมนูญของพวกเผด็จการ

การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 คือ การยุติการสืบทอดอำนาจของ คสช.

การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 คือ การต่อต้านเผด็จการทั้งในรูปของตัวบุคคล และในรูปของมรดกที่เผด็จการทิ้งไว้กับเรา

การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 คือ การปกป้องรักษาหลักการ “นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.”

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน:Facebook Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานร้อง คกก.วัตถุอันตราย หากเลิกใช้พาราควอต สูญกว่า 1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี

$
0
0

กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย ร้องเกิดความเสียหายขึ้นทันทีหากยกเลิกใช้ สารพาราควอต มูลค่าสูง 1.3 หมื่นล้านบาท

7 ก.พ. 2562 นายคมกฤต ปานจรูญรัตน์ รองประธาน กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานทั่วประเทศ มีขนาด 700,000 ไร่ มูลค่าการส่งออกเกือบ 7,000 ล้านบาท ยังไม่นับการบริโภคภายในประเทศ อาจมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท แม้ว่าประเทศไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ยังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดหวานลดลง เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นที่อยู่ในโครงการประกันราคาของรัฐบาล ดังนั้น จำเป็นต้องหาวิธีการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นเพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกที่ลดลง และยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหา หากมีการห้ามใช้ สารพาราควอต ต้นทุนการเกษตรจะเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า 800 ล้านบาท ส่งผลต่อเนื่องไปยังกลุ่มผู้ผลิตข้าวโพดกระป๋อง คิดเป็นมูลค่า 7,000 ล้านบาท

ด้านการส่งออก ปัจจุบันกลุ่มประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นำเข้าข้าวโพดหวานจากไทยเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการใช้สารพาราควอต ในกระบวนการผลิต ไม่เคยเกิดกรณีตีกลับข้าวโพดหวานจากสารพารา ควอตตกค้าง หรือมีอันตรายต่อผู้บริโภค แต่กระแสข่าวที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพาราควอต ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการส่งออกในระดับนานาชาติ

นอกจากนี้ เกษตรกรข้าวโพดหวานจังหวัดกาญจนบุรี นายวาทิน มงคลสารโสภณ กล่าวว่า พาราควอตเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของเกษตรกร ช่วยในการควบคุมวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่มีสารหรือวิธีการอื่นใดทดแทน และหากจะมองว่าเป็นสารเคมีอันตราย สารเคมีทุกตัวก็อันตรายทั้งหมด ก็ควรห้ามใช้ทั้งหมด จะอันตรายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบุคคลที่นำไปใช้มากกว่าว่านำไปใช้ถูกวิธีหรือไม่ ผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรม จังหวัดกาญจนบุรี นายชาตรี ฟักเหลือง กล่าวถึงผลกระทบโดยตรงต่อข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมว่า ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น คุณภาพผลผลิตลดลง ส่วนผลกระทบต่อผู้บริโภคนั้น มั่นใจว่า ไม่มี เพราะการใช้สารพาราควอตไม่ได้ฉีดลงบนพืช ทำให้ไม่มีการดูดซึมสารตามกล่าวอ้าง สิ่งที่เกษตรกรต้องการคือ ไม่ใช่การแบนสาร แต่ควรมาอบรมให้ความรู้เพื่อการใช้อย่างถูกต้องจะดีกว่า

ด้านตัวแทนกลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่ นางสาววิเชียร ติง กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ในพื้นที่ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานเป็นจำนวนมาก เพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตข้าวโพดหวานกระป๋อง ดังนั้นหากมีการเลิกใช้พาราควอต ไม่เพียงแต่เกษตรกรเท่านั้นที่จะได้รับความเดือดร้อน แต่โรงงานอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เพราะต้องหาผลผลิตจำนวนมากมาแปรรูป เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงขอให้มีการพิจารณาใช้สารพาราควอตต่อไป แต่ให้มีการอบรมเกษตรกรควบคู่กันไปด้วย เพราะจากประสบการณ์กว่า 10 ปีที่ใช้มา หากมีการใช้อย่างถูกวิธี จะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายตามที่เป็นข่าว และไม่มีสารตกค้างในผลผลิตด้วย

กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงอยากให้ตระหนักถึงผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งระบบห่วงโซ่ที่แยกจากกันไม่ได้ ระบบการผลิต อุตสาหกรรมการแปรรูป อุตสาหกรรมอาหาร หากเกษตรกรอยู่ไม่ได้ สร้างผลผลิตไม่ได้ จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมเกษตรทั้งระบบ รวมทั้ง กลุ่มนักวิชาการและแพทย์ได้เคยชี้ข้อเท็จจริงแล้วว่า พาราควอต มีความจำเป็นต่อเกษตรกร และอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน ประเด็นด้านสุขภาพจากเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ไม่ได้ระบุว่า พาราควอต เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และอาการต่าง ๆ ดังกล่าวอ้าง เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น

“กลุ่มรวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความเห็นตรงกันว่า ไม่ควรห้ามใช้ สารกำจัดวัชพืช พาราควอต เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต ส่งผลกระทบกับห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ (การผลิต) จนถึงปลายน้ำ (ผลิตผลหรือสินค้าแปรรูป) และยังไม่มีสารอื่นที่สามารถมาทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เท่าเทียมกัน รวมทั้ง ภาครัฐยังไม่มีมาตรการรองรับผลกระทบด้านต้นทุนของเกษตรกร หากมีการห้ามใช้ พาราควอต จะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทยอย่างใหญ่หลวง เพียงแค่กลุ่มเกษตรกรข้าวโพด ส่งผลกระทบเสียหายทั้งระบบรวมมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาทดังนั้น จึงขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายยืนยันมติเดิม ไม่แบนการใช้ 3 สารเคมี พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต กลุ่มรวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมเอง ก็กำลังจัดทำโครงการส่งมอบความสุขให้เกษตรกร ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการเข้าไปให้ความรู้เรื่องการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจในรายได้ในการผลิตข้าวโพดหวานเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” นายคมกฤต กล่าวสรุป 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เลือกตั้ง 62: บัญชีว่าที่นายกฯ มาแบบไหนสง่างาม ชอบธรรม ไม่เป็นนายกฯ คนนอก

