Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live

กสม. แนะสื่อบันทึกภาพ-เสียงแหล่งข่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิดสิทธิฯ

$
0
0

กสม. ชี้กรณีสื่อโทรทัศน์บันทึกภาพและเสียงแหล่งข่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะ กสทช. ส่งเสริมสื่อให้ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณสื่ออย่างเคร่งครัด

5 มี.ค. 2563 ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการทำงานของสื่อโทรทัศน์ กรณีบันทึกภาพและเสียงของผู้ร้องสองรายไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการนำเสนอข่าวการบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดหลักธรรมาภิบาลของอาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัย โดยปรากฏภาพและเสียงของผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ขณะให้ข้อมูลกับทีมข่าวในวันที่เดินทางไปขอเข้าพบอธิการบดีหรือผู้แทนของมหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาได้มีการเผยแพร่ ส่งต่อ และบันทึกซ้ำภาพข่าวอย่างแพร่หลายในสื่อออนไลน์ ทำให้ผู้ร้องทั้งสองได้รับความเสียหายและถูกละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว โดยผู้ร้องทั้งสองได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และสำนักงาน กสทช. ได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังสื่อโทรทัศน์ผู้ถูกร้องและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อพิจารณาตรวจสอบ และได้รับแจ้งผลจากสื่อโทรทัศน์ผู้ถูกร้องว่า การนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวดังกล่าวมิได้มีส่วนใดเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือกระทบกระเทือนสิทธิมนุษยชนของผู้ร้องทั้งสอง และยืนยันว่าได้ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางจริยธรรมวิชาชีพ ส่วนสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยแจ้งว่า ไม่มีข้อมูลประกอบที่จะนำไปสู่การพิจารณาตามกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน สำนักงาน กสทช. จึงไม่อาจดำเนินการใดๆ ต่อไปได้ นั้น

วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธมนุษยชนแห่ชาติ กล่าวว่า “กสม. ได้ตรวจสอบและพิจารณาคำร้องประกอบข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้การรับรองและคุ้มครองบุคคลทุกคนในสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว รวมถึงสิทธิในเกียรติยศและชื่อเสียง การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ดังที่คู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของสำนักงาน กสทช. ได้วางหลักไว้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพกระจายเสียงและโทรทัศน์ต้องเปิดเผย และซื่อสัตย์ต่อบุคคลซึ่งเป็นแหล่งข่าวหรือผู้ให้สัมภาษณ์ที่ตกเป็นข่าว โดยแจ้งให้ทราบเรื่องการบันทึกเทป ชื่อรายการ วันและเวลาในการออกอากาศ หากมีความจำเป็นต้องปิดบังในการหาข่าวหรือข้อมูล ต้องสามารถให้เหตุผลและพิสูจน์ได้ว่าทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือมีความจำเป็นทางกฎหมาย และหากมีความจำเป็นต้องบันทึกเทปลับเพื่อให้ได้บรรยากาศตามเนื้อหา ก่อนนำไปออกอากาศ ควรขอความเห็นชอบจากบุคคลที่ถูกบันทึกเทปดังกล่าว

ดังนั้น การที่ทีมข่าวในสังกัดผู้ถูกร้องไม่ได้ดำเนินการแจ้งขออนุญาตเพื่อทำการบันทึกภาพและเสียงของผู้ร้องทั้งสองเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ ทั้งที่ผู้ร้องทั้งสองถือเป็นแหล่งข่าวหรือผู้ให้สัมภาษณ์ ย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการประกอบวิชาชีพ แม้จะอ้างว่ามีการตั้งกล้องถ่ายภาพอย่างเปิดเผยโดยไม่มีการปิดบังซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ และไม่ได้มีการทักท้วงแต่อย่างใด ก็ยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่า ผู้ร้องทั้งสองทราบและอนุญาตให้บันทึกภาพและเสียงของตนเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะเช่นกัน อีกทั้งหากทีมข่าวในสังกัดผู้ถูกร้อง ดำเนินการแจ้งขออนุญาตทำการบันทึกภาพและเสียงของผู้ร้องทั้งสองแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้ทำได้ ผู้ถูกร้องย่อมสามารถใช้วิธีการทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและพอสมควรแก่เหตุแทนได้ กสม. จึงเห็นว่า การละเลยไม่แจ้งขออนุญาตทำการบันทึกภาพและเสียงของผู้ร้องทั้งสองคนก่อนนำไปเผยแพร่ เป็นการใช้เสรีภาพในการเสนอข่าวสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อที่เกินสัดส่วนกับเหตุผลความจำเป็น และกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และสิทธิในเกียรติยศและชื่อเสียงของบุคคล อันขัดต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ และแม้ว่าภายหลังสื่อโทรทัศน์ผู้ถูกร้องจะได้ลบโพสต์คลิปวิดีโอรายการข่าวดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ยูทูปแล้ว แต่ยังพบคลิปวิดีโอข่าวดังกล่าวซึ่งมีผู้บันทึกไว้แล้วแชร์ในสื่อออนไลน์อื่นๆ ทำให้ปัจจุบันผู้ร้องทั้งสองยังคงได้รับความเสียหาย การกระทำของสถานีโทรทัศน์ผู้ถูกร้อง จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ร้องทั้งสอง

“ด้วยเหตุนี้ กสม. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 จึงมีข้อเสนอแนะว่า (1) สถานีโทรทัศน์ผู้ถูกร้องควรเยียวยาจิตใจของผู้ร้องทั้งสองที่ได้รับผลกระทบเพื่อแสดงความรับผิดชอบ เช่น การประสานงานกับเว็บไซต์และผู้เกี่ยวข้องเพื่อลบโพสต์วิดีโอข่าวดังกล่าวออกจากระบบอินเทอร์เน็ต และ (2) สำนักงาน กสทช. ควรดำเนินการส่งเสริมกลไกการกำกับดูแลกันเองทางวิชาชีพ เพื่อควบคุมให้การประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยประสานความร่วมมือกับสื่อโทรทัศน์ต่าง ๆ ให้ปฏิบัติงานตามคู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างเคร่งครัดด้วย ตามรายงานผลการตรวจสอบที่ 70-71/2563” ประธาน กสม. กล่าว

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

รัฐบาลต้องทำอะไร เมื่อ ธ.โลกบอกว่าสังคมไทยกำลังจนลง-เหลื่อมล้ำขึ้น

$
0
0

ธนาคารโลกเปิดตัวรายงานฉบับล่าสุด เผย ช่วงปี 2558-2561 ไทยมีคนจนเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านคน กำจัดความยากจนช้าลง เหตุกระทบจากเศรษฐกิจโลก ค่าแรงไม่เพิ่มมานาน ภัยธรรมชาติ นโยบายรัฐไม่เพียงพอกับเงินที่เสียไป เรียกร้องมาตรการช่วยเหลือทุกภาคส่วน ลงทุนทรัพยากรมนุษย์ ลดเหลื่อมล้ำในระยะยาว

เศรษฐกิจเป็นปัจจัยใหญ่ที่ตัดสินความสำเร็จ-ล้มเหลว และการอยู่-ไป ของรัฐบาลแทบทุกประเทศบนโลก เพราะประชาชนที่ท้องกิ่วสามารถล้มรัฐมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์

ตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 รัฐบาลทหารมีความพยายามยกระดับเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ จัดสรรสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือคนที่มีฐานะยากจน ดังที่เห็นในสารพัดโครงการประชารัฐ บัตรคนจน ไปจนถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษ

กระนั้น เครื่องยนต์เศรษฐกิจกลับดับลงทีละตัวๆ อัตราการส่งออกถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง อัตราการบริโภคของประชาชนลดลง จะมีก็คงการใช้จ่ายจากภาครัฐที่ใช้จ่ายไปกับสารพัดโครงการและการซื้ออาวุธ ในขณะที่โอกาสด้านการจ้างงานมาไม่ทันการปิดตัวของสารพัดธุรกิจและข่าวฆ่าตัวตายเพราะปัญหาเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

มิหนำซ้ำ แนวโน้มความเหลื่อมล้ำกลับสูงขึ้น ดังที่รายงาน CS Global Wealth Report ของสถาบันการเงินเครดิตสวิส รายงานเมื่อปี 2561 ว่า คนไทยเพียง 1% ถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่ง 66.9% และยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงสองปีที่ก่อนหน้านั้น 

เรากำลังเดินมาถูกทางหรือไม่

5 มี.ค. 2563 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ธนาคารโลกจัดเปิดตัวรายงานหัวข้อ "จับชีพจรความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย"จากการประเมินสถิติอย่างเป็นทางการของภาครัฐ (อ่านรายงานฉบับเต็ม)

จูดี้ เบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย ขณะกล่าวแนะนำตัวในงาน

แม้ไทยประสบความสำเร็จในการลดความยากจนจากเดิมที่ร้อยละ 65.2 ในปี 2531 จนเหลือร้อยละ 9.85 ในปี 2561 แต่ว่าอัตราการลดลงนั้นค่อยๆ ช้าลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2561 ประชากรที่ยากจนมีจำนวน 6.7 ล้านคน เพิ่มจากปี 2558 มา 1.8 ล้านคน (คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 7.21 เพิ่มเป็นร้อยละ 9.85)

กรุงเทพฯ มีอัตราการลดลงของความยากจนเร็วที่สุด ในขณะที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีอัตราการลดความยากจนช้าที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่เปราะบาง รูปแบบเศรษฐกิจไม่หลากหลาย และพึ่งพากับภาคเกษตรกรรมมากว่า ทำให้เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและภัยธรรมชาติ

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ไทยอาจเหลื่อมล้ำมากกว่าในรายงาน Global Wealth Report

สามชาย ศรีสันต์: นิยาม-แก้ปม 'คนจน'มีปัญหา เสนอให้เข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม

จังหวัดที่มีคนยากจนเยอะที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน (ร้อยละ 49.13) ปัตตานี (39.27) กาฬสินธุ์ (31.26) นราธิวาส (30.10) และตาก (28.97) อัตราความยากจนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้สูงที่สุดเป็นครั้งแรกในปี 2560 และในทางจำนวน พบว่าในปี 2558-2561 จำนวนคนยากจนเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 แสนคนในพื้นที่ตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

หนึ่งในสไลด์นำเสนอ

ความยากจนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นพร้อมความท้าทายทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยมีอัตราเติบโตต่ำที่สุดในภูมิภาค (ร้อยละ 2.7) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 อัตราการส่งออกลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในระดับโลก ภาคส่วนการท่องเที่ยวอยู่ในภาวะถดถอย นอกจากนั้น ภัยแล้งและน้ำท่วมมากระทบต่อชีวิตของเกษตรกรที่เป็นกลุ่มที่ยากจนที่สุดอยู่แล้ว 

ประเทศไทยเคยมีอัตราความยากจนเพิ่มขึ้นมาแล้ว 5 ครั้ง (ปี 2541 2543 2551 2559 และ 2561) ทั้งนี้ ช่วง 3 ครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นท่ามกลางบริบทวิกฤตเศรษฐกิจอย่างวิกฤตต้มยำกุ้งและแฮมเบอร์เกอร์ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่มีอัตราความยากจนเพิ่มขึ้นหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา 

ในส่วนของความเหลื่อมล้ำ แม้ไทยจะอยู่ในระดับ "ดี"เมื่อวัดกันด้วยตัวชี้วัดระดับสากลด้านภาวะความเป็นอยู่ที่ดี เด็กปฐมวัยได้เข้าถึงการศึกษา มีน้ำใช้ มีระบบสุขาภิบาลและไฟฟ้าใช้ได้ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน อัตราส่วนของประชากรที่มีรายได้น้อยกว่า 1.90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อวันมีเพียงร้อยละ 0.03 เท่านั้น แต่ความมั่งคั่งยังไม่ได้กระจายไปสู่ประชากรที่มีรายได้ต่ำล่างสุดร้อยละ 40 อย่างทั่วถึง ในช่วงปี 2558-2560 พบว่าประชากรกลุ่มดังกล่าวมีการบริโภคและรายได้ติดลบ แนวโน้มการเติบโตที่พลิกผันเกิดจากรายได้ของแรงงานทุกประเภทที่ลดลง ค่าแรงไม่เพิ่ม และมีรายได้จากภาคการเกษตรและธุรกิจลดลง

การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของไทยยังคงขาดในแง่ของคุณภาพ เช่น การเข้าถึงการศึกษามีมากกว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในขณะที่เด็กอายุ 6-14 ปีในกรุงเทพฯ เกินครึ่งสามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆ ร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา โครงสร้างพื้นฐานหรือสินทรัพย์ต่างๆ แต่เด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเช่นนั้นเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น

รายงานฉบับนี้เรียกร้องให้ไทยมีมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อการเปลี่ยนผ่าน ในระยะสั้นนั้น ไทยต้องบังคับให้มีการใช้โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (safety net - มาตรการบรรเทาภาวะวิกฤตต่างๆ) ต้องระบุกลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้เที่ยงตรงกว่านี้ และสร้างงานที่ดีกว่าให้กับครัวเรือนในภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง

ในระยะยาว การลงทุนในคนรุ่นใหม่ถือเป็นประเด็นสำคัญ เด็กทุกคนต้องได้รับความใส่ใจอย่างเท่าเทียมและได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาและสุขภาวะเพื่อให้พวกเขามีโอกาสใช้ศักยภาพของพวกเขาให้เต็มที่ ส่วนนี้จะช่วยให้ครัวเรือนต่างๆ ขยับตัวหลุดพ้นจากกับดักความยากจนที่ส่งทอดกันเป็นรุ่นๆ ช่วยค้ำจุนประชาชนที่สูงวัย และกระตุ้นการเติบโตของประเทศไทยด้วย

จูดี้ เบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย ตอบคำถามเรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างความยากจนและความเหลื่อมล้ำกับนโยบายรัฐว่า จากข้อมูลที่พบในรายงานนั้น จะพบว่าการช่วยเหลือทางนโยบาย เช่นนโยบายประชารัฐมีส่วนช่วยให้ครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบจากภาวะปัญหาเศรษฐกิจน้อยลง แต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้การช่วยเหลือทางสังคมดีขึ้น ทำอย่างไรไม่ให้การช่วยเหลือเหล่านั้นเข้าถึงได้เพียงกลุ่มคนยากจน แต่กับคนระดับอื่นด้วย

จูดี้ หยาง นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก ผู้เขียนรายงานฉบับนี้กล่าวว่า ความยากจนนั้นไม่ได้มีนิยามเพียงแค่เรื่องเงินตรา แต่ยังหมายถึงการเข้าถึงคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การดูแลสุขอนามัย และความเหลื่อมล้ำเองก็หมายความรวมถึงการจัดสรรรายได้และโครงสร้างภายในต่างๆ ด้วย

จูดี้อธิบายข้อมูลในรายงานว่า ความยากจนที่เพิ่มขึ้นนั้นเกี่ยวพันกับอัตราการบริโภคที่ลดลง ในปี 2558-2561 อัตราส่วนการบริโภคมีการเติบโตน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2557-2558 ภาคส่วนที่การบริโภคมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดคือภาคกลาง

รายได้ของทุกกลุ่มธุรกิจตกลงในช่วงปี 2557-2561 มาตรการช่วยเหลือทางสังคมยังไม่พอที่จะชดเชยรายได้ที่ลดลง

"ความเหลื่อมล้ำเป็นประเด็นที่ต้องการรายละเอียดมากขึ้น รวมถึงความเข้าใจเรื่องความเปราะบางในเรื่องต่างๆ เพื่อที่ประเทศไทยจะได้ก้าวไปสู่การสร้างสังคมที่กระจายความมั่งคั่งได้ทั่วถึงทุกคน"

"การกำจัดความยากจนที่ฝังรากมานาน ต้องคำนึงถึงกลยุทธ์การเติบโตที่ต้องใช้ทั้งการบรรเทาความเสี่ยงในระยะสั้นและสิ่งที่จำเป็นในการลงทุนระยะยาว"จูดี้กล่าว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ประมวลโควิค-19 : ธนินท์ CP เตรียมผลิตหน้ากากแจกฟรี คลังจ่อแจกเงินเดือนเยียวยาประชาชน

$
0
0

ที่มาภาพจาก: www.freepik.com

5 มี.ค. 2563 ประมวลสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 รอบวัน ในภาพกว้าง ข้อมูลจากสำนักนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 15 ราย กลับบ้านแล้ว 31 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 47 ราย มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. – 4 มี.ค. 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 3,895 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 128 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 3,767 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 2,319 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,576 ราย

ส่วนสถานการณ์ทั่วโลกใน 80 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสำราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 ม.ค. –  5 มี.ค. 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 94,380 ราย เสียชีวิต 3,221 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,282 ราย เสียชีวิต 2,981 ราย

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือซีพี ทุ่ม 100 ล้านบาท เร่งสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกฟรี

สื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ รายงานว่า ธนินท์ เจียรวนนท์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนัก ในการนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดประโยชน์เพื่อประเทศชาติ เพื่อประชาชน โดยเฉพาะวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้เกิดในประเทศไทย ถือเป็นหน้าที่ของเครือซีพีในการทำเพื่อคนไทยจึงได้ตัดสินใจนำเงินจำนวนประมาณ 100 ล้านบาทเร่งสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อแจกจ่ายฟรีแก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นและประชาชนทั่วไปที่ขาดโอกาสในการเข้าถึง ในช่วงเวลาวิกฤตที่คนไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัย โดยจะใช้ศักยภาพของเครือข่ายการลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก จัดหาเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานสุขอนามัยสามารถใช้ในการป้องกันเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ทั้งนี้โดยโรงงานดังกล่าวจะสร้างเสร็จภายใน 5 สัปดาห์จะมีกำลังการผลิตประมาณเดือนละ 3 ล้านชิ้นเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลมีความจำเป็น และประชาชนที่ยังขาดโอกาสเข้าถึงต่อไป

“หน้ากากอนามัยที่เราจะผลิตเพื่อแจกฟรีแก่พี่น้องชาวไทยถือเป็นหน้าที่ของเครือซีพี เราลงทุนในหลายประเทศ ทำให้น่าจะนำศักยภาพในการจัดหาวัตถุดิบที่ปัจจุบันกำลังขาดแคลน รวมการสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเราก็มีความตั้งใจที่จะทำเพื่อประเทศไทยอย่างดีที่สุดด้วย เพราะเครือเจริญโภคภัณฑ์เกิดและเติบโตในประเทศไทยมาจนเกือบครบ 100 ปีแล้ว เราเข้าใจในช่วงนาทีที่ยากลำบากนี้ และคิดว่าภาคธุรกิจหลายองค์กรก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับเรานอกจากนี้หลังเข้าสู่ภาวะปกติโรงงานนี้จะดำเนินการโดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะมอบให้กับศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อไป” ธนินท์ กล่าว

รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แนะประชาชนปฏิบัติตามมาตรการรับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหลัก

เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 ในรายการบอกเล่า 965 ออกอากาศทางคลื่นความคิด FM 96.5 ช่วง สานพลังสร้างสุขภาวะกับ สช. (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้แนะให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการและรับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหลัก เพื่อรับมือไวรัส COVID-19 ขณะที่ทาง สช. จะทำหน้าที่ประสานภาคีเครือข่ายที่มีอยู่ทุกจังหวัด หาแนวทางร่วมกันต่อไป

นพ.ปรีดา กล่าวว่า ในแง่การแพทย์และการป้องกันนั้น สธ. มีแนวทางมาตรการชัดเจนอยู่แล้ว และยังประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามมาตรา 4 ใน พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย และเพื่อยกระดับการเตรียมความพร้อม ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่เข้าสู่การระบาดระยะที่ 3 แต่การมีมาตรการเข้มข้นและป้องกันล่วงหน้า ก็เพื่อชะลอการระบาดให้ช้าที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ต่อประเด็นที่ว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลให้แพทย์ทราบ ซึ่งมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ระบุไว้ว่า ข้อมูลด้านสุขภาพถือเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ ท่ามกลางกระแสสังคมที่หวั่นกลัวเชื้อ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเก็บตัวเงียบเพราะไม่ต้องการถูกรังเกียจ นพ.ปรีดา อธิบายประเด็นนี้ว่า

“ข้อมูลส่วนบุคคล ใครจะเอาไปเปิดเผยไม่ได้ แม้แต่แพทย์พยาบาลก็ทำไม่ได้ แต่สมมติเราเจ็บป่วยไม่สบาย มีโรคประจำตัว แล้วเราไม่บอก จะเป็นผลเสียต่อตัวเองอย่างยิ่ง เพราะเมื่อข้อมูลไม่ครบถ้วนการวินิจฉัยก็อาจผิดพลาด ถ้าไม่บอกว่าไปที่ไหนมา เป็นพื้นที่เสี่ยงไหม กว่าจะเจออาการก็มากแล้ว และอาจแพร่เชื้อสู่คนอื่นโดยไม่รู้ตัว การปกปิดข้อมูลกับแพทย์และโรงพยาบาลจึงไม่เป็นผลดีต่อใครเลย” 

“แต่สังคมต้องเข้าใจว่า ไม่มีใครอยากเจ็บป่วย ถ้าติดเชื้อแล้ว การประณามหยามเหยียดไม่เป็นผลดีเช่นกัน ต้องเข้าใจ เห็นใจกัน ถ้าทุกฝ่ายพยายามช่วยเหลือไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย เฝ้าระวัง ช่วยเหลือกัน น่าจะเป็นส่วนที่ดีที่สุด และไม่พูดอะไรที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกหรือรังเกียจเดียดฉันท์ เพราะนั่นจะทำให้คนที่ไม่สบายไม่เปิดเผยตัวเองมากขึ้น และจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์” นพ.ปรีดา กล่าว

ส่วนบทบาทของ สช. นั้น นพ.ปรีดา เปิดเผยว่า สช. กำลังหารือความร่วมมือกันในเรื่องนี้กับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ภาคียุทธศาสตร์ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัด เพื่อร่วมกันวางมาตรการสกัดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รวมถึงการสื่อสารกับภาคีไม่ให้เกิดการตื่นตระหนกและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

“ที่เราทำอยู่คือ การสานพลัง พูดคุยแจ้งแนวทางไปยังภาคีเครือข่าย โดยเพิ่งพูดคุยกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เห็นตรงกันว่าถ้าร่วมมือกัน สื่อสารไปยังภาคี ภาคประชาสังคมในระดับจังหวัดและตำบลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อตั้งวงพูดคุยว่าในชุมชนจะช่วยเหลือกันอย่างไรได้บ้าง เช่น มีหลายกลุ่มที่ทำหน้ากากอนามัย เราก็อาจไปสนับสนุนให้กับกลุ่มด้อยโอกาสหรือกลุ่มเสี่ยง สร้างการรณรงค์และร่วมมือกันระดับจังหวัด ระดับตำบล ซึ่งทาง สช. มีภาคีสื่อสุขภาวะในเครือข่ายสื่อท้องถิ่นอยู่ และยังมีสมัชชาสุขภาพจังหวัดที่จะเคลื่อนไหวร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ตั้งวงพูดคุยและทำกิจกรรมที่ร่วมมือกัน หนุนเสริมกันและกัน”

“ในแง่ตัวบุคคล จะทำอะไรได้บ้าง พลังชุมชนสำคัญมาก รวมกลุ่มกัน พูดคุยกัน กิจกรรมที่ทำได้ก็ทำเลย หรือใครที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงไปอยู่บ้าน ถ้าเราเข้าใจกันและกัน คนในชุมชนในพื้นที่ก็อาจช่วยเหลือสนับสนุน ให้คำแนะนำ ให้ข่าวสาร ผมว่าแบบนี้คนจะไม่แตกแยก กิจกรรมในชุมชนก็จะเกิดประโยชน์” นพ.ปรีดา กล่าว

นพ.ปรีดา ย้ำด้วยว่าให้ประชาชนติดตามข่าวจากทางกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ข้อมูลใดที่ไม่แน่ใจว่าจริงหรือเท็จไม่ควรแชร์ต่อในโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันความสับสน

คลังจ่อแจกเงินเดือนเยียวยาประชาชนบรรเทาผลกระทบโควิด-19

วานนี้ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้เตรียมชุดมาตรการ “ดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ชุดที่ 1” เสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ในวันที่ 6 มี.ค.63 และจะนำเรียนเข้าสู่ครม. เพื่ออนุมัติชุดมาตรการในวันที่ 10 มี.ค. ต่อไป ซึ่งชุดมาตรการดังกล่าวใช้งบประมาณมากกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้ดูแลประชาชนอย่างครอบคลุม ตรงจุด ซึ่งจะเป็นชุดเน้นมาตรการที่สามารถทำได้ทันที และเป็นชุดมาตรการชั่วคราว เล็งให้เกิดผลในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยดูแลสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร และผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะเป็นกลไกช่วยเหลือแบบมีเงินทุนดูแลด้วยการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ โดยจะมีการเปิดลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเพื่อตรวจสอบสิทธิเหมือนกับโครงการที่เคยมีมา อย่างเช่น โครงการชิมช้อปใช้ อย่างไรก็ดี โครงการนี้ไม่ได้มีเงื่อนไขซับซ้อน หากผ่านการตรวจสอบสิทธิแล้วก็สามารถใช้จ่ายได้เลย ไม่มีเงื่อนไขกำหนด และคาดว่าจะเป็นการโอนเงินให้แบบรายเดือน ส่วนวงเงินที่จะโอนเข้าระบบอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมที่ จำนวน 1,000-2,000 บาท ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการนั้นมีมากกว่าจำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการ ที่มีอยู่ 14 ล้านคนแน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งจะใช้งบประมาณในจำนวนที่เหมาะสมกับสถานการณ์

“หากชุดมาตรการผ่านครม.แล้ว จะสามารถเริ่มขบวนการปฏิบัติการได้ทันที ไม่ชักช้า เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีประสบการณ์แล้ว เบื้องต้น ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการคลัง ตั้งคณะทำงานมาดูแลเรื่องดังกล่าวเป็นพิเศษ หากมีความจำเป็นที่จะใช้บุคคลากรเพิ่ม เช่น กรมบัญชีกลางที่จะมีบทบาทในการทำงานมากขึ้น หากใช้บุคลากรจำนวนมาก ก็จะมีการจ้างงานเพิ่ม” นายอุตตม กล่าว

ส่วนในด้านตลาดทุน จะมีมาตรการช่วยเหลือเช่นกัน โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เข้าไปหารือร่วมกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO), ตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในเรื่องการปรับรูปแบบกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ให้มีลักษณะใกล้เคียงกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากขณะนี้ตลาดทุนได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย อย่างไรก็ดี อาจจะเป็นการนำกลับมาใช้ชั่วคราว ซึ่งขณะนี้สศค.และกรมสรรพากรอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทาง

ขณะที่ในกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งรายเล็กและรายกลาง ซึ่งจะดูแลครอบคลุมทั้งภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม โดยจะมีการออกสินเชื่อที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ผ่อนปรนการสำรองหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ที่จะให้ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ และให้ธนาคารพาณิชย์ไปปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าของตนเองต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาอัตราดอกเบี้ย ส่วนวงเงินที่จะใช้คาดว่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท ทั้งนี้ งบประมาณดังกล่าวจะมาจากกระทรวงการคลังไม่ได้ร่วมกับกับธปท.

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยดูแลพนักงานโดยไม่ให้ผู้ประกอบการเลิกจ้างงาน จะจูงใจด้วยภาษี ซึ่งจะเป็นลักษณะการนำค่าใช้จ่ายจากการจ้างงานมาหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า และจะมีการพิจารณาภาษีรูปแบบอื่นด้วย เช่น ภาษีนิติบุคคล ซึ่งจะพิจารณาในรูปแบบหัก ณ ที่จ่ายน้อยลง เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการคลังไปพิจารณาค่าธรรมเนียมต่างๆ ด้วย อาทิ ค่าธรรมเนียมจากการเก็บค่าเช่าของกรมธนารักษ์ ให้ผ่อนปรนค่าธรรมเนียมในระยะเวลาชั่วคราว เป็นต้น ส่วนภาษีสรรพสามิตและการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) 7% ยังไม่ได้อยู่ในแผนมาตรการชุดดังกล่าว

“ชุดมาตรการดังกล่าว ได้มีการพิจารณาอย่างรอบครอบ กระทรวงการคลังไม่ได้คิดเพียงฝ่ายเดียว ได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชน, คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้า, สมาคมธนาคารไทย, และรวมถึงธปท. ด้วย ฉะนั้น มาตรการดังกล่าวจะสามารถดูแลสถานการณ์ในภาวะที่ไม่ปกติได้ แต่ก็เน้นย้ำว่า ยังอยู่ในวินัยการเงินการคลัง 100%” อุตตม กล่าว

ทั้งนี้ กรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% เบื้องต้น มองว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ขณะที่ประเทศไทยนั้น ธปท.ก็ได้มีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นอำนาจที่ธปท.จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหมือนกับเฟดหรือไม่ อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังก็ได้มีการหารือร่วมกับธปท.อย่างใกล้ชิด

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

อนาคตทางการเมืองไทยหลังยุบพรรคในยุค COVID-19 | สุรชาติ พบ ดร.โกร่ง

$
0
0

บันทึกเสวนา "อนาคตทางการเมืองไทยหลังยุบพรรคในยุค COVID-19"  4 มีนาคม 2563  ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรโดย ดร. วีรพงษ์ รามางกูร (อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญด้านทหารกับการเมืองไทย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

P-Move แถลงป้องสิทธิฯ นักศึกษาแสดงออกทางการเมือง

$
0
0

5 ม.ค.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.) หรือ P-Move ออกแถลงการณ์ร่วมปกป้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และคงไว้ซึ่งความเป็นธรรมของนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันแสดงออกทางการเมือง

โดยมีรายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.) 
เรื่อง ร่วมปกป้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และคงไว้ซึ่งความเป็นธรรมของนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันแสดงออกทางการเมือง

นับจากสถานการณ์ทางการเมืองหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 อันเป็นเหตุให้เกิดคำถามทางสังคมอย่างกว้างขวงถึงคำวินิจฉัยกรณีดังกล่าว โดยมีนักวิชาการ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ออกมาแสดงความเห็นหลากหลาย ในลักษณะเดียวกันนี้อย่างต่อเนื่อง และรวมถึงนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ออกมาแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างชัดเจน และได้มีการนัดชุมนุมกันในเวลาสั้นๆ (Flash Mob) เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตยในสถาบันศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ

การแสดงออกของนักเรียน นักศึกษาที่เป็นพลังบริสุทธิ์เกิดจากการกดทับทางการเมืองในการบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จ ที่รัฐบาลชุดนี้ได้กล่าวอ้างว่าเป็นการบริหารในรูปแบบประชาธิปไตย ทั้งที่แท้จริงแล้วรัฐบาลชุดนี้เกิดขึ้นโดยผลพวงจากการยึดอำนาจของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ด้วยความร่วมมือของกลุ่มทุนใหญ่และกลุ่มนักการเมืองที่ฝักใฝ่ในอำนาจแบบเผด็จการและผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง โดยไม่สนใจผลประโยชน์หรือคำทักท้วงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ หลังจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 รัฐบาลเผด็จการยังคงอาศัยอำนาจตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการสืบทอดอำนาจของตนเองและพวกพ้องอย่างชัดเจน ที่เห็นได้ชัด คือ ที่มาของ สว. 250 คน ที่ไม่มีความยึดโยงกับประชาชน มีการเลือกปฏิบัติใน เช่น กรณีป่าแหว่งที่เชียงใหม่ กรณีนักการเมืองถือครองที่ดิน สปก. ที่จังหวัดราชบุรี และกรณีการทวงคืนผืนป่าโดยใช้คำสั่งที่ 64/2557 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฐานราก อีกทั้ง ยังส่งทหารเข้าไปประจำอยู่ตามหน่วยงานของรัฐในทุกจังหวัดอีกด้วย

การตื่นตัวของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และประชาชนในขณะนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการกดทับด้วยการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จของรัฐบาลเผด็จการ อย่างไม่เท่าเทียม ไม่เป็นธรรมที่มีผลต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทั้งภายในและภายนอกประเทศด้วย ตลอดจนเกิดจากการที่รัฐบาลไม่ฟังเสียงของประชาชนที่โต้แย้งความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจหรือการกระทำของรัฐบาล นอกจากนี้ เพียงเพื่อจะปกป้องไว้ซึ่งอำนาจของตนเองและพวกพ้อง รัฐบาลจึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อจำกัดสิทธิอันบริสุทธิ์ของนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ ตลอดจนจำกัดสิทธิในการรวมตัวของประชาชนในทั่วภูมิภาคที่ออกมาชุมนุม โดยอ้างถึงความสงบเรียบร้อยของสังคม และยังมีการกล่าวหาผู้ออกมาชุมนุมว่าเป็น กลุ่มชังชาติ สร้างความแตกแยกในสังคม ทั้งยังมีการสร้างความเกลียดชังต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ด้วยปฏิบัติการด้าน IO (Information  Operator) ที่ปฏิบัติการในสื่อออนไลน์ทางสังคมต่าง ๆ อีกด้วย

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จึงขอออกแถลงการณ์ฉบับนี้เพื่อสนับสนุนการชุมนุม การเคลื่อนไหวของ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาและคนรุ่นใหม่ ที่รวมตัวกันอย่างสันติและปราศจากอาวุธ เพื่อแสดงออกถึงเจตจำนงและพลังอันบริสุทธิ์ในการรักษาไว้ซึ่งอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตลอดจนการชุมนุมอย่างสันติและปราศจากอาวุธ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกชนชั้นในสังคม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลเคารพสิทธิ เสรีภาพ ด้วยการไม่ใช้ความรุนแรง ไม่คุกคามการชุมนุม ต่อกลุ่มผู้ชุมนุมตามหลักสากล หรือการแทรกแซงอื่น ๆ เพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกในทุกรูปแบบ

ด้วยความเชื่อมั่น ในพลังประชาชน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
แถลงเมื่อ 5 มีนาคม 2563

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ศาลฎีกาสั่งจำคุก ปลอดประสพ 1 ปี 8 เดือน ปมสั่งย้าย ขรก. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

$
0
0

5 มี.ค. 2563 คมชัดลึกออนไลน์รายงานว่า  ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ปลอดประสพ สุรัสวดี อายุ 75 ปี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำเลยคดีปฏิบัติหน้าที่ทิชอบฯ ที่ศาลได้ออกหมายจับ ให้ติดตามตัวมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.1063/2558 ที่ วิฑูรย์ ชลายนนาวิน อดีตรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้เดินทางมารายงานตัวต่อศาลก่อนถึงกำหนดนัดฟังคำพิพากษาฎีกาครั้งที่สาม ในวันที่ 7 เม.ย.นี้ พร้อมขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนี้ด้วย โดยวันนี้ ปลอดประสพ มีอาการป่วย ใส่หน้ากากอนามัน และนั่งรถเข็นมาศาล พร้อมทั้งมีบุตรชาย ญาติและคนใกล้ชิดนับ 10 คน มาร่วมให้กำลังใจด้วย

เมื่อเวลา 14.25 น. ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.1063/2558 ที่ วิฑูรย์ อดีตรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทส. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ปลอดประสพ ในฐานะอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ก.ย.2546 บรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น มีคำสั่ง399/2546 แต่งตัั้ง วิฑูรย์ โจทก์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรสหกรณ์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2546 แต่จากนั้นมีการตรา พ.ร.ฎ.โอนป่ากรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลเมื่อลงราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 ก.ย.2546 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.กองการอนุญาต กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ต่อมาวันที่ 1 ต.ค.2546 -12 พ.ย.2556 จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกคำสั่งกระทรวงทรัพยากรฯที่ 287/2546 เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2546 ให้ระงับการมอบหมายงานในหน้าที่ตามคำสั่ง 399/2546 ซึ่งแต่งตั้งโจทก์ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) โดยให้ถือว่าเป็นการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวไว้ก่อนอันเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบเพื่อยังยั้งไม่ให้ โจทก์ได้เลื่อนตำแหน่ง สาเหตุเนื่องจาก โจทก์กับจำเลยมีเรื่องโกรธเคืองในเรื่องส่วนตัวกันมาก่อน

กระทั่งวันที่ 12 พ.ย.2546 จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ด้วยการให้ดำรงค์ พิเดช ออกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 543/2546 ย้ายโจทก์ไปตำแหน่ง "ป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ" ซึ่งเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 8 เป็นการย้ายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่ำกว่าระดับเดิม อีกทั้งก็ไม่ใช่ความจำเป็นที่ต้องรีบดำเนินการ และจำเลยก็ทราบดีว่า ดำรงค์ ไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์

ดังนั้นคำสั่งย้ายที่จำเลยให้ความเห็นชอบนั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นผลให้โจทก์ ได้รับความเสียหายต่อเสียชื่อเสียง และเสียสิทธิไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นระดับ 9 จึงขอให้ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ด้วย 2 ล้านบาท

ซึ่งคดีนี้ ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 เห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งไม่แต่งตั้งโจทก์ ให้เลื่อนขั้นเป็นข้าราชการระดับ 9 นั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายทั้งที่โจทก์มีคุณสมบัติจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารได้ จึงให้จำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา ไว้ 2 ปี และให้จำเลย ชดใช้เงินค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย 1.4 ล้านบาท

 ต่อมาทั้ง ปลอดประสพ จำเลย และวิฑูรย์ โจทก์ ต่างยื่นอุทธรณ์ โดยมีการอ่านคำพิพากษาของ "ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ"เมื่อวันที่ 17 เม.ย.2561 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฯ เห็นว่า การย้ายนี้ ก็ย้ายโจทก์เพียงคนเดียวและในระดับที่ต่ำกว่าเดิมด้วยเสมือนเป็นการลงโทษ โดยโจทก์กับจำเลย เคยมีข้อพิพาทกันเมื่อปี 2541 ขณะที่คำสั่งให้โจทก์ได้เลื่อนชั้นดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงานวิชาการ 9 ก็ชอบด้วยกฎหมาย 

การที่จำเลยให้ยกเลิกคำสั่งนั้นจึงกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายและน่าเชื่อว่ามาจากกรณีจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองโจทก์มาก่อนและเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และเมื่อพิจารณาการกระทำที่จำเลยให้รับโอนดำรงค์ มาซ้อนตำแหน่งโจทก์ที่โจทก์ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจทำให้เกิดปัญหาว่าการปฏิบัติราชการของดำรงค์ต่อการออกคำสั่ง-ประกาศต่างๆ ของกรมป่าไม้ว่ามีความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการได้ พฤติการณ์นับว่าเป็นความผิดร้ายแรง

จึงไม่เห็นสมควรรอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ฯ จึงพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิด ตาม ม.157 ประกอบมาตรา 84 อีกกรรมหนึ่งที่ใช้ให้นายดำรงค์โยกย้ายโจทก์ จึงให้จำคุก 2 กระทงๆ ละ 1ปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้น 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ นอกจากที่แก้ ก็ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 1.4 ล้านบาทด้วย

ขณะที่ ปลอดประสพ จำเลย ได้ยื่นฎีกาต่อสู้คดีและได้ประกันตัวระหว่างฎีกา ด้วยหลักทรัพย์ 400,000 บาท แต่เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2563 ที่ผ่านมา ศาลมีคำสั่งให้ปรับนายประกันเต็มจำนวน และให้ออกหมายจับนายปลอดประสพ จำเลยมาฟังคำพิพากษา

โดยคำพิพากษาศาลฎีกานั้น "ศาลฎีกา" ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า การกระทำของนายปลอดประสพ จำเลย ขณะดำรงตำแหน่งปลัด ทส. ที่ให้ดำรงค์ออกคำสั่งใหม่ให้ วิฑูรย์ โจทก์ย้ายไปดำรงค์ตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญนั้น เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 8 เป็นการย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ต่ำกว่าระดับเดิม และเป็นการโยกย้ายโดยเร่งด่วนไม่ได้หารือต่อคณะกรรมการที่จำเลยอ้างว่ามีปัญหาเรื่องตำแหน่งใหม่ของโจทก์ เมื่อมีการโอนย้ายสังกัดกรมป่าไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาสังกัดกระทรวงทรัพยากรฯ

ซึ่งจากคำเบิกความของพยานที่ตอบคำถามยังได้ความว่าตำแหน่ง ผอ.สำนักงานวิชาการ 9 นั้น ก็จะมีกระบวนการสรรหาผู้มีคุณสมบัติซึ่งโจทก์ก็มีคุณสมบัติ จึงต่างจากที่จำเลยอ้าง ดังนั้นการออกคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งโจทก์และการย้ายนายดำรงค์มาในตำแหน่งทับซ้อนกับโจทก์จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ได้รับความเสียหายและทางเจริญก้าวหน้าในอาชีพของโจทก์

การแต่งตั้งโยกย้ายระบบราชการนอกจากความเหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงคุณธรรมและธรรมาภิบาลแต่เมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ของจำเลยแล้ว เป็นการกระทำที่ทำลายระบบคุณธรรมและธรรมาภิบาลในระบบราชการจึงไม่ควรรอการลงโทษ และที่ศาลอุทธรณ์ฯกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 1.4 ล้านบาทนั้นเหมาะสมแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ส่วนบทลงโทษนั้น "ศาลฎีกา"พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายตรามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ให้จำคุกรวม 1 ปี 8 เดือน โดยให้ออกหมายคดีถึงที่สุดด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ได้รับฟังคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งผลถือเป็นที่สุดตามกฎหมายแล้ว เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ จึงได้ควบคุมตัว ปลอดประสพ ไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อรับโทษตามผลการพิพากษา

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ลัดดาวัลลิ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลาออก ระบุถ้าอยู่ต่อคงไม่สร้างประโยชน์กับชาติได้ตามที่ควรจะเป็น

$
0
0

ลัดดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ยื่นหลังสือลาออก กรรมการบริหารพรรค และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อ้างเหตุ อยู่ต่อไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนตามที่ควรจะเป็น ปัดคำชวนร่วม พปชร. จากแรมโบ้อีสาน บอกสั้นๆ คงเป็นไปไม่ได้

5 มี.ค. 2563 ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ยื่นหนังสือลาออกจาก กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และรองหัวหน้าพรรค โดยระบุว่า ระยะเวลาเกือบ 28 ปี ที่ได้เริ่มต้นทำงานทางการเมือง แต่ได้ทำหน้าที่ทางการเมืองตามกฎหมายเพียง 11 ปี เพราะถูกตัดสิทธิ์ เว้นวรรคทางการเมืองนานเกือบ 17 ปี แต่ระยะเวลา 11 ปี ที่ผ่านมาตนได้สร้างผลงานไว้มากมายทั้งในพื้นที่จังหวัดพะเยา และผลงานระดับชาติอีกหลายโครงการ และได้สร้างนักการเมืองระดับชาติ ระดับท้องถิ่นจำนวนหนึ่ง และก็ได้ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ให้กำลังใจตัวเองเดินหน้าทำงานเพื่อสังคมตลอดมาอย่างต่อเนื่องโดยมีประชาชน ครอบครัว ญาติพี่น้องและเพื่อนๆคอยเป็นกำลังใจให้การสนับสนุนการทำงานเรื่อยมา

ลดาวัลลิ์  ระบุต่อว่า ในฐานะประธานมูลนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือฯ ประธานชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทย ได้หาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจส่วนตัวมาจนถึงวันนี้ จึงได้ตัดสินใจด้วยตัวเองลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย กรรมการบริหารพรรค รองหัวหน้าพรรค และประธานคณะทำงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ เพราะเห็นว่าการอยู่ในพรรคเพื่อไทยต่อไปก็คงไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติกับประชาชนได้ตามที่ควรจะเป็น ตนเชื่อมั่นว่าเส้นทางข้างหน้ายังมีโอกาสจะริเริ่มสร้างสรรค์ได้ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนตามแนวทางที่ตนเองมีความถนัด มีประสบการณ์และเป็นตัวของตัวเอง

“ดิฉันฝันมานานอยากมีพรรคการเมืองของตัวเอง อยากรวมคนที่มีอุดมการณ์ทำงานการเมืองเพื่อประชาชนจริงๆ มาอยู่ด้วยกัน ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และให้ประชาชนมาร่วมขับเคลื่อนการเมืองร่วมกับพรรคอย่างแท้จริง ตอนนี้ยังไม่ขอสังกัดพรรคใด” ลดาวัลลิ์ กล่าว

ต่อมาสุภรณ์ อัตถาวงศ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเปิดเผยว่า ได้ก็มีการพูดคุยกับลัดดาวัลลิ์ และได้ชักชวนให้มาทำงานกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หากลดาวัลลิ์สนใจก็พร้อมอ้าแขนรับ เข้ามาทำงานร่วมงานกัน ลดาวัลลิ์ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวตอบกรณีนี้  โดยระบุว่า "ขอบคุณน้องแรมโบ้ที่ชวนเข้า พปชร. แต่คงเป็นไปไม่ได้ค่ะ ขอพักให้เวลาครอบครัวและตัวเองสักระยะหนึ่ง ค่อยคิดเรื่องเส้นทางการเมืองค่ะ"

เรียบเรียงจาก: ไทยรัฐออนไลน์ , แนวหน้าออนไลน์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

นักศึกษา มช. เดินหน้าแฟลชม็อบพรุ่งนี้ หลังมหา’ลัยออกประกาศต้องแจ้งก่อน 48 ชม.

$
0
0

มช.ออกประกาศ จัดกิจกรรมต้องแจ้งมหา’ลัย ก่อน 48 ชม. นักกิจกรรมถามออกประกาศวันนี้ แต่นัดชุมนุมพรุ่งนี้ จะแจงอย่างไรให้ทัน ซัดมหา’ลัย กดดันไม่ให้นักศึกษาชุมนุม ลั่นเดินทางจัดกิจกรรมแฟลชม็อบต่อ

5 มี.ค. 2563  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำหรับการจัดกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากรที่มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยระบุว่า เพื่อความปลอดภัยจากพิษภัยของฝุ่นละอองที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ นักศึกษาหรือบุคลากรที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมต้องแจ้งของใช้พื้นที่กับมหาวิทยาลัยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

ต่อประกาศดังกล่าว ชมรมประชาธิปไตย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้โพสต์เฟสบุ๊คเปิดเผยว่า ประกาศดังกล่าวแพร่เวลา 15.27 น.ซึ่งเป็นเวลาช่วงเย็นของวันพฤหัสบดีที่ 5 มี.ค. นี้ โดยตั้องข้อสังเกตว่า ทั้งที่ปัญหาฝุ่นควัน และ Covid-19 เป็นปัญหามาก่อนหน้านี้ แต่มหาวิทยาลัยกลับนิ่งเฉยไม่อนาทรร้อนใจกับปัญหานี้ ตัวอย่างเช่น ช่วงที่โรค Covid-19 ระบาด มหาลัยยังคงเปิดรับนักท่องเที่ยวจีนทั้งที่อยู่ในสภาวะที่โรคระบาดดังกล่าวเริ่มเป็นที่สนใจของสังคม แต่กลับไม่มีมาตรการที่จะหยุดรับนักท่องเที่ยว หรือการที่มหาวิทยาลัยยกเลิกสปอร์ตเดย์ โดยอ้างเรื่อง PM 2.5 และ Covid-19 แต่กลับไม่ยกเลิก visit cmu จนนักศึกษาเริ่มเรียกร้องและตั้งคำถามผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้มหาวิทยาลัยออกประกาศยกเลิกรับนักท่องเที่ยวจีนและ visit cmu  อย่างไรก็ตามผู้จัดงานไม่สามารถขออนุญาตกับมหาวิทยาลัยให้ครบ 48 ชั่วโมงตามประกาศนี้ได้ เพราะประกาศดังกล่าวมีการเผยแพร่ก่อนวันจัดงานเพียง 1 วันเท่านั้น จึงขอตั้งข้อสงสัยต่อประกาศชิ้นนี้ว่าอยู่ในฐานะเครื่องมือในการขัดขวางสิทธิเสรีภาพของนักศึกษา และทางมหาวิทยาลัยจงใจหรือมีวัตถุประสงค์บางประการที่จะกลั่นแกล้งและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาหรือไม่ ทั้งนี้ยังคงยืนยันจัดกิจกรรมแฟลชม็อบต่อไป เพราะเห็นว่า ประกาศนั้น เป็นเพียงแนวปฏิบัติ มิใช่คำสั่งในทางปกครอง และพื้นที่มหาวิทยาลัยก็อยู่นอกพื้นที่การบังคับใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ 2558

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สช. เร่งสานพลังเครือข่าย หนุนเสริมชุมชนป้องกัน COVID-19

$
0
0

สช.เร่งสานพลังเครือข่ายทุกภาคส่วนและสมัชชาสุขภาพจังหวัดทั่วประเทศ หาแนวทางหนุนเสริมการป้องกันไวรัส COVID-19 นพ.ปรีดา แนะประชาชนปฏิบัติและรับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก

เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา ในรายการบอกเล่า 965 ออกอากาศทางคลื่นความคิด FM 96.5 ช่วง สานพลังสร้างสุขภาวะกับ สช. (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้แนะให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการและรับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหลัก เพื่อรับมือไวรัส COVID-19 ขณะที่ทาง สช. จะทำหน้าที่ประสานภาคีเครือข่ายที่มีอยู่ทุกจังหวัด หาแนวทางร่วมกันต่อไป

นพ.ปรีดา กล่าวว่า ในแง่การแพทย์และการป้องกันนั้น สธ. มีแนวทางมาตรการชัดเจนอยู่แล้ว และยังประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามมาตรา 4 ใน พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย และเพื่อยกระดับการเตรียมความพร้อม ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่เข้าสู่การระบาดระยะที่ 3 แต่การมีมาตรการเข้มข้นและป้องกันล่วงหน้า ก็เพื่อชะลอการระบาดให้ช้าที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ต่อประเด็นที่ว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลให้แพทย์ทราบ ซึ่งมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ระบุไว้ว่า ข้อมูลด้านสุขภาพถือเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ ท่ามกลางกระแสสังคมที่หวั่นกลัวเชื้อ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเก็บตัวเงียบเพราะไม่ต้องการถูกรังเกียจ นพ.ปรีดา อธิบายประเด็นนี้ว่า

“ข้อมูลส่วนบุคคล ใครจะเอาไปเปิดเผยไม่ได้ แม้แต่แพทย์พยาบาลก็ทำไม่ได้ แต่สมมติเราเจ็บป่วยไม่สบาย มีโรคประจำตัว แล้วเราไม่บอก จะเป็นผลเสียต่อตัวเองอย่างยิ่ง เพราะเมื่อข้อมูลไม่ครบถ้วนการวินิจฉัยก็อาจผิดพลาด ถ้าไม่บอกว่าไปที่ไหนมา เป็นพื้นที่เสี่ยงไหม กว่าจะเจออาการก็มากแล้ว และอาจแพร่เชื้อสู่คนอื่นโดยไม่รู้ตัว การปกปิดข้อมูลกับแพทย์และโรงพยาบาลจึงไม่เป็นผลดีต่อใครเลย”

“แต่สังคมต้องเข้าใจว่า ไม่มีใครอยากเจ็บป่วย ถ้าติดเชื้อแล้ว การประณามหยามเหยียดไม่เป็นผลดีเช่นกัน ต้องเข้าใจ เห็นใจกัน ถ้าทุกฝ่ายพยายามช่วยเหลือไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย เฝ้าระวัง ช่วยเหลือกัน น่าจะเป็นส่วนที่ดีที่สุด และไม่พูดอะไรที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกหรือรังเกียจเดียดฉันท์ เพราะนั่นจะทำให้คนที่ไม่สบายไม่เปิดเผยตัวเองมากขึ้น และจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์”

ส่วนบทบาทของ สช. นั้น นพ.ปรีดา เปิดเผยว่า สช. กำลังหารือความร่วมมือกันในเรื่องนี้กับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ภาคียุทธศาสตร์ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัด เพื่อร่วมกันวางมาตรการสกัดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รวมถึงการสื่อสารกับภาคีไม่ให้เกิดการตื่นตระหนกและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

“ที่เราทำอยู่คือ การสานพลัง พูดคุยแจ้งแนวทางไปยังภาคีเครือข่าย โดยเพิ่งพูดคุยกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เห็นตรงกันว่าถ้าร่วมมือกัน สื่อสารไปยังภาคี ภาคประชาสังคมในระดับจังหวัดและตำบลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อตั้งวงพูดคุยว่าในชุมชนจะช่วยเหลือกันอย่างไรได้บ้าง เช่น มีหลายกลุ่มที่ทำหน้ากากอนามัย เราก็อาจไปสนับสนุนให้กับกลุ่มด้อยโอกาสหรือกลุ่มเสี่ยง สร้างการรณรงค์และร่วมมือกันระดับจังหวัด ระดับตำบล ซึ่งทาง สช. มีภาคีสื่อสุขภาวะในเครือข่ายสื่อท้องถิ่นอยู่ และยังมีสมัชชาสุขภาพจังหวัดที่จะเคลื่อนไหวร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ตั้งวงพูดคุยและทำกิจกรรมที่ร่วมมือกัน หนุนเสริมกันและกัน”

“ในแง่ตัวบุคคล จะทำอะไรได้บ้าง พลังชุมชนสำคัญมาก รวมกลุ่มกัน พูดคุยกัน กิจกรรมที่ทำได้ก็ทำเลย หรือใครที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงไปอยู่บ้าน ถ้าเราเข้าใจกันและกัน คนในชุมชนในพื้นที่ก็อาจช่วยเหลือสนับสนุน ให้คำแนะนำ ให้ข่าวสาร ผมว่าแบบนี้คนจะไม่แตกแยก กิจกรรมในชุมชนก็จะเกิดประโยชน์”

นพ.ปรีดา ย้ำด้วยว่าให้ประชาชนติดตามข่าวจากทางกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ข้อมูลใดที่ไม่แน่ใจว่าจริงหรือเท็จไม่ควรแชร์ต่อในโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันความสับสน

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราอาการรุนแรงและภาวะวิกฤตจะส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยจำนวนมากและทำให้อัตราการหายต่ำ ทั้งยังมีการแพร่กระจายไปยังบุคลากรทางการแพทย์หลายประเทศก่อให้เกิดการขาดแคลนแพทย์ พยาบาลดูแลรักษาและต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันมากขึ้น ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ไวรัส COVID-19 เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประเทศต่างๆ  สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย กรมควบคุมโรคแถลงในวันที่ 5 มี.ค.ว่า พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อเพิ่มอีก 4 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอิตาลีและอิหร่าน ทำให้จำนวนผู้ป่วยสะสมในไทยเพิ่มเป็น 47 คน อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 31 ราย ยังรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาล 15 ราย เสียชีวิต 1 ราย สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 รายที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่ยังอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