$
0
0

ประเด็นข้อถกเถียงหนึ่งของการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 คือ การตีความคำว่า “นายกฯ คนใน” และ “นายกฯ คนนอก” เพราะกติการใหม่ที่ คสช. ออกแบบมาทำให้วิธีการมองที่มานายกรัฐมนตรีต้องเปลี่ยนไป 
 
ปัจจัยสำคัญ คือ รัฐธรรมนูญวางระบบใหม่ว่า คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ต้องอยู่ใน "บัญชีว่าที่นายกฯ"ที่เสนอโดยพรรคการเมือง ซึ่งแต่ละพรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. จะเสนอรายชื่อว่าที่นายกฯ  ของพรรค ไว้กับ กกต. ไม่เกินพรรคละสามรายชื่อก่อนวันปิดรับสมัครเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนได้เห็นหน้าค่าตากันก่อน และประชาชนจะสามารถคาดเดาได้ว่า แต่ละคะแนนที่ออกเสียงไปนั้นเป็นไปเพื่อสนับสนุนให้ใครได้เป็นนายกรัฐมนตรี
 
ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญใหม่ก็ไม่ได้บังคับว่า บุคคลที่จะอยู่ใน “บัญชีว่าที่นายกฯ” ของแต่ละพรรคการเมือง จะต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเป็น ส.ส. หรือจะต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่เสนอชื่อตัวเองเข้าไปด้วย ดังนั้น สถานะของบบุคคลที่อยู่ใน "บัญชีว่าที่นายกฯ"แต่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเป็น ส.ส. จึงอยู่ตรงกลางว่าจะเป็น "คนใน"หรือ "คนนอก"

สังคมไทยเรียนรู้ คำว่า "นายกฯ คนนอก"จากบทเรียนทางการเมืองมาหลายสมัย

ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย มีนายกรัฐมนตรีหลายคนที่เข้ารับตำแหน่งภายใต้รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งที่ตัวนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพราะไม่ได้ลงสมัคร ส.ส. ร่วมกับพรรคการเมืองใดเลย เช่น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือ อานันท์ ปันยารชุน ซึ่งต่างก็ได้รับเชิญให้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ขัดแย้ง และต่อมาได้รับการยอมรับจากประชาชนหลายกลุ่ม
 
ข้อเรียกร้องจากประชาชนที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น หรือการไม่เอา "นายกฯ คนนอก"กลายเป็นคำพูดติดปากและเป็นหลักการที่ได้รับความนิยมในสังคมไทยในช่วงเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ปี 2535 ในการเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนึ่งในคณะรัฐประหารที่เคยลั่นวาจาไว้ว่า จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง จึงไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ตอนหลังมากลับคำ "เสียสัตย์เพื่อชาติ"เข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี จึงถูกประชาชนออกมาขับไล่ ภายใต้คำขวัญว่า "นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง" 
 
หลังเหตุการณ์ในปี 2535 และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ 2540 และตามมาด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 หลักการนี้จึงได้รับการยอมรับและเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า คุณสมบัติข้อหนึ่งของนายกรัฐมนตรี คือ ต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือต้องได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มาก่อน และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่นั้นมาว่า ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่หนึ่งของพรรคการเมืองที่ได้ชนะเลือกตั้งจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ดังจะเห็นได้จาก ชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ส่งผลให้ ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่หนึ่งของพรรค คือ ทักษิณ ชินวัตร, สมัคร สุนทรเวช และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับความเห็นชอบจาก ส.ส. ส่วนใหญ่ในสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีมาตามลำดับ

กติกาใหม่ สร้างความหมาย "นายกฯ คนนอก"ที่เปลี่ยนไป

ตามกติกาการเลือกตั้งใหม่ในรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ทำให้ความหมายของคำว่า "นายกฯ คนนอก"เปลี่ยนแปลงไป โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีว่า ต้องเป็น ส.ส. เหมือนสองฉบับก่อนหน้านี้ แต่กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ และต้องเป็นพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมด หรือ 25 คน จาก ส.ส. เต็มสภา 500 คน ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรีไม่ได้ลงสมัคร ส.ส. แต่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ก็สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้โดยถูกต้องและเป็นไปตามกรอบกติกาปัจจุบัน
 
นายกรัฐมนตรีที่มาตามระบบนี้ แม้จะไม่ได้เป็น ส.ส. จึงไม่ถึงกับเป็น "นายกฯ คนนอก"ในความหมายเดิมที่นิยมใช้กันในช่วงปี 2535 อีกต่อไป เพราะบัญชีว่าที่นายกฯ ของพรรคการเมืองจะต้องเปิดให้ประชาชนเห็นก่อน และจะเป็นหนึ่งในตัวแปรที่จะให้ประชาชนตัดสินใจเลือกว่าจะกาให้พรรคการเมืองใดหรือไม่ หากรายชื่อว่าที่นายกฯ ของพรรคการเมืองใดมีคนที่ประชาชนไม่ต้องการ ประชาชนก็มีโอกาสตัดสินใจไม่เลือกผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคการเมืองนั้นได้
 
ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญ 2560 ก็ได้สร้างความหมายใหม่ของ "นายกฯ คนนอก"ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เพราะได้เปิดช่องให้มี "นายกฯ คนนอก"ที่แท้จริงได้ในบทเฉพาะกาลมาตรา 272 ที่กำหนดว่า หากหลังการเลือกตั้งรัฐสภาไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอไว้ก่อนการเลือกตั้งได้เลย ก็ให้สมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 500 คน จากจำนวนเต็ม 750 คน ลงมติเพื่อเปิดทางให้เสนอชื่อบุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ของพรรคการเมือง ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ 
 
ดังนั้น ตามรัฐธรรมนูญ 2560 หากนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็น ส.ส. แต่มีที่มาจากผู้ที่ถูกเสนอชื่ออยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ของพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้ง ก็ยังถือได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่เป็น "คนในระบบการเลือกตั้ง"เพียงแต่เป็น "คนนอกรัฐสภา"แต่หากนายกรัฐมนตรีมาจากคนที่ไม่เคยอยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ของพรรคการเมืองใดเลย ถึงจะเรียกได้ว่าเป็น "นายกฯ คนนอก"ที่แท้จริง

กติกาใหม่ ให้ประโยชน์พล.อ.ประยุทธ์ โดยตรง

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 263 และ 264 กำหนดว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะรัฐมนตรี ที่ดำรงตำแหน่งอยู่จะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ เว้นแต่จะได้ลาออกภายใน 90 วันนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงไม่สามารถลงสมัคร ส.ส. ได้ ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้มีนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. เช่นนี้เป็นประโยชน์กับพล.ป.ประยุทธ์ โดยตรง ให้ยังสามารถนั่งเก้าอี้ยาวๆ ไปก่อนและระหว่างการเลือกตั้งได้ และยังสามารถเข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งได้อีก

ความชอบธรรมและสง่างาม คือ ต้องเชื่อมโยงกับประชาชน

หลักการที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง มีเหตุผลเนื่องจากการเลือกตั้งเป็นช่องทางเดียวที่จะทำให้นักการเมืองจะมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน และต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเดินทางไปพบปะประชาชน ต้องรับฟังความต้องการของประชาชน และออกเป็นนโยบายว่า หากได้รับการเลือกตั้งแล้วจะทำหรือไม่ทำสิ่งใด นอกจากนี้ระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งก็ยังมีหน้าที่ต้องทำตามที่สัญญากับประชาชนไว้ด้วย หากผู้ใดเข้าสู่อำนาจแล้วผิดสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน หรือใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง ในการเลือกตั้งครั้งถัดไปประชาชนก็จะไม่ออกเสียงให้อีก

โดยหลักการเช่นนี้นายกรัฐมนตรีที่มีความชอบธรรม และมีความสง่างามจึงต้องผ่านการ "ลงสนามเลือกตั้ง"อย่างเต็มตัว

ก่อนหน้านี้การพิจารณาว่า นายกรัฐมนตรีได้ผ่านสนามเลือกตั้งและมีความชอบธรรมหรือไม่ จึงพิจารณาได้ง่ายๆ คือ บุคคลนั้นลงสมัครเป็น ส.ส. ด้วยหรือไม่ แต่ตามกติกาใหม่ในรัฐธรรมนูญ 2560 ผู้ที่ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรียังมีทางเลือกที่จะลงสนามผ่านกลไก "บัญชีว่าที่นายกฯ"ของพรรคการเมืองโดยไม่ต้องสมัครเป็น ส.ส. ก็ได้ การจะพิจารณาว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงสนามเลือกตั้งและมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนหรือไม่ จึงมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 

ในแง่นี้ หากนักการเมืองคนใดประกาศจุดยืนชัดเจนที่จะเดินทางร่วมกับพรรคการเมืองใดตั้งแต่ต้น โดยมีรายชื่อเป็นหนึ่งในสามว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองนั้น และลงพื้นที่ทำกิจกรรมพบปะประชาชนในนามว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองนั้น ก็ถือได้ว่า บุคคลนั้นได้เป็น "คนใน"สำหรับสนามการเลือกตั้ง มีจุดบกพร้อมบางอย่างแต่ก็มีความเชื่อมโยงกับประชาชนพอสมควรแล้ว

แต่หากนักการเมืองคนใดเพียงถูกเสนอชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองแต่ไม่เคยร่วมงานใดๆ กับพรรคการเมือง ไม่เคยลงพื้นที่ ไม่เคยพบปะประชาชน ไม่เคยมีความผูกพันเชื่อมโยงใดๆ กับเจ้าของประเทศทั้งหลาย รวมทั้งบางกรณีอาจเป็นเพียงหนึ่งในสามรายชื่อที่ประชาชนไม่ได้คาดหมายว่า จะเป็นคนที่ถูกเสนอในขั้นตอนสุดท้าย แม้หลังการเลือกตั้งจะได้รับการลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ก็ยังขาดความชอบธรรม

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ภายใต้กติกาใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2560 การพิจารณาประเด็นความชอบธรรมของนายกรัฐมนตรีโดยพิจารณาเพียงว่า เป็น ส.ส. ด้วยหรือไม่ ยังแคบเกินไป แต่ต้องพิจารณาว่า คนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้เป็นส่วนหนึ่งของสนามเลือกตั้งในระดับที่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนด้วยหรือไม่

ความบกพร่องของนายกฯ ที่มาจากบัญชี โดยไม่สมัคร ส.ส. ด้วย

แน่นอนว่า หากนายกรัฐมนตรีมีที่มาจากผู้สมัคร ส.ส. ที่ชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. โดยได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนใหญ่ให้เป็นตัวแทนเข้าไปอยู่ในรัฐสภา และยังได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภาส่วนใหญ่ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย ก็จะเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีจุดเชื่อมโยง "ทางตรง"กับประชาชนและยังมีจุดเชื่อมโยง "ทางตรง"กับสมาชิกสภาด้วย ซึ่งจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่สง่างามอย่างสมบูรณ์แบบ