COVID-19 : สธ. ประกาศ 'เกาหลี-จีน-มาเก๊า-ฮ่องกง'เป็น 'เขตติดโรคติดต่ออันตราย'ไม่มี 'ฝรั่งเศส-เยอรมนี'

$
0
0

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กระทรวงสาธารณสุขให้ 'เกาหลี-จีน-มาเก๊า-ฮ่องกง'เป็น 'เขตติดโรคติดต่ออันตราย'แต่ไม่มี 'ฝรั่งเศส-เยอรมนี'หลังจากมีแถลงข่าวในวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา

 

6 มี.ค.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (5 มี.ค.63) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 ลงนามโดย อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 

ระบุว่า 

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC)) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558

อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดต่อของโรค ดังกล่าวที่มากับผู้เดินทางจากนอกราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรค ที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักร และเพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคดังกล่าวเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการด้านวิชาการ จึงเห็นสมควรประกาศกำหนดให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งหากสภาวการณ์ของโรคดังกล่าวสงบลงหรือมีเหตุอันสมควร จะได้มีการประกาศยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตรายต่อไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ด้านวิชาการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักร ที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) พ.ศ.2563 ”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรดังต่อไปนี้ เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) (1) สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea ) (2) สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macao) และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong)(3) สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic ) (4) สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran )

ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2563

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงข่าว กรมควบคุมโรคมีการเพิ่มประเทศที่แนะนำให้คนไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปเพิ่มอีก 2 ประเทศ คือ ฝรั่งเศสและเยอรมนี รวมเป็น 8 ประเทศ

แม้แต่ทวิตเตอร์ของ กองทัพบกก็ประกาศไม่อนุญาตให้ กำลังพลเดินทางหรือแวะผ่าน 11 ประเทศเสี่ยง COVID-19 ซึ่ง 2 ใน 11 ประเทศคือ ฝรั่งเศสและเยอรมนี

เช่นเดียวกัน สื่อหลายสำนัก (เนชั่น กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ผู้จัดการออนไลน์ ) รายงานตรงกันว่า วันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)โพสต์ข้อความลงนามประกาศ 9 ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย แต่ต่อมา อนุทิน ได้มีการลบโพสต์และปิดเฟซบุ๊กเพจออกไปนั้น สร้างความงุนงงสงสัยต่อสาธารณชนเป็นอย่างยิ่ง

จากนั้น สำนักสารนิเทศ ซึ่งดูแลงานด้านประชาสัมพันธ์ สธ. ได้แจ้งข้อมูลต่อสื่อมวลชน ว่า เกี่ยวกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีการแก้ไขข้อมูลใหม่ จึงต้องรอประกาศใหม่ โดยประกาศก่อนหน้านี้ยังไม่มีผลใดๆ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

7 ข้อน่ารู้ในรายงาน WHO หลังลงพื้นที่ในจีน ชี้ แผนสาธารณสุขที่ดีมีความสำคัญ

$
0
0

เปิดดูรายงานองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) จากการลงพื้นที่ปฏิบัติการร่วมกับจีน โดยระบุถึงความรู้เกี่ยวกับโรคใหม่นี้ไว้ในแง่มุมต่างๆ เช่น สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดต่อ อาการ ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตของผู้รับเชื้อ รวมถึงระบุว่าอัตราสถิติของผู้ติดเชื้อเริ่มลดลงแล้วในจีน

6 มี.ค. 2563 โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือ COVID-19 กลายเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังจับตา การแพร่ระบาดใหญ่ของโรคนี้มีกรณีที่ได้รับการตรวจพบแล้ว 89,000 กรณี และแพทย์กับคนทำงานสาธารณสุขก็ต่อสู้กับการระบาดของโรคมาเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว ในขณะที่บางประเทศกำลังเตรียมการรับการระบาดโดยมีมาตรการทางสาธารณสุข

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในจีนซึ่งเป็นแหล่งพบการระบาดหนักครั้งแรกก็เริ่มมีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตลดลงแล้ว แต่ในบางประเทศก็กำลังเพิ่มมากขึ้นเช่นในเกาหลีใต้ อิตาลี อิหร่าน และสหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสผ่านพ้นจุดสูงสุดมาแล้วและมีโอกาสจะค่อยๆ ลดระดับลง

ข้อมูลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในรายงานขององค์การอนามัยโลกที่เพิ่มออกมาไม่นานนี้โดยทำการสำรวจในช่วงปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่ตามที่ต่างๆ ในจีน เช่น ในกรุงปักกิ่ง มณฑลอู่ฮั่น เสิ่นเจิ้น กวางโจว เฉิงตู และจากความร่วมมือของจีน ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ COVID-19 ที่องค์การอนามัยโลกศึกษาพบมีดังนี้

1. การกระจายเชื้อในระดับกลางหรือแบบกลุ่มย่อย (clusters) มักจะมาจากการติดเชื้อระหว่างคนในครอบครัว

WHO แบ่งระดับการแพร่กระจายของการติดเชื้อไว้ 3 ระดับ คือในระดับสูงหรือระดับชุมชน ในระดับกลางคือกลุ่มย่อย (clusters) และในระดับต่ำหรือประปราย สำหรับกรณีการติดเชื้อแบบกลุ่มย่อยนั้นร้อยละ 78-85 ในจีนมักจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อด้วยสาเหตุสัมผัสกับละอองของเหลวในร่างกายของผู้มีเชื้อที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน อย่างไรก็ตามการแพร่กระจายด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะไกลนั้นไม่ใช่สาเหตุหลักของการระบาด ส่วนกรณีที่คนทำงานสาธารณสุขได้รับเชื้อในจีนนั้นส่วนมากได้รับเชื้อจากครอบครัวหรือเป็นการรับเชื้อในช่วงเริ่มต้นของการระบาดที่ยังไม่มีระบบการป้องกัน

2. COVID-19 เป็นไวรัสที่กลายพันธุ์มาจากสัตว์ก็จริง แต่ยังไม่แน่ชัดว่ามาจากค้างคาวจริงหรือไม่

WHO ระบุว่าจากการพิจารณายีนส์ มีความเป็นไปสูงที่ค้างคาวจะเป็นแหล่งของเชื้อ COVID-19 แต่ทว่ายังไม่ใช่ข้อสรุปและนับว่ายังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใดกันแน่ โดยที่ยังคงต้องรอตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไปรวมถึงการตรวจสอบเกี่ยวกับสัตว์หลายชนิดที่ซื้อขายกันในตลาดหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น แหล่งที่มีการระบาดหนักที่สุด

3. อาการของโรคส่วนใหญ่คือไข้และไอแห้ง อาเจียน-คัดจมูก เกิดน้อย

WHO ระบุว่าคนที่เป็นโรค COVID-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการไข้ (ร้อยละ 87.9) รองลงมาคืออาการไอแห้ง (ร้อยละ 67.7) อาการเหนื่อยล้า (ร้อยละ 38.1) มีเสมหะ (ร้อยละ 33.4) หายใจไม่สะดวก (ร้อยละ 18.6) เจ็บคอ (ร้อยละ 13.9) ปวดหัว (ร้อยละ 13.6) ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 14.8) ตัวเย็น (ร้อยละ 11.4) อาการที่เกิดขึ้นน้อยได้แค่ คลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ 5) คัดจมูก (ร้อยละ 4.8) ท้องเสีย (ร้อยละ 3.7) อาการที่เกิดน้อยมากคือไอเป็นเลือด (ร้อยละ 0.9) และ ตาแดง (ร้อยละ 0.8)

4. ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการเลย มีน้อยมากที่ไม่แสดงอาการ

ในกรณีที่มักจะมีผู้ระบุว่าคนไข้ไม่แสดงอาการก็มีนั้น WHO ระบุในรายงานมีกรณีเช่นนี้อยู่น้อยมาก คนไข้ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการในช่วงประมาณ 5-6 วัน คนส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ที่ติดเชื้อ COVID-19 มักจะมีอาการในระดับเบา ไม่ว่าจะมีอาการปอดบวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ขณะที่ร้อยละ 13.8 จะมีอาการระดับหนัก และร้อยละ 6.1 อยู่ในขั้นวิกฤต

5. อัตราการเสียชีวิตต่ำ คนเสียชีวิตส่วนใหญ่มีโรคแทรกซ้อนและมีอายุมาก

WHO ระบุว่า อัตราการเสียชีวิตของโรคนี้อยู่ที่ร้อยละ 3-4 ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเสียชีวิตมากกว่าคือผู้สูงอายุและมีภาวะแทรกซ้อนอยู่แล้ว เช่น เป็นเบาหวาน, ความดันสูง, โรคหัวใจ, โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และมะเร็ง อัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยของคนอายุ 49 ลงมาต่ำมากไม่ถึงร้อยละ 1 ขณะที่คนยิ่งสูงอายุอัตราการเสียชีวิตก็จะยิ่งสูงขึ้น

นอกจากนี้ข้อมูลจากกราฟรายงานขององค์การอนามัยโลกยังระบุว่าจำนวนการตรวจพบผู้ป่วยในจีนเริ่มลดลงเรื่อยๆ แล้วนับตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

6. กรณีหนักรักษา 3-6 สัปดาห์ กรณีเบารักษา 2 สัปดาห์

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักนั้นโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลารักษาตัวประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีอาการสาหัสไปจนถึงขั้นวิกฤตต้องใช้เวลาพักฟื้นราว 3-6 สัปดาห์โดยเฉลี่ย จากข้อมูลเบื้องต้นระบุว่าช่วงเวลาที่จะทำให้คนมีอาการระดับสาหัสเช่นมีภาวะอ็อกซิเจนน้อยนั้นอยู่ที่ 1 สัปดาห์ มีข้อเสนอแนะว่าการตรวจพบกรณีแต่เนิ่นๆ จะทำให้มีการรักษาได้เร็วขึ้น

7. กระบวนการแทรกแซงเพื่อสกัดกั้นการระบาด ได้ผลและมีความสำคัญ

รายงานของ WHO ยังระบุอีกว่า เชื้อ COVID-19 กระจายไปอย่างรวดเร็วและส่งผลเสียร้ายแรง แต่ก็มีหลักฐานหนักแน่นว่าการแทรกแซงเพื่อลดการระบาดของโรคโดยไม่เกี่ยวกับการใช้ยานั้นสามารถลดการระบาดได้ผล แต่ WHO ก็แสดงความเป็นห่วงว่าการเตรียมการรับมือในหลายแห่งของโลกดูจะเตรียมการรับมือได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรควรมีแผนการรับมือทางสาธารณสุขอย่างทันท่วงทีในระดับใหญ่และอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการตรวจวินิจฉัยและกักตัวควบคุมโรค (quarantine) อย่างทันท่วงที

เรียบเรียงจาก

รายงานฉบับเต็มของ WHO Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19), WHO

China’s cases of Covid-19 are finally declining. A WHO expert explains why., Vox, Mar. 3, 2020

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

คนงานสิ่งทอ | ถอดรหัสจัดตั้ง EP.05

$
0
0

การเคลื่อนไหวปัญหาจากที่ทำงานไปสู่การเมืองประชาธิปไตยของแรงงานเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่ 'เซีย จำปาทอง'ประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนัง แห่งประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้เราได้เข้าใจถึงบทบาทของสหภาพแรงงานในการรณรงค์ประเด็นต่างๆ เช่น สิทธิสตรี สิทธิแรงงานข้ามชาติ สวัสดิการที่ดี การสร้างรัฐสวัสดิการ นอกจากนี้ ยังพูดถึงปัจจัยของการสร้างความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน เช่น การจัดกลุ่มศึกษาวิเคราะห์การเมือง

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กองทัพรัฐบาลพม่ารื้อ-ขโมยของบ้านประชาชนที่ลี้ภัยสงครามในรัฐฉาน

$
0
0

ทหารของกองทัพพม่าเข้าไปรื้อขโมยบ้านเรือนและร้านค้าของประชาชนที่ถูกทิ้งไว้เพราะหนีตายการสู้รบในทางตอนใต้ของรัฐฉาน เหตุสู้รบดังกล่าเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาระหว่างกองกำลังสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉานกับกองกำลังรัฐบาล

ภาพธงชาติรัฐฉาน ถูกทักเป็นลวดลายบนย่ามวางขายในร้านค้า

6 มี.ค. 2563 สื่อฉานนิวส์รายงานเมื่อ 5 มี.ค. ที่ผ่านมาว่าทหารจากกองทัพพม่า (ทัตมาดอว์) ขโมยของยึดเอาทรัพย์สินบ้านเรือนประชาชนที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นของตัวเอง เหตุเกิดในเมืองกึ๋ง (Mong Kung) ทางตอนใต้ของรัฐฉาน หลังจากที่มีการสู้รบระหว่างกองทัพรัฐฉานและกองกำลังของรัฐบาลที่ส่งผลให้ชาวบ้านต้องหนีเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง

ก่อนหน้านี้เคยมีเหตุสู้รบระหว่างกองกำลังสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) กับกองทัพพม่าเมื่อช่วงต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ในขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่กำลังหนีตายเพื่อไปซ่อนตัวอยู๋ที่บ้านญาติหรือวัดที่อยู่ใกล้เคียง กองกำลังฝ่ายรัฐบาลก็ก่อเหตุบุกค้นบ้านเรือนและร้านค้าจากนั้นก็ฉกชิงเอาทรัพย์สินไป

จายโหลง (Sai Long) ส.ส. ประจำเมืองกั๋งยืนยันว่ามีการฉกชิงเอาทรัพย์สินของชาวบ้านไปจริง โดยมีเจ้าของร้านค้าแห่งหนึ่งบอกกับ ส.ส. ว่าร้านถูกรื้อค้นและปล้นสะดม มีของหายไปหลายอย่าง นอกจากนี้ยังมีบ้านจำนวนมากได้รับความเสียหาย

เหตุการณ์นี้เกิดในหมู่บ้านโหป๋าย (Ho Hpai) ชาวบ้านเล่าว่ากองกำลังทหารพม่าอาศัยอยู่ที่ในหมู่บ้านเมื่อช่วงตอนกลางวันและคอยรื้อค้นตามบ้านเรือนร้านค้าต่างๆ ในช่วงนั้น โดยที่ทหารกลับเข้าป่าไปในตอนกลางคืน หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์นี้คือหมู่บ้านกุงหนองป่าซา (Koong Nyawng Hpa Sa) โดยในหมู่บ้านหลังนี้ถูกรื้อค้นและลักขโมยหนักกว่าหมู่บ้านแรก

มีชาวบ้านเล่าว่าในช่วงวันที่ 2 มีการรื้อขโมยบ้านแค่ 4 หลังเท่านั้น แต่ในวันที่ 3 มี.ค. ก็มีบ้านและร้านค้าจำนวนมากถูกรื้อขโมยและทหารพม่าเอาของๆ พวกเขาไปแทบทุกอย่าง

สื่อฉานนิวส์รายงานว่าชาวบ้านในพื้นที่มาทราบเรื่องก้เมื่อกลับบ้านมาให้อาหารปศุสัตว์ของพวกเขา ชาวบ้านเล่าว่าพอทหารเห็นชาวบ้านที่กลับมาให้อาหารสัตว์ก็ตะโกนเรียกพวกเขา พอชาวบ้านพยายามหนีทหารก็ยิงใส่ โชคดีที่ไม่มีใครบาดเจ็บ

มีชาวบ้านอย่างน้อย 2 คนที่ถูกทหารจับคุมขัง 1 คืน หลังจากที่พบเห็นพวกเขากลับบ้านไปเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวในวันถัดมาโดยไม่ได้ถูกทุบตีทำร้าย

สื่อฉานนิวส์รายงานว่าเหตุการณ์สู้รบที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดนี้ส่งผลให้เกิดผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ 500 รายต้องหนีไปหลบภัยอยู่ในวัด 2 แห่ง

เรียบเรียงจาก

Burma Army Soldiers Loot IDPs’ Homes in Mong Kung Township, Locals Say, Shan News, Mar. 5, 2020

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

แฟลชม็อบผ่านครึ่งเดือน นศ.มช.ชุมนุม #ลูกช้างไม่ทนขอชนเผด็จการ แม้มหา’ลัยออกประกาศต้องแจ้งก่อน 2 วัน

$
0
0

ผ่านมา 15 วันของการแฟลชม็อบประท้วงหลังศาล รธน.ยุบพรรคอนาคตใหม่ นักศึกษา มช. ยังคงจัดชุมนุม #ลูกช้างไม่ทนขอชนเผด็จการ แม้มหา'ลัย ออกมาตรการวานนี้ให้แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ส่วน คนไทยในรัสเซีย รวมประท้วงด้วย

 

(ภาพโดย มัณฑณา ธราพรสกุลวงศ์)

6 มี.ค.2563 สถานการณ์การตื่นตัวของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และประชาชน หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคอนาคตใหม่ตั้งแต่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น ช่วงเย็น วันนี้ (6 มี.ค.63) ที่ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาและประชาชนชุมนุมภายใต้ชื่อ "#ลูกช้างไม่ทนขอชนเผด็จการ" แสดงพลังพร้อมกันอีกครั้งในสะเทือนถึงรัฐบาลเลือกตั้งอำพราง รัฐบาลเผด็จการของประยุทธ์

รายงานข่าวระบุด้วยว่า ในการชุมนุมยังมีการปราศัยในประเด็นที่เกี่ยวกับมหาลัยเชียงใหม่ ประเด็นร่างพระราชบัญญัติ เมืองเชียงใหม่มหานคร ปัญหาการบริหาร การขนส่ง และสิ่งแวดล้อม เมืองเชียงใหม่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่ รวมทั้งเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ชูสโลแกน ‘ถ้าคุณไม่แก้ ก็เขียนใหม่’

การชุมนุมดังกล่าวยังมีมาตรการป้องกันและตรวจสอบกรณีไวรัสโควิช-19 ผู้เข้าร่วม มีกิจกรรมวงดนตรีหลายวงเข้าร่วม

(ภาพโดย มัณฑณา ธราพรสกุลวงศ์)

ขณะที่วานนี้ (5 มี.ค.63) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำหรับการจัดกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากรที่มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยระบุว่า เพื่อความปลอดภัยจากพิษภัยของฝุ่นละอองที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ นักศึกษาหรือบุคลากรที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมต้องแจ้งของใช้พื้นที่กับมหาวิทยาลัยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

คนไทยในรัสเซียไม่เชียร์เผด็จการ

ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วานนี้ที่ รัสเซีย กลุ่มที่ใช้ชื่อ กลุ่มคนไทยในรัสเซียไม่เชียร์เผด็จการ จัดกิจกรรมเล็ก ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์​ต่อรัฐบาลชุดนี้

โดยมีแถลงการณ์ของกลุ่มดังนี้

เป็นเวลา 6 ปีแล้วที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้เข้ามาบริหารประเทศ ถึงแม้จะกล่าวอ้างว่า เป็นการเลือกตั้งของประชาชน แต่นั่นก็เป็นการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์เป็นเพียงการฟอกขาวของรัฐบาลที่ยึดอํานาจ เมื่อปี 2557 อีกทั้งเมื่อเข้ามาบริหารประเทศก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องการทุจริตและการกระทําผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้นําระดับสูง เรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของ ประชาชน เรื่องสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น pm 2.5 หรือการรับมือกับภัยโรคระบาดไวรัส โคโรนาที่ล่าช้า และไร้ประสิทธิภาพ เสี่ยงต่อสวัสดิภาพในชีวิตของประชาชนในประเทศ และที่สําคัญที่สุดอีก ประการหนึ่ง คือ การยุบพรรคฝ่ายค้านที่ได้รับเลือกจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นจํานวนไม่น้อย ด้วยการ ใช้ข้อกฎหมายที่บิดเบี้ยวและใช้ตรรกะการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมเมื่อเทียบกับกรณีที่เกิดกับพรรค ฝ่ายรัฐบาลที่แม้มีหลักฐานแต่ก็ไม่เคยถูกแตะต้องใด ๆ

ถึงแม้ว่าทางสมาชิกในกลุ่มจะมีภารกิจอยู่นอกประเทศแต่ทางเราก็มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ใน บ้านเกิด โดยเฉพาะต่อครอบครัว ญาติมิตรและบุคคลอันเป็นที่รักของเราที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนที่ ได้รับผลกระทบจากรัฐบาลชุดนี้ ทางกลุ่ม ฯ จึงขอเรียกร้องดังนี้

1) ให้นายก ฯ ประกาศยุบสภาและจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อเปิด โอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถที่มากกว่าเข้ามาบริหารประเทศอย่างถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง รวมถึง ปฏิรูปองค์กรอิสระอื่น เช่น กกต. ปปช. ศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ ที่มี่ที่มาจากผู้มีอํานาจและมีข้อครหามีการ ดําเนินการโดยมีอคติ

3) ขอให้ทุกฝ่ายยึดแนวทางสันติวิธีให้ถึงที่สุดและกองทัพต้องไม่แทรกแซงฝ่ายการเมือง

กลุ่มคนไทยในรัสเซียไม่เชียร์เผด็จการ

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

นับ 1 ใหม่ หลังอยู่ศาลทหารกว่า 5 ปี 'คดีขอนแก่นโมเดล'โอนมาศาลพลเรือน ประกันตัวออกได้อีก 2 คน

$
0
0

นัดสืบพยานต่ออีก 108 ปาก ตั้งแต่ พ.ย. 63 - ต.ค. 64 'คดีขอนแก่นโมเดล'หลังโอนมาศาลพลเรือน โดยก่อนหน้านี้อยู่กับศาลทหารกว่า 5 ปี ขณะที่วันนี้ประกันตัวได้ 2 คน คนละ 4 แสนบาท

6 มี.ค.2563 ผู้สื่อข่าวรายงาานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 21.30 น. วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความและเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) โพสต์แจ้งผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า ล่าสุด 21.30 น. แจ้งข่าวการได้รับอิสรภาพของจำเลย 2 คนในคดีขอนแก่นโมเดล ทั้ง 2 ในจำนวน 26 คนที่ติดคุกตั้งแต่พฤษภาคม 2557

"ค่ำวันนี้พวกเขาได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาในศาลจังหวัดขอนแก่น เรา สกสส. สู้กับระบบยุติธรรมลายพรางมา 5 ปีเศษแล้ว ประชาชนเดินดินถูกกระทำสารพัด หลายชีวิตถูกอำนาจเผด็จการเผาผลาญทำลาย" วิญญัติ โพสต์

ผู้สื่อข่าวสอบถาม วิญญัติ เพิ่มเติมการประกันตัวในครั้งนี้ โดย วิญญัติ กล่าวว่า ประกันตัวคนละ 4 แสน อย่างไรก็ตามในกลุ่มคดีนี้ยังเหลืออีก 1 คน ที่ยังไม่ได้ประกันตัว เนื่องจากปฏิเสธข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ฯ ตาม ม.112 ที่ถูกแจ้งเพิ่มว่าเตรียมการก่อเหตุในกิจกรรม Bike for Dad ในปี 2558

สำหรับ 2 คน ที่เพิ่งได้รับการประกันตัวนั้น ก็ถูกดำเนินคดีตาม ม.112 ว่าเตรียมการก่อเหตุในกิจกรรม Bike for Dad เช่นกัน แต่ทั้งคู่รับสารภาพ ว่าเป็นผู้ร่วมสมคบคิด เนื่องจากติดคุกอยู่แล้ว ทำให้ตอนนี้พ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วด้วย

ขณะที่ความคืบหน้าคดี “ขอนแก่นโมเดล” หลังจากเมื่อ ส.ค.62 ถูกโอนจากศาลทหารที่พิจารณาคดีอยู่ถึง 5 ปีมาศาลพลเรือนนั้น วิญญัติ กล่าวว่า คดีนี้โอนมาที่ศาลจังหวัดขอนแก่น และเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา เพิ่งนัดพร้อมประชุมคดี และจะสืบพยายานอีกที

นัดสืบพยานต่ออีก 108 ปาก ตั้งแต่ พ.ย. 63 - ต.ค. 64

เมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดขอนแก่นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดพิจารณาคดี ในคดีขอนแก่นโมเดล ซึ่งมี ประธิน จันทร์เกศ และพวกรวม 26 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐาน ร่วมกันขัดประกาศ คสช.ที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง, ร่วมกันตระเตรียมก่อการร้าย, เป็นซ่องโจร, มีอาวุธปืนและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองฯ จำเลยที่เหลืออยู่ทั้งหมด 22 คน มาศาล ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามคำให้การ จำเลยทั้งหมดยืนยันให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงว่าประสงค์จะสืบพยาน 70 ปาก เป็นพยานจากบัญชีระบุพยานเดิมที่อัยการทหารอ้างรวม 57 ปาก และเป็นพยานที่อัยการพลเรือนยื่นเพิ่มเติม 13 ปาก โดยโจทก์ขอสืบพยานเป็นกลุ่มๆ โดยแบ่งเป็น กลุ่มเจ้าพนักงานชุดจับกุม 6 ปาก และยังเหลือที่ฝ่ายจำเลยยังไม่ได้ถามค้านอีก 4 ปาก, พยานที่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการชุมนุม 9 ปาก, พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะเจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมที่โรงแรมชลพฤกษ์ 4 ปาก, ผู้ตรวจพิสูจน์ของกลาง 22 ปาก, ผู้ตรวจสอบการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน 13 ปาก และพนักงานสอบสวน 16 ปาก โจทก์แถลงขอใช้เวลาสืบ 21 นัด จำเลยทั้งหมดแถลงแนวทางการต่อสู้คดีว่า จำเลยแต่ละคนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และไม่ได้มีความผิดเกิดขึ้นดังที่โจทก์กล่าวหา โดยจำเลยแต่ละคนถูกจับกุมมาจากหลายท้องที่ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ต่อกัน ส่วนจำเลยที่ถูกจับกุมได้ที่โรงแรมชลพฤกษ์ก็เป็นการมาพบกันในกิจกรรมอื่นซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองแต่อย่างใด ฝ่ายจำเลยขอสืบพยานรวม 38 ปาก แบ่งเป็นตัวจำเลย 22 คน และพยานที่เกี่ยวข้องอีก 16 ปาก ใช้เวลาสืบทั้งหมด 10 นัด โดยกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 - สิงหาคม 2564 และสืบพยานจำเลยในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2564 คดีนี้ยื่นฟ้องต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ในวันที่ 22 ส.ค. 57 และศาลมณฑลทหารบกที่ 23 มีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลทหารเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 62 นับเป็นเวลา 5 ปีเต็มที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลทหาร ทำการสืบพยานโจทก์ไปได้เพียง 9 ปาก ในจำนวนนี้ฝ่ายจำเลยยังไม่ได้ถามค้าน 4 ปาก

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีขอนแก่นโมเดล

เกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหารได้ 1 วัน เจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหาจำนวน 22 คน ถัดจากนั้นอีก 4 วันก็มีการเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหาเพิ่มอีก 2 คน และขยายผลจับกุมเพิ่มอีก 2 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดมีอายุอยู่ในช่วง 55-70 ปี และเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน เจ้าหน้าที่รัฐเรียกผู้ต้องหากลุ่มนี้ว่า 'ขอนแก่นโมเดล'โดยเชื่อว่าพวกเขาตระเตรียมการโดยสะสมกำลังพล อาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามแผนการสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนและเพื่อก่อการร้าย โดยอัยการยื่นฟ้อง 9 ข้อหากับผู้ต้องหาทุกคน ซึ่งมีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานไว้เมื่อ มี.ค.60 ว่า อัยการทหารอ้างพยานบุคคลรวม 90 ปาก เริ่มสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 59 โดยพยานโจทก์ปากแรกคือ พล.ต.ชาญชัย เอมอ่อน ผู้สั่งการให้จับกุมจำเลยในคดีนี้ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 8 และผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 8 ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร พ.อ. พยัคฆพล และ ร.อ.ธนศักดิ์ เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ปากที่ 2 และ 3 ในวันที่ 23 ธ.ค.59 แต่ทนายจำเลยยังไม่ได้ซักค้าน เนื่องจากหมดเวลาเสียก่อน ศาลจึงนัดให้อัยการนำพยานทั้งสองมาให้ทนายจำเลยซักค้านในวันที่ 20 ก.พ. 60 แต่วันนัดดังกล่าว พ.อ. พยัคฆพล ป่วย ไม่มาศาล จึงเลื่อนการซักค้านมาเป็นวันที่ 24 มี.ค.นี้ พร้อมทั้งนัด ส.อ.สังวาลย์ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์จับกุมจำเลยที่ 1 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยฯ เช่นเดียวกัน มาเบิกความ แต่แล้วก็ต้องเลื่อนออกไปอีก

คดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 23 พ.ค.57 หลังคณะรัฐประหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพียง 1 วัน กำลังทหารจากกรมทหารราบที่ 8 ค่ายสีหราชเดโชไชย จ.ขอนแก่น ได้เข้าตรวจค้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่โรงแรมชลพฤกษ์เลคไซด์ และจับกุมผู้ต้องสงสัยหลายคน วันต่อมา พล.ต.ธวัช สุกปลั่ง รองแม่ทัพภาคที่ 2 และ พล.ต.ศักดา เปรุนาวิน ผู้บัญชาการกองพลทหารที่ 3 ร่วมกันแถลงข่าวว่า กองทัพภาคที่ 2 ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าวว่า จะมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีจะออกปฏิบัติการ “ขอนแก่นโมเดล” ในลักษณะกวนเมืองขอนแก่น จึงทำการสืบสวนจนทราบว่า ที่หมู่บ้านชลพฤกษ์ ในอำเภอเมืองขอนแก่น ได้มีกลุ่มดังกล่าวประชุมร่วมกัน พล.ต.ศักดา จึงได้นำกำลังเข้าทำการตรวจค้น และจับกุมผู้ต้องหาที่มาประชุมร่วมกันในที่ดังกล่าวได้ 23 คน พร้อมของกลาง ได้แก่ บัตรประจำตัว “นปช.แดงทั้งแผ่นดิน” 2 ใบ, โทรศัพท์มือถือ 25 เครื่อง, แท็บเล็ต 2 เครื่อง, วิทยุสื่อสาร 2 เครื่อง, มีดสปาต้า 1 เล่ม, มีดปลายปืน 2 เล่ม, ลูกระเบิดขว้าง 2 ลูก, ลูกระเบิดปิงปอง 1 ลูก, ลูกระเบิดควัน เอ็ม 18 จำนวน 1 ลูก, แม็กกาซีนปืน 2 อัน, กระสุนปืนพกขนาด 9 มม. 202 นัด, 11 มม. 154 นัด, กระสุนปืนลูกซอง 15 นัด, ถังแก๊ส 2 ใบ, ไขควง 3 อัน, ค้อน 2 ตัว, กุญแจมือ 8 อัน, เสื้อเกราะ 1 ตัว, ผ้าพันคอสีแดงประมาณ 300 ผืน, เสื้อยืดสีขาวประมาณ 100 ตัว, ป้ายไวนิลสีแดงขนาดใหญ่จำนวน 3 ผืน เอกสารเป็นแผนภูมิวางระเบิดในภาคใต้ แผนผังทำวงจรระเบิดในเขตพื้นที่ จ.ขอนแก่น, ภาพฝึกอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ จากนั้น วันที่ 12 มิ.ย. 57 ทหารและตำรวจ ร่วมกันแถลงข่าวว่า มีการจับกุมต่อเนื่องผู้ต้องหาในคดี “ขอนแก่นโมเดล” รวมทั้งสิ้น 25 ราย และตรวจยึดอาวุธเพิ่มเติมได้อีกในท่อประปาภูเขา บริเวณป่าละเมาะที่ อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์

หลังการจับกุม ผู้ต้องหาถูกส่งไปควบคุมตัวที่กรมทหารราบที่ 8 เป็นเวลา 7 วัน ก่อนถูกส่งตัวไปดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น และขังที่เรือนจำกลางจังหวัดขอนแก่น โดยอัยการศาล มทบ.23 ส่งฟ้องต่อศาล มทบ.23 ในวันที่ 22 ส.ค.57 จากนั้น ในเดือน ต.ค. 57 – ก.พ.58 ศาลทยอยให้ประกันตัวจำเลยทั้ง 26 คน อย่างไรก็ตาม ปลายเดือน พ.ย.58 จ.ส.ต.ประธิน ถูกจับอีกครั้งและถูกนำไปควบคุมตัวใน มทบ.11 ก่อนถูกออกหมายจับพร้อมจำเลยขอนแก่นโมเดลอีก 3 คน และคนอื่น ๆ รวม 9 คน ในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยมีการแถลงข่าวว่า ทั้งหมดเตรียมการก่อเหตุในกิจกรรม Bike for Dad และเชื่อมโยงว่าเป็นขบวนการเดียวกับ “ขอนแก่นโมเดล” จนสื่อมวลชนเรียกขานกรณีดังกล่าวว่า “ขอนแก่นโมเดล 2” ทั้งนี้ ผู้ถูกจับกุมในกรณีดังกล่าว รวม 6 คน ถูกขังอยู่ที่เรือนจำกลาง และเรือนจำพิเศษจังหวัดขอนแก่น โดยไม่ได้รับการประกันตัว

อย่างไรก็ตาม จำเลยคดีขอนแก่นโมเดลบางคนให้ข้อมูลกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า ในวันเกิดเหตุ พวกเขาตั้งใจมาประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลเรื่องการปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ คือ ดาวอินคา แต่กลับถูกบุกเข้าจับกุม โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่สอบปากคำ โดยกล่าวถึง “ขอนแก่นโมเดล” นั้น พวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน และการถูกควบคุมในค่ายทหาร 7 วัน แม้ไม่ถูกทำร้ายร่างกาย แต่ได้รับการปฏิบัติที่กดดันต่อสภาพร่างกายและจิตใจอย่างมาก หลังได้รับการประกันตัว จำเลยบางคนและครอบครัวยังถูกทหารติดตามพฤติกรรมอยู่โดยตลอด โดยเข้าไปพบที่บ้านหรือที่อื่นประมาณอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1-7 มี.ค. 2563

$
0
0

โรงแรมวินด์เซอร์กรุงเทพ แจ้งเรื่องเลิกจ้างพนักงานและปิดกิจการชั่วคราว จากผลกระทบของปัญหาไวรัสโควิด-19

เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2563 โรงแรม วินด์เซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ (Windsor Suites Bangkok) ได้ส่งเอกสารถึงพนักงาน เพื่อแจ้งเรื่องเลิกจ้างพนักงานและปิดกิจการชั่วคราว จากผลกระทบของปัญหาไวรัสโควิด-19 โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า

เรียน พนักงานทุกท่าน

ทางโรงแรมมีความเสียใจอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งให้พนักงานทุกท่านทราบว่า เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ วิกฤตโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจและธุรกิจในปัจจุบัน ถดถอย และมีผลกระทบอย่างมากในหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ทางโรงแรมประสบปัญหาอย่างหนักและต้องปิดชั่วคราว

วันทำการสุดท้ายของโรงแรม คือวันที่ 30 เม.ย. 2563 และเป็นวันทำงานวันสุดท้ายของพนักงานทุกท่าน

ในนามตัวแทนของครอบครัว โบว์เสรีวงศ์ ขอขอบคุณพนักงานทุกท่าน ด้วยความจริงใจ ที่ได้ทำงานร่วมกันมาอย่างดี และขอให้พนักงานทุกทนทำงานร่วมกัน และฝ่าฟันอุปสรรคในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 6/3/2563 

พบแรงงานไทยผิดกฎหมายติดเชื้อโควิด-19 ที่เกาหลีใต้เป็นรายแรก

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2563 มีการรายงานผ่านสื่อของเกาหลีใต้อย่าง ‘Naver News’ เปิดเผย พบหญิงไทยอายุ 27 ปี ติดเชื้อโควิด-19 พักอาศัยที่เขตคิมชอน จังหวัดคยองซังเหนือ พื้นที่ติดเมืองแทกู ในประเทศเกาหลีใต้

โดย พินยุดา แจ่มจันทร์ศรี อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ประจำกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระบุว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หญิงไทยรายดังกล่าวไม่มีวีซ่าทำงาน ปัจจุบันทำงานที่โรงซักผ้าในเขตคิมชอน จังหวัดคยองซังเหนือ มีอาการตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 และเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ก่อนได้รับแจ้งผลตรวจว่าติดเชื้อโควิด-19 ในเวลาต่อมา