แต่หากนายกรัฐมนตรีมาจากบัญชีของพรรคการเมืองอย่างเดียวโดยไม่ได้สมัคร ส.ส. ด้วย ก็ยังขาดจุดเชื่อมโยงโดยตรงกับประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง มีเพียงความเชื่อมโยงทางอ้อม ที่ประชาชนออกเสียงให้ ส.ส. ในพรรคการเมืองเดียวกัน และ ส.ส. เหล่านั้นมาออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีอีกชั้นหนึ่ง

ปัญหาที่ตามมาในระบบการเลือกตั้งที่ประชาชนกาบัตรใบเดียวมีความหมายทุกอย่าง ก็คือ เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่า เสียงของประชาชนแต่ละเสียงมีเจตจำนงแบบใดบ้าง เช่น ประชาชนบางคนอาจจะกากบาทเพื่อเอาคะแนนเสียงให้ ส.ส. แบบแบ่งเขต แต่ไม่ได้ต้องการได้นายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคนั้น หรือประชาชนบางคนอาจจะกากบาทตั้งใจเลือกบางคนให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยตรงเลย โดยที่ไม่สนใจผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลยก็ได้

สำหรับเสียงของประชาชนที่ตั้งใจจะออกเสียงเพื่อเลือกนายกรัฐมตรีเลย อาจมีความอ่อนไหวเมื่อผู้สมัครในบัญชีว่าที่นายกฯ ไม่สมัครเป็น ส.ส. ด้วย เมื่อประกาศผลการเลือกตั้งผู้สมัครคนนั้นอาจไม่ถูกเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะพรรคการเมืองไปเสนอชื่อบุคคลอื่นในบัญชี หรือพรรคการเมืองนั้นไม่ชนะการเลือกตั้ง ก็จะทำให้คะแนนของประชาชนที่ออกเสียงไปในประเภทหลังถูกนำไปคิดคำนวนให้ ส.ส. คนอื่นเพียงอย่างเดียว ทำให้เจตจำนงของประชาชนที่ออกเสียงไปเช่นนี้ถูกนำไปใช้ในทางที่เจ้าของเสียงไม่ได้ต้องการ ในแง่นี้ก็เป็นความบกพร่องที่เกิดจากผู้ที่เลือกลงสนามเลือกตั้งด้วยวิธีนี้

ชัชชาติ vs พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ ในสนามเลือกตั้งจากบัญชีของพรรคการเมือง

เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่สนามเลือกตั้งช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ปรากฏว่า พรรคการเมืองใหญ่ที่ชิงชัยกันอย่างน้อยสองพรรคเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ เป็นผู้ที่ไม่ได้ลงสมัครเป็น ส.ส. ทั้งสองคน โดยพรรคเพื่อไทยมีชื่อของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และพรรคพลังประชารัฐเทียบเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้มาอยู่ในบัญชีว่าที่นายกรัฐมนตรี แต่บทบาทของผู้สมัครชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีทั้งสองคนในสนามการเลือกตั้งครั้งนี้แตกต่างกันมาก พอจะเห็นได้ ดังนี้

1. สถานะในพรรคการเมือง

ขณะที่ชัชชาติ สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยพร้อมประกาศตัวชัดเจนว่า เป็นทีมขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจและร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ส่วนในตำแหน่งที่เป็นทางการพล.อ.ประยุทธ์ ทำตัวว่า ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับพรรคพลังประชารัฐ ไม่ใช่ผู้จัดตั้ง ไม่ใช่ผู้อยู่เบื้องหลัง ไม่เป็นสมาชิกพรรค และไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายของพรรค

2. ตำแหน่งหน้าที่อื่น

ขณะที่ชัชชาติ ประกาศลงสนามการเมืองอย่างเต็มตัว โดยลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารเอกชนก่อนการเลือกตั้งหลายเดือน เพื่อทำงานร่วมกับพรรคเพื่อไทย ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ ยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งหัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรีตลอดช่วงเวลาของการเลือกตั้ง โดยประกาศไม่ยอมลาออกเพื่อความสง่างามด้วย

3. ความสัมพันธ์กับประชาชน

ขณะที่ชัชชาติ ปรากฏตัวเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยตลอด และเดินทางลงพื้นที่หาเสียงกับ ส.ส. ในระบบแบ่งเขตของพรรคเพื่อไทย และขึ้นปราศรัยในเวทีของพรรคเพื่อไทย ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ ยังคงสถานะเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อพบปะประชาชนในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มาเรียนรู้และมาขอโอกาสกับประชาชน ตัวพล.อ.ประยุทธ์จึงไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

ด้วยกติกาและเงื่อนไขของสนามการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ที่เปลี่ยนไปจากเดิมจำนวนมาก หลักการที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งและมีความเชื่อมโยงกับประชาชนยังต้องคงอยู่ แต่การพิจารณาที่จะให้ค่าความชอบธรรมและสง่างามของนายกรัฐมนตรี หากใช้เกณฑ์สถานะความเป็น ส.ส. หรือสถานะการอยู่ใน "บัญชีว่าที่นายกฯ"เพียงเท่านี้อาจยังไม่ละเอียดเพียงพอ และการใช้คำเรียกว่า "นายกฯ คนใน"หรือ "นายกฯ คนนอก"ก็เสี่ยงที่จะพาให้สับสนกับความเข้าใจตามกติกาการเลือกตั้งแบบเดิม 

การพิจารณาว่า บุคคลนั้นๆ เป็น "คนใน"หรือ "คนนอก"สนามเลือกตั้ง และอยู่ในสถานะที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนอย่างเต็มที่ต่างหาก ที่จะชี้วัดความชอบธรรมและสง่างามของนายกรัฐมนตรีคนต่อไปได้

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: 

เลือกตั้ง 62: บัญชีว่าที่นายกฯ สามรายชื่อ คืออะไร

รวมข้อมูลการเลือกตั้ง 2562

เลือกตั้ง 62: ของ คสช. โดย คสช. เพื่อ คสช.

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เปิดทาง "นายกฯ คนนอก"เฉพาะคนแรกหลังเลือกตั้ง

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เมื่อ “เอกชัย” ถูกทำร้ายซ้ำ ๆ ท่ามกลางความเงียบงัน

$
0
0

 

นับตั้งแต่ออกมาตรวจสอบการทุจริต คอร์รัปชัน ในหมู่ผู้นำระดับสูงของรัฐบาล คสช. ทำให้ “เอกชัย หงส์กังวาน”นักกิจกรรมรณรงค์ประชาธิปไตยและอดีตจำเลยในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ (มาตรา 112) กลายเป็นชื่อแรก ๆ ที่มีรายงานการถูกคุกคามทำร้ายบ่อยครั้ง กล่าวเฉพาะเริ่มปี 2562 เพียงเดือนเดียว เอกชัยถูกคุกคามทั้งโดนทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน และถูกดำเนินคดีต่อเนื่องกันรวมแล้ว 3 ครั้ง ภายในรอบ 1 สัปดาห์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์คนร้าย “เผารถยนต์ส่วนตัว” ของเขาเองในเวลากลางดึก ซึ่งดูจะสะเทือนความรู้สึกผู้คนที่เอาใจใส่ติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิ เพราะนี่เป็นความรุนแรงที่มิเพียงมุ่งให้เกิดความหวาดกลัวแก่ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังอาจกระทบไปถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่นที่อยู่ในละแวกบ้านพักของเขาด้วยเช่นกัน ทว่าจน ณ วันนี้ยังไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรวบรวมรูปแบบการทำร้ายและคุกคามเอกชัย หงส์กังวาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฝ้าระวังสถานการณ์การละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชน ท่ามกลางความเงียบงันของสังคมต่อความรุนแรงที่มีต่อนักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายนี้

1. ควบคุมตัวในสถานที่ที่ไม่เปิดเผย

การคุกคามครั้งแรก ๆ ที่เอกชัยต้องเผชิญ ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 60 เมื่อเขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารพาไปควบคุมตัวไว้ยังรีสอร์ทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรี หลังจากที่เขาโพสต์เฟสบุ๊กว่าจะสวมเสื้อสีแดงในวันที่ 26 ต.ค. 60 โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าการนำตัวเอกชัยไปต่างจังหวัดเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างนั้นเขาถูกคุมตัวเป็นเวลากว่า 5 วัน ในขณะที่ไม่มีใครสามารถเข้าไปเยี่ยมเขาได้ระหว่างการควบคุมตัว 

เมื่อกลับจากรีสอร์ทปริศนานั้น เขากลับไปหาเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อขอสำเนาบันทึกข้อตกลงห้ามเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคยลงชื่อก่อนได้รับการปล่อยตัว เพราะประสงค์จะดำเนินการทางกฎหมายจากการควบคุมตัวครั้งนี้ ทว่าจากคำบอกเล่าของเอกชัยคือ นอกจากจะไม่ให้สำเนาบันทึกนั้นกลับมา เจ้าหน้าที่ยังฉีกเอกสารดังกล่าวทิ้ง

อีกเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน หากแตกต่างในแง่กาละและเทศะ ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 16 เม.ย. 61 ขณะที่เอกชัยและเพื่อนกำลังไปทำกิจกรรม “รดน้ำดำหัว”[1] มีการดำเนินคดีประชาชนไปกว่า 130 คน “MBK39” “PTY12”  “RDN50” “Army57” พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณที่ทำเนียบรัฐบาล ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบไปที่บ้าน เมื่อเขาเดินไปรอรถประจำทางที่ป้ายรถประจำทาง ตำรวจได้เข้าควบคุมตัวเขาออกไปทันที จากการติดตามในภายหลังจึงทราบว่า เขาถูกควบคุมตัวไว้ที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 พร้อมกับนายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ เพื่อนอีกคนที่กำลังเดินทางด้วยกัน

จากการตรวจสอบของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีการแจ้งว่าใช้อำนาจใดในการควบคุมตัว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ใช้กำลังกับนายโชคชัยโดยกดลงกับพื้นทางเดินเท้า จากนั้นใช้วิธีแยกพวกเขาทั้งสองขึ้นรถของ สน.โชคชัย เพื่อนำตัวไปที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 ซึ่งระหว่างการเดินทางตำรวจมีการคลุมหัวนายโชคชัยและกดตัวนายโชคชัยไว้กับเบาะของรถ และยึดโทรศัพท์มือถือไปด้วย

ไม่แตกต่างไปจากการควบคุมตัวครั้งก่อน เจ้าหน้าที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงเอาไว้ แต่เอกชัยปฏิเสธลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว จนกระทั่งเวลาประมาณ 11.00 น. ของวันเดียวกัน พวกเขาจึงถูกปล่อยออกจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 ก่อนเจ้าหน้าที่จะคืนโทรศัพท์ให้ทั้งสอง ทว่าภาพเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุที่โชคชัยถ่ายไว้ได้นั้น ได้หายไปจากโทรศัพท์

ถัดจากนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ที่ทำให้การทำกิจกรรมเพื่อตรวจสอบรัฐบาล คสช. นำมาสู่ความเสี่ยงในการถูกคุกคามในอีกหลายรูปแบบ