ทางด้าน เธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ได้รับรายงานแล้วว่ามีแรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ ‘ผีน้อย’ ติดเชื้อโควิด-19 คนแรกที่เกาหลีใต้ เป็นเพศหญิง อายุ 27 ปี ซึ่งกระทรวงแรงงานได้เข้าไปดูแล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานว่าอาการไม่รุนแรง ซึ่งหลังจากได้รับการติดเชื้อ ทางเกาหลีใต้ได้นำรถมารับเข้าไปดูแลที่โรงพยาบาลทันที และตอนนี้กำลังดูอาการสามีของแรงงานคนนี้เพิ่มเติมด้วย เนื่องจากจัดอยู่ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อ

ที่มา: THE STANDARD, 5/3/2563

AOT ยกระดับมาตรการคุมไวรัส 6 สนามบิน รับแรงงานไทยจากเกาหลีกลับบ้าน

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือทอท. เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทอท.ซึ่งบริหารท่าอากาศยานหลัก 6 แห่งของประเทศ ได้เพิ่มมาตรการตรวจคัดกรองผู้โดยสารระหว่างประเทศขาเข้าให้เข้มงวดมากขึ้นตามาข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ได้เพิ่มมาตรการคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศทุกเที่ยวบินอย่างเข้มงวด โดยติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายด้วยระบบอินฟราเรด (Thermoscan) จำนวน 2 จุด ณ บริเวณแนวทางเดินด้านทิศเหนือ ใกล้กับอาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 2 (Pier 2) และบริเวณแนวทางเดินด้านทิศใต้ ใกล้กับอาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 3 (Pier 3)

อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ อาคาร 1 ในส่วนของท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย (ทชร.) ได้จัดหลุมจอดเฉพาะสำหรับเที่ยวบินที่มาจากต่างประเทศทุกเที่ยวบิน พร้อมติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกนตรวจวัดอุณหภูมิผู้โดยสาร โดยที่ ทหญ.ได้ติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกนบริเวณพื้นที่หน้าด่านควบคุมโรค ห้องโถงผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ และ ทชร.ติดตั้งบริเวณหน้าพิธีการตรวจคนเข้าเมือง ห้องโถงผู้โดยสารขาเข้า

ขณะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) นอกจากได้เพิ่มมาตรการตรวจคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าอย่างเข้มงวดแล้ว ยังได้เพิ่มมาตรการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังผู้โดยสารขาออกที่จะเดินทางออกจากประเทศไทย เพื่อให้ผู้โดยสารมั่นใจว่าผู้ที่ร่วมเดินทางทุกคนได้ถูกตรวจคัดกรองสุขภาพมาแล้วระดับหนึ่ง

โดยที่ ทสภ.มีการติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่จากกรมควบคุมโรค และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการร่วมประจำจุดคัดกรอง 4 จุด ได้แก่ (1) จุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ โซน 3 (2) จุดตรวจหนังสือเดินทางขาออกโซน 3 ช่องทาง Fast track (หลังเคาน์เตอร์ตรวจบัตรโดยสาร Row T) (3) จุดตรวจหนังสือเดินทางขาออกโซน 2 ช่องทาง Fast track (หลังเคาน์เตอร์ตรวจบัตรโดยสาร Row W) และ (4) จุดตรวจหนังสือเดินทางขาออกโซน 1 (หลังเคาน์เตอร์ตรวจบัตรโดยสาร Row A)

ส่วนที่ ทภก.ติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกน ณ บริเวณหน้าจุดตรวจลงตราหนังสือเดินทางผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ชั้น 3 อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และจัดเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากและทางหู บริเวณหน้าจุดตรวจค้นผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ ชั้น 2 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และที่ ทชม.ติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกน ณ บริเวณด้านหลังจุดตรวจค้นผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ

สำหรับกรณีของแรงงานชาวไทยในสาธารณรัฐเกาหลีที่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย นั้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการเกี่ยวกับมาตรการเร่งด่วนสำหรับการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคมได้มีขั้นตอนการเตรียมการรองรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐเกาหลี โดย ทอท.จะปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดกรองผู้โดยสารเช่นเดียวกับกรณีเที่ยวบินที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง คือ มีการจัดให้ผู้โดยสารขาเข้าผ่านการคัดกรองจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ณ ด่านควบคุมโรคในบริเวณจุดตัดอาคารเทียบเครื่องบิน D และบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง

นอกจากนี้เพื่อเป็นการคัดกรองอย่างเข้มข้น จะมีการคัดกรองอุณหภูมิเพิ่มเติมให้กับผู้โดยสารบริเวณหน้า Gate หากพบผู้เข้าข่ายต้องสงสัยติดโรคจะดำเนินการตามกระบวนการของกรมควบคุมโรค และในส่วนของผู้ที่ไม่เข้าข่ายจะดำเนินการตามกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองต่อไป โดยกรมการขนส่งทางบก และบริษัท ขนส่ง จำกัด จะจัดรถส่งผู้โดยสารไปยัง local quarantine และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชนจะเป็นผู้ที่จะคอยติดตามให้อยู่ภายในที่พัก 14 วัน

นอกจากการตรวจคัดกรองผู้โดยสารแล้ว ท่าอากาศยานของ ทอท.ทั้ง 6 แห่งยังได้เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดอุปกรณ์และพื้นที่ที่ผู้โดยสารสัมผัสแบบ Deep Clean อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 ตามมาตรฐานจากการศึกษาของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาทำความสะอาด อาทิ รถเข็นกระเป๋า ห้องน้ำ ราวจับ ราวบันได จุดกรอกเอกสาร ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ขาเข้า บริเวณเคาน์เตอร์เช็คอิน เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ บริเวณเครื่องออกบัตร Taxi Kiosk รวมถึงได้ติดตั้งจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสำหรับฆ่าเชื้อโรคแก่ผู้โดยสารตามจุดต่าง ๆ

ตลอดจนได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการรถเช่า รถลีมูซีน รถแท็กซี่ ให้หมั่นทำความสะอาดภายในห้องโดยสาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้มาใช้บริการ และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส นอกจากนี้ ที่ ทชม.ได้ออกมาตรการคัดกรอง เฝ้าระวังและติดตามค้นหากลุ่มเสี่ยงในกลุ่มพนักงานลูกจ้าง และพนักงานบริษัทจัดจ้างภายนอก ทุกคน และทุกวัน เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการระบาดเป็นระยะที่ 3 หรือ super spreader แก่คนหมู่มากในจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

นายนิตินัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกท่าอากาศยานของ ทอท.ยังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOC) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในท่าอากาศยาน เช่น ตม. ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ศุลกากร ตามสั่งการกระทรวงคมนาคม โดยจะมีการประชุมร่วมกันทุกวัน เพื่อประสานงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และใช้ประโยชน์จากระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger Processing System : APPS)

ทอท.และ ตม.ได้ติดตั้งและใช้งานมาตั้งแต่ปี 2558 มาช่วยในการคัดกรองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากระบบ APPS จะมีการส่งรายชื่อผู้โดยสารพร้อมข้อมูลการเดินทางระหว่างประเทศทั้งขาเข้า ขาออก และผู้โดยสารเปลี่ยนผ่านลำ (Transit / Transfer) มายังระบบฐานข้อมูลของ ตม. จึงขอให้ประชาชนมั่นใจว่าทุกหน่วยงานได้ดำเนินการอย่างเข้มงวดครบถ้วน และเต็มความสามารถตามขั้นตอนและมาตรฐาน เพื่อร่วมกันป้องกันมิให้ประเทศไทยเข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม

ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสต์, 6/3/2563 

ก.แรงงาน ร่อนเอกสารไขข้อข้องใจเงินช่วยเหลือแรงงานไทยในเกาหลีใต้ หลังโรคโควิด-19 ระบาด

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ "ผีน้อย"ระบุคนที่ไปทำงานที่เกาหลีใต้มี 2 ประเภท คือ

1. คนงานที่ทางกระทรวงแรงงานส่งไปมีประมาณ 20,000-30,000 คน ซึ่งเป็นแรงงานที่ถูกต้องจะได้สวัสดิการคุ้มครองทั้งจากเกาหลี และไทย (คนงานกลุ่มนี้ยังต้องเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยอัตโนมัติ)

2. คนงานที่ใช้วีซ่านักท่องเที่ยวแอบไปทำงานโดยไม่ผ่านกระทรวงแรงงาน พวกนี้เรียกกันทั่วไปว่า “พวกผีน้อย” จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากทั้งทางการเกาหลี และประเทศไทย (มีประมาณ 150,000 คน)

กลุ่มคนงานผีน้อยเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีได้เปิดโอกาสนิรโทษกรรมให้เข้ามารายงานตัวกลับประเทศไทย โดยกำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ 30 มิ.ย. 63 ซึ่งถ้ามอบตัวตอนนี้ก็ยังสามารถเดินทางกลับมาทำงานที่เกาหลีใต้ได้อีก แต่ถ้าไม่มอบตัวหลัง 30 มิ.ย. 63 รัฐบาลเกาหลีใต้จะกวาดล้าง มีโทษทั้งปรับและจำ และห้ามเข้าเกาหลีใต้อีกต่อไป

ดังนั้น พวกผีน้อยจึงทยอยมาติดต่อขอกลับไทยต่อทางการเกาหลีใต้ไว้ทั้งหมดประมาณ 5,000 คน ซึ่งทางเกาหลีใต้จะทยอยส่งกลับมาทุกๆ 7 วัน ประมาณ 100-200 คน แต่ใน 2 สัปดาห์สุดท้ายที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ยอดเดินทางกลับมีสูงขึ้นประมาณ 2,000 คน

อย่างไรก็ตาม คนงานทั้ง 2 พวกนี้เมื่อเดินทางกลับไทยจะถูกทางการเกาหลีกักตัวไว้ก่อน 14 วัน เมื่อมาถึงไทยจะถูกกักตัวไว้อีก 14 วัน หลังจากนั้นทางกระทรวงแรงงานเตรียมตำแหน่งงานว่างไว้ให้ถ้าต้องการทำงาน มากกว่า 80,000 ตำแหน่ง

ข้อแตกต่างคือ พวกผีน้อยจะไม่ได้เงินช่วยเหลือใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนคนงานที่ไปทำงานผ่านกระทรวงแรงงานที่เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางาน เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ถ้าทางประเทศเกาหลีใต้ประกาศว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดแล้ว จะได้รับเงิน 15,000 บาทต่อคน จากกองทุนฯ ส่วนพวกผีน้อย จะไม่ได้อะไรเลย

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 6/3/2563 

'มท.-สธ.'ขันน็อตผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ เฝ้าระวัง COVID-19 รับมือคลื่นแรงงานไทยกลับจากเกาหลีใต้

5 มี.ค.2563 ที่ห้องราชสีห์ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เป็นประธานร่วมการประชุมหารือข้อราชการสำคัญของรัฐบาล โดยมีนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม โดยเป็นการประชุมผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยประจำจังหวัด รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ฝ่ายทหาร) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และนายอำเภอทั่วประเทศ

นายอนุทิน กล่าวในที่ประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการเฝ้าระวังและควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการควบคุมดูแลผู้ที่กำลังเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งเดินทางมาจากประเทศที่มีการประกาศความเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง 4 ประเทศ ได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลี อิตาลี และอิหร่าน ในขณะนี้มีแรงงานชาวไทยที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย ประมาณ 120,000 คน ซึ่งรัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนจึงขอให้ผู้เดินทางมาจากเกาหลีใต้ทุกคนที่มาจากกักตัว 14 วัน ซึ่งเป็นแบบกักตัวโดยรัฐ

"สำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางมาจาก 2 เมืองกลุ่มเสี่ยง ให้กักตัวที่ภูมิลำเนา จึงขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลในเรื่องดังกล่าว โดยกระทรวงสาธารณสุขจะให้ความร่วมมือทางการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างเต็มที่กับกระทรวงมหาดไทย"นายอนุทิน ระบุ

จากนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่าในวันนี้เป็นการซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด เกี่ยวกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อไปดำเนินการป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ในพื้นที่ ส่วนมาตรการป้องกันไวรัสโควิค 19 บุคคลที่เดินทางเข้าในไทย กระทรวงสาธารณสุข จะตรวจคัดกรองทุกราย และผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังจะแยกออกไป ทำเหมือนกันทุกประเทศ และสำหรับผู้เดินทางกลับจากสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อสูงสุด จะมีมาตรการพิเศษคัดกรองคนไทยที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าว โดยมีมาตรการพิเศษ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวต่อว่า 1.ผู้ที่มาจากเมืองแทกู และคยองซัง จะอยู่ในการดูแลของภาครัฐ และ 2.ถ้าเป็นผู้ที่เดินทางมาจากเมืองอื่นๆ จะไปดูแลในระดับพื้นที่ตามภูมิลำเนา โดยใช้กลไกในพื้นที่ดูแลเป็นเวลา 14 วัน ถ้าไม่มีอาการอะไรจะสามารถกลับบ้านได้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะเข้ามาดูแลระดับพื้นที่ตามภูมิลำเนา ร่วมกับหน่วยงานอื่น ประกอบด้วย หน่วยงานสาธารณสุข และฝ่ายทหาร ในการจัดหาสถานที่ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นจะเป็นผู้คัดกรอง และกระทรวงคมนาคมจะส่งตัวกลับไปยังภูมิลำเนา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามอำเภอ จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาตามความเหมาะสมในการหาสถานที่กักตัว โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการเชิงป้องกันในพื้นที่ ในเรื่องการจำหน่ายหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนทั่วไป โดยกำลงการผลิตของประเทศอยู่ที่ 30 ล้านชิ้นต่อเดือน แบ่งไปถึงบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 10 ล้านชิ้น คงเหลือ 20 ล้านชิ้นที่จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ความต้องการในการใช้หน้ากากอนามัยสูงเกินกว่ากำลังการผลิต จึงได้แนะให้ประชาชนเลือกให้หน้ากากอนามัยทางเลือกให้ประชาชนเข้าถึงหน้ากาก ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขว่า สามารถใช้ป้องกันโรคได้เช่นกัน และเป็นการลดปริมาณขยะอีกด้วย จึงได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฝึกอบรมการจัดทำหน้ากากอนามัย ให้กับ อสม. อาสาสมัคร และจิตอาสาในแต่ละพื้นที่

"สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ต้องผ่านไปได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือของทุกคนทุกฝ่าย และขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้รับรู้และเข้าใจถึงการดำเนินงานของภาครัฐ และเชิญชวนประชาชนได้ร่วมกันจัดทำหน้ากากอนามัยทางเลือก หรือ หน้ากากผ้า ไว้ใช้เอง ซึ่งเป็นการช่วยลดโอกาสในการติดเชื้ออีกด้วย"พล.อ.อนุพงษ์ ระบุ

ด้านนายนิพนธ์ กล่าวว่าการจำหน่ายหน้ากากอนามัยในขณะนี้ ภายหลังหน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุม ทั้งการส่งออก และเพื่อเป็นการป้องกันการกักตุน จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งการให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และพาณิชย์จังหวัด ตรวจสอบร้านค้า และควบคุมการจำหน่ายราคาไม่เกินแผ่นละ 2.5 บาท นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์จะได้จัดรถโมบาย จำหน่ายหน้ากากอนามัยยังจังหวัดต่างๆ ให้ประชาชนเข้าถึงอย่างทั่วถึง

ขณะที่นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเสริมการรณรงค์เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประชาสัมพันธ์ ด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และรักษาสุขภาพให้แข็ง รวมทั้งให้คนในชุมชนช่วยกันดูแลกันหากพบผู้ป่วยให้พาผู้ป่วยไปรับการเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลในพื้นที่

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 5/3/2563 

เผย 5 ปี อุตสาหกรรมสำคัญใน EEC ต้องการแรงงานกว่า 4.7 แสนคน

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้เปิดเผยภาพรวมความต้องการแรงงาน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ในปี 5 (2562-2566) แบ่งออกเป็น 7 อุตสาหกรรมเป้าหมาย + 3 โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีจำนวนทั้งสิ้น 475,667 คน

โดยเป็นระดับอาชีวศึกษา 253,115 คน ปริญญาตรี 213,942 คน และปริญญาโท - เอก 8,610 คน แบ่งเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,739 คน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 คน ท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้ดี 16,920 คน หุ่นยนต์ 37,526 คน การบิน 32,837 คน ดิจิทัล 116,222 คน การแพทย์ครบวงจร 11,410 คน ระบบราง (รถไฟความเร็วสูง)24,246 คน พาณิชย์นาวี 14,630 คน และโลจิสติกส์ 109,910 คน

อย่างไรก็ตาม ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีแนวทางพัฒนาบุคลากรและการศึกษายุคใหม่ ตามหลัก Demand Driven โดยเสนอปรับโครงสร้างการจัดการการศึกษา การเรียนรู้จากด้าน “อุปทาน” สู่ “อุปสงค์” ตอบโจทย์การมีงานทำ มีรายได้ดี

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 5/3/2563 

รองประธาน คสรท. แนะผีน้อยแยกประเด็นสิทธิคนไทย ค้านขอรัฐช่วยเหลืองาน รายได้ เหตุประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์โดยตรง

นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท. เปิดเผยกับสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นว่าประเด็นการเดินทางกลับของแรงงานไทยที่ลักลอบเข้าไปทำงานแบบผิดกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้ หรือ ผีน้อย เนื่องจากมีความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และคนในประเทศไทยเองก็กังวลว่าอาจเพิ่มการติดเชื้อ จนเป็นที่ถกเถียงในวงกว้างนั้น รัฐบาลคงไม่สามารถห้ามบุคคลเหล่านี้ไม่ให้เดินทางกลับได้ แต่ภาครัฐสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ เช่น การกำหนดพื้นที่กักตัวอย่างน้อย 14 วัน ก่อนที่จะให้กลับไปหาครอบครัวได้

โดยสถานที่ที่เหมาะสม ควรเป็นค่ายทหาร แต่อาจจะกระจายไปตามภูมิลำเนาของแรงงาน ไม่จำเป็นต้องนำมารวมกันในพื้นที่เดียวกัน