2. ถูกตามข่มขู่ถึงบ้านพัก

ดูเหมือนว่าการคุกคามจะเข้าประชิดที่พักเอกชัยมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังเหตุที่เกิดในวันที่ 6 ก.ค. 61 เวลาประมาณ 11:40 น. ได้มีกลุ่มนักศึกษาในนาม “กลุ่มคนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม” จำนวน 18 คน เดินทางมาชูป้ายประท้วงพร้อมกับอ่านแถลงการณ์คัดค้านและประณามการกระทำของเขา จากการที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ภารกิจของกองทัพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนเป็นเวลาหลายสัปดาห์

ผู้ที่ไปรวมกลุ่มหน้าบ้านพักของเขาในวันนั้นได้หยิบการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวมากล่าวหาว่า “การวิจารณ์ของเอกชัยมุ่งหวังประโยชน์ทางการเมืองและทำลายกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน” ขณะที่เอกชัยเดินออกมาจากบ้านเพื่อออกมาตอบโต้กับผู้มาชุมนุมที่หน้าบ้าน ก่อนที่เหตุการณ์ในวันนั้นจบลงด้วยการที่ผู้ชุมนุมแยกย้าย และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บอกกับเอกชัยว่า ได้นำแกนนำไปจ่ายค่าปรับหลังจากการทำกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นี่เป็นความคืบหน้าเดียวในกรณีนี้

การข่มขู่ถึงขั้นน่ากังวลมากยิ่งขึ้น เมื่อคนร้ายมาที่บ้านพักของเอกชัยและเริ่มทำลายทรัพย์สินของเขา 

เวลาดึกสงัด ราว ๆ 2 นาฬิกา ของวันที่ 26 ม.ค. 62 มีชายสวมแจ็กเก็ตกางเกงขายาวสวมหมวกแก๊ป ถือขวดซึ่งขาดว่าข้างในบรรจุน้ำมันติดไฟ เดินมาที่ข้างรถยนต์ส่วนตัวของเอกชัย ก่อนจะก้มจุดไฟเผารถ ทว่าโชคดีที่ไฟดังกล่าวดับไปในเวลาไม่กี่นาที ทำให้เกิดความเสียหายเพียงรอยดำบนสีรถ และยางบนประตูรถด้านซ้ายชำรุด กระนั้นก็ตามภาพถ่ายที่ได้จากกล้องวงจรปิดบริเวณนั้นก็ไม่สามารถระบุลักษณะใบหน้าของคนร้ายได้

เอกชัยเปิดเผยว่า โดยปกติภายในซอยที่เขาพักอาศัย จะมีคนผ่านไปมาจำนวนมาก จึงไม่ทราบว่าก่อนเกิดเหตุจะมีคนที่มีพฤติกรรมมาดูลาดเลาที่บ้านเขาก่อนหรือไม่ อีกทั้งกว่าเขาจะทราบเรื่องก็ล่วงเลยมาจนถึงวันที่ 27 ม.ค. แล้ว เนื่องจากเขาไม่ได้ออกจากบ้านตลอดวันที่ 26 ม.ค. มีเพียงตอนเช้ากับตอนเย็นที่ออกมาเปิดประตูเหล็กม้วนหน้าบ้านเท่านั้น ซึ่งหลังเกิดเหตุเอกชัยได้เดินทางไปแจ้งความที่ สน.ลาดพร้าว และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจพิสูจน์หลักฐานมาตรวจสอบรถและเก็บเขม่าไปตรวจสอบ

“การเผารถส่วนตัว” ได้สะท้อนแบบแผนความรุนแรงต่อเอกชัยที่คาดการณ์ไม่ได้ว่าความรุนแรงต่อเขาจะไปถึงจุดใด

3. ถูกรุมทำร้ายในที่สาธารณะ

การทำร้ายร่างกายถือเป็นการคุกคามต่อเอกชัยที่มีจำนวนถี่มากที่สุด โดยเริ่มขึ้นครั้งแรก ๆ ในช่วงที่มีกระแสการทุจริตในรัฐบาล คสช. ในเดือนมี.ค. 61 เมื่อเอกชัยและเพื่อนเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. และทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ด้วยการจุดธูป 36 ดอกไล่สะเนียดจัญไร เพื่อให้ ป.ป.ช. เร่งรัดคดีนาฬิกาหรู ของ พล.อ.ประวิตร แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่หิ้วปีกจนได้บาดแผนที่นิ้วมือ โดยอ้างเหตุไม่ได้ขออนุญาตทำกิจกรรม(อ่านเพิ่มเติมที่: เอกชัย เข้าร้อง ป.ป.ช. เร่งคดีนาฬิกาประวิตร พร้อมจุดธูป 36 ดอก แต่ถูก จนท.หิ้วปีกออกมา)

อีกครั้งที่เขาทำกิจกรรมบริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพบก ครั้งหนึ่งมีบุคคลที่อ้างว่าเห็นต่างทางการเมืองทราบชื่อว่านายฤทธิไกร ชัยวรรณศาสน์ เข้าดักทำร้ายร่างกายด้วยการชกต่อย จากการพยายามเข้าไปมอบนาฬิกาแก่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ท่ามกลางข้อครหาเรื่องการครอบครองนาฬิกาหรูหลายเรือนของรองนายกรัฐมนตรี

 “ชาย 3 คน อายุประมาณ 20-30 ปีดักทำร้ายร่างกายผมระหว่างเดินเข้าบ้าน”

นี่เป็นข้อความที่เอกชัย โพสต์ในเฟสบุ๊ค ที่เขาตั้งค่าสาธารณะอยู่เสมอ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 61” เวลา 12.00 น. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่หน้าปากซอยเข้าบ้านพักของเขาอีกครั้ง ขณะที่มีชายคนหนึ่งใช้ไม้พยายามฟาดที่หน้าของเขา ซึ่งเขายกแขนขึ้นมาป้องกันไว้จนได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์นี้มีคนในซอยเห็นเป็นจำนวนมาก แต่ไม่พบว่ามีใครเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากทำกิจกรรมที่ทำเนียบรัฐบาล เอกชัยได้ลงจากรถประจำทาง และเริ่มสังเกตเห็นผู้ชายสองคนจอดมอเตอร์ไซค์รออยู่หน้าร้านซ่อมรถปากซอย เขาเห็นว่าชายสองคนมองมาที่เขาแปลก ๆ  แม้จะรู้สึกผิดสังเกต แต่ก็เลือกที่จะเดินต่อเพื่อเข้าบ้านพักที่อยู่ในซอยถัดไปจนเอกชัยเดินเข้าซอยจนใกล้จะถึงบ้าน ได้มีคนตะโกนเรียกชื่อ “เอกชัย”

เขาหันไปเห็นชายสองคนขี่มอเตอร์ไซค์ตามมาข้างหลัง โดยที่หนึ่งในสองคนเอาหมวกกันน๊อกฟาดมาที่เขา ระหว่างที่ถูกทำร้ายอยู่นั้น ได้มีผู้ชายคนที่สามเพิ่มมาอีกแต่เขาไม่ทราบว่ามาจากไหน ได้เอาไม้หน้าสามตีเขาราว ๆ  4-5 ครั้ง ขณะที่คนร้ายอีกสองคนยืนดู ครั้งนั้นคนร้ายตีเขาจนไม้หลุดมือ และพยายามหยิบไม้อันอื่นขึ้นมาตีซ้ำ เอกชัยจึงรีบวิ่งเข้าบ้าน ซึ่งชายสามคนนั้นไม่ได้ตามเขามาภายในบ้าน

เราจะเห็นว่าจำนวนคนทำร้ายเอกชัย ได้เพิ่มขึ้นจาก 1 คน เพิ่มเป็น 3 คน ทว่าครั้งล่าสุดของความรุนแรงรูปแบบนี้คนร้ายมาเป็นจำนวนถึง 4 คน เหตุนี้เกิดขึ้นหลังจากเอกชัยเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ “ไม่เลื่อนเลือกตั้ง”[2] เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 62 (อ่านการประมวลการชุมนุม “ไม่เลื่อนเลือกตั้งได้ที่: การปิดกั้น-คุกคามยังคงอยู่: ส่องปรากฏการณ์ชุมนุมรอบเดือน ม.ค. ก่อนเส้นทางสู่วันเลือกตั้ง

เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อเขาและเพื่อนนักเคลื่อนไหวอีก 2 คน ได้พบกับชายที่แสดงตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ชวนไปทานอาหารเย็นในถนนตานี ย่านบางลำพู ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานที่จัดกิจกรรมมากนัก

เอกชัยรู้สึกผิดสังเกตและไม่ไว้ใจจึงไม่ได้สนทนาด้วย จนกระทั่งทานอาหารเสร็จแล้วแยกย้ายกันกลับ

ให้หลังมื้อเย็นกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงนั้น เพียงไม่กี่นาที ระหว่างทางที่เขาและเพื่อนกำลังเดินทางเพื่อกลับไปเอารถยนต์ส่วนตัว มีชาย 4 คนสวมหมวกนิรภัยแบบเต็มใบลงจากจักรยานยนต์สองคัน 3 คน เข้ารุมทำร้ายเอกชัยและเพื่อน โดยมีคนร้ายอีก 1 คนคอยยืนดูต้นทาง

ครั้งนี้โชคดี เมื่อมีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาช่วย ระหว่างที่คนร้ายกำลังรุมทำร้ายเขาและเพื่อน โดยระหว่างนั้นคนร้ายขู่ว่า “กูมีปืน ยิงแม่งเลย”

ทั้งนี้เอกชัยคิดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนคงแปลคำนั้นไม่ออก จึงไม่กลัวคำขู่ดังกล่าวและยังให้ความช่วยเหลือเขาต่อจนกระทั่งชายทั้ง 4 คนหนีไป

หลังเกิดเหตุได้เข้าแจ้งความที่สน.ชนะสงคราม และได้เดินทางไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาลวชิระ แต่ภายหลังการรักษาแพทย์ที่ทำการรักษาไม่ออกใบรับรองแพทย์ให้ แม้ว่าเขาจะแจ้งกับแพทย์ว่าจะเอาไปใช้ในการแสดงต่อศาลเพื่อขอเลื่อนการพิจารณาคดีในวันรุ่งขึ้น และเพื่อใช้ประกอบการแจ้งความจากเหตุถูกทำร้ายร่างกายแล้วก็ตาม โดยแพทย์บอกว่าเป็นเพียงแผลเล็กน้อยเท่านั้น

4. คุกคามด้วยการดำเนินคดี

จากรูปแบบการคุกคามทำร้ายที่ผ่านมา จะเห็นว่านอกจากความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยในสวัสดิภาพของชีวิตแล้ว ในแต่ละวัน ชีวิตของเอกชัยยังผูกพันไปด้วยภาระทางคดีความจำนวนมาก สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะในการกดปราบผู้เห็นต่างทางการเมืองอย่างหนึ่งหลังการรัฐประหาร 2557 นั่นคือการใช้กลไกทางกฎหมาย ปิดปากประชาชน (Judicial harassment)