นอกจากนี้การเดินทางกลับมาในประเทศไทยของผีน้อย ส่วนตัวมองว่าควรแยกประเด็น ทั้งความเป็นคนไทยที่มีสิทธิกลับประเทศบ้านเกิด และการเดินทางไปทำงานต่างประเทศแบบผิดกฎหมาย ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ ทำคนส่วนใหญ่เดือดร้อน แล้ววันนี้มาขอให้รัฐช่วยดูแลการเดินทางหาอาชีพ ช่วยดูแลรายได้ที่ขาดหายไป ส่วนตัวมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะรายได้ที่หามาก่อนหน้านี้ประเทศชาติไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง

พร้อมฝากถึงผีน้อยทุกท่าน ว่าก่อนหน้านี้เคยเดินทางไปทำงานแบบผิดกฎหมาย แล้วตอนนี้ได้รับสิทธิกลับประเทศแบบไม่ต้องถูกลงโทษดังนั้น ในอนาคตเมื่อทุกอย่างเข้าสู่สถานการณ์ปกติ หากต้องการกลับไปทำงานที่เกาหลีใต้ ควรทำให้ถูกตามขั้นตอนตามกฎหมาย

ที่มา: สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 5/3/2563 

เปิดขั้นตอนนำ 'แรงงานไทยในเกาหลีใต้'กลับบ้าน

4 มี.ค. 2563 เว็บไซต์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล รายงานว่านายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมประชุมหารือมาตรการเร่งด่วนรองรับแรงงานเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้บริหารจากกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ คมนาคม แรงงาน กลาโหม มหาดไทย สาธารณสุข ผู้ว่าราชการกทม. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า หากแรงงานไทยมีความประสงค์จะเดินทางกลับไทย รัฐบาลยินดีรับกลับ แต่ต้องทำให้ประเทศเราปลอดภัยที่สุด ต้องมีการควบคุมเฝ้าระวังโรค 14 วัน เบื้องต้นจะตรวจร่างกายที่ต้นทางประเทศเกาหลีใต้ก่อนจะขึ้นเครื่องมาประเทศไทย หากพบมีไข้จะกักตัวที่ประเทศเกาหลีใต้ก่อน แต่ถ้าหากพบการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะทำการรักษาที่ประเทศเกาหลีใต้จนหาย รัฐบาลจะหาวิธีการดีที่สุด โดยจะปรับแผน เฝ้าระวัง คัดกรองโรคตามสถานการณ์ รวมถึงการจัดเตรียมเวชภัณฑ์ในการรักษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เน้นย้ำว่าต้องการช่วยเหลือคนไทยก่อน และย้ำว่าไม่มีการลอยแพแน่นอน ที่สำคัญเมื่อแรงงานไทยกลับเข้าประเทศต้องสร้างความมั่นใจให้กับคนในประเทศด้วยว่า คนเหล่านี้จะไม่แพร่เชื้อในวงกว้าง ส่วนเรื่องสถานที่ในการกักตัวต้องมีการประชุมหารืออีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ แรงงานไทยที่ผิดกฎหมายในเกาหลีใต้มีความประสงค์กลับประเทศต้องไปรายงานตัวที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-15 วัน โดยในช่วงรายงานตัวมีการประสานทางการเกาหลีใต้และสถานทูตไทย เพื่อให้ทางการสามารถตรวจสอบยอดแรงงานไทยที่แน่นอนว่าจะกลับประเทศไทย

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าในการดำเนินการตามมาตรการรองรับแรงงานไทยที่ทยอยเดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานผิดกฎหมาย ให้มีการคัดกรองทุกคนตั้งแต่ก่อนขึ้นเครื่อง เมื่อมาถึงประเทศไทยจะคัดกรอง และแยกกลุ่มการจัดการเป็น 3 กลุ่ม กรณีที่พบว่าป่วยหรือสงสัยว่าป่วย จะส่งตัวเข้าระบบการตรวจวินิจฉัย รับไว้รักษาที่โรงพยาบาลที่กำหนดไว้ สำหรับกลุ่มที่ไม่มีอาการป่วยแต่เดินทางมาจากพื้นที่ที่พบความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คือเมืองแทกูและคย็องซังเหนือ จะถูกนำมากักตัวควบคุมโรคไว้ในสถานที่ที่รัฐบาลกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ซึ่งจะเน้นให้อยู่พื้นที่ภูมิลำเนาหรือใกล้เคียง ส่วนกลุ่มแรงงานที่เดินทางมาจากเมืองอื่น จะต้องกักกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยอยู่ในกำกับของผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขจะหารือกันเพื่อหาสถานที่เหมาะสมต่อไป

ที่มา: เว็บไซต์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล, 4/3/2563

สภานายจ้างเตือนโควิดกระทบว่างงานเพียบ

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมการจ้างงานของไทยในปี 2563 ให้ชะลอตัวลงไปกว่าเดิม โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่จะทะยอยเข้ามาในระบบแรงงานเพิ่มเติมช่วงพ.ค.นี้ประมาณ 500,000 คนจะมีโอกาสได้งานทำค่อนข้างต่ำดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการหรือแผนรองรับไว้ เช่น การทำโครงการต่าง ๆ โดยใช้งบประมาณจ้างเด็กจบใหม่เช่นอดีตที่เคยดำเนินการไว้เป็นต้น

"รัฐคงต้องหาวิธีไม่ให้เด็กจบใหม่เกิดปัญหาว่างงานเพราะต้องเข้าใจว่าที่ผ่านมานั้นคนว่างงานจากธุรกิจหรือเด็กจบใหม่พอไม่มีงานทำก็ยังกลับบ้านไปทำภาคเกษตรได้บางส่วน แต่ปีนี้ภาคเกษตรของไทยก็เจอผลกระทบกับภัยแล้ง"นายธนิต กล่าว

ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการปรับตัวรองรับผลกระทบจากโควิด-19 ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยให้ถดถอยและยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อใดด้วยการรัดเข็มขัดทุกด้านทำให้ธุรกิจภาพรวมทั้งหมดมีการชะลอรับแรงงานใหม่ และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทันทีที่เป็นคลัสเตอร์ท่องเที่ยวอาทิ โรงแรม ร้านค้า สปา ร้านอาหาร ฯลฯ ที่นักท่องเที่ยวหายไปมากกว่า 60%ที่บางส่วนเริ่มปรับแผนลดคน เช่นให้สมัครใจลาออก สมัครใจหยุดงานไม่รับเงินเดือน และเลิกจ้าง ซึ่งหากยืดเยื้อสถานการณ์การเลิกจ้างก็จะมีสูงขึ้น

"แรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ในระบบ 3.2 ล้านคนนอกระบบอีก 7 ล้านคนเหล่านี้จะกระทบก่อนแต่จะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่ว่าการแพร่ระบาดชองโควิด -19 จะจบเร็วหรือช้าด้วย ท่องเที่ยวที่กระทบยังจะลามไปยังอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องเช่น การผลิตผ้าเช็ดตัว สบู่ สมุนไพร ค้าปลีก ค้าส่ง ที่นักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอย ถือเป็นเรื่องที่ต้องระวังเพราะเศรษฐกิจไทยจะเปราะบางมาก"นายธนิต กล่าว

ทั้งนี้โควิด-19ถือเป็นปัจจัยซ้ำเติมการจ้างงานให้ชะลอตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาการจ้างงานได้ชะลอตัวอยู่แล้วจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้หลายอุตสาหกรรมชะลอการรับคนเพิ่มเพื่อหันไปลงทุนด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาทดแทนแรงานคน รวมถึงผลกระทบการส่งออกที่ชะลอตัวจากภาวะสงครามทางการค้า(เทรดวอร์)

อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลกและหากยืดเยื้อจะมีผลกระทบที่รุนแรงกว่าวิกฤติปี 2540 แน่นอนเนื่องจากวิกฤติปี 2540 เศรษฐกิจโลกยังดี การส่งออก การท่องเที่ยวของไทยเติบโตปัญหาแรงงานกระจุกอยู่เพียงสถาบันการเงินและเพียงไม่ถึงปีก็ฟื้นตัวได้ แต่โควิด-19 ไม่มีปัจจัยเอื้อเพราะเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งเศรษฐกิจโลก ส่งออก ท่องเที่ยว รวมถึงภาคเกษตรที่ประสบภัยแล้งดับเกือบทั้งหมด

ที่มา: ไทยโพสต์, 4/3/2563 

โพลเผย ผีน้อยเกาหลี ไม่ขอกลับไทย ยอมเสี่ยงไวรัส ดีกว่าเห็นครอบครัวอดอยาก

จากกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ ทำให้คนไทยในเกาหลีใต้ได้โพสต์ภาพที่เมืองแทกู ซึ่งเป็นต้นตอของการระบาดในเกาหลีใต้ครั้งนี้จนลามไปทั่วเกาหลี ซึ่งพบว่าในเมืองนี้มีคนไทยจำนวนมากอาศัยอยู่ และเป็นแรงงานที่ลักลอบเข้าประเทศ หรือ ผีน้อย และได้ออกมารายงานตัวเพื่อกลับประเทศ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

ล่าสุดวันที่ 4 มี.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แฟนเพจเฟซบุ๊ก ชุมชนคนไทยในเกาหลีใต้ Thaikuk KR ซึ่งเป็นแฟนเพจที่มีผู้ติดตามกว่าแสนคน ได้มีการจัดทำโพลเพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนไทยในเกาหลีใต้ว่าต้องการเดินทางกลับประเทศไทยหรือไม่

โดยโพสต์ข้อความว่า "สืบเนื่องมาจากไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดในเกาหลีใต้ แอดมินอยากจะรบกวนคนไทยในเกาหลีใต้ทุกท่านช่วยลงความเห็นให้ทราบถึงความคิดของทุกท่านในสถานการณ์เช่นนี้ว่าทุกท่านต้องการกลับไทยหรือไม่หากรัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือ? งดออกความคิดเห็นที่มีความรุนแรงและหยาบคายใต้โพลนี้ หากพบจะทำการลบความคิดเห็นทันที ขอบพระคุณที่กรุณาให้ข้อมูลมา ณ ที่นี้"

ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดพบว่า ร้อยละ 77 ไม่กลับ และร้อยละ 23 กลับ พร้อมทั้งมีการแสดงความคิดเห็นให้เหตุผลที่ไม่ขอเดินทางกลับไทยมากมาย เช่น "ความเสี่ยงระหว่างไวรัสกับการดำรงชีพในยุคของรัฐบาลคนดีของลุง ผมขออยู่เสี่ยงกับไวรัสดีกว่า ดีกว่าที่จะเห็นครอบครัวอด ๆ อยาก ๆ, ตอนนี้ยังไม่กลับค่ะ กลัวชาวบ้านกังวล จะกลับก็ต่อเมื่อไวรัสนี้หายไปค่ะหรือมียารักษา ไม่เรียกร้องให้ใครมารับฟรีๆด้วย เป็นหนี้มาเอง ก็จะหาเงินกลับเองค่ะ"

ที่มา: ข่าวสด, 4/3/2563 

สมาคมอุรเวชช์ฯ ชี้รัฐต้องจัดหาหน้ากากอนามัย ให้ จนท.การแพทย์ก่อนแจก ปชช.เพื่อหวังผลการเมือง

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกคำแนะนำเรื่องการใช้หน้ากากเพื่อป้องกันการติดต่อโควิด-19 ระบุรัฐต้องจัดหาหน้ากากให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้อย่างเพียงพอก่อน แล้วจึงไปทำการแจกหน้ากากอนามัยให้ประชาชนแบบหวังผลทางการเมือง

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกคำแนะนำเรื่อง "การใช้หน้ากากเพื่อป้องกันการติดต่อโควิด-19"วันที่ 3 มี.ค. 2563 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

1.ผู้ที่มีอาการไข้หวัดทุกคน ใส่หน้ากากอนามัยให้ติดเป็นนิสัย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แม้ปัญหาเรื่องโควิด-19 จะหมดไปแล้ว

2.ผู้ที่มีประวัติเดินทางไปสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยง ใส่หน้ากากอนามัยแม้จะไม่มีอาการ

3.ผู้ที่ต้องช่วยดูแลบุคคลในข้อ 2. ใส่หน้ากากอนามัย

4.ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ปิดที่มีคนอยู่แออัด ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เช่น รถสาธารณะ ร้านอาหาร โรงมหรสพ ใส่หน้ากากอนามัย

5.ผู้ที่จะไปติดต่อโรงพยาบาลด้วยเหตุใด ๆ (ช่วงนี้ให้เลี่ยงไปโรงพยาบาลถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ) ใส่หน้ากากอนามัย

6.พนักงานขับรถสาธารณะหรือให้บริการสาธารณะอื่นที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก ใส่หน้ากากอนามัย

7.บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั่วไป ใส่หน้ากากอนามัย และถ้าเป็นผู้ป่วยมีอาการไข้หวัดหรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ใส่หน้ากากอย่างน้อยเทียบเท่า N95 เพราะถ้าได้รับเชื้อแล้วจะไปแพร่ให้ผู้ป่วยอื่นได้ง่าย

ส่วนในกรณีอื่น ๆ ถ้าจัดหาหน้ากากอนามัยได้ง่าย เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะใส่เมื่อออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันตนเองหรือป้องกันผู้อื่น ยังไม่มีหลักฐานรองรับทั้งด้านคัดค้านและด้านสนับสนุนในเรื่องของประโยชน์ที่ได้กับผลที่เสีย เว้นแต่จะทำให้หน้ากากมีใช้ไม่เพียงพอ

ทั้งนี้หน่วยงานรัฐต้องจัดหาหน้ากากทุกประเภทให้บุคลากรทางการแพทย์มีใช้อย่างเพียงพอตามสมควรก่อน แล้วจัดหาหน้ากากอนามัยให้เพียงพอสำหรับประชาชนทั่วไปใช้งานเท่าที่จำเป็น แล้วจึงไปทำการแจกหน้ากากอนามัยให้ประชาชนแบบหวังผลทางการเมือง และต้องให้ความรู้กับประชาชนว่าการใส่หน้ากากอนามัยเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อ ต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพทั่วไป การให้ข้อมูลการเจ็บป่วยอย่างเปิดเผย การหลีกเลี่ยงไปที่ชุมนุมชน การะมัดระวังไม่สัมผัสวัตถุและวัสดุและส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้อื่นในที่สาธารณะและหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล

ทั้งนี้ การใส่ การถอด และการทิ้ง หน้ากากทุกประเภท ต้องทำให้ถูกวิธีเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

ที่มา: Hfocus, 3/3/2563 

สหยูเนี่ยนบางปูเผย 'ยังไม่ปิดกิจการ'เพียงปรับลดพนักงาน-ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่

จากกรณีเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2563 เพจ “มนุษย์โรงงาน” โพสต์ภาพขณะที่พนักงานในโรงงานของบริษัท ยูเนี่ยน การ์เม้นท์ บางปู จังหวัดสมุทรปราการ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ารายใหญ่ในเครือสหยูเนี่ยน กำลังทำงานและเตรียมเก็บข้าวเก็บของออกไปเนื่องจากทางโรงงานได้ประกาศปิดตัวลง ทางเพจระบุข้อความว่า “ทำงานวันสุดท้ายเก็บสัมภาระกลับบ้าน #ปิดกิจการ สหยูเนี่ยนตำหรุ” รายงานข่าวเพิ่มเติม ทราบว่าโรงงานยังเปิดทำงานปกติ ส่วนเรื่องโพสต์ดังกล่าวนั้น เนื่องจากทางบริษัทได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ จึงต้องลดค่าใช้จ่ายโดยการยุบแผนกตัดเย็บเสื้อผ้าภายในโรงงานบางส่วน และย้ายคนงานที่ประสงค์จะทำงานต่อให้ไปทำงานที่แผนกตัดเย็บอีกที่หนึ่งแทน

อย่างไรก็ตาม ด้าน นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่า ยังไม่ได้มีการเลิกจ้างแต่อย่างใด เพียงแต่มีแผนปรับลดพนักงาน และปรับโครงสร้างองค์กร ส่วนที่มีผู้โพสต์ลงเฟซบุ๊กนั้น อาจมีเหตุผลเนื่องจากพนักงานบางคนเกิดความไม่มั่นใจ เพราะมีกระแสข่าวการปรับลดพนักงานซึ่งยังไม่ใช่การปิดกิจการ โดยในวันที่ 2 มีนาคมจะมีการพูดคุยกับทางผู้บริหารของบริษัทยูเนี่ยน เรื่องโครงการสมัครใจลาออก ว่าจะมีการปรับลดพนักงานกี่คน จะทำในรูปแบบไหน อย่างไร

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 3/3/2563 

สหภาพแรงงานจีเอ็ม ร้องบริษัทฯ จ่ายค่าเสียหายเพิ่ม 1.5 เดือน/ปี หลังขายกิจการเพราะไม่ได้ขาดทุน จี้รัฐจ่ายแทนหากบริษัทปฏิเสธจ่าย

นายนฤพนธ์ มีเหมือน ประธานสหภาพแรงงาน บริษัท เจเนอรัลมอเตอร์ (จีเอ็ม) ประเทศไทย เปิดเผยว่า การประกาศหยุดการผลิตและการขายกิจการในประเทศไทย เป็นการขายที่บริษัทไม่ได้ขาดทุน ดังนั้นบริษัทจะต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้กับพนักงานทั้งหมดกว่า 1,500 คน แม้บริษัทได้แจ้งว่าจะจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย และเพิ่มเงินพิเศษอีก 3 เดือน แต่ไม่ได้มีการจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

ดังนั้น ทางสหภาพฯจึงขอเรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงินค่าเสียหายในการเลิกจ้างในอัตรา 1.5 เดือนต่อปี เช่น อายุงาน 10 ปี ต้องจ่ายค่าเสียหาย 15 เดือน ตามคำสั่งศาลปกครองที่เคยมีการพิจารณาคดีความเกี่ยวกับการเลิกจ้างมาก่อนหน้านี้

ส่วนโครงการซื้อรถในนามพนักงานที่บริษัทจัดขึ้นและยังผ่อนไม่หมด บริษัทจะต้องออกมารับผิดชอบด้วยการจ่ายค่าส่วนต่างที่ค้างอยู่ทั้งหมด พร้อมให้บริษัทเปิดเผยสัญญาการซื้อขายกิจการของบริษัทด้วยเพื่อให้พนักงานได้รับทราบ

ส่วนกรณีนายจ้างใหม่ไม่รับมรดกความ ขอให้บริษัทต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายให้พนักงานที่ถูกปิดงาน กลุ่มกรรมการลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และพนักงานที่อยู่ในคดีความ โดยจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน บวกเงินพิเศษ 3 เดือน และค่าเสียหายในอัตรา 1.5 เดือนต่อปี และให้บริษัทจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของบริษัทให้กับพนักงานที่ยังไม่ได้รับ

ขณะเดียวกัน ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย โดยให้เข้าไปควบคุมการซื้อขายกิจการให้รับพนักงานทุกคนเข้าทำงานสถานประกอบการใหม่ ได้รับสิทธิค่าจ้าง และอายุงานตามเดิม และให้ภาครัฐดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือพนักงานก่อนเกษียณอายุ 50-55 ปี ที่ไม่สามารถหางานทำได้ และให้ภาครัฐจ่ายเงินช่วยเหลือพนักงานที่ถูกปิดงานตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2558

อย่างไรก็ตาม หากบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม รัฐจะต้องเข้ามารับผิดชอบค่าเสียหายตามอายุงาน โดยรัฐต้องมีมาตรการควบคุมการขายกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายและไม่ละเมิดสิทธิแรงงาน

ที่มา: สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 3/3/2563         

ก.แรงงาน ประกาศมาตรการรับมือแรงงานไทยที่ร้องขอกลับประเทศ จากโรคโควิด-19 จำนวนมาก ย้ำใช้มาตรการเดียวกับ สธ.

ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ห่วงแรงงานไทย เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19) ประกาศมาตรการรับมือแรงงานไทยที่ร้องขอกลับประเทศ มอบกรมการจัดหางานตรวจสอบสิทธิประโยชน์ของแรงงานทุกคน หากไปอย่างถูกต้องและเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ได้รับเงินค่าช่วยเหลือเยียวยาคนละจำนวน 15,000 บาท และส่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ของ สนร.เกาหลี ประสานนายจ้าง ตรวจสอบค่าจ้างค้างจ่าย รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากประเทศต้นทาง

ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ห่วงใยแรงงานไทยจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งเป็นประเทศที่กรมการจัดหางาน ได้จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานมากที่สุด ประกอบกับจากกรณีที่แรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศเกาหลีได้มารายงานตัวที่ ตม. เกาหลีเป็นจำนวนมาก เพื่อรอเดินทางกลับประเทศไทยนั้น จึงจัดเตรียมมาตรการรองรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากเกาหลี โดยขอให้เฝ้าระวังตนเองอย่างน้อย 14 วัน หากมีอาการไข้ ไอจาม น้ำมูก เจ็บคอ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วและมอบกรมการจัดหางาน ดูแล ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ของแรงงานทุกคนว่าเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศหรือไม่ หากเป็นสมาชิกกองทุนฯ จะได้รับเงินค่าช่วยเหลือเยียวยาคนละจำนวน 15,000 บาท โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า จะต้องเป็นประเทศที่ได้ประกาศเป็นโรคระบาดแล้ว และได้ส่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ของ สนร.เกาหลี ประสานนายจ้าง เพื่อตรวจสอบค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละคนว่ามีค่าจ้างค้างจ่ายหรือไม่ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากประเทศต้นทาง เพื่อจะให้การช่วยเหลือเยียวยาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

“เมื่อแรงงานไทยเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ทุกคนจะได้รับการตรวจคัดกรองที่ด่านคัดกรอง ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ตามมาตรฐานเดียวกันของกระทรวงสาธารณสุข จากข้อมูล ณ เดือน มกราคม 2563 พบว่าปัจจุบันมีแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศเกาหลี จำนวน 22,257 คน สำหรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศเกาหลีแล้ว กรมการจัดหางานได้จัดเตรียมตำแหน่งงานว่างทั่วประเทศ จำนวน 81,562 อัตรา เพื่อให้แรงงานไทยที่มีความประสงค์จะหางานทำได้สมัครงานในตำแหน่งที่ต้องการ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพอิสระ ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จะสำรวจความต้องการและดำเนินการให้แรงงานกลับไปทำงานใหม่ตามความประสงค์อีกครั้ง ” รมว.แรงงาน กล่าว

ด้าน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ก.แรงงานและการจ้างงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับแรงงานต่างชาติที่จะเดินทางไปทำงานและชะลอการนำแรงงานไทยไปทำงานในงานอุตสาหกรรมออกไประยะหนึ่งก่อน แต่หากจะต้องเดินทางไปทำงาน ห้ามรับประทานยาลดไข้ ยาแก้หวัดหรือยาชนิดอื่นก่อนเดินทาง อย่างไรก็ดี แรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อโควิด-19 ขอให้เฝ้าระวังตนเองอย่างน้อย 14 วัน หากมีอาการไข้ ไอจาม น้ำมูก เจ็บคอ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 3/3/2563 

รองโฆษก ตร. แจง ตม.เตรียมมาตรการรับคนไทยโอเวอร์ สเตย์-แรงงานผิดกฎหมายเกาหลี กลับบ้าน หนีไวรัสโควิด-19 ระบาด

รองโฆษก ตร. แจง ตม.เตรียมรับคนไทย โอเวอร์ สเตย์ - แรงงานผิดกฎหมายเกาหลี คัดกรองคนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อเข้า รพ.บำราศนราดูร กักตัว 14 วัน หลังเกาหลีใต้มีการแพร่ระบาดโควิด-19 ผบก.ตม 2 เตรียมเรียกทีมแพทย์ กรมควบคุมโรค การท่าฯ ซักซ้อมแผนสร้างความมั่นใจ

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างหนักที่เกาหลีใต้ ส่งผลทำให้คนไทยที่เกาหลีใต้ ต้องการเดินทางกลับประเทศไทยนั้น พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษก ตร. กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า สำหรับคนไทย หรือ คนที่เป็นแรงงานผิดกฏหมายที่เกาหลีใต้ ที่ติดต่อมอบตัวกับ ตม.เกาหลีใต้ กลุ่มนี้จะกลับมาในฐานะผู้ส่งกลับ โดยการเนรเทศกลับ ซึ่งสถานะส่วนใหญ่จะเป็น Over stay มีจำนวนเท่าใดยังไม่ทราบแน่ชัด โดยสายการบินที่ส่งกลับจะรับตัวแล้วพากลับเข้ามายังท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในส่วนการตรวจคนเข้าเมืองของผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้มีการแยกโซน หลุมจอด เฉพาะอยู่แล้ว ไม่ให้มีปะปนกับผู้โดยสารอื่นๆ โดยกลุ่มที่จะถูกส่งกลับมาจากเกาหลีใต้นี้ ก็ได้มีการแยกโซนไว้เฉพาะไว้เช่นกัน ซึ่งจะมีการประสานสายการบินที่รับตัวกลับเข้ามา ให้รวมพาสปอร์ตไว้ก่อน เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย จะต้องผ่านการตรวจคัดกรอง โดยเครื่อง Thermo Scan ทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

จากนั้น จึงจัดทำประวัติโดยละเอียด โดยหากพบอาการ จะถูกส่งต่อไปยังสถาบันบำราศนราดูรทันที ถ้าหากไม่มีก็จะให้กลับไปพัก ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ พร้อมให้รายละเอียดหนังสือคู่มือ การเก็บตัวภายในที่พักอาศัย 14 วัน การเฝ้าดูอาการตัวเอง ซึ่งจะมีรายละเอียดในการสังเกตอาการตนเองและการแจ้งข้อมูลต่อแพทย์โดยตรง ตลอดจนการติดตามผลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เป็นระยะ

โดยเวลา 15.00 น. วันนี้ (2 มี.ค. 2563) พลตำรวจตรี วีรพล เจริญศิริ ผู้บังคับการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 2 ได้เรียกประชุมหัวหน้าด่านทุกด่านในสังกัดทั่วประเทศ เพื่อกำชับ ซักซ้อม ทำความเข้าใจการปฏิบัติ

รอง โฆษก ตร. กล่าวต่ออีกว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีความพร้อมในการป้องกันและหยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ขั้นตอนในการคัดกรอง คัดแยก และการตรวจคนเข้าเมือง ตลอดจนการเพิ่มความเข้มงวดในการระมัดระวังและการป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่

ไม่ว่าจะเป็นการดูแลความสะอาดพื้นที่ทำงาน การสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือยางขณะปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการคัดกรองบุคคลที่เข้ามาในลักษณะแบบนี้ มีการดำเนินการด้วยความเป็นมาตรฐาน ร่วมกับ ทีมแพทย์, เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, การท่าอากาศยาน AOT และหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับประชาชน

ที่มา: คมชัดลึก, 2/3/2563 

 

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ศรีสุวรรณ'สวน กมธ.ทหาร เลิกอวยนายกฯระเบียบบ้านพักทหารไม่ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ

$
0
0

7 มี.ค. 2563 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่รองประธานกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎรและคณะได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับบ้านพักราชการทหารว่า ตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการพักอาศัยในบ้านพักทหารปี 2548 ระบุว่า ผู้ที่จะอยู่ในบ้านพักได้ จะต้องเคยเป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กองทัพบกและประเทศชาติจนเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อยู่ในบ้านพักตามระเบียบข้อนี้ จึงยังคงสามารถพักอาศัยอยู่ได้นั้น

คำแถลงดังกล่าวของ กมธ.ทหารโดยอ้างระเบียบของกองทัพบกนั้น กระทำมิได้เพราะระเบียบของกองทัพบกมีศักดิ์ต่ำกว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2560 ในเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ใน ม.184(3) ประกอบ ม.186 วรรคสอง ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า สส., สว. หรือรัฐมนตรีจะรับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติไม่ได้ และรัฐมนตรีต้องไม่ใช้สถานะหรือตําแหน่งกระทําการใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมืองโดยมิชอบตามที่กําหนดในมาตรฐานทางจริยธรรมมิได้ นอกจากนั้นตาม พรป.ป.ป.ช.2561 ม.128 ประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่รัฐ 2543 ก็ห้ามรับทรัพย์สินและหรือประโยชน์อื่นใดเกินกว่า 3,000 บาทมิได้

ดังนั้น การที่บ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการทหารไปแล้ว แต่ยังคงใช้บ้านพักหรือคฤหาสน์ใหญ่โตในค่ายทหาร ย่อมถือได้ว่าได้รับผลประโยชน์อื่นใดเกินกว่า 3,000 บาทโดยชัดแจ้ง ความพยายามที่จะหาข้ออ้างมาอรรถาธิบายโดยไม่มีกฎหมายที่เหนือกว่ารัฐธรรมนูญมารองรับ เช่น เพื่อความปลอดภัยของผู้นำประเทศ หรือมีระเบียบของกองทัพบกอนุญาตให้พักได้นั้น เป็นข้ออ้างที่สามารถใช้ได้แต่ในประเทศสารขันธ์เท่านั้น นายศรีสุวรรณกล่าวในที่สุด

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เมื่อหนังโป๊แนว 'โคโรนาไวรัส'แพร่กระจายตามเว็บโป๊

$
0
0

ในขณะที่โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด 19 (Covid-19) เป็นประเด็นจริงจังที่สร้างความกังวลให้กับหลายแห่งทั่วโลก สื่อ Vice ก็นำเสนอเรื่องที่มีคนทำหนังโป๊ในแนวที่เรียกว่า 'โคโรนาไวรัส'โดยหนึ่งในผู้ที่ทำหนังโป๊แนวนี้บอกว่าเขาต้องการให้คนที่เคร่งเครียดกับเรื่องการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ได้รู้สึกผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามมีวิดีโอบางส่วนที่กลายเป็นวิธีการป้องกันตัวจากโรคแต่แฝงอยู่ในเว็บโป๊

พอพูดถึงหนังโป๊กับประเด็นโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) แล้ว อาจจะดูเหมือนเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันมาก แต่สื่อ Vice ก็นำเสนอว่ามีเว็บไซต์บางส่วนที่นำเสนอหนังโป๊แนวที่เรียกว่า "โคโรนาไวรัส"แต่กระนั้นมันก็ไม่ใช่ภาพเหมารวมตื้นๆ อย่างซอมบี้ซุ่มมีเพศสัมพันธ์กับคน แต่มีแนวที่ดูเสียดสีเกินจริงอย่างคนมีเพศสัมพันธ์กันโดยใส่ชุดป้องกันสารอันตราย (Hazmat)

ในการค้นวิดีโอตามเว็บโป๊ต่างๆ มีวิดีโอที่มีชื่อโคโรนาไวรัสอยู่ในนั้นบางส่วน เช่น วิดีโอที่ระบุว่าคนไข้มีเพศสัมพันธ์ในห้องกักตัวควบคุมโรค หรือคนที่เล่นบทเป็นพยาบาลในเรื่อง ที่น่าสนใจคือ อเล็ก ฮอว์กกินส์ โฆษกของหนึ่งในเว็บโป๊ xhamster ตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมามีคนสมัครบัญชีฟรีพรีเมียมในเว็บไซต์ของพวกเขาเพิ่มสูงมากจากพื้นที่ๆ ได้รับผลกระทบหนักมากจากโคโรนาไวรัส ในระดับที่เร็วจน xhamster คอยอนุมัติบัญชีผู้ใช้ใหม่ให้ไม่ทัน

ทั้งนี้มีนักแสดงที่นำเสนอวิดีโอในเว็บโป๊ชื่อว่าสไปซีกล่าวว่า "ฉันคิดว่าคนที่ดึงดูดให้ดูหนังโป๊ที่มีธีมเรื่องแนว COVID-19 มีความรู้สึกดึงดูดในแบบเดียวกับที่คนกลัวความมืดรู้สึกอยากดูภาพยนตร์สยองขวัญ"นอกจากนี้สไปซียังคิดว่าผู้คนอยากจะรู้สึกว่าตัวเอง "มีชีวิตชีวา"ในช่วงที่ COVID-19 กำลังทำให้คนรู้สึกกลัวและเต็มไปด้วยปริศนาความไม่รู้ต่างๆ ผู้คนจึงอยากหาอะไรที่ทำให้รู้สึกดีขึ้นจากวิกฤตโลกที่เกิดขึ้นในตอนนี้

ทั้งนี้ยังมีวิดีโอบางส่วนที่นำเสนอในทำนองที่ทำให้คนเข้าใจวิธีการป้องกันตัวไม่ให้ทำให้เกิดการแพร่เชื้อติดต่อกันต่อไปด้วย อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตจากสื่อ Vice ว่า มีวิดีโอโป๊แนวโคโรนาไวรัสจำนวนมากที่ใช้นักแสดงเป็นคนเอเชียแต่มีชื่อเรื่องและความคิดเห็นบางส่วนที่เป็นไปในทำนองเหยียดเชื้อชาติสีผิว แต่หนังโป๊ที่มีการใชีธีมเชื้อชาติสีผิวก็มักจะมีความคิดเห็นกับชื่อเรื่องทำนองนี้เป็นปัญหาอยู่แล้ว

เรียบเรียงจาก
Coronavirus Porn Is Going Viral on Pornhub, Vice, 04-03-2020

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กวีประชาไท: โธ่เอ๋ย ผีน้อย

$
0
0

 ไปเกาหลีดีไหมไปต่อสู้    เธอไปอยู่เกาหลีอาจดีกว่า

งานทายท้าค่าจ้างดีมีราคา    เขาคิดค่าแรงถัวต่อชั่วโมง

บ้านเราเขาค่าแรงกันเป็นวันละ    เพื่อนเขาไปมานะ คุยโขมง

ได้ตั้งสี่หมื่นกว่าถ้าไม่โกง    ตาลุกโพลงความโด่งดังได้ฟังความ

 

เป็นคนไทยไปอยู่เกาหลีเรียกผีน้อย    เพราะเลื่อนลอยไร้หลักคอยทักถาม

เหมือนเป็นคนชั้นสองเขามองข้าม    ลืมนึกนามมนุษย์รุดหน้าไป

เหมือนไปเป็นปรสิตแทบติดหนับ    จำนวนนับหมื่นแสนแค่นใกล้ ๆ 

ข้ามน้ำข้ามทะเลเร่ร่อนไป    หาเงินใช้ส่งต่อพ่อแม่พี่น้อง

 

คนคือคนอดทนนี้เป็นผีน้อย    ใครหนอคอยมอบตำแหน่งแห่งผีผอง

ตำแหน่งราษฎรประจำทำเงินทอง      ชนชั้นสองของเกาหลีชื่อผีน้อย

น่าคิดไม่ผิดดอกบอกคือผี    ชีวิตที่เป็นปรสิตติดไม่ปล่อย

เกาหลีมีไวรัสระบาดอาจหลักลอย     กลับบ้านเกิดเถิดกลอยล่องลอยไกล

 

การซ่อนเร้นเป็นชื่อใหม่พึ่งได้รู้    พวกเขาอยู่เกาหลีต้องหนีไข้

เป็นผีน้อยมาตั้งนานผ่านโพยภัย    พี่น้องไทยพึ่งได้รู้อยู่แต่เงา

เกาหลีใต้นายพลคนโด่งดัง    เขาจับขังเข้าคุกพ้นยุคเขลา

หนังเกาหลีมีรางวัลพลันเร่งเร้า    ชื่อหนังเป้า "ปรสิต "ชีวิตใคร ?

..............................................................ชีวิตคน ?

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กวีประชาไท: จากศิษย์ถึงอาจารย์

$
0
0

แม้ว่าท่านจะเป็นถึง ครูอาจารย์

ความคิดอ่าน ถูกเสมอ ก็หาไม่

ในสังคมแห่งประชาธิปไตย

ศิษย์-อาจารย์ หาใช่ ต้องเหมือนกัน

 

การแสดงออกทางการเมือง เรื่องเสรี

เป็นสิทธิ์ที่ แต่ละคนทำตามฝัน

ท่านเป็นคน เราก็คน ต้อง“เท่ากัน”

ถ้าปิดกั้น ความเป็นอาจารย์ ก็หมดไป

 

จะแต่งดำ แต่งขาว เอาตามสิทธิ์

อย่าดัดจริต ว่าพ่อแม่ สั่งสอนไว้

หากแก่เพราะอยู่นาน ผ่านล่วงวัย

อย่าได้หมาย เด็กที่ไหน ไปกราบกราน

 

ใช้สมองตรองไตร่ คิดให้ดี

ออกมานี้ ทักท้วง ห่วงลูกหลาน

หรือเพราะศิษย์ไปแตะต้อง เผด็จการ

จากศิษย์ถึงอาจารย์ ผ่านฝากไป

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai
Viewing all 27824 articles
Browse latest View live