แม้ว่าก่อนการรัฐประหาร 2557 เขาเคยถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ (ม.112) จนศาลสั่งจำคุกในเรือนจำเป็นเวลากว่า 3 ปี 4 เดือน แต่หลังจากออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้งหลังการรัฐประหาร 2557 จนถึงขณะนี้ เขาถูกตั้งข้อหาไปแล้วถึง 8 คดี ได้แก่ ชุดคดีการชุมนุมร่วมกับคนอยากเลือกตั้งซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาล คสช. จัดการเลือกตั้งตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้แก่ประชาชน ทั้งบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า MBK, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน,หน้ากองบัญชาการกองทัพบก, และการชุมนุมใหญ่ของคนอยากเลือกตั้งในวาระครบรอบ 4 ปี การรัฐประหาร คสช. บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และหน้าที่ทำการสหประชาชาติ รวมทั้งสิ้น 4 คดี

นอกจากนี้เอกชัยยังต้องต่อสู้คดีในความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2 คดี คือ คดีโพสต์เฟสบุ๊คที่เข้าข่ายลามกอนาจาร และคดีหมิ่นเกียรติภูมิของกองทัพ โดยเนื้อหาที่ถูกนำมาดำเนินคดีมาจาก ข้อความในเฟสบุ๊คของเขาที่ระบุว่า

“สมรภูมิร่มเกล้า ไทยแพ้สงครามให้กับลาวจนเสียดินแดน หมู่บ้านร่มเกล้า (จ.พิษณุโลก) รวมถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพไทย ไม่เคยชนะสงครามแม้แต่ครั้งเดียว ทหารไทยเก่งแต่รัฐประหารและรังแกคนที่อ่อนแอกว่า”  

รวมถึงคดีที่คสช. แจ้งความเอาผิดกับเขาและโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ เพื่อนนักเคลื่อนไหว ในฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน หลังจากที่เขาแจ้งความให้เอาผิดกับผู้บัญชาการกองทัพบกฐานกบฏ จากเนื้อหาให้สัมภาษณ์ของผบ.ทบ ที่ไม่รับประกันว่าจะไม่มีการรัฐประหารอีก (อ่านเรื่องนี้ใน: สั่งฟ้องเอกชัย-โชคชัย คดีแจ้งความเท็จ จากเหตุแจ้งความเอาผิดฐานกบฏกับ ผบ.ทบ.)

การถูกดำเนินคดีจำนวนมากดังกล่าว ทำให้เอกชัยต้องแบกภาระทั้งภาระด้านเวลา ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายไปกับการต่อสู้คดี ขณะที่เอกชัยเองเลือกจะยืนยันสิทธิในการตรวจสอบรัฐบาลอย่างไม่ย่อท้อ ในทางเดียวกันถือเป็นเรื่องที่หดหู่ เมื่อทุกคดีที่เขาและเพื่อนถูกดำเนินคดี ดูเหมือนทุกขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม จะเลือกสั่งฟ้องแทนการยุติคดี หรือลดภาระการต่อสู้ให้แก่เขา 

ทุก ๆ วัน เอกชัยยังคงเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง บางครั้งใช้รถส่วนตัวที่ยังไม่ได้ซ่อมแซมจากเหตุคนร้ายเผาทำลาย โดยมักจะมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามอยู่เป็นประจำโดยอ้างว่าคอยดูแลความปลอดภัย แต่จากความรุนแรงที่เอกชัยเผชิญมาแทบจะทุกรูปแบบ คงประจักษ์ได้ว่าสวัสดิภาพของประชาชนที่ออกมาตรวจสอบรัฐบาลตกต่ำถึงขีดสุดแล้ว

 

 

เชิงอรรถ:

[1] กิจกรรมนี้ของเอกชัยและเพื่อน เกิดขึ้นท่ามกลางที่รัฐบาลคสช. คุกคามประชาชนที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลคสช.จัดการเลือกตั้งตามที่ให้คำสัญญาไว้ หรือ "คนอยากเลือกตั้ง"
จากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า นับตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึง เดือนพฤษภาคม 2561 มีการดำเนินคดีประชาชนที่ออกมาเรียกร้องการเลือกตั้งไปกว่า 130 คน ได้แก่ การชุมนุมบนสกายวอร์คหน้าห้างสรรพสินค้ามาครอง หรือ “MBK39” การชุมนุมที่หาดจอมเทียนพัทยา หรือ “PTY12” การชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน หรือ “RDN50” การชุมนุมหน้ากองบัญชาการกองทัพบก หรือ “Army57”

[2] จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ม.ค. 62 ปรากฎกิจกรรมและการชุมนุมของประชาชนกลุ่มที่คัดค้านการเลื่อนการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้กำหนดวันเลือกตั้งตามกำหนดเดิม ทั้งหมดอย่างน้อย 41 ครั้ง ในพื้นที่ 21 จังหวัดทั่วประเทศ

หากแบ่งตามภูมิภาค ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกิจกรรมเกิดขึ้นภูมิภาคละ 6 จังหวัด (ภาคกลาง: กรุงเทพ, อยุธยา, นนทบุรี, สมุทรปราการ, นครปฐม และปทุมธานี) (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ขอนแก่น, อุบลราชธานี, มหาสารคาม, สกลนคร, นครราชสีมา และอุดรธานี)

ภาคเหนือใน 4 จังหวัด (เชียงใหม่, พะเยา, แพร่, และเชียงราย) ภาคใต้ใน 3 จังหวัด (นครศรีธรรมราช, สงขลา, และปัตตานี) และภาคตะวันออกใน 2 จังหวัด (ระยอง และชลบุรี) ส่วนจังหวัดที่มีกิจกรรมหรือการชุมนุมมากที่สุด คือกรุงเทพมหานคร จำนวนอย่างน้อย 8 ครั้ง

เผยแพร่ครั้งแรกใน: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน www.tlhr2014.com/?p=10761

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